WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, June 6, 2010

กระเทาะกึ๋น "อนุดิษฐ์ นาครทรรพ" อดีตนักบินแห่งทัพฟ้า สู่ถนนการเมืองที่ไม่ได้ปูด้วยคอนกรีต

ที่มา มติชน

นาวาเอก อนุดิษฐ์ นาครทรรพ



น.อ.อนุดิษฐ์ ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เมื่อ 31 พ.ค.

โดย....ปรีชยา ซิงห์

เชื่อว่า หลังเสร็จสิ้นศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายรัฐมนตรี และ 5 รัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 31 พ.ค. ถึง 1 มิ.ย. 2553 ที่ผ่านมา คงทำให้ใครหลายคนได้รู้จักกับ นาวาเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส. กรุงเทพ พรรคเพื่อไทย มากขึ้น เนื่องจากอดีตทหารอากาศ ผู้พลิกผันจากการขับเครื่องบิน มาเดินถนนสสายการเมืองผู้นี้ กลับทำหน้าที่การอภิปรายครั้งนี้ ในฐานะฝ่ายค้านได้ดีที่สุด ตามความคิดเห็นของประชาชนผ่านผลสำรวจของสวนดุสิตโพล โดยยกให้ข้อมูล หลักฐานของ น.อ.อนุดิษฐ์นั้น มีความน่าเชื่อถือ สามารถโต้แย้งการทำหน้าที่ของรัฐบาล ในกรณีเหตุสลายผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือคนเสื้อแดง วันที่ 10 เม.ย. 53 ที่ผ่านมา และการเปิดโปงหลักฐานการทุจริตในโครงการต่างๆ ของรัฐบาล


มาวันนี้ เราจึงขอนำผู้อ่านมติชนออนไลน์ทุกคน มาทำความรู้จักตัวตน แนวคิด และแง่มุมต่างๆ ของอดีตหัวหน้าฝูงบิน แห่งทัพฟ้า วัย 45 ปี กับบทบาทการทำหน้าที่ในสภาผู้แทนราษฎรในฐานะฝ่ายค้าน กับการตรวจสอบการทำงานของฝ่ายรัฐบาลว่า เขาผู้นี้แท้จริงเป็นอย่างไร ถึงได้หยิบยกข้อมูลเจ๋งๆ ที่สามารถอภิปรายให้เป็นที่พอใจของประชาชนซึ่งรับชมการถ่ายทอดสดชนิดเฝ้าเกาะติดทีวี ที่ผ่านมาสดๆ ร้อนๆ ได้อย่างไม่มีใครกล้าปฏิเสธ


ถาม : จากกระแสตอบรับของประชาชนที่โหวตให้เป็นผู้ที่อภิปรายดีที่สุด


น.อ.อนุดิษฐ์ : ขอบคุณสำหรับพี่น้องประชาชนที่ให้คะแนนดังกล่าว แต่ผมคิดว่า ประเด็นสำคัญน่าจะอยู่ที่เนื้อหาสาระของการนำเสนอมากกว่า เพราะมีเนื้อหาสาระ ข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ชัดเจนมาก ทำให้การนำเสนอข้อมูลไปยังพี่น้องประชาชนให้สามารถเข้าใจในสิ่งที่อภิปรายและใช้ข้อมูลประกอบนำเสนอได้อย่างง่ายและฟังได้ชัดเจน

ถาม : เตรียมข้อมูลอย่างไร ?


น.อ.อนุดิษฐ์ : เริ่มแรก ทางพรรคได้แบ่งเนื้อหาสาระไว้ชัดเจน ซึ่งผมได้รับหน้าที่ในการให้ข้อมูลข้อเท็จจริง และการละเมิดกฎหมายในวันที่ 10 เม.ย. เนื่องจากผมเก็บข้อมูลต่างๆ จากการรับหน้าที่เป็นเลขานุการของศูนย์ช่วยเหลือดูแลความปลอดภัยของประชาชน (ศชปป) ของพรรคเพื่อไทย มาตั้งแต่เบื้องต้น เพราะการนั่งทำงานอยู่ตรงนั้น เราได้รับรายงาน ข้อมูล พยานบุคคล และพยานหลักฐาน เข้ามาตั้งแต่วันนั้น จน ณ วันนี้ ก็ยังไม่หมด จึงมีข้อมูลข้อเท็จจริงเอามาประกอบกับการสืบสวนสอบสวนค้นหาข้อเท็จจริง และนำไปสู่เชื่อมโยงกับประเด็นของกฎหมาย จึงรู้ว่าการปฏิบัติของทหารจนมีการเสียชีวิตและบาดเจ็บของคนจำนวนมากไม่ควรที่จะได้รับการคุ้มครอง จากนั้นก็นำข้อมูลทั้งหมดมาร้อยเรียงเพื่อใช้อภิปรายแค่สองวัน เมื่อได้กรอบเวลา 45 นาที ในวันแรก (31 พ.ค.) เราจึงได้ใช้ข้อมูลทั้งหมดที่มีมากมาย มหาศาลให้คุ้มค่ามากที่สุด

ถาม : พอใจกับผลงานไหม ?


น.อ.อนุดิษฐ์ : ไม่พอใจ กับการชี้แจงของทางฝั่งรัฐบาลในเรื่องที่อภิปราย ถ้าจะเทียบกับภาษิตโบราณ ก็เหมือนกับการตอบว่า "ไปไหนมา สามวาสองศอก" เนื่องจาก ผู้ตอบ (นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ) ไม่ได้ตอบให้ตรงประเด็น และอันไหนที่ไม่สามารถแก้ข้อกล่าวหาของเราได้ ก็ เลี่ยงไปใช้คำตอบว่า "ยังอยู่ภายใต้กระบวนการสอบสวน"ยังไม่มีข้อพิสูจน์ ดังนั้นการอภิปรายของพี่จึงเป็นการพูดถึงบุคคลลึกลับ กองกำลังไม่ทราบฝ่าย ที่มีมาตั้งแต่ต้น แต่ก่อนหน้านั้น ฝ่ายค้าน ไม่มีโอกาสได้พูด ได้ชี้แจงกับสื่อมวลชนเลย เนื่องจากถูกปิดกั้นโดยรัฐบาล ไม่เคยมีสื่อมวลชนช่องปกติ ได้เชิญพวกเราไปออกทีวีเลย ขณะที่ ศอฉ.ทำคลิปออกมา แล้วนำคลิปดังกล่าวเผยแพร่ให้กับสื่อมวลชนอย่างแพร่หลาย แต่กับทางพรรคเพื่อไทยเรา ขอเวลาแค่ชั่วโมงเดียวกลับไม่เคยได้รับการอนุญาต ไม่มีเลย (ย้ำเสียงหนักแน่นมาก) จนถึงวันนี้ก็ยังไม่เคยได้รับการตอบรับ นั่นจึงเป็นสาเหตุการอภิปรายในสภา

หลายคนถาม ด้วยเหตุผลกลใดทำไมถึงต้องมาอภิปรายกันวันนี้ ตรงนี้ สำหรับการเปิดประชุมสมัยวิสามัญ มีหวังผลแพ้ชนะอะไรกันหรือเปล่า ขอบอกไม่ใช่ เพราะ เราขอ 2 วันกับการถ่ายทอดที่เราสามารถเอาความจริงอีกด้านมาเปิดเผยกับพี่น้องประชาชนแค่นั้น มันเหลือช่อง เล็กๆ ตรงนี้เพียงช่องเดียว สำหรับเวทีของพวกเรา ส่วนหนังสือพิมพ์ ก็มีแค่บางหัว ที่เสนอข่าวตรงไปตรงมาและให้พื้นที่กับพวกเรา แล้วอย่างนี้จะทำให้ความขัดแย้ง แตกแยกในสังคมดีขึ้นอย่างไร เพราะคนที่เขารู้และอยากฟังอีกด้านเพื่อมาพิจารณาเปรียบเทียบข้อมูลกัน มันกลายไปเป็นว่า ถ้าคิดไม่ตรงก็ไม่ใช่ เลยคิดว่า คนที่ควบคุมสื่อของศอฉ. ไม่ได้ช่วยทำให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์กับคนในชาติเหมือนอย่างที่พูด สร้างความแตกแยกอย่างรุนแรงเลย

ถาม : เสียงตอบรับจากการอภิปรายครั้งนี้ ?

น.อ.อนุดิษฐ์ : เท่าที่ประเมินจากเสียงของประชาชน มีคนถึงกับพูดว่า การอภิปรายครั้งนี้ พี่น้องประชาชนได้เนื้อหาสาระมากที่สุด ดีที่สุด สำนวนโวหาร แน่อน ต้องมีเพราะเป็นเนื้อหา แต่สิ่งที่เน้นๆ เนื้อๆ คือ เนื้อหาสาระ ข้อเท็จจริง สาเหตุที่ดีเพราะพี่น้องประชาชนรับฟัง เขารู้อยู่แล้ว ความจริงเป็นอย่างไร เพราะมือเดียวปิดฟ้าไม่มิด ขอให้มีใครสักคน เอาความจริงมาเสนอได้ไหม ทำให้เขารู้สึกได้อะไรกลับมาบ้าง ถ้าไปดูเรตติ้งการถ่ายทอดสดการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลครั้งนี้ มีคนติดตามดูทางทีวีมาก เพราะเขาอยากรู้มาก 2 เดือนกับการปิดกั้น 2 วันกับการที่อีกฝ่ายหนึ่งมีโอกาสพูด นั่นจึงเป็นผลของการตอบสนองของคนที่ฟังการอภิปราย


การอภิปราย เป็นพื้นที่ให้ทั้งสองฝ่ายเอาข้อมูลมาเปิดเผยและอนุญาตให้พูดจาพร้อมกันทั้งสองฝ่าย คนที่อยู่ตรงกลางวันนี้เขาเข้าใจว่า มันมีความแตกแยก มันมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันทางการเมือง แต่วันนึงไปปิดกั้นการนำเสนอของอีกฝ่ายหนึ่ง อย่าลืมว่า มนุษย์มีสามัญสำนึกของความยุติธรรมอยู่ในหัวใจทุกคน มนุษย์จะไม่ชอบให้ใครคนใดคนหนึ่งหรือคนทั้งกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งถูกรังแกภายใต้มาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่ง เชื่อไหมว่า การอภิปรายครั้งนี้ จะช่วยเปลี่ยนทัศนคติ หรือจูงใจให้คนที่อยู่ตรงกลาง หรือคนที่เข้าข้างอีกฝ่ายหนึ่ง เริ่มเห็นความจริงอีกด้านที่ทางเพื่อไทยนำเสนอ แต่อย่างไรก็ตาม แน่นอนว่า 2 เดือนกับ 2 วันต่างกัน คนที่พูดมา 2 เดือน น่าจะให้ข้อมูลที่ซึมซับกับคนตรงกลางมากกว่า 2 วันที่อภิปราย แต่เชื่อว่า การอภิปรายครั้งนี้น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในหัวใจที่รักความยุติธรรม


ถาม : ยึดใครเป็นตัวอย่าง ในการอภิปรายไหม ?


น.อ.อนุดิษฐ์ : ไม่มีหรอกครับ ก็เป็นการอภิปรายที่เป็นตัวเรา พูดบนข้อมูลที่มันเกิดขึ้น ตัวพี่เองเป็นคนที่ระมัดระวังเรื่องการใช้ข้อมูลอยู่แล้ว ตั้งแต่มีหน้าที่ทางพรรคมอบหมายให้ในฐานะผู้อำนวยการสำนักปราบโกง ทำตรวจสอบการทุจริตมาหลายโครงการ และหลายโครงการก็เชื่อว่าพี่น้องประชาชนน่าจะเป็นผู้ตัดสินที่ทำไปเกิดประโยชน์กับประเทศหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ คือ สามารถระงับ ยับยั้งโครงการที่ทุจริต และกำลังจะทุจริต ไปได้หลายโครงการ นั่นล่ะคือ ข้อมูลที่เราจะต้องมีการตรวจสอบอย่างมั่นใจเสียก่อนว่า เป็นข้อมูลที่ถูกต้องและไม่ทำให้คนอื่นเขาเดือดร้อน ถ้าเราเอาข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมาใช้ ทั้งนี้ การที่เราเป็นคนเข้าถึงข้อมูล เลยมีประชาชนโหวตให้ และ เราไม่ใช่คนที่มีท่วงท่าทำนองของการเป็นนักอภิปรายที่ดุเด็ดเผ็ดมันส์ พี่ไม่มีท่าทางท่วงท่าแบบนั้น ทำอย่างนั้นไม่เป็น

ถาม : โมโห หรือไม่ ถ้าระหว่างอภิปรายอยู่มีคนประท้วง ?

น.อ.อนุดิษฐ์ : (ตอบทันควัน) ไม่โมโห ก็ไม่ได้มีคนที่ลุกขึ้นประท้วงมาก มีนิดหน่อย คือ ช่วงของการอภิปรายทุจริต ก็ยังนึก ณ ตอนนั้นที่โดนประท้วงว่ามันเป็น ข้อมูลการทุจริตที่พรรคประชาธิปัตย์หาทางออกไม่ได้ ที่จะอธิบายเรื่องนี้เหมือ สปก. 4-01 ภาคสอง ซึ่งถ้าใครนึกถึงประชาธิปัตย์ วันนี้ จะนึกถึงชุมชนพอเพียง นี่ล่ะมันชัด แต่ก็มองว่า การประท้วงเป็นการตีรวนให้เราเสียจังหวะ


ของผมมีประท้วงไม่กี่ครั้ง เข้าใจว่า ขณะอภิปรายก็มีฝ่ายรัฐบาลที่ฟังข้อมูล แล้วอาจจะคิดว่า มีอย่างนี้ด้วยเหรอข้อมูลที่เตรียมมาก็คงจะชัด เลยนั่งฟังจนลืมตัวเพราะผมเป็นคนไม่ชอบวาทกรรม ไม่ชอบวิวาทะ แต่ชอบที่จะใช้สภา เป็นสถานที่ในฐานะที่เป็นตัวแทนพี่น้องประชาชน ได้ทำงานที่ดี ได้เป็นประโยชน์กับพี่น้อง ก็คิดว่าสิ่งที่ทำนี่ล่ะเป็นหน้าที่จริงๆ ของฝ่ายค้าน คือ ตัวเองก็ทำหน้าที่แบบนั้นมาตลอด ตรวจสอบอยู่ข้างนอก ก็พยายายามทำให้ดีที่สุดให้เกิดประโยชน์ มาได้รับหน้าอภิปรายไม่ไว้วางใจก็ทำได้ดี เราก็เอาข้อมูลที่รัฐบาลทำไม่ถูก ละเมิดกฎหมาย ละเมิดสิทธิ อะไรก็สุดแล้วแต่ที่เราไว้วางใจเขาไม่ได้ เราก็เอามาพูดอย่างตรงไปตรงมา ส่วนถ้าท่านเห็นว่า ไอ้สิ่งที่ผมพูดมันไม่ถูก ท่านก็มีสิทธิชี้แจงให้พี่น้องประชาชนได้รับทราบว่า มันไม่ได้เป็นอย่างนั้น แต่ถ้าเรากล่าวหาแล้วท่านตอบไม่ตรงกับคำถาม พี่น้องประชาชนตัดสินได้เอง

ถาม : เริ่มต้นบทบาทในสภาฯ ตั้งแต่เมื่อไหร่

น.อ.อนุดิษฐ์ : บทบาทที่เกิดกับหน้าสื่อ คือ เริ่มจากเมื่อตอนที่มารับตำแหน่งผอ.สำนักงานปราบโกง เพราะจะมีการแถลงข่าวที่เกี่ยวกับการทุจริตกับสื่อมวลชนมาตลอดเริ่มตั้งแต่ ก.ค. ปี 2552 เริ่มที่จะมีบทบาทกับสาธารณะในการตรวจสอบทุจริต เริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น

ถาม : มีชาวบ้านมาทักไหม ?

น.อ.อนุดิษฐ์ : ก่อนหน้านี้ ที่สถานีโทรทัศน์ พีเพิ่ลชาแนล ยังออกอากาศได้ตามปกติ ซึ่งคือช่วงก่อนการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ผมก็ได้ไปร่วมจัดรายการ "ประเทศไทยก็ของเรา" ออก อากาศทุกวันอาทิตย์ จัดร่วมกับ จิรายุ ห่วงทรัพย์ และการุณ โหสกุล เป็นรายการที่สนทนากันเรื่องการเมืองและเรื่องของการตรวจสอบซึ่งก็ต้องถือว่า มีแฟนรายการเยอะ


ถาม : มีแฟนคลับไหม ?

น.อ.อนุดิษฐ์ : (หัาเราะ) ไม่มี


ถาม : แล้วเฟซบุ๊ก ที่ตั้งเป็นกลุ่มเชียร์ล่ะ ?


น.อ.อนุดิษฐ์ : อันนี้ไม่มี แต่ผมมีเฟซบุ๊กส่วนตัว เพิ่งเล่นเฟซบุ๊กตอนที่มาทำศูนย์ปราบโกงนี่ล่ะ เพราะเฟซบุ๊กรับและกระจายข่าวได้รวดเร็ว ก็ใช้เฟซบุ๊กเป็นอีกช่องทางหนึ่งและในช่วงที่มีสถานการณ์เกิดขึ้น เฟซบุ๊ก เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มาก แต่ล่าสุด หลังการอภิปรายในสภาฯ ไปก็พบว่ามีคนให้ความสนใจ มาร่วมสื่อสารกับผมทางเฟซบุ๊กมากขึ้น เรตติ้งดี ซึ่งคิดว่า ตรงจุดนี้เป็นเรื่องดี เราจะได้ใช้สังคมออนไลน์ตรงนี้เป็นอีกทางหนี่งที่นำเสนอส่งข้อมูลความจริงออกไปสู่สาธารณะ


ถาม : เข้าโหมด เรื่องส่วนตัวกันบ้าง ทำไมลาออกจากการเป็นทหารอากาศ มาเล่นการเมือง

น.อ.อนุดิษฐ์ : เมื่อตอนเด็กๆ ฝันอยากเป็นนักบินขับไล่ ก็ได้เป็น ขณะเดียวกัน ก็ฝันอยากเป็นนักการเมืองเช่นกันด้วย เพราะฉะนั้น ในชีวิตได้ทำสิ่งที่ตัวเองรักมากที่สุด คือ การเป็นนักบินขับไล่ของกองทัพอากาาศ จนเป็นถึงผู้บังคับฝูงบินแล้ว เรียกว่า บินจนหมดเวลาต้องบิน ต้องไปนั่งโต๊ะแล้ว ก็ถือว่า เราทำหน้าที่ตรงนั้นไปแล้ว ก็คงมีอีกสิ่งหนึ่งที่ยังไม่ทำ คือการเป็นนักการเมือง จึงลาออกจากการรับราชการเมื่อปี 2547 และหันมาร่วมงานกับพรรคไทยรักไทย ในการทำงานด้านการเมือง


ถาม : แตกต่างไหม ระหว่างนักการเมือง กับนักบิน

น.อ.อนุดิษฐ์ : อยากจะบอกว่า การเป็นนักการเมืองกับนักบินเหมือนกันเป๊ะเลย คือ ชีวิตการเป็นนักบินขับไล่มันต้องไปเจออะไรที่เปลี่ยนไปตลอด ทำงานไม่ได้ซ้ำเดิม ต้องมีการตัดสินใจ วางแผนอย่างดี เพื่อปฏิบัตินอกจากวางแผนปกติแล้วยังต้องวางแผนสำรองเอาไว้ทุกๆเรื่องเลย ตัวเราเองก็ พร้อมรับแผน ที่วางเตรียมไว้ว่า มันต้องเป็นอย่างไร รวมถึงแผนที่ไม่คาดฝัน ใครเป็นนักบินขับไล่จะรู้เลย ในชีวิตเราจะต้องเจอสิ่งที่ไม่คาดฝันตลอด ทั้งที่เราวางแผนมาดีแล้ว มันควรจะออกมาเป็นแบบนั้นแบบนี้ แต่บางทีไม่ได้เป็น หรือบางทีมันนึกไม่ถึง การเมืองเช่นเดียวกัน เป็นสิ่งที่เราต้องวางแผนไว้เป็นอย่างดี ว่าเราจะเดินแบบไหน อย่างไร ทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์ กับพี่น้องประชาชน แต่เนื่องจากการเมืองที่ไม่มีเสถียรภาพจึงมีปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบอย่างอื่นเที่ทำให้เราวางไว้บิดเบือน เบี่ยงเบนได้โดยง่าย เพราะฉะนั้นต้องเตรียมรับเรื่องที่มันไม่คาดฝันและตัดสินใจรวดเร็วเกิดขึ้นได้ ว่ามันเปลี่ยนแล้วนะ จะทำอย่างไรต่อไป การเมืองคือ ทัศนคติที่เกิดขึ้นของคนหมู่มาก นักการเมืองเป็นตัวแทนของทัศนคติของคนหมู่มาก ถ้าเปลี่ยนแล้วเรายังอยู่เฉยๆ ไม่พูด ไม่ทำ เราก็จะถูกเปลี่ยนแปลงเบี่ยงเบนไปกู่ไม่กลับ

ถาม : ทำงานตลอดอย่างนี้ ได้พักหยุดพักบ้างหรือเปล่า

น.อ.อนุดิษฐ์ : ไม่มีวันหยุด ยังไม่ได้พักเลย ทำงานทุกวัน ตั้งแต่ตอนที่พี่น้องเสื้อแดงเริ่มเดินทางมาชุมนุม 12 มี.ค. 53 ก็เริ่มแล้ว จน 14 มี.ค. มีการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้า เราในฐานะที่เป็นนักการเมืองต้องดูแลและติดตามในเรื่องของความปลอดภัย ตอนแรกก็เชื่อว่าคงไม่นาน อาทิตย์เดียวก็น่าจะจบ เดี๋ยวก็คงหาทางเจรจากันได้ อะไรกันได้ แต่มันเหลือเชื่อว่า พอมันมาถึงวันที่ 10 เม.ย. ที่เกิดเหตุการณ์สลายม็อบ และมีคนบาดเจ็บล้มตาย ซึ่งตอนนั้น ก็นึกว่ายังไงก็แล้วแต่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่มาตามระบอบประชาธิปไตย และเคยพูดแสดงทัศนคติทางการเมืองที่ชัดเจนว่า ให้ความสำคัญกับการเรียกร้องของพี่น้องประชาชน ต้องรับผิดชอบ แต่สองวันที่มีคนตายแล้วก็เงียบไม่มีคำตอบ และโผล่ออกมากลายเป็นผู้ชุมนุม กลายเป็นแกนนำผู้ชุมนุมที่ต้องรับผิดชอบ ตอนนี้ก็เลยหมดศรัทธาแล้วเพราะตอนแรกก็ค่อนข้างนับถือ นายกฯ อภิสิทธิ์ ในฐานะที่เป็นคนที่มีหลักการ เป็นคนที่มีทัศนคติ ทางการเมืองต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างตรงไปตรงมา แต่วันนี้ ไม่เชื่อเพราะไม่เห็นทำอย่างที่พูด ท่านพูดอย่าง ทำอย่าง

ถาม : แล้วเวลาที่ให้ครอบครัวล่ะ ?

น.อ.อนุดิษฐ์ : ช่วงเวลาที่เกิดการชุมนุมเป็นช่วงที่เด็กๆ ปิดเทอมพอดี เดิมก็สัญญากับลูกๆไว้ ว่าจะไปเที่ยว ถึงวันนี้ก็ยังไม่ได้ไป ก็ไม่เป็นไร ลูกๆ เข้าใจการทำงานของพ่อ และเราเองสิ่งที่ระมัดระวังมาก เพราะถือเป็นสิ่งสำคัญ คือ การเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก ควรจะทำให้เขาภาคภูมิใจ ทุกครั้งที่กลับไปบ้านก็จะบอกว่า พ่อทำงาน ทำงานให้กับพวกเรา ทำงานให้กับลูก ทำงานให้กับพี่น้องประชาชน สิ่งที่พ่อทำทำในสิ่งที่ดีที่ถูกต้อง ณ วันนี้ สิ่งที่เราได้ตอบกลับจากลูกๆ ทำให้เรามีความสุข เพราะทุกคนเป็นเด็กดี น่ารัก เรียนหนังสือเก่ง เขาเป็นที่รักของเรา สิ่งที่เราได้รับตอบกลับมาด้วยการทำดี ก็ยิ่งอยากให้จะทำให้ดีตอบกลับมา ส่วนใหญ่ลูกสาวจะให้กำลังใจ มีลูก 4 คน คนโต 6 ขวบครึ่ง เป็นเด็กผู้ชาย คนที่สองผู้หญิง คนที่สามผู้ชาย ส่วนคนเล็กสุดท้อง กำลังจะสองขวบ (ยิ้ม)


ถาม : ต่อไปจะมีเวลาให้ครอบครัวมากกว่าเดิมไหม ?

น.อ.อนุดิษฐ์ : พี่เป็นคนที่มีเวลาจะกลับบ้าน ถ้าไม่มีธุระที่ไหน ก็กลับบ้านตลอด จะมีคนเห็นพี่ในสถานที่ที่เป็นสาธารณะเหมือนคนทั่วไป เช่น ถ้ากลับบบ้านเร็ว ก็จะพาพวกเขาไปเล่นที่สนามกีฬาหัวหมาก ทั้งพ่อแม่ลูก ใส่ชุดกีฬาไปวิ่ง ไปเล่นออกกำลังกาย อีกที่ที่มาบ่อยมาก คือเขาดิน (สวนสัตว์ดุสิต) เพราะเด็กๆ เขาชอบ มีเวลาว่างก็จะให้ครอบครัวเต็มที่ เพราะคิดว่าเรามีเวลาน้อยอยู่แล้ว แต่แม้จะน้อยและเหนื่อย นึกถึงพอทำงานน้อยๆ ก็เหนื่อยอยากจะนอน วันที่ว่างก็อยากนอนให้ยาวๆไปเลย แต่บางทีกลับไปบ้าน เสร็จพอลูกๆ นอน ก็มานั่งเขียนคอลัมน์บ้างอะไรบ้างที่เขาขอ เป็นจ๊อบๆไป ทำบันทึกเก็บไว้บ้าง แต่พี่ก็กลับไปนอนบ้านทุกวัน ยกเว้นตอนนั้น ที่มีสถานการณ์ ก็นอนที่พรรคเพื่อไทย เพราะช่วงนั้นมันชั่วโมงต่อชั่วโมง ไม่รู้ว่าจะมีอะไรไหม ก็ต้องจัดเตรียมความพร้อม ในการช่วยเหลือเยียวยา คนบาดเจ็บ คนตาย

ถาม : ภรรยาดูแลยังไง ?


น.อ.อนุดิษฐ์ : ภรรยา ( อรวรรณ นาครทรรพ) เป็นห่วงผมมาก จะโทรศัพท์คุยกันบ่อย ในแต่ละครั้งสั้นๆ อยู่ไหน ทำอะไรอยู่ กินข้าวหรือยัง ประมาณนี้ มีการพูดคุย ถามทุกข์สุข เหนื่อยไหม จะกลับเมื่อไหร่ ทานอะไรไหม โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์ตึงเครียดก็ติดต่อกันบ่อย เพราะเขาเป็นห่วง ก็บอกว่า ให้ระมัดระวัง โชคดีที่ภรรยาเป็นคนที่มีทัศนคติทางด้านการเมืองเหมือนกัน คือ ไม่เคยพูดจาให้เราท้อถอยในการทำงาน เป็นห่วงแต่ไม่กลัวที่จะให้เราทำงาน


ถาม : ท้อบ้างไหม กับการทำงานแล้วถูกวิพากวิจารณ์


น.อ.อนุดิษฐ์ : ถ้าถามว่าเหนื่อยไหม เหนื่อย แต่ไม่ท้อ เพราะว่าทั้งก่อนหน้านี้ในฐานะของการเป็นผู้แทนได้อยู่กับพี่น้องประชาชน และได้สัมผัสถึงความสุขที่เขามี และสัมผัสถึงความสุขที่เขาเสียไป พี่เป็นคนที่มีความรู้สึกพวกนี้กับชีวิตที่เขามีโอกาสที่น้อยกว่าเรามาก ตอนเลือกตั้งปี 48 สิ่งที่พรรคไทยรักไทยใช้ในการนำเป็นแคมเปญ คือ คำว่า "โอกาส" ถ้าสังคมที่มีความเท่าเทียม โอกาสยิ่งมีมาก แต่ถ้าสังคมที่มีความแตกต่างทางชนชั้น มาก โอกาสจะมีน้อย ตอนที่เราสัมผัสความสุขของคนในทุกระดับมากๆ คือ ตอนที่ พรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล เพราะว่าเขามีโอกาาส แต่พอหลังปฏิวัติ พี่เข้าไปในชุมชนเเขตสายไหม ที่พี่เป็นผู้แทนอยู่ ไปเจอเด็กอายุ ประมาณ 14-15 ปี อยู่เต็มเลย ตอนแรกก็ไม่ได้เอะใจ แต่พอดูเวลา มันเป็นวันธรรมดาในช่วงเปิดเรียน เด็กเหล่านี้ไม่ควรมาปรากฎตัวในชุมชน เขาควรจะไปที่โรงเรียน แต่พวกเขากลับไม่ได้เรียนหนังสือ ก็ ถามว่า เขาเรียนฟรีไม่ใช่เหรอ ใช่ รัฐบาลให้เรียนฟรี 15 ปี แต่การที่เด็กกรุงเทพฯ จะเดินทางไปโรงเรียน อย่างน้อย หนึ่งคนต้องมีสตางค์ 50 บาท ค่ารถ ค่าเรือ ค่ากิน แต่ผู้ปกครองเขาไม่มีสตางค์เพียงพอให้ลูกเขาไปเรียนฟรี ที่โรงเรียน


จริงๆ การเรียนฟรีมันไม่จริงหรอก มันยังมีค่าใช้จ่ายอย่างอื่นอีก และนี่คือโอกาสที่หายไป เพราะฉะนั้นอยากวิงวอนใครก็แล้วแต่ วันนี้คุณมีหน้าที่บริหารชาติบ้านเมือง อยากให้เห็นแก่พี่น้องประชาชน เอาโอกาสที่เขาเสียไปกลับคืนมาให้เขาเถอะ ใครจะเป็นรัฐบาลก็ช่าง ผมไม่ได้สนใจ แต่อยากเห็นรอยยิ้มกลับมา จริงๆ นี่คือจากกใจเลย (สีหน้าจริงจังมาก) เพราะลองนึกถึงหัวหน้าครอบครัวที่ตื่นมาตอนเช้า มองไปเห็นลูกและเมียนอนอยู่ แล้วเขาต้องกุมขมับ และต้องนึกว่า วันนี้จะดูและลูกเมียยังไง จะเอาอะไรมาให้ลูกเมียกิน ขมขื่นนะชีวิตแบบนี้ และมันเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร พี่เป็นผู้แทนเขตสายไหม ซึ่งเป็นชานเมือง มีชุมชนแออัดที่สถานะทางการเงินไม่ได้ร่ำรวยเยอะ เป็นสถานะของคนระดับกลางลงล่าง สิ่งที่เขาหายไปคือ โอกาส คืนให้เขาได้ไหม ถ้าคืนสิ่งเหล่านี้ให้เขาได้ด้วยผู้บริหารที่มีประสิทธิภาพ คุณจะเป็นสีไหน ฝ่ายไหน ผมก็พร้อมที่จะสนับสนุน

ถาม : นี่จึงเป็นเหตุผลที่เลือกเข้ามาอยู่พรรคไทยรักไทย ตั้งแต่แรก ?


น.อ.อนุดิษฐ์ : ถูกต้องครับ สาเหตุที่เข้าการเมือง ณ เวลาที่ตัดสินใจตรงนั้น อีกอันนึงก็คือโอกาส เพราะพรรคไทยรักไทย เป็นพรรคไม่ได้ขายฝันตามนโยบายที่พูด แต่เขาขายความจริง เอานโยบายมาสร้างโอกาสให้กับคนที่เขาด้อยโอกาส โดยเมื่อปี 2548 ที่พรรคไทยรักไทยได้รับเลือกตั้ง เป็นรัฐบาล พี่ก็ได้รับโอกาสไปดำรงตำแหน่งเลขานุการรมว.กลาโหม เป็นปีที่มีความสุขมาก จากการที่มาจากองทัพ แล้วไปเป็นนักการเมือง และยังได้รับใช้อยู่ในกระทรวงที่ดูแลกองทัพพราะกองทัพตอนนั้น เป็นที่หวัง ที่พึ่งของประชาชนจริงๆ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา ได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือประชาชน ไปขุดบ่อ ไปทำถนน ไปทำทางกายภาพใหก้กับประเทศมากมาย ภายใต้ทรัพยากรของกองทัพ คนที่อยู่ไกลๆ ในจุดที่เขายังไกลปืนเที่ยง หน่วยเหล่านี้ไปถึง แล้วเอาเครื่องไม้เครื่องมือของกองทัพไปช่วย


แต่พอ ปี 2549 ก็พลิกกลับ กองทัพกลายเป็นเครื่องมือของใครไม่รู้ กองทัพต้องย้อนถามกองทัพ ผู้นำกองทัพต้องย้อนถามตัวเอง ว่า หลังปี 49 มากองทัพเข้ามามีส่วนแน่นอนในการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง กองทัพคือ องค์ประกอบสำคัญ แต่พอมาเปลี่ยน ก็อยากถามว่า เปลี่ยนให้ดีขึ้นหรือเลวลง

ถาม : เปลี่ยนเรื่องกันบ้าง นักการเมืองที่ชื่นชมคือใคร ?


น.อ.อนุดิษฐ์ : คือคุณพ่อ (น.ต.ฐิติ นาครทรรพ อดีต ส.ส.หนองคาย ผู้มีบทบาทผลักดันให้ พล.อ.สุจินดา คราประยูร ก้าวเข้าสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในอดีต ) เพราะคุณ พ่อเคยเป็นนักการเมือง แม้วันนั้นจะถูกปรามาศเยอะเพราะเป็นเลขาธิการพรรคสามัคคีธรรมที่ถูกกล่าหาว่า เป็นนอมินีของทหาร แต่ก็ชื่นชมในบทบาทที่พ่อเป็นเพราะพ่อเป็นคนที่คิดดี หวังดีต่อประเทศชาติ ต่อประชาชนมาโดยตลอด พ่อไม่เคยเปลี่ยนแปลงสถานะที่ตัวเองเป็น ไม่ว่า วันที่เป็นข้าราชการทหาร จนกระทั่งมาเป็นเลขาธิการพรรค ซึ่งขณะนั้นพรรคสามัคคีธรรม เป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดได้รับการเลือกตั้ง มากที่สุด ต้องดูแลพี่น้อง ส.ส.มากมาย หลายคน ไปจนกระทั่งท่านเลิกเล่นการเมืองและถึงวันนี้ก็เป็นคนแก่ที่ใช้ชีวิตหลังเกษียณ แต่ท่านก็ยังทำงานอยู่ โดยเป็นที่ปรึกษาให้กับพี่ๆ น้องๆ ทางการเมือง ไม่มีพรรค บ้านที่คุณพ่อพักอาศัยก็เหมือนเดิม สถานะที่ว่า เคยเป็นอย่างใดก็เป็นอย่างนั้น อยู่บ้านหลังเล็กๆ หลังเดิม คนทีเข้ามาตั้งแต่ยังไม่มีอะไร หลายคนกลายไปเป็นรัฐมนตรี พ่อก็ยังเป็นพ่อ บางคนเปลี่ยนบ้าน เปลี่ยนรถไปไม่รู้เท่าไหร่แล้ว พ่อก็ยังใส่นาฬิกาเก่าๆ อันเดิม เพราะพ่อไม่ได้เป็นผู้ติดยึดในวัตถุ อยากจะพูดว่า พ่อเป็นคนที่หวังดี


ถ้าถามว่า สิ่งเหล่านี้มาจากไหน คือมาจากพ่อ นำกรอบความคิดที่เกี่ยวกับการทำคุณประโยชน์ ให้กับประเทศชาติ เพราะว่า ถ้าพูดถึงแนวคิดทางการเมือง พ่อกับผมคิดไม่เหมือนกัน แต่คนเรามันคิดต่างกันได้ และพ่อเองเป็นคนพูดว่า สวนดอกไม้ที่สวยงามที่สุด ที่เป็นสวนดอกไม้ของประชาธิปไตย ต้องประกอบด้วยดอกไม้หลากสี คำพูดนี้มัน คือความแตกต่างททางการเมืองมันอยู่ร่วมกันได้ และมันก็สวยงาม แต่มันจะลงตัวอย่างไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับเจ้าของสวน คนที่ดูแลสวนดอกไม้ประชาธิปไตยนี้ให้เป็นสวนที่สวยงาม ไม่ใช่วันนึงคุณอยากจะให้มันเป็นทุ่งรวงทอง ทุ่งทานตะวัน แล้วคุณก็เลยไปเด็ดดอกกุหลาบทิ้งหมด หรือว่า วันนึงไปเด็ดดอกทานจะวันทิ้งหมด เหลือแต่ดอกกุหลาบ อย่างนั้นมันก็ไม่ได้มีการผสมผสานและไม่ได้เป็นสิ่งที่สวยงาม พ่อเห็นอย่างนั้น เราก็เห็นแบบนั้น แต่เราอาจจะมีความเห็นต่างต่อกระบวนการในการปฏิบัติ แต่มันก็ไม่ได้ผิดหรอก เพราะในช่วงเวลาก่อน พ.ศ. 2535 สถานการณ์มันเป็นแบบนั้น โลกมันยังไม่ได้เป็นสิ่งที่เปิดกว้าง มันยังมีการจำกัดในการสื่อสาร คลื่นทางความมั่นคงทั้งหลาย ยังคงเป็นปัจจจัยสำคัญ ของการปฏิบัติทางการเมือง แต่วันนี้ พี่เชื่อการเมืองที่มาจากประชาชนสำคัญ และประเทศไทยยังไงก็หนีไม่พ้น และไม่ช้า เพราะสิ่งใดที่เกิดขึ้นวันนี้ เวลานี้ มันทันอกทันใจ มันเข้าใจ มันรับทราบ เหมือนที่ศอฉ.ทำมาสองเดือน คุณทำไปเถอะ แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนมากที่เขาไม่ได้ดูคุณเลย เพราะ "เขาไม่เชื่อคุณ!"


ถาม : เหตุการณ์จากนี้ไป จะสมานฉันท์ คนไทยจะกลับมารักกันเหมือนเดิมไหม ?


น.อ.อนุดิษฐ์ : ถ้ารัฐบาลยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำ พูดอย่างทำอย่าง ก็ไม่มีทาง วันนี้เขาได้หยอดเมล็ดพันธุ์แห่งความขัดแย้งเอาไว้เรียบร้อยแล้ว เมล็ดพันธุ์เหล่านี้มันจะเติบโตขึ้น ด้วยการพรวนดิน ใส่ปุ๋ย รดน้ำ และมันกำลังจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดอกผลแห่งต้นไม้นี้ จะเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้เกิดสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทย

ถาม : ฝากอะไรถึงรัฐบาลชุดปัจจุบัน และรัฐบาลในอนาคต


น.อ.อนุดิษฐ์ : อยากให้ยึดโยงถึงประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก เลิกประพฤติความไม่ชอบทั้งหลายที่จะทำประโยชน์ให้กับพวกพ้องของตนเถอะ ถ้าวันนี้คุณยึดโยงสองเรื่องนี้ไว้เป็นจุดเริ่มต้นกระบวนการความคิดของคุณ คือ ผลประโยชน์ของชาติ ผลประโยชน์ของประชาชน สองอันนี้ ถ้าให้มันเป็นแก่นก่อนนำไปสู่การปฏิบัติอย่างอื่น คุณก็จะได้ หนทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ในการทำให้ประเทศชาตินี้กลับมาสู่ความสงบ เป็นแผ่นดินที่ดี ไม่เฉพาะแต่กับรัฐบาลในอนาคต รัฐบาลนี้ด้วย ควรจะรีบ เราต้องปรับเปลี่ยนท่าทีเหล่านี้มาสู่อะไรที่เป็นการรับฟัง ทั้งสองฝ่าย แต่อาจทำไม่ได้ในวันนี้หรอก แต่ต้องทำ ถ้าไม่ทำเจ๊ง มันจึงมีความสำคัญ ณ วันนี้ว่า สื่อทั้งหลาย รัฐบาลต้องเลิกที่จะควบคุมสื่อ ควรเปิดเสรีทางความคิด มนุษย์จะไม่เป็นอันตรายเลยถ้าเปิดโอกาสให้เขาแสดงความเห็นของเขา แล้วกลับเข้าสู่กระบวนการประชาธิปไตยที่พี่น้องประชาชนเขาสามารถเลือกบนข้อเท็จจริง บนหลักการเหตุและผลที่เขาปรารถนา...

เชื่อว่า หลายคนอาจได้รู้จักตัวตนอีกด้าน ของ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ มากขึ้นกว่าบทบาทการตรวจสอบซักฟอกรัฐบาลบนเวทีสภาฯ เป็นแน่แล้ว ก็ไม่รู้ว่า หลายๆ คำพูด หลายๆ ความคิด หลายๆ ความรู้สึก โดนใจใครกันไปบ้างหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ ต้องยอมรับว่าผู้ชายหน้าตาหล่อเหลา บุคลลิกอ่อนโยน นุ่มนวล และดูสุภาพจากซีกฝ่ายค้านผู้นี้ เป็นคนที่มีความมุ่งมั่น มีอุดมการณ์ และเป็นแฟมิลี่แมนที่น่ายกย่องอีกคนหนึ่งจริงๆ