ที่มา บางกอกทูเดย์ ใครมาเป็น “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ในยามนี้ไม่เหนื่อยใจ ก็ต้องถือว่าผิดแปลกมนุษย์มนาแล้ว เพราะสารพัดเรื่องที่ถาโถมเข้าใส่อย่างหนักหน่วงต่อเนื่องไม่หยุด ในขณะที่เรื่องเก่าก็คาราคาซังยืดเยื้อ...จบไม่ลง อุตส่าห์ทำบุญประเทศไทย อุตส่าห์ตั้ง นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด ให้เป็นประธานกรรมการอิสระ เพื่อตรวจสอบเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม-19 พฤษภาคม 2553 หรือแม้แต่กระทั่งอุตส่าห์ออกมาแถลงความคืบหน้าเรื่องแผนปรองดองแห่งชาติ แต่กลับกลายเป็นว่า ทุกเรื่องถูกมองว่ามีวาระซ่อนเร้นไปหมด มีเจตนาแอบแฝงไปหมด แม้แต่วันทำบุญที่ทำเนียบรัฐบาลอุตส่าห์ พานางพิมพ์เพ็ญ เวชชาชีวะภริยามาให้เห็นว่า ที่มีกระแสข่าวว่าในช่วงที่ปฏิบัติการ ศอฉ. นั้นทั้งคู่มีปากเสียงระหองระแหงกันอย่างหนัก เพราะนางพิมพ์เพ็ญ ลึกๆแล้วต้องการให้นายอภิสิทธิ์วางมือทางการเมืองเสียที ดังนั้นก็เลยควงมาโชว์ แต่กลับกลายเป็นถูกเมาธ์สนั่นว่า หน้าตาของนางพิมพ์เพ็ญดูไม่มีความสุข ไม่มีความสดชื่น และแทบไม่มีรอยยิ้มเลย... สังเกตุกันถึงขนาดนั้น แบบนี้จะไม่ให้นายอภิสิทธิ์เหนื่อยใจก็แปลกไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ก็ต้องยอมรับในน้ำอดน้ำทนของนายอภิสิทธิ์ว่า นอกจากดื้อได้ใจแล้ว ยังเหี้ยมเกรียมพอที่จะนิ่งรับแรงกดดันทั้งหมดได้อย่างไม่ยี่หระ แม้แต่กระทั่งคำพูดประเภท“มือเปื้อนเลือด” หรือ “ทรราช” ซึ่งยังคงระงมอยู่ไม่เลิก ก็ได้แต่หวังว่า หากนายคณิต มีความอดทนเท่านายอภิสิทธิ์ สักครึ่งหนึ่ง คงสามารถที่จะปฏิบัติภารกิจหน้าที่ได้ตามวัตถุประงค์ที่ถูกแต่งตั้งมา และช่วยให้เสียงครหาต่างๆจากเหตุการณ์เลือดพฤษภาหฤโหด 53 ... โดยเฉพาะกรณี 6 ศพที่วัดปทุมวนาราม สามารถคลี่คลายหายไป เป็นคลื่นกระทบฝั่งได้ในที่สุด แต่แน่นอนว่าคงไม่ง่าย เพราะทันที่ที่โผล่ชื่อนายคณิตขึ้นมา ก็เจอเสียงสะท้อนทำนองว่า “เอาอีกแล้ว” หรือ “อีหรอบเดียวกับ คตส.อีกแล้ว” เพราะนายคณิตถูกให้ถามใจตัวเองทันที่ว่าเป็นธรรมหรือไม่นั่ง กับการที่มานั่งเป็นประธานสอบเหตุการสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง การที่นายคณิตถูกตั้งคำถามก็เป็นเพราะมีการเชื่อมโยงเกี่ยวข้องในการพิจารณาคดีเรื่อง สปก. 4-01 ในปี 2537 ซึ่งขณะนั้นนายคณิตเป็นอัยการสูงสุด ปรากฏว่านายคณิตไม่สั่งฟ้องนายชวน หลีกภัย และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ที่มีตำแหน่งในขณะนั้น ซึ่งในช่วงนั้นนายอภิสิทธ์เป็นโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และที่สุดศาลฎีกาตัดสินให้ที่ดินตกเป็นของแผ่นดิน แต่เพราะอัยการสูงสุด เลยทำให้ไม่มีการดำเนินคดีกับนายสุเทพ นายชวน และรัฐบาลชุดนั้น ในข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ อีกทั้งนายคณิตยังเคยได้รับแต่งตั้งจากรัฐบาลของพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้มาตรวจสอบนโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ที่อ้างว่ามีการทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,500 คน ที่แย่ก็คือ ทั้งๆที่พูดกันกระหึ่มทั้งสังคมว่า ช่องหอยม่วงนั้นถูกสั่งการให้ตอกลิ่มสร้างความแตกแยก และเล่นงานกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นหลัก แต่นายคณิตกลับมีการไปให้ความเห็นทางข้อกฎหมาย ทางช่องหอยม่วง หรือช่อง 11 เป็นระยะ นอกจากนี้ยังมีการห่วงไปถึง ความสัมพันธ์หรือความสนิทสนมเป็นการส่วนตัวระหว่างนายคณิต กับ นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พรรคประชาธิปัตย์ด้วย เพราะนายถาวรเคยเป็นอัยการก่อนมาเล่นการเมือง ดังนั้น เมื่อ คตส. เคยทำให้เห็นว่ามีการตั้งคนที่เป็นปฏิปักษ์กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เข้ามาเป็นประธาน เข้ามาเป็นกรรมการ แล้วก็เดินหน้าลุยเช็คบิลแบบ “ตั้งธง” จนรู้กันทั่วบ้านทั่วเมือง แถมบางคนทุกครั้งที่ออกทีวี จะแสดงท่าทีสะใจบ้าง ยิ้มเยาะเย้ยหยันบ้าง หรือบางคนแทนที่จะใช้หลักกฎหมายในการเล่นงานเอาผิด เพื่อที่สังคมจะได้ยอมรับได้ กลับใช้การตั้งทฤษฎีวัวทฤษฎีควายขึ้นมาเพื่อหว่านล้อมสังคม ว่าเป็นพฤติกรรมความผิด เล่นเอานักกฎหมาย นักวิชาการที่แท้จริง ต่างมึนไปตามๆกัน เพราะหากผิดจริงก็ใช้กฎหมายเล่นงานได้ตรงๆอยู่แล้ว ไม่เห็นต้องตั้งทฤษฎีเองเลย ที่สำคัญสุดท้ายใช้เวลาเป็นปี ที่เคยอ้างว่าเอาผิดได้แน่ หลักฐานเพียบ คดีนั้นคดีโน้น สุดท้ายก็เหลวแทบทั้งสิ้น ก็แบบนี้แหละที่ทำให้ความน่าเชื่อถือของ คตส. กลับเป็นฝ่ายที่ได้รับผลกระทบเสียเอง จนวันนี้แทบไม่มีใครเชื่อถือ คตส. อีก ดังนั้นประโยคคำถามที่ดังมากในเวลานี้ที่ว่า “รัฐบาลช่วยหาคนที่เป็นกลางหน่อยได้หรือไม่?”นั้น จึงระงมไปทั่ว นายคณิตคงต้องดูบทเรียนของ คตส. เอาไว้เป็นข้อเตือนใจที่สำคัญ อย่าได้ถลำลึกเดินพลาดแบบ คตส. อีกเป็นอันขาด เฉพาะอย่างยิ่งในบรรยากาศบ้านเมืองที่ความแตกต่างทางความคิดยังคงมีอยู่สูงมาก เนื่องจากบาดแผลความรู้สึกเกี่ยวกับระบบอยุติธรรม 2 มาตรฐานนั้น ยังกลัดหนองลึกอยู่ในสังคมนั่นเอง จึงไม่เพียงเป็นการบ้านที่กดดันและท้าทายของนายคณิต แต่ยังเป็นแรงกดดันที่ต่อเนื่องมาถึงนายอภิสิทธิ์ด้วยอย่างหลีกไม่พ้น ความหวาดระแวงที่ว่า ขณะนี้กลุ่มคนเสื้อแดง และนปช.เองก็กำลังเร่งดำเนินคดีอาญา โดยมีการทยอยแจ้งความดำเนินคดี ต่อนายอภิสิทธิ์ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และพวกในคดีบงการใช้จ้างวานฆ่าประชาชนประมาณ 80 กว่าคดี ตามจำนวนประชาชน-วีรชนที่เสียชีวิต การตั้งนายคณิต จะมีผลต่อรูปคดีเหล่านี้หรือไม่??? จะเหมือนกับการสอบสวนหาข้อเท็จจริงช่วงสงกรานต์เลือดปี52 หรือไม่??? เพราะการสอบสวนกรณีสงกรานต์เลือดปี 52 แม้จะมีการตตรวจสอบจากหลายฝ่าย ทั้งส.ว. ส.ส.ฝ่ายค้านและรัฐบาล บุคคลภายนอก แต่สุดท้ายรัฐบาลก็ไม่ได้นำผลการสอบสวนเหล่านั้นมารายงานให้สังคมได้รับรู้เลย จะโทษสังคมระแวงและไม่เชื่อถือก็คงไม่ได้ เพราะบังเอิญก็มีร่องรอยให้ตั้งข้อสังเกตุได้จริงๆเสียด้วย ยิ่งกรณีที่ นพ.ภูมินทร์ ลีธีระประเสริฐ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผ่านเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โดยให้ เหตุผลการลาออกคือ 1. นายกฯ เลือกปกป้องรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในข้อหาการทุจริต ถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้รัฐบาล ยิ่งเป็น 3 ข้อ ที่เป็นการตอกย้ำถึงบรรยากาศทางการเมืองที่ล้มเหลวในปัจจุบัน ฉะนั้นวันนี้การบ้านในเรื่องของการสร้างความจริงให้ปรากฏ คืนความยุติธรรมให้กับทุกฝ่าย จึงเป็นสิ่งที่สังคมคาดหวังมากที่สุด เพราะลึกๆจิตใจของคนไทยทุกคนก็เบื่อหน่ายความแตกแยกแตกต่าง เบื่อหน่ายการเมืองที่ฉวยโอกาสซ้ำเติม ทำลายล้างคู่แข่งขันทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตใจของคนไทยทุกคนนั้นล้วนแล้วแต่ผูกพันจงรักภักดีต่อสถาบันสูงสุดมาโดยตลอดและอย่างต่อเนื่อง จึงไม่อยากเห็นกลไกใดมาใช้สถาบันเป็นข้ออ้างในการทำลายล้างกันทางการเมืองอีกต่อไป งานนี้ไม่หมูแน่ๆ เพราะจนถึงขณะนี้ แม้นายอภิสิทธิ์จะมีการเรียก ฝ่ายความมั่นคงมาหารือ และประเมินภาพรวมของสถานการณ์ด้านความมั่นคงทั้งหมด เพื่อดูแนวโน้มและความเป็นไปได้ในการยกเลิกประกาศใช้พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เพราะ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ถือเป็นจุดอ่อนที่ถูกโจมตีอย่างหนักว่า เป็นการพยายามคงอำนาจไว้ เพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายการเมือง ทั้งๆที่สร้างผลกระทบต่อบรรยากาศทางเศรษฐกิจอย่างมาก โดยเฉพาะต่างประเทศ และองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ก็ได้ออกมาเตือนย้ำถึงเรื่อง พ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่หยุด ซึ่งประเด็นเหล่านี้นายอภิสิทธิ์เองก็รู้ดี เลยทำให้ต้องมีการหารือว่าสมควรยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินได้หรือยัง แต่สุดท้าย อาจจะออกมาแค่ อาจยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินเฉพาะพื้นที่จังหวัดภาคกลางก่อนเท่านั้น ก็คงได้แต่สะกิดเตือนนายอภิสิทธิ์ว่า ที่ผ่านมาสังคมมองว่านายอภิสิทธิ์ พังเพราะนายสุเทพ พังเพราะนายกษิต ภิรมย์ ยังไงก็อย่าให้ต้องมาพังเพราะไม่ยอมเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินตามแรงยุของบางคนอีกเลย ถ้าทำแค่ 3 สิ่ง คือ คืนความยุติธรรม ล้มระบบ 2 มาตรฐาน และเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รัฐบาลก็อาจจะอยู่ครบเทอมได้ โดยไม่ต้องให้นายสุเทพมาขายฝันว่าจะอยู่ต่ออีก 1 ปี ให้เสียคะแนนเสียเปล่า เพราะอยู่นาน แล้วไม่แก้ปัญหา สุดท้ายพรรคประชาธิปัตย์ก็จะมีต่เสียกับเสีย เชื่อเถอะ!!!
2. จนถึงขณะนี้นายกฯยังไม่มีการประสานงานพูดคุยกับแกนนำพรรคเพื่อแผ่นดินว่าจะ ให้ร่วมรัฐบาลต่อ หรือถอนตัว แต่กลับเอาคนของพรรคไปเป็นเสียงสนับสนุนรัฐบาล เป็นการทำลายระบบพรรค สร้างกลุ่มงูเห่าในการเมือง
3. นายกฯ และรัฐบาลควรขอโทษประชาชน หรือแสดงความรับผิดชอบกรณีล้มเหลวในการสร้างความปรองดองของคนในชาติ และบกพร่องต่อการทำหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก