WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, June 8, 2010

ปรับครม."มาร์ค 5"ใครได้ประโยชน์

ที่มา ข่าวสด


รายงานพิเศษ




ดิเรก ถึงฝั่ง / สุกัญญา สุดบรรทัด
ภาพการปรับครม.มาร์ค 5 ที่บรรดาคนอกหักในพรรคประชาธิปัตย์ตบเท้าได้นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีกันถ้วนหน้า

พร้อมยึดโควตาเก้าอี้รัฐมนตรี 2 เก้าอี้ใหญ่จากพรรคเพื่อแผ่นดิน ทั้งรมว.อุตสาหกรรม และรมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) มาดูแลเอง โดยไม่แตะต้องรัฐมนตรีของพรรคภูมิใจไทย ที่ถูกพรรคเพื่อแผ่นดินโหวตสวนในปัญหาทุจริต

ขณะเดียวกัน ยกโควตารัฐมนตรีให้กับกลุ่มการเมืองหรือพรรคการเมืองที่พร้อมยกมือสนับสนุนให้รัฐบาลมีเสียงในสภาเพิ่มขึ้น

นักวิชาการและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้วิเคราะห์การปรับครม.ดังกล่าว จะส่งผลให้รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อยู่ตลอดรอดฝั่งตามที่นายอภิสิทธิ์ ได้ส่งซิกออกมาว่า อาจจะมีการเลือกตั้งในช่วงต้นปี 2554

หรือจะส่งผลให้ภาพลักษณ์ของรัฐบาลแย่ลง



ดิเรก ถึงฝั่ง

ส.ว.นนทบุรี

การปรับครม.ถือเป็นเรื่องธรรมดา เพื่อปรับเปลี่ยนการทำงาน แต่การปรับครม.ครั้งนี้ถูกวิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่า ครม.ที่ถูกปรับเปลี่ยนไม่ใช่รัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ

แม้การปรับครม.จะเป็นเรื่องปกติ แต่บุคคลที่เข้ามาดำรงตำแหน่ง ถือว่าถูกตาต้องใจประชาชนแล้วหรือยัง ซึ่งในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ ผมว่าใช้ได้ เพราะเคยเห็นหน้าตามีผลงานอยู่บ้าง แต่ผมเสียดายนายไพฑูรย์ แก้วทอง อดีตรมว.แรงงาน เพราะถือเป็นผู้ที่ตั้งใจทำงานและมีผลงาน ขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลที่มีการปรับใหม่เข้ามา ต้องยอมรับว่าชื่อเสียงไม่เห็น หาผลงานไม่เจอ ยังไม่เคยเห็นฝีมือ หรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นมวยที่ยังไม่มีอันดับ

ฉะนั้น การปรับครม.ครั้งนี้ จึงถือว่าได้ประโยชน์น้อยไปหน่อย


ส่วนการปรับครม.ครั้งนี้ จะนำไปสู่การอยู่ครบเทอมหรือไม่นั้น จากการฟังคำให้สัมภาษณ์ของนายกฯ ที่ระบุอาจให้มีการเลือกตั้งใหม่ช่วงต้นปี 2554 พร้อมกับการขับเคลื่อนแผนปรองดอง ซึ่งการพูดเช่นนี้ ท่านคงไม่ต้องการอยู่ให้ครบเทอม คงต้องการให้มีการเลือกตั้งใหม่ช่วงต้นปี

แต่การขับเคลื่อนแผนปรองดองตามที่นายกฯ ระบุ ผมยังไม่เห็นความคืบหน้าอะไร ซึ่งท่านต้องเร่งทำและลงมือปฏิบัติอย่างจริงจังด้วย

สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ / ทวี สุรฤทธิกุล /ไพรัช ตระการศิรินนท์


อย่างไรก็ตาม ถ้ารัฐบาลชุดนี้จะพัง ผมมั่นใจว่าเป็นเพราะพรรคร่วมรัฐบาล ที่ผมยืนยันเช่นนี้เนื่องจากรัฐมนตรีที่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และถูกโหวตสวนจากพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน ยังคงอยู่

นี่คือจุดอ่อนของรัฐบาลที่หลายฝ่ายเขาวิพากษ์วิจารณ์กัน จึงเป็นเรื่องที่นายกฯ ต้องคุมให้อยู่ ควบคุมให้อยู่ในกรอบโดยเฉพาะการทุจริตคอร์รัปชั่นที่ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด



สุกัญญา สุดบรรทัด

ส.ว.สรรหา

การจะวิจารณ์ว่ารัฐมนตรีหน้าใหม่แต่ละคน คงต้องดูก่อนว่าการทำงานในช่วงแรกมีแนวทางการทำงานอย่างไร

แต่ถ้ามองรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับสื่อ หวังว่า นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รมต.ประจำสำนักนายกฯ คนใหม่ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลสื่อ น่าจะมีท่าที ผ่อนคลาย และมีจิตใจเปิดกว้างกว่ารัฐมนตรีคนก่อน เพราะก่อนหน้านี้ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกฯ ซึ่งเคยดูแลสื่อ เคยพูดเสมอว่าจะให้เสรีภาพกับสื่อ แต่ท้ายสุด นายสาทิตย์ จะมีคำว่า "แต่" ตามมาปิดท้ายแทบทุกครั้ง

หวังว่ารัฐมนตรีคนใหม่จะไม่นำช่อง 11 มาเป็นเครื่องมือให้กับภาครัฐจนมากเกินไป เพราะจากรายงานผลการติดตามการทำงานในช่อง 11 ของมีเดีย มอนิเตอร์ ผลวิเคราะห์ชัดเจนว่าเป็นเครื่องมือทางการเมือง โจมตีฝ่ายตรงข้าม ไม่มีความเป็นกลาง รวมทั้งไม่มีการเปิดพื้นที่ให้ฝ่ายตรงข้ามได้แสดงความคิดเห็น

หากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง จะเป็นการลดคุณค่า ศักดิ์ศรี ความศรัทธา จนหายไปในที่สุด



สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

นักวิชาการเศรษฐศาสตร์การเมือง รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์

การปรับครม.ครั้งนี้น่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นบ้างเล็กน้อย เหตุผลประการแรก ในแง่การเมือง การปรับครั้งนี้เท่ากับปรับประเด็นปัญหาเกาเหลาออกไป คือเอาพรรคเพื่อแผ่นดินออก ทำให้ปัญหาความขัดแย้งภายในลดลง

ประการที่สอง ปรับโดยที่คะแนนเสียงของรัฐบาลยังเพียงพออยู่ เราจะเห็นได้ชัดว่ารัฐบาลมีคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งอยู่พอสมควร ทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลไม่ถูกกระทบ

ประการที่สาม ถือเป็นโอกาสที่รัฐบาลจะได้เปลี่ยนตัวบุคคลเพื่อให้สอดคล้องกับ 2 เรื่อง คือ เรื่องอำนาจต่อรองระหว่างพรรค ทำให้พรรคประชาธิปัตย์ได้ที่นั่งเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันได้ปรับตัวบุคคลให้มีความเหมาะสมมากขึ้น เช่นกรณีนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกฯ ที่ถูกวิจารณ์มาก รวมถึงกระทรวงไอซีที ที่มีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการอยู่เช่นกัน

หลายคนอาจมองว่า การปรับครม.น่าจะทำได้ดีกว่านี้ แต่ผมคิดว่าด้วยข้อจำกัดทางการเมือง เปลี่ยนได้ขนาดนี้ถือว่าดีขึ้นแล้วถ้าเทียบกับชุดก่อน แต่การปรับครั้งนี้ไม่ได้เป็นตัวบ่งบอกว่ารัฐบาลจะมีประสิทธิภาพขนาดไหน ทั้งนี้รัฐบาลน่าจะถือโอกาสนี้ ทำให้คนลดความบาดหมางลง และมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

ส่วนรัฐบาลจะอยู่รอดได้นานแค่ไหนขึ้นอยู่กับ 3 ประการ คือ ด้านเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องประคองให้เศรษฐกิจปีนี้อยู่รอดไปได้ และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สามารถแข่งขันได้ และในแง่การเมือง ขึ้นอยู่กับความสามารถที่จะนำไปสู่การปรองดอง และอีกประเด็น คือ การปฏิรูปทางการเมือง เพื่อให้ปัญหาที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่อดีตได้รับแก้ไข

การที่รัฐบาลเอาคนของประชาธิปัตย์ มานั่งกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงไอซีที ผมมองว่าเพื่อดูแลเรื่องเศรษฐกิจเองโดยตรง ต้องยอมรับว่าไอซีทีและอุตสาหกรรมนั้นเกี่ยวพันกัน ความสามารถในการแข่งขัน และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ก็เกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านี้

นอกจากนี้ ตอนที่เกิดเรื่องเสื้อแดง จะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพในการบริหารสื่อ ขึ้นอยู่กับเอกภาพ ฉะนั้นกระทรวงไอซีที จะเป็นส่วนสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมืองด้วย



ทวี สุรฤทธิกุล

อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ สุโขทัยธรรมาธิราช

การปรับครม.ครั้งนี้เหมือนเก้าอี้ดนตรี สมบัติผลัดกันชม ปรับโดยมีเป้าหมาย 3 เรื่อง คือ 1.แทนที่เสียงที่หายไป แต่เสียงก็ยังไม่พอ เพราะหายไป 14 เสียงแต่มา 13 เสียง 2.เป็นการทำตามสัญญาใจของคนในพรรคประชาธิปัตย์ด้วยกัน

3.เป็นการแสดงพลังของพรรคประชาธิปัตย์ในการจัดการปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหารัฐสภา ปัญหาภายในรัฐบาล หลังจากที่ผ่านมาปล่อยปละละเลย จนทำให้พรรคประชาธิปัตย์ทำท่าจะเสียคะแนน จึงต้องกลับมาคุมพรรคร่วมรัฐบาลให้อยู่ในกฎเหล็ก 9 ข้อ แต่ขึ้นกับพรรคประชาธิปัตย์เองว่าจะคุมได้หรือไม่

ผมคิดว่าก่อนเลือกตั้งน่าจะมีการปรับอีก 1-2 ครั้ง ถ้าเลือกตั้งปีหน้า ก็น่าจะมีปรับครม.อีกในช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า เพราะพรรคประชาธิปัตย์กำลังจับตาดูพรรคร่วมเป็นพิเศษ อย่างกระทรวงมหาดไทย พรรคที่ดูอยู่ต้องตุนเสบียง ถ้าแย่งกันด้านลบ แย่งกันกักตุนเสบียง ประชาธิปัตย์คุมตำรวจ ภูมิใจไทยคุมผู้ว่าฯ อาจมีความขัดแย้ง หรือหากมีทุจริต พรรคประชาธิปัตย์คงไม่ปล่อยไว้ ซึ่งกระแสสังคมก็รอดูอยู่

หากประสานผลประโยชน์กันได้ก็อยู่กันนาน หรือถ้าเสียงยังไม่ดี ก็ลากกันไปก่อน ซึ่งผมคิดว่ารัฐบาลจะลากกันไปแบบถูลู่ถูกังจนครบวาระถึงปลายปี 2554 เพื่อรอให้พรรคประชาธิปัตย์ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอีกในเที่ยวหน้า



ไพรัช ตระการศิรินนท์

คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ เชียงใหม่

การปรับครม.ชุดนี้ยังเป็นนักการเมืองกลุ่มหน้าเดิม หมุนกันไปมา ไม่ได้มองว่าจะเอาคนนอกหรือคนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เห็นผลงานรัฐบาลชัดๆ

การปรับโดยรวมก็เหมือนกระแสทั่วไปที่รัฐบาลห่วงเรื่องความมั่นคง เสถียรภาพรัฐบาลมากกว่าการเอามืออาชีพมาสร้างผลงานในช่วงเวลาสั้นๆ

น่าเสียดายถ้ารัฐบาลพยายามสร้างผลงานโดดเด่นชัดๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อให้สังคมเห็นถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาล ผลงานจะทำได้มาก แต่ต้องยอมรับว่ารัฐบาลมีข้อจำกัดที่ต้องประคับประคองคะแนนเสียงในสภา

ผมวิเคราะห์ว่าการปรับครม.ครั้งนี้ พยายามประคับประคอง เพื่อให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ อยู่ได้นานหน่อย จึงจัดรูปแบบสัดส่วนรัฐบาลออกมาแบบนี้

ส่วนจะอยู่ครบวาระหรือไม่นั้น ประเมินยาก แต่แนวโน้มมีโอกาสเยอะที่จะอยู่ครบวาระ เพราะการโหวตเรื่องสำคัญในสภา เช่น โหวตงบประมาณ กฎหมายสำคัญๆ คงทำได้หมด