WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, June 8, 2010

การตรวจสอบ! ธุรกรรมทางการเงิน

ที่มา บางกอกทูเดย์


ศอฉ. มีคำสั่งห้ามมิให้กระทำการใดๆ หรือสั่งให้กระทำการใดๆ เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของบุคคล หรือนิติบุคคลที่จำเป็นแก่การรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประเทศ และความปลอดภัยของประชาชน เห็นคำสั่งแล้ว...ก็รู้สึกถึงการเลือกใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของรัฐบาลที่หยิบยกบทกฎหมายมาเลือกใช้หรือไม่ และเป็นการเลือกปฏิบัติต่อนักการเมืองที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามหรือเปล่า บอกตรงๆ อดคิดไม่ได้! เพราะคำสั่งดังกล่าว ห้ามธนาคาร สถาบันการเงิน

บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกัน สหกรณ์ นิติบุคคลที่รับแลกเปลี่ยนเงิน ทำนิติกรรมสัญญา หรือการดำเนินการใด ๆ ทางการเงิน ทางธุรกิจ ทางทรัพย์สินของบุคคลหรือนิติบุคคลที่ประกาศไว้ การห้ามดังกล่าว...กำหนดให้ธนาคาร สถาบันการเงิน บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทประกัน สหกรณ์ นิติบุคคลที่รับแลกเปลี่ยนเงิน

แจ้งและส่งข้อมูลการทำธุรกรรมของบุคคลหรือนิติบุคคลที่ประกาศไว้ให้ ศอฉ. ทราบ กรอบการส่งข้อมูลมีเงื่อนเวลากำหนดไว้ โดยกำหนดว่า...ให้จัดส่งข้อมูลการทำธุรกรรมของบุคคลหรือนิติบุคคลที่ประกาศไว้ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2552 ถึงวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 มาให้ ศอฉ. ภายในวันที่ 21 พฤษภาคม 2553

นอกจากขอข้อมูลธุรกรรมต่างๆ ตามช่วงเวลาที่ระบุไว้ ศอฉ. ยังกำหนดห้ามการทำธุรกรรมที่จะมีต่อไปเอาไว้ด้วย หมายความว่า...บุคคลหรือนิติบุคคลที่ประกาศไว้จะทำธุรกรรมใดๆ ไม่ได้...เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ศอฉ. เป็นคราวๆ ไป การใช้อำนาจของรัฐบาลผ่าน ศอฉ. เช่นนี้ อาจจะดูว่า...

มีอำนาจกระทำได้ตามกฎหมาย แต่ในทางปฏิบัตินั้นจะเกิดความยุ่งยากหรือไม่ จะทำให้เกิดประสิทธิภาพได้จริงแค่ไหน ยังเป็นที่น่าติดตาม เพราะแค่การกำหนดให้รายงานธุรกรรมทางการเงินของบริษัทที่ถูกประกาศห้ามไว้ ซึ่งมีบางบริษัทจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แปลว่า...เป็นบริษัทมหาชน

ธุรกรรมของบริษัทจึงเป็นไปในนามของผู้ถือหุ้นทุกคน แต่การประกาศห้ามทำธุรกรรมในบริษัทมหาชน โดยมุ่งเน้นไปที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือกรรมการบริษัทบางคนอาจจะเป็นเรื่องฟ้องร้องตามมาได้ เพราะบริษัทมหาชน...มีผู้อื่นที่มีส่วนได้เสียรวมอยู่ด้วย ผู้ถือหุ้นรายอื่นที่เขาไม่เกี่ยวข้องด้วย อาจได้รับผลกระทบตามไปด้วย

เนื่องราคาหุ้นในตลาดหลักทรัพย์คงจะมีราคาลดลงจากความตกใจของผู้ลงทุน ทำให้มูลค่าหุ้นของนักลงทุนตกลงอย่างไม่มีพื้นฐานในการประกอบการมาสนับสนุน การสั่งห้ามทำธุรกรรมบุคคลหรือนิติบุคคลที่ประกาศไว้...จึงดูเหมือนเป็นการ “เหวี่ยงแห” แบบมีความรู้เรื่องทางการลงทุนน้อยไปสักหน่อย

รัฐมนตรีคลังก็น่าจะทักท้วงเรื่องนี้ไว้บ้าง! ในกรณีการของให้ส่งรายการธุรกรรมทางการเงินก็เช่นกัน ดูเหมือนจะทำให้ตกอกตกใจแก่ผู้ที่ถูกขึ้นบัญชีไปบ้าง แต่พิจารณาแล้วก็คงทำให้ ศอฉ. เองนั่นแหละที่จะมี “งานหนัก” เพราะเพียงแค่การตรวจสอบรายการเคลื่อนไหวในบัญชีกระแสรายวัน บัญชีออมทรัพย์

ของแต่ละธนาคารของบริษัทที่มีการเคลื่อนไหวทุกๆ วัน ก็คงทำงานกันหน้ามืดไปก่อนค่ำแน่นอน และในการตรวจสอบจากบัญชีธนาคารหรือ Statement นั้นจะดูไม่ออกหรอกครับ เพราะต้องไปดูคู่กับรายการบัญชีของบริษัท ตั้งแต่ด้านรายรับ ซึ่งมีตั้งแต่ใบสั่งซื้อ ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษีขาย และใบเสร็จรับเงิน

และต้องดูด้านรายจ่ายตามไปด้วย ตั้งแต่การตั้งเจ้าหนี้ การจ่ายชำระเงินให้เจ้าหนี้เป็นเช็ค หรือจ่ายจากเงินสดย่อย ต้องตรวจสอบใบรับของ ใบกำกับภาษีซื้อ ใบเสร็จรับเงิน ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย การอนุมัติรายการในใบสำคัญทางบัญชี การตรวจสอบทั้งสองด้าน คือ ตรวจสอบจากรายการเคลื่อนไหวทางบัญชี

กับการตรวจสอบการรับจ่ายเงินตามเอกสารของบริษัท แค่นี้ก็ “ปวดหัวเวียนเกล้า” แล้วครับ...ยิ่งการตรวจสอบที่กำหนดช่วงเวลาไม่สอดคล้องกับรอบบัญชี ยิ่งยุ่งมากขึ้น แต่รัฐบาลก็คงมีความชำนาญในการทำบัญชีมาพอสมควร เพราะพรรคแกนนำเช่น พรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องทำบัญชีของพรรครายงานให้คณะกรรมการ

การเลือกตั้งทราบเป็นงบดุลกับงบรายได้ค่าใช้จ่ายทุก ๆ ปี ความชำนาญในการทำบัญชีคงมีมาก เพราะพรรคประชาธิปัตย์ตั้งมากว่า 60 ปี เป็นพรรคการเมืองที่มีอายุมากที่สุดในไทยขณะนี้ และกำลังถูกตรวจสอบการทำธุรกรรมทางการเงินของพรรคเช่นเดียวกัน พรรคประชาธิปัตย์เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบมา

ตั้งแต่กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ตรวจสอบกรณีมีผู้ร้องว่า...มีบริษัทมหาชนแห่งหนึ่งบริจาคเงินให้พรรค แต่เงินนั้นไม่ได้เข้าบัญชีพรรค แต่นำไปผ่านบริษัทเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง บริษัทนี้ก็คงมีการทำธุรกรรมแบบเบิกเงินสดเอาไปให้กรรมการบางคน เลยไม่มีการลงบัญชีทั้งรายรับและรายจ่ายในงบการเงินพรรค เวลาปิดบัญชี

ตัวเลขก็เลยหายไปทั้งสองด้าน งบดุลก็ปิดลงตัว และสามารถรายงาน กกต. ได้ต่อไป แต่เรื่องนี้เกิดขึ้นเพราะสรรพากรไปตรวจพบว่า...บริษัทที่เป็นตัวกลางใช้ใบกำกับภาษีปลอม เรื่องก็แดงขึ้นมา และเมื่อมีการร้องให้ ดีเอสไอ ตรวจสอบเส้นทางการเงินจึงพบความผิดปกติในการทำธุรกรรม เพราะเงินไปทาง

บิลมาอีกทาง มั่วแน่ๆ สำหรับคนที่รู้เรื่องบัญชี แต่ก็ต้องให้ความเป็นธรรมไปสิ้นสุดที่ศาล นอกจากนี้ยังมีประเด็นที่คล้ายกันคือ การนำเงินที่ กกต. ให้มาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ แต่ก็ตะแบงแก้ตัวว่า แค่ลงบัญชีผิดประเภท แค่ทำป้ายผิดขนาด ทำป้ายผิดขนาดคงไม่ใช่สาระ และการลงบัญชีผิดประเภทก็แก้ไขได้ด้วย

การปรับปรุงบัญชี เช่น ซื้อเสื้อแดง แต่ไปลงบัญชีว่า ซื้อกางเกงสีเหลือง เช่นนี้เรียกว่า ลงผิดประเภท ไม่ใช่ความผิดหรือทุจริตแต่อย่างใด แต่การเบิกเงินบริจาคไปใช้ผิดวัตถุประสงค์โดยไม่มีการซื้อหรือจ้างจริงนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะถ้าพิสูจน์ออกมาได้ว่า...มีการผ่องเงินออกจากพรรคโดยไม่มีการซื้อหรือจ้างจริง

นำเงินไปใช้แบบผิดๆ แล้วใช้บิลปลอมมาลงบัญชี ก็อาจโดนยุบพรรคได้ การสั่งตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินนั้นเป็นเรื่องดี ถ้าทำเป็น รู้วิธีการตรวจสอบ...แต่ถ้าเพียงเรียกเอกสารทั้งหมดแล้วมานั่งแกะทุกตัวอักษรแล้ว อาจจะต้องใช้เวลาไปอีกนาน เพราะถ้ามีการอธิบายรายการที่ละรายการคงใช้เวลากันหลายปี

การตรวจสอบที่เคยเรียกร้องมาตลอดเวลาไม่ใช่ทำอย่างนี้...แม้ว่าช่วงนี้จะได้ยินมาว่ามีความพยายามจะติดตามตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินของผมก็ตาม เชิญเลยครับ...ผมชอบอยู่แล้ว และเรียกร้องเรื่องนี้มาตลอด แต่สิ่งที่เรียกร้องนั้น ไม่ใช่การเลือกปฏิบัติ แต่ควรทำเป็นเรื่องปกติทำเป็นประจำทุกปีเหมือนการปิดบัญชีบริษัท

นั่นคือ ควรให้มีการแจ้งบัญชีทรัพย์สินพร้อมแบบการเสียภาษีของนักการเมือง ผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง กันทุกปี อย่างเปิดเผย ถ้าทำได้...ประชาชนก็จะช่วยกันตรวจสอบได้เองว่า “เรืองไกร” มีรายรับรายจ่ายแต่ละปีเท่าท่าไร มีทรัพย์สินสุทธิต้นปีกับปลายปีสอดคล้องกับรายรับและรายจ่ายหรือไม่

มีรายรับที่แสดงที่มาได้หรือเปล่า เสียภาษีครบถ้วนหรือไม่ ผมเองเรียกร้องเรื่องนี้มากว่าสองปีแล้ว และยังจะเรียกร้องต่อไป รวมทั้งพร้อมที่จะแสดงรายการให้สาธารณชนทราบได้ทันที ถ้านายกฯ อภิสิทธิ์ และคณะรัฐมนตรี รวมทั้งนักการเมืองทั้งหลายเอาด้วยกับผม ผมถามตรงๆ อย่างนี้แล้ว นายกฯอภิสิทธิ์

จะกล้าสั่งให้คณะรัฐมนตรีเปิดเผยบัญชีทรัพย์สิน รายได้ ค่าใช้จ่าย แบบภาษีแต่ละปี ไหมครับ? รวมทั้งบรรดา ส.ส. และ ส.ว. ทั้งหลายด้วย โดยเริ่มกันเลยตั้งแต่ปลายปี 2551 และ 2552 เอาไหมครับ? เพราะถ้าส่วนหัวคือคณะรัฐมนตรีกับ ส.ส. และ ส.ว. ทำการเปิดเผยกันได้ การตรวจสอบอย่างเท่าเทียมก็จะตามมา

ต่อไปการเปิดเผยบัญชีทรัพย์สินก็จะขยายไปยังองค์กรตามรัฐธรรมนูญ ผู้บริหารระดับสูงของราชการและรัฐวิสาหกิจต่อไป รูปแบบการตรวจสอบแบบใช้อำนาจวูบๆ วาบๆ กับคู่แข่งทางการเมือง ด้วยการตั้งข้อกล่าวหากันไว้ก่อนนั้น...ถามอีกที นายกฯ อภิสิทธิ์ ชอบหรือครับ?!