WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, October 13, 2009

ศึกแมลงวัน:เด็กช้างมติชนฮึดใส่สื่อลิ้ม

ที่มา Thai E-News


ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
13 ตุลาคม 2552

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์เขียนรายงานข่าวเรื่องใครกันแน่ บิดเบือน งานวิจัย ปรอ. เรื่อง เอเอสทีวี ประชาชาติฯ เปิดจะ ๆ บทสรุปงานวิจัย"นายวิทอง" เพื่อตอบโต้เวบผู้จัดการASTVที่กล่าวหาว่าประชาชาติธุรกิจบิดเบือนการนำเสนอข่าว

ใครกันแน่ บิดเบือน งานวิจัย ปรอ. เรื่อง ASTV ประชาชาติออนไลน์ ลำดับเหตุการณ์ข่าว และเปิดเผย ผลงานวิจัย เจ้าปัญหา บทที่ 7บทสรุปและข้อเสนอแนะ ดูกันจะๆ ว่า ใครกันแน่ที่บิดเบือน ทุกอย่างตัดสินกันด้วยข้อมูลและความจริง

23 กันยายน ประชาชาติออนไลน์ นำเสนอรายงานพิเศษเรื่อง "เปิดงานวิจัยร้อน ปรอ. ชำแหละ อิทธิพล เอเอสทีวี ผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคข่าวสาร ด้านการเมือง" ซึ่งอ้างอิงมาจากงานวิจัย ′อิทธิพลของสื่อสาธารณะดิจิตอลที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคข่าวสารด้านการเมือง ศึกษาเฉพาะ ASTV ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร′ โดยนายวิทอง ตัณฑกุลนินาท กรรมการผู้จัดการ เอ๊กเซลเล้นท์ กราฟฟิค จำกัด นักศึกษาวิทยาป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 21 ประจำปีการศึกษา พุทธศักราช 2551-2552


ล่าสุด เว๊ปไซต์ผู้จัดการ นำเสนอข่าวว่า " นศ.วปอ.ชี้ชัด " สื่อเครือมติชน" เสนอข่าวบิดเบือนผลวิจัย ให้ร้าย ASTV"
ประชาชาติออนไลน์ ไม่ต้องการชี้แจงอะไรทั้งสิ้น เราแค่ลำดับเหตุการณ์ และนำบทสรุปของงานวิจัยมาให้ท่านผู้อ่าน ตัดสินใจเอาเอง




27 กรกฎาคม 2552 แหล่งข่าวระดับสูง จากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร โทรศัพท์ บอกว่า มีงานวิจัย ปรอ. ที่น่าสนใจและน่าจะได้รับรางวัลงานวิจัยดีเด่น เพราะผู้วิจัย กล้าวิจารณ์สื่อ แหล่งข่าว บอกว่า ให้มารับงานวิจัยไปอ่าน

ผู้สื่อข่าว ประชาชาติออนไลน์ วิ่งไปรับงานวิจัยในทันที แหล่งข่าว มีเงื่อนไขว่า ถ้าจะใช้เป็นข่าวต้องโทรศัพท์ ไปขออนุญาตจาก นายวิทอง ตัณฑกุลนินาท กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ๊กเซลเล้นท์ กราฟฟิค เจ้าของงานวิจัย เสียก่อน ผู้สื่อข่าว โทรไปหา นายวิทอง

นายวิทอง ตอบว่า ขอให้มีผลตัดสินออกมาก่อนแล้ว ค่อยเอาไปใช้


กลางเดือนกันยายน นายวิทอง บอกว่า คณะกรรมการตัดสินแล้ว งานวิจัยของเขาได้รับรางวัลชมเชย ผู้สื่อข่าว ขออนุญาตเอาไปเผยแพร่ นายวิทองบอกว่า ให้ทำหนังสือไปขออนุญาต พลโท ภานุมาต สีวะรา ผู้อำนวยการวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ หลังจากนั้น ผู้สื่อข่าว ได้ส่งหนังสือขออนุญาตไปยัง พลโท ภานุมาต แล้วจึงทำการเผยแพร่


23 กันยายน 2552 ประชาชาติออนไลน์ เปิดเผยงานวิจัยเป็นครั้งแรก เราใช้คำว่า ′เปิดงานวิจัยร้อน ปรอ. ชำแหละ อิทธิพล เอเอสทีวี ผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคข่าวสาร ด้านการเมือง′ รายงานชิ้นนี้ ได้รับความสนใจอย่างมาก


1 ตุลาคม 2552 ผู้สื่อข่าว ประชาชาติออนไลน์ สัมภาษณ์ นายวิทอง อีกครั้ง ที่สำนักงาน บริษัท เอ๊กเซลเล้นท์ ตรงข้ามบริษัท ดีแทค ถนนวิภาวดีรังสิต นายวิทอง ขอให้ส่งต้นฉบับไปให้ดู ก่อนเผยแพร่ ผู้สื่อข่าว ปฎิบัติตามข้อตกลง นายวิทอง ส่งต้นฉบับ กลับมา โดยแก้ไขต้นฉบับเล็กๆ น้อยๆ แล้ว ประชาชาติออนไลน์ ก็นำเสนอ บทสัมภาษณ์นายวิทอง
ตอนนั้นเอง ผู้สื่อข่าว ทราบมาว่า มี เนชั่น และ ผู้จัดการ ขอสัมภาษณ์นายวิทอง เช่นกัน

13 ตุลาคม 2552 เว๊ปไซต์ผู้จัดการ นำเสนอข่าวว่า " นศ.วปอ.ชี้ชัด " สื่อเครือมติชน" เสนอข่าวบิดเบือนผลวิจัย ให้ร้าย ASTV"

13 ตุลาคม 2552 ผู้สื่อข่าว ประชาชาติออนไลน์ นำเสนองานวิจัย บทที่ 7 บทสรุปและข้อเสนอแนะ ให้ผู้อ่านตัดสินว่า ใครกันแน่บิดเบือน ?


ตัวอักษรในงานวิจัย ย่อมชักเข้าชักออกไม่ได้ ใครน่าเชื่อถือกว่ากันก็แล้วแต่ระดับสติปัญญา?


***หมายเหตุ:งานวิจัยของ นายวิทอง ถูกเก็บรักษา อยู่ที่วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร ถนนวิภาวดีรังสิต

บทที่ ๗

บทสรุปและข้อเสนอแนะ




บทสรุป

จากการทดสอบสมมติฐาน ตามกรอบแนวคิดการวิจัยในบทที่ ๑ พบว่า ระยะเวลาในการรับชม (X1) ไม่มีผลต่อพฤติกรรม (Y1) และทัศนคติ (Y2) ของกลุ่มตัวอย่างหลังการรับชมข่าวสารทางการเมืองจาก ASTV ซึ่งผลการวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรม (Y1) และทัศนคติ (Y2) ของกลุ่มตัวอย่างหลังการรับชมข่าวสารทางการเมืองจาก ASTV ไม่ได้เป็นไปตามทฤษฎีเข็มฉีดยาเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างในภาวะปกติยังคงความเป็นผู้มีวิจารณญาณ และไตร่ตรองเนื้อหาของข่าวก่อนการเชื่อและตัดสินใจกระทำการใด อีกทั้งกลุ่มตัวอย่างยังมีกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง และการสะสมประสบการณ์การเรียนรู้ทางสังคม อันเป็นข้อจำกัดของทฤษฎีเข็มฉีดยา และเป็นไปตามทฤษฎีอิทธิพลอันจำกัดของสื่อมวลชนดังที่ได้กล่าวในบทที่ ๒

นอกจากการทดสอบสมมติฐานในประเด็นระยะเวลาในการรับสื่อซึ่งไม่มีผลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้รับสื่อดังที่ได้สรุปในข้างต้นแล้วนั้น ในการศึกษาครั้งนี้ยังได้ทดสอบสมมติฐานถึงปัจจัยระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง (X2) ต่อพฤติกรรม (Y1) และทัศนคติ (Y2) ของกลุ่มตัวอย่างหลังการรับชมข่าวสารทางการเมืองจาก ASTV พบว่า ระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง มีผลต่อพฤติกรรมและทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างหลังการรับชมข่าวสารทางการเมืองจาก ASTV ในหลายประเด็น

- กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีเลือกที่จะรับชมข่าวสารด้านการเมืองจาก ASTV ผ่านช่องทางวิทยุมากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาในระดับสูงกว่าปริญญาตรีเลือกที่จะรับชมข่าวสารด้านการเมืองจาก ASTV ผ่านช่องทางอินเตอร์เนตมากที่สุด

- กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีเลือกที่จะรับชมข่าวสารด้านการเมืองจาก ASTV เนื่องจากทัศนคติที่ว่าสื่อสาธารณะอื่นนำเสนอข่าวที่ไม่เป็นกลาง และน่าเชื่อถือรวมถึงมักจะใช้สื่อดังกล่าวเป็นช่องทางหนึ่งในการตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล

- กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีแนวโน้มที่เห็นด้วยว่า ASTV มีการนำเสนอข่าวที่เป็นอิสระมีความเป็นกลาง ตรงไปตรงมาไม่ได้เป็นเครื่องมือของฝ่ายใด อีกทั้งยังมีความยกย่องในตัวพิธีกรที่ดำเนินรายการ ซึ่งตรงข้ามกับทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี

- กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีมีแนวโน้มที่เห็นด้วยว่าการชุมนุมเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งตรงข้ามกับทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี

- กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มที่เห็นด้วยกับแนวทางการบริหารราชการของรัฐบาลในปัจจุบันรวมถึงระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

- กลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาตรีเป็นกลุ่มที่นิยมนำเนื้อหาของสื่อที่ได้รับนั้นไปเผยแพร่บอกต่อให้กับคนรอบข้างรับฟังรวมถึงชักชวนให้บุคคลรอบข้างหันมารับข่าวสารจากสื่อ ASTV มากขึ้น

นอกจากผลการวิจัยในทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างหลังการรับชมข่าวสารด้านการเมืองผ่านสื่อ ASTV ดังที่ได้รายงานสรุปไปในข้างต้นแล้วนั้น ผลกระทบอื่นๆ ที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันอันเป็นผลสืบเนื่องจากการนำเสนอข่าวของสื่อดิจิตอล ทั้งทางด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจนั้นสามารถสรุปในแต่ละด้านได้ดังนี้

- ผลกระทบด้านสังคม ผลกระทบที่ร้ายแรงที่สุด คือ การสร้างความแตกแยกให้เกิดกับสังคมในทุกระดับตั้งแต่ระดับสังคม ชุมชน และประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการปลูกฝังความรุนแรงให้กับเยาวชนของชาติที่รับชม

- ผลกระทบด้านการเมือง การนำเสนอข่าวของ ASTV รวมทั้งสื่อดิจิตอลอื่นๆ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อถือในเรื่องของกระบวน การทำงานทั้งต่อตัวบุคคล องค์กร สถาบัน และระบบบริหารงานราชการงานปกครองต่างๆ อันเป็นไปสมมติฐานผลกระทบต่อบุคคลที่ ๓ ที่ได้กล่าวไว้ในบทที่ ๒ อันจะสร้างผลต่อเนื่องต่อการพัฒนาประเทศที่ล่าช้า อันมีสาเหตุจากความขัดแย้งด้านการเมือง ดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

- ผลกระทบด้านเศรษฐกิจเป็นการส่งผลกระทบโดยทางอ้อมอันเกิดจากการชุมนุมทางการเมืองซึ่งสร้างความเสียหายและความเชื่อมั่นกับต่างประเทศเป็นมูลค่าอันมหาศาลรวมถึงเป็นการลดความน่าเชื่อถือด้านการลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่างๆ กับต่างประเทศ


โดยผลที่เกิดขึ้นดังกล่าวเนื่องมาจากการที่ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ขาดการเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับดูแลสื่อ ซึ่งเป็นอาชีพที่ได้รับอิสระในการนำเสนอข่าว จนบางครั้งเกินขอบเขตอันควร ซึ่งส่งผลถึงการละเมิดยังสิทธิของผู้อื่น อันจะก่อผลในเชิงลบที่ตามมาเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ทุกองค์ประกอบในสังคมจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำกับดูแลการนำเสนอข่าว โดยเฉพาะบนพื้นที่สาธารณะในยุคดิจิตอลที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว