WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, June 6, 2010

ความเหมือนในความต่าง "ชวรัตน์ - ทักษิณ" เปิดขุมทรัพย์ "ซิโนไทย" 5 ปีโกยอื้อ 4 หมื่นล้าน

ที่มา มติชน

ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา ประเด็นหลักที่พรรคฝ่ายค้านหยิบมาอภิปรายไม่ไว้วางใจนายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กรณีเอื้อประโยชน์ (Conflict of interests) ให้บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีบุตรชายนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถือหุ้นใหญ่ ในโครงการก่อสร่างรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางซื่อ-บางใหญ่) มูลค่า 36,055 ล้านบาท

ข้อกล่าวหาของฝ่ายค้านคือมีการลดวงเงินสำรองจาก 3,972 บาท (ที่ ครม.นายสมัคร สุนทรเวช เห็นชอบ) เหลือ 400 กว่าล้านบาท แล้วนำส่วนที่เหลือ 2,300 กว่าล้านบาทไปใส่เพิ่มในค่าก่อสร้าง (โครงการรถไฟฟ้าสีม่วง แบ่งเป็น 3 ตอน ช.การช่าง รับเหมา ตอนที่ 1 วงเงิน 14,292 ล้านบาท บมจ.ซิโน-ไทยฯรับเหมาตอนที่ 2 วงเงิน 15,320 ล้านบาท และ กลุ่มเพาเวอร์ไลน์-รวมนครรับเหมา ตอนที่ 3)

ขณะที่นายชวรัตน์ได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาว่า ได้วางมือจากการทำธุรกิจตั้งแต่สมัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อปี 2540 และไม่เคยมีพฤติกรรมช่วยเหลือญาติ หรือพวกพ้องให้ได้รับประโยชน์ ตรงกันข้ามมักถูกตำหนิจากพรรคพวกเสมอว่าไม่เคยช่วยเหลือเพื่อน และยึดมั่นเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติอย่างสูงสุด


ทำนองเดียวกับนายโสภณปฏิเสธว่ามิได้เอื้อประโยชน์ให้ธุรกิจครอบครัวหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยแต่อย่างใด

บทสรุปจากการศึกอภิปรายคือ นายชวรัตน์ได้รับความไว้วางใจ 236 เสียง ไม่ไว้วางใจ 194 เสียง งดออกเสียง 14 เสียง และไม่ลงมติ 22 เสียง นายโสภณได้รับความไว้วางใจ 234 เสียง ไม่ไว้วางใจ 196 เสียง งดออกเสียง 13 เสียง และไม่ลงมติ 22 เสียง


เป็นอันว่าทั้งคู่นั่งเก้าอี้ต่อไปได้

นายชวรัตน์ มีลูก 3 คน คือ นายอนุทิน ชาญวีรกุล นายมาศถวิน ชาญวีรกุล และ นางอนิลรัตน์ นิติสาโรจน์
เริ่มทำธุรกิจครั้งแรก ปี 2505 ชื่อ หจก. ซิโน-ไทย เอนจีเนียริ่ง ปี 2510 จดทะเบียนเป็นบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด และเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ปี 2536


จากนั้นขยายธุรกิจร่วมกับกลุ่มทุนตระกูลดังหลายบริษัท อาทิ ธุรกิจจัดสรรที่ดินร่วมหุ้นกับนายประภาส จักกะพาก นายบุญยง ว่องวานิช นายชุมพล พรประภา นายโอฬาร อัศวฤทธิกุล นางพนิดา เทพกาญจนา ภรรยานายพงศ์เทพ เทพกาญจนา โฆษกส่วนตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ตระกูล มาลีนนท์ และ พานิชชีวะ

ทำธุรกิจรับเหมา บริษัท บางกอก สกายเทรน จำกัด ร่วมกับ นายวีระวัฒน์ ชลวณิช นายปลิว ตรีวิศวเวทย์ (เจ้าของ ช.การช่าง) นายเชี่ยวชาญ เคียงศิริ นายก่อศักดิ์ ลี้ถาวร นายชาญ ว่องปรีชา และ นายอนุทิพย์ ไกรฤกษ์


ทำธุรกิจสื่อสารและจานดาวเทียม ร่วมกับนางสาวรพีพรรณ เหลืองอร่ามรัตน์ นายธวัชชัย วิไลลักษณ์ และ นายเจริญรัฐ วิไลลักษณ์ กลุ่มสามารถคอร์ปปเรชั่น



"มติชนออนไลน์" ตรวจสอบพบว่าในรอบ 5 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2548) บมจ.ซิโน-ไทยฯ กวาดงานรับเหมาก่อสร้างกับหน่วยงานรัฐกว่า 1 หมื่นล้านบาท มากสุด


คือ กรมธนารักษ์ ได้รับงานรับเหมาผ่านบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) ประมาณ 4 สัญญา เค้กชิ้นใหญ่คือก่อสร้างศูนย์ราชการแห่งใหม่เวณถนนแจ้งวัฒนะ ได้แก่ จ้างก่อสร้างอาคารAอาคารจอดรถAและลานรอบอาคาร A มูลค่า 3,395 ล้านบาท , จ้างก่อสร้างอาคารจอดรถ B ศูนย์ประชุมและหอพัก วงเงิน 1,860 ล้านบาท ,จ้างก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคและอาคารควบคุม วงเงิน 1,100 ล้านบาท ,เตรียมพื้นที่ก่อสร้างประกอบด้วยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเดิม จัดหาไฟฟ้าประปาสำหรับก่อสร้าง สร้างคันทางและผิวจราจรชั่วคราว 5 เส้นทาง วงเงิน 73.8 ล้านบาท ,ก่อสร้างอาคารที่ทำการศาลปกครอง วงเงิน 1,813 ล้านบาท

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จ้างปูพื้นตัวหนอนและขอบทางเท้าด้านหน้าอาคารจัดซื้อครุภัณฑ์และงานตกแต่งห้อง VIP อาคารกรีฑาในร่มจ.ชลบุรี วงเงิน 9.5 ล้านบาท



กระทรวงคมนาคม รื้อถอนโครงสร้าง Hopewell ที่กีดขวางงานก่อสร้างโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง วงเงิน 135 ล้านบาท , จ้างขนย้ายทรัพย์สินและบริวารของผู้บุกรุกรายทาง ในเส้นทางรถไฟสายตะวันออก วงเงิน 2.6 ล้านบาท, ปรับปรุงพื้นที่ระหว่างสถานีหัวหมาก-บ้านทับช้างเพื่อรองรับชุมชนคลองตัน ในเส้นทางรถไฟสายตะวันออก วงเงิน 1.3 ล้านบาท ,ก่อสร้างระบบเติมน้ำมันอากาศยานทางท่อ ณ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ วงเงิน 86.8 ล้านบาท , ก่อสร้างทางเดิน พร้อมหลังคาคลุมและปรับคืนสภาพลานจอดรถ อาคาร นาซาเวกัส คอมเพล็กซ์บริเวณที่หยุดรถรามคำแหง วงเงิน 4.1 ล้านบาท ,จ้างขับไล่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และขนย้ายทรัพย์สินของผู้บุกรุก หลังโรงพยาบาลเดชา วงเงิน 10.5 ล้านบาท

กรมทางหลวง ก่อสร้างทางหลวงพิเศษ#7 สายท่าอากาศยานสุวรรณภูม-ชลบุรี ตอน 5 วงเงิน 566.5 ล้านบาท

กระทรวงมหาดไทย วางท่อบริเวณสะพานข้ามคลิงรังสิตประยูรศักดิ์และถ.กลับรถใต้สะพานข้ามคลองต่างๆ ตั้งแต่ก่อนถึงคลอง 13 ถึงคลอง 7 ถ.รังสิต-นครนายก วงเงิน 37.1 ล้านบาท

กทม. ก่อสร้างอาคารหอพักแพทย์พยาบาล โรงพยาบาลหนองจอก วงเงิน 195.1 ล้านบาท ซื้อพร้อมติดตั้งสะพานข้ามทางแยกถ.บางขุนเทียน-ถ.พระรามที่ 2 วงเงิน 357 ล้านบาท ซื้อครุภัณฑ์ลอยตัวของอาคารหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพ 7.3 ล้านบาท ทำเฟอร์นิเจอร์ติดตายตัวและระบบป้องกันทรัพยากรสูญหายของอาคารศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 1.9 ล้านบาท

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก่อสร้างอาคารต้นแบบการจัดการศึกษา 1 หลัง 247.4 ล้านบาท

โครงการดังกล่าวไม่รวมโครงการก่อสร้างรถไฟสายสีม่วง ตอน 2 วงเงิน 15,320 ล้านบาท โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สัญญาที่ 4 ) ซึ่งเปิดซองเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2553 วงเงิน 13,380 ล้านบาท

เบ็ดเสร็จ 5 ปีกว่า 4 หมื่นล้านบาท

ไม่รวมโครงการรับเหมาก่อสร้างในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สมัยแรก อาทิ
- ก่อสร้างอาคารที่พักผู้โดยสารหลังใหม่ที่ท่าอากาศยานกระบี่ วงเงิน 327.2 ล้านบาท (25 ส.ค. 2546)
- ก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศใหม่(ส่วนที2) 488.5 ล้านบาท (15 ก.ค. 2548)
- ก่อสร้างทางลอดที่ปากเกร็ด ที่จุดตัดทาทางหลวง#306 (ถนนติวานนท์)กับทางหลวง#304(ถนนแจ้งวัฒนะ) 419.1 ล้านบาท (19 ก.ค. 2548)
ก่อสร้างทางหลวงพิเศษ#7 สายท่าอากาศยานสุวรรณภูม-ชลบุรี ตอน 5 566.5 ล้านบาท ( 29 พ.ค. 2549)
- ก่อสร้างถ.กรุงเทพกรีฑา-ร่มเกล้า จากถ.ศรีนครินทร์-ถ.ร่มเกล้าช่วงที่3 จากถ.วงแหวนรอบนอก(ฝั่งตะวันออก)ถึงถ.ร่มเกล้า วงเงิน 408 ล้านบาท ( 10 ก.ย. 2545 )
- ก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ ร.พ.หนองจอก 293.2 ล้านบาท (30 ก.ย. 2546)
จัดซื้อพร้อมติดตั้งสะพานข้ามทางแยกถนนฉลองกรุง-ถนนสุวินทวงศ์ 312.5 ล้านบาท (2 ก.ค. 2547)
จัดซื้อพร้อมติดตั้งสะพานข้ามทางแยกถนนสุขสวัสดิ์-ถนนพระรามที่ 2 วงเงิน 403 ล้านบาท
จัดซื้อพร้อมติดตั้งสะพานข้ามทางแยกถนนเอกชัย-ถนนบางบอน 1 - ถนนบางขุนเทียน วงเงิน 239.5 ล้านบาท
- โครงการก่อสร้างศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ดินแดง (ระยะที่ 3) 2,426 ล้านบาท (6 ก.ค. 2547 )

ก่อน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรเข้ามาเล่นการเมือง ปี 2544 พ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร โอนหุ้นในเครือชินคอร์ปทั้งในตลาดและนอกตลาดหลักทรัพย์มูลค่าหลายพันล้านบาทให้นายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชาย แม่บ้าน ยาม คนขับรถ โดยอ้างว่าต้องการตัดขาดจากการทำธุรกิจ มิให้ถูกข้อครหาในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน

ขณะที่ปู่จิ้น ตอนรับตำแหน่ง มท.1 ได้โอนหุ้น บริษัท เพอร์เพชวล พรอสเพอริตี้ จำกัด (ลงทุนในกิจการอื่น) จำนวน 1,000 หุ้น ให้นางสนองนุช ชาญวีรกุล ลูกสะใภ้ (ภรรยานายอนุทิน) และโอนหุ้นบริษัท อมร ครีเอชั่นส์ จำกัด (ลงทุนในกิจการอื่น) จำนวน 4,900 หุ้น ให้นายประชา เหตระกูล เกลอเก่าธุรกิจ


และหุ้นที่ถือครองอยู่จำนวนมากใน บมจ. เอสทีพี แอนด์ ไอ ,บริษัท เดอะ เฟอร์เฟค เรสซิเด้นท์ จำกัด ,บริษัท ซิโน-ไทยดีเวล็อปเม้นท์ จำกัด , บริษัท ไทยเอกรัฐ โอลดิ้ง จำกัด และ บริษัท สามชุกพัฒนา จำกัด ได้ทำสัญญาว่าจ้าง บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี (แบงก์ออมสินถือหุ้นใหญ่) เข้ามาบริหารจัดการทรัพย์สินแทน

ในคดีร่ำรวยผิดปกติของ พ.ต.ท.ทักษิณ เหตุผลหนึ่งที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ 4.6 หมื่นล้าน คือในช่วงดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ต.ท.ทักษิณออกนโยบาย-แก้กฏหมายเอื้อผลประโยชน์ให้ธุรกิจกลุ่มชินคอร์ป ทำให้มูลค่าหุ้นชินคอร์ปเพิ่มสูงขึ้นผิดปกติ

ขณะที่ ปู่จิ้นไม่ได้ออกนโยบายหรือกฎหมายเอื้อประโยชน์ธุรกิจของครอบครัวตนเองเหมือน พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ทว่า หุ้น บมจ.ซิโน-ไทย (STEC) พุ่งขึ้นทันที 8.65% หรือ 0.45 บาท หลังทราบผลชนะประมูลส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน วันที่ 2 มิ.ย. 2553 โดยที่นายโสภณ ซารัมย์ ตกเป็นเป้าแทน


วันนี้ พ.ต.ท.ทักษิณหลบหนีคดีคอร์รัปชั่นและก่อการร้ายอยู่ต่างประเทศ
ขณะที่ปู่จิ้น (ซึ่งนายอนุทิน บุตรชาย เคยร่วมรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ) จากการปรับ ครม.มาร์ค 5
ยังอิ่มอุ่นสบายดี บนเก้าอี้ มท.1