WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, June 6, 2010

"มาร์ค"กระชับ วงล้อมตัวเอง

ที่มา ข่าวสด



ภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้าน ถึงแม้ นายอภิ สิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จะอ้างว่าสภาและประชาชนยังให้โอกาสรัฐบาลทำงานต่อไป

แต่จากตัวเลขผลการลงคะแนนในญัตติ

เน้นไปที่ในส่วนของ นายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม และ นาย ชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย 2 รัฐมนตรีพรรคภูมิใจไทย ที่ครองอันดับบ๊วยและรองบ๊วย

เนื่องจากส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดินบางกลุ่มเล่นเกมตลบหลังลงมติไม่ไว้วางใจและงดออกเสียง

ก็คือเครื่องสะท้อนธรรมชาติของ "รัฐบาลผสม" ที่แออัดยัดทะนานไปด้วยพรรคการเมืองและนักการเมืองหลากหลายสายพันธุ์

โดยเฉพาะรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ ที่มีความแตกต่างจากรัฐบาลผสมโดยทั่วไป เพราะไม่ได้เกิดจากการผสมพันธุ์กันตามธรรมชาติหลังการเลือกตั้ง

แต่เกิดจากการพลิกขั้วย้ายข้างทาง การเมืองหลังรัฐบาล นายสมัคร สุนทรเวช และ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ประสบอุบัติเหตุถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากอำนาจ

รัฐบาลอภิสิทธิ์ ตั้งขึ้นมาโดยการอุ้ม ชูของ "ผู้มีบารมี" มากหน้าหลายตาทั้งในการเมืองและนอกการเมือง ตลอดจนกองทัพคอยให้การหนุนหลังทั้งในทางลับและเปิดเผย

ภาพของการจัดตั้งรัฐบาลจึงเป็นภาพของการตอบแทนบุญคุณกันขนานใหญ่ ผ่านการจัดสรรโควตาเก้าอี้รัฐมนตรี และการแบ่งเค้กงบประมาณ

พรรคใดได้มากได้น้อยขึ้นอยู่กับอำนาจการต่อรองซึ่งหมายถึงจำนวนเสียงส.ส.ที่มีอยู่ในมือ

พรรคภูมิใจไทยได้รับการปรนเปรอเอาอกเอาใจจากนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ในฐานะผู้จัดการรัฐบาลมากเป็นพิเศษ

สร้างความอัดอั้นตันใจให้กับพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ โดยเฉพาะพรรคเพื่อแผ่นดินที่มีสภาพเป็นไม้เบื่อไม้เมากับพรรคภูมิใจไทยมาตลอด

ซึ่งไม่ต่างจากระเบิดเวลาที่เข็มกระดิกเดินอย่างเงียบๆ

ในช่วงเวลาเกือบปีครึ่งของรัฐบาลอภิสิทธิ์

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน หนึ่งในแกนนำพรรคภูมิใจไทย เคยกล่าวถึงรัฐบาลผสมชุดนี้ว่า เหมือนกับทุกคนตกอยู่ในอาการกลัวผีจนต้องหนีไปกอดกันที่มุมห้อง

สะท้อนภาพของรัฐบาลชุดนี้ได้ตรงที่สุด

พรรคร่วมรัฐบาล 5-6 พรรคที่กอดกันกลม ไม่ใช่เพราะรักกันดูดดื่มแต่เพราะกลัว "ผีทักษิณ" หลอกหลอน

นอกจากนั้นแล้วตลอดระยะเวลา 1 ปี 6 เดือนของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ประสบปัญหาในการบริหารประเทศแทบทุกด้านทั้งการ เมือง เศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคง และการต่างประเทศ

สัญญาประชาคมที่นายอภิสิทธิ์ เคยให้ไว้ในวันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน 5 ข้อ

1.ปกป้องสถาบัน 2.เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ 3.ยึดหลักนิติธรรมและนิติรัฐ 4.ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต 5.สร้างความสมาน ฉันท์นำพาชาติพ้นจากวิกฤต

ก็ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง

กฎเหล็ก 9 ข้อซึ่งถูกกำหนดเป็นกรอบการปฏิบัติตัวและการทำงานร่วมกันของรัฐมนตรีทุกพรรค ถูกแหกละเมิดหลายครั้งหลายหนจนหมดความศักดิ์สิทธิ์

ถ้อยคำหรูๆ อย่างเช่น "ความรับผิดชอบทางการเมืองจะต้องสูงกว่าความรับผิดชอบทางกฎหมาย" กลายเป็นเรื่องล้อกันเล่น ไม่เป็นจริงในทางปฏิบัติ

ต้นทุนของนายอภิสิทธิ์ ที่ว่ามีอยู่สูง ถูกพรรคพวกกันเองกัดเซาะทำลายจนแทบไม่เหลือ

ขณะที่การเมืองนอกสภา เดินมาถึงจุดแตกแยกรุนแรงมากที่สุดเมื่อรัฐบาลตัดสินใจใช้ปฏิบัติการทางทหารเข้าสลายการชุมนุมของประชาชนคนเสื้อแดง

เป็นเหตุให้มีคนตาย 90 คน บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน

แม้รัฐบาลจะดั้นด้นเอาตัวรอดจากศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านมาได้

แต่กรณีของพรรคเพื่อแผ่นดินกับพรรคภูมิใจไทยก็เป็นโจทย์ยากข้อใหม่ให้ "อภิสิทธิ์-สุเทพ" ต้องเร่งแก้ไข

ไม่เช่นนั้นขืนปล่อยให้กระแสความไม่ชอบธรรมจากเรื่องสลายม็อบจนมีคนตายเจ็บเป็นเบือ ไหลไปรวมกับปัญหาเสถียร ภาพภายในของรัฐบาล

ต่อให้รัฐบาลเทพประทานก็ยากจะฝืนอยู่ต่อไปได้

จากสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

พรรคภูมิใจไทยด่าทอพรรคเพื่อแผ่นดินกลุ่มที่ลงคะแนนไม่ไว้วางใจนายชวรัตน์ และนายโสภณ ว่าไม่มีมารยาท หน้า ด้าน ขณะที่ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดินโต้กลับว่าไม่ต้องการพายเรือให้โจรนั่ง

ยากจะสมานฉันท์กันได้อีกต่อไป

เดือดร้อนพรรคประชาธิปัตย์แกนนำรัฐบาลต้องเร่งหาทางเจรจาปรองดอง

แต่ด้วยความที่ยังต้องยืมจมูกคนอื่นต่อลมหายใจให้ตนเอง ผลเจรจาที่ออกมาจึงมีแนวโน้มว่าพรรคเพื่อแผ่นดินที่ "กำปั้น" เล็กกว่าพรรคภูมิใจไทยจะถูกปรับออกจากรัฐบาล

เหลือให้ลุ้นแค่จะถูกเขี่ยออกทั้งพรรค หรือเฉพาะ "กลุ่มกบฏ" แล้วริบ 3 เก้าอี้รัฐมนตรีคืนเพื่อนำมา เกลี่ยกันใหม่ ใช้เป็นรางวัลล่อใจพวกที่ยังเหนียวแน่น

ไม่ก็พวกที่จ้องเสียบภายหลัง

ขณะที่ส.ส.ประชาธิปัตย์ที่เคยพลาดเก้าอี้ในช่วงแรกจัดตั้งรัฐบาล ก็ฉวยจังหวะแปรวิกฤตเป็นโอกาส กดดันให้มีการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีภายในพรรคเช่นกัน

สิ่งที่เป็นสัจธรรมในการปรับครม.ทุกครั้ง ก็คือแรงกระเพื่อมที่จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เพราะเมื่อมีคนใหม่เข้ามาอย่าง นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ นายจุติ ไกรฤกษ์ และ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน

คนเก่าที่ถูกปรับออกอย่าง คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย นายไพฑูรย์ แก้วทอง นายธีระ สลักเพชร อาจจะไม่พอใจ

ยิ่งปรับหลายเก้าอี้ ความปั่นป่วนวุ่นวายยิ่งมีมาก

โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีที่ไม่ได้ยึดโยงกับผลการอภิปรายไม่ไว้วางใจ และไม่ได้นับเอาเรื่องประสิทธิภาพหรือผลงานเป็นหลัก

แต่เป็นไปในลักษณะสมบัติผลัดกันชมนั้น

แทนที่จะทำให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลได้รับการฟื้นฟูเยียวยา กลับจะเป็นการกระชับวงล้อมตัวเอง

นับถอยหลังสู่การพังทลายเร็วขึ้นกว่าเดิม