WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, October 16, 2009

216ปีกิโยตินบั่นพระเศียรราชินีมารี อังตัวเนต

ที่มา Thai E-News


โดย ทีมข่าวไทยอีนิวส์
ที่มา วิกิพีเดีย16 ตุลาคม 2552

เมื่อประชาชนผู้ยากไร้ตะโกนบอกพระนางมารี อองตัวเนตว่า "พวกเราหิว!!!" พระนางตอบว่า "เอาขนมบริออชให้พวกเขากินสิ จะได้เงียบกันเสียที!!!" (บริออชเป็นขนมปังถ้วยฟูของฝรั่งเศสที่มีราคาแพงกว่าขนมปังแบบพื้นๆมาก)

-----------------
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:ปฏิวัติฝรั่งเศส บทเรียนสำหรับไทย
-------------------------------

นั่นเป็นเรื่องราวอื้อฉาวที่คนทั่วโลกรับรู้เกี่ยวกับพระนาง ทว่านักประวัติศาสตร์บางสำนักแก้ต่างให้ในภายหลังว่า อาจไม่เคยเกิดประโยคนี้ขึ้นเลยก็ได้ ทั้งนี้ก็เพราะในยุคที่สถาบันกษัตริย์ยังเรืองอำนาจในฝรั่งเศสนั้น ยากยิ่งนักที่ไพร่ฟ้าสามัญชนจะมีโอกาสเฉียดเข้าไปใกล้พอจะตะโกนโต้ตอบกันเช่นนั้นได้...

หลังการลุกฮือขึ้นปฏิวัติใหญ่ของชาวฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 1789 ( พ.ศ.2332 ) สถาบันกษัตริย์ก็ตกต่ำอย่างหนัก พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 กับพระนางมารี อองตัวเน็ตต์ ที่พยายามหลบหนีออกนอกประเทศ แต่ก็ไม่รอด และต้องถูกบีบบังคับจากฝ่ายปฏิวัติให้เป็นกษัตริย์ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยได้ระยะหนึ่ง

ต่อมาเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 1792 (พ.ศ.2335) สภาคณะปฏิวัติแห่งชาติฝรั่งเศสได้ลงมติให้ประหารกษัตริย์ ส่งผลให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ถูกประหารเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2336 (ค.ศ. 1793)

ต่อมาในวันที่ 27 มีนาคม 1793 ผู้นำการปฏิวัติ คือ แมกซิมิเลียง เดอ โรเบสปิแยร์ได้เรียกร้องกับสภาคณะปฏิวัติแห่งชาติฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก ให้จัดการกับราชินีอีกองค์

วันที่ 13 กรกฎาคม องค์มกุฎราชกุมารก็ถูกลักพาตัวไปจากพระมารดาและถูกมอบให้อยู่ในความดูแลของอองตวน ซิมง ช่างทำรองเท้า

และในวันที่ 2 สิงหาคม ก็ถึงคราวที่พระนางมารี อองตัวเนตถูกพรากจากเหล่าเจ้าหญิงและนำตัวไปยังทัณฑสถานกรุงปารีส การไต่สวนพระนางจะเริ่มต้นในวันรุ่งขึ้น

วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2336 มารี อองตัวเนตถูกตั้งข้อหาโดยศาลปฏิวัติ โดยฟูกิเยร์-ทังวิลล์ ผู้ฟ้องร้องแทนประชาชน หากแม้นว่าการพิจารณาคดีของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ยังคงไว้ซึ่งกระบวนการยุติธรรม การพิจารณาคดีของราชินีมิได้เป็นเช่นนั้นเลย ได้มีการทำสำนวนฟ้องขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นเอกสารที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากนายฟูกิเยร์ เดอ ทังวิลล์ไม่สามารถหาเอกสารของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 พบทุกชิ้น

และเพื่อให้สามารถตั้งข้อกล่าวหาแก่พระนางมารี อองตัวเนตได้ เขามีแผนที่จะให้มกุฎราชกุมารขึ้นให้การต่อศาลในทางเป็นปฏิปักษ์ต่อพระมารดา ซึ่งต่อหน้าศาล มกุฎราชกุมารพระองค์น้อยได้กล่าวหาพระมารดา และพระมาตุจฉาว่าเป็นผู้สอนให้พระองค์สำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง และบังคับให้เล่นเกมสวาท

พระนางมารี อองตัวเนตผู้เสื่อมเสียพระเกียรติได้เรียกราชเลขามาขึ้นให้การ พระนางพ้นจากการถูกรุมประชาทัณฑ์ได้อย่างเส้นยาแดงผ่าแปด แต่พระนางยังถูกตั้งข้อกล่าวหาอีกว่าสมรู้ร่วมคิดกับประเทศมหาอำนาจต่างชาติ และเมื่อพระนางยังคงยืนกรานความบริสุทธิ์

นายแอร์มานน์ ประธานศาลปฏิวัติ ได้กล่าวว่าพระนางเป็น "ตัวการสำคัญที่ผลักดันให้เกิดการทรยศต่อหลุยส์ คาเปต์(พระเจาหลุยส์ที่16)" คดีนี้จึงกลายเป็นการพิจารณาคดีของทรราชไป บทนำของสำนวนฟ้องยังกล่าวอีกด้วยว่า:

"จากการพิจารณาเอกสารทั้งหมดที่ยื่นโดยผู้ฟ้องร้องแทนประชาชน ผลปรากฏว่า ในบรรดาราชินีทั้งหลาย เป็นต้นว่า เมสซาลีน บรูเนอโอ เฟรเดกองด์ และมารี เดอ เมดิซี ที่เมื่อก่อนเรายอมรับว่าเป็นราชินีของฝรั่งเศส ผู้ซึ่งมีชื่อเสื่อมเสียไม่อาจลบล้างได้จากประวัติศาสตร์ นับได้ว่ามารี อองตัวเนต หญิงหม้ายของหลุยส์ คาเปต์ เป็นผู้มีความละโมบเป็นที่สุด และเป็นหายนะอันใหญ่หลวงของชาวฝรั่งเศส"


พวกพยานที่จัดหามาดูไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าที่ควร พระนางมารี อองตัวเนตให้การตอบว่า พระนาง "เป็นเพียงแค่ภรรยาของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เท่านั้น และพระนางก็ทำอะไรตามพระทัยของพระนางเอง" นายฟูกิเยร์-ทังวิลล์ ได้เรียกร้องให้ประหารพระนางและกล่าวหาว่าพระนางเป็น"ศัตรูอย่างเปิดเผยของชาติฝรั่งเศส"

คณะลูกขุนต้องตอบถามคำถามสี่ข้อด้วยกัน:

" 1. จริงหรือไม่ที่ได้มีการคบคิดและมีการและเปลี่ยนข่าวกรองกับประเทศมหาอำนาจต่างชาติ และศัตรูอื่นๆ นอกสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยที่การคบคิดและข่าวกรองดังกล่าวนั้นมีจุดมุ่งหมายให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ให้พวกนั้นเข้ามาในดินแดนฝรั่งเศส และให้พวกนั้นพัฒนาอาวุธได้?"
"2. มารี อองตัวเนตแห่งออสเตรีย (...) เราเชื่อว่านางได้มีส่วนร่วมมือกับการคบคิดและสนับสนุนการข่าวกรองดังกล่าวหรือไม่?"
"3. จริงหรือที่มีแผนการสมรู้ร่วมคิดและแผนข่าวโคมลอยที่พยายามจุดชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองภายในสาธารณรัฐฝรั่งเศส?"
"4. เราเชื่อว่ามารี อองตัวเนตได้มีส่วนร่วมในแผนสมรู้ร่วมคิดและข่าวโคมลอยนี้หรือไม่?"


คณะลูกขุนได้ตอบว่าคำถามดังกล่าวว่าจริงและใช่ทุกข้อ มารี อองตัวเนตจึงถูกตัดสินประหารชีวิตในข้อเป็นทรราชขั้นร้ายแรงเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ประมาณเวลาสี่นาฬิกาของรุ่งเช้า

ในวันเดียวกันนั้นเอง เมื่อเวลาสิบสองนาฬิกาสิบห้านาที พระนางถูกประหารด้วยกิโยติน หลังจากที่ได้ปฏิเสธจะสารภาพบาปกับบาทหลวงที่คณะปฏิวัติจัดหาให้ พระศพของพระนางถูกฝังในหลุมฝังศพลา มาเดอเลน บนถนนอองจู-ซังต์-ตอนอเร ต่อมาเมื่อวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2358 (ค.ศ. 1815) พระศพของพระนางถูกขุดขึ้นมา และถูกย้ายไปฝังไว้ที่วิหารซังต์ เดอนีส์ เมื่อวันที่ 21 มกราคม

พระนางมารี อังตัวเน็ตต์ นับเป็นเชื้อกษัตริย์ที่มีขัตติยะมานะสูง พระนางดูไม่สะทกสะท้านต่อความตายนัก แต่ที่พระนางขัดเคืองพระทัยยิ่งก็คือ รถม้าที่มารับพระนางไปยังเครื่องกิโยตินนั้นไม่มีเก๋งคลุมเพื่อปกป้องไม่ให้สาธารณชนแลเห็น ซึ่งจะถือเป็นการถวายพระเกียรติครั้งสุดท้าย..แต่กลับเป็นแค่เพียงรถม้าธรรมดาๆที่เปิดประทุนโล่ง

รถม้าพาพระนางไปสู่เครื่องกิโยตินท่ามกลางเสียงสาปแช่งและขากถุยของสาธารณชนที่โกรธแค้น