WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, June 6, 2010

ตอกลิ่มความเกลียด เพิ่มอาฆาตแค้น

ที่มา ไทยรัฐ

ผ่านพ้นไปแล้ว แบบดุเดือดเลือดพล่าน

สำหรับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่ฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทย ใช้เวทีสภาผู้แทนราษฎร อภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีอีก 5 คน ได้แก่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล

รมว.มหาดไทย และนายโสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม

ผลจากการลงมติ นายกฯอภิสิทธิ์ ได้รับคะแนนเสียงไว้วางใจ 246 ต่อ 186 นายสุเทพ ได้คะแนนเสียงไว้วางใจ 245 ต่อ 187 นายกรณ์ ได้คะแนนเสียงไว้วางใจ 244 ต่อ 187 นายกษิต ได้คะแนนไว้วางใจ 239 ต่อ 190

นายชวรัตน์ ได้คะแนนไว้วางใจ 236 ต่อ 194 และ นายโสภณ ได้คะแนนไว้วางใจ 234 ต่อ 196

ทั้งนี้โดยเกณฑ์การลงมติในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจตามกติกาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กำหนดว่า

มติไม่ไว้วางใจต้องมีคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร

โดยสภาผู้แทนราษฎรในปัจจุบันมีจำนวน ส.ส.รวมทั้งสิ้น 475 คน มากกว่ากึ่งหนึ่ง ก็คือ 238 เสียง

เมื่อผลการลงมติที่ออกมา คะแนนเสียงไม่ไว้วางใจ ไม่มากกว่ากึ่งหนึ่งของสภาฯ หรือไม่ถึง 238 เสียง นั่นก็ หมายความว่า

นายกฯอภิสิทธิ์และรัฐมนตรีทั้ง 5 คน ยังสามารถนั่งอยู่ในตำแหน่ง ทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม จากการที่ ส.ส.ฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทย เปิดเวทีสภาฯ อภิปรายไม่ไว้วางใจ ถล่มรัฐบาล 2 วัน 2 คืน

โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เน้นย้ำไปที่สถานการณ์ความรุนแรงจากการที่รัฐบาล โดยศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ ฉุกเฉิน (ศอฉ.) สั่งใช้กำลังทหาร

ปฏิบัติการกระชับพื้นที่บีบล้อมสี่แยกราชประสงค์ เพื่อกดดันแกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ให้ยุติการชุมนุม

เป็นเหตุให้เกิดความสูญเสีย มีคนเจ็บคนตายเป็นจำนวนมาก

และยังนำไปสู่การก่อเหตุจลาจลเผาเมือง อาคารหลายแห่งในย่านธุรกิจสำคัญใจกลางกรุงเทพฯถูกไฟไหม้ พินาศเสียหาย

ความวุ่นวายขยายวงลุกลามไปถึงต่างจังหวัดทั้งภาคเหนือและภาคอีสาน ม็อบเสื้อแดงบุกเผาศาลากลางจังหวัดและสถานที่ราชการหลายแห่งเสียหายวายวอด

ถือเป็นเหตุวิกฤติสูญเสียครั้งใหญ่ของประเทศ

ที่สำคัญ จากภาพและบรรยากาศในการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่มีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ไปทั่วประเทศ

ผู้คนได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง ข้อมูลจากการอภิปรายฯของ ส.ส.ฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทย และการชี้แจงตอบโต้ของนายกฯและรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

คงเกิดความรู้สึกที่หลากหลาย ตามแต่ความรู้สึกนึกคิด ความเชื่อ และวิจารณญาณของแต่ละคน

มีทั้งชื่นชอบบทบาทฝ่ายค้าน ชื่นชมบทบาทรัฐบาล เบื่อฝ่ายค้าน หน่ายรัฐบาล เกลียดฝ่ายค้าน โกรธแค้นรัฐบาล

เป็นเรื่องนานาจิตตัง ทรรศนะใคร ทรรศนะมัน

ในขณะเดียวกัน ก็มีผู้คนอีกจำนวนไม่น้อยที่ได้ฟังข้อมูลจากเวทีอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้แล้วก็ยิ่งรู้สึกสับสน

คิดว่าจะได้ความกระจ่างในเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น แต่กลับต้องมึนตึ้บยิ่งกว่าเดิม

ไม่รู้ว่าจะเชื่อข้อมูลของฝ่ายไหน

เพราะ ส.ส.ฝ่ายค้าน ก็อภิปรายถล่ม แฉข้อมูล โชว์คลิป โชว์ รูปภาพเหตุการณ์ เพื่อชี้ให้เห็นว่า รัฐบาลสั่งใช้กำลังทหาร ปฏิบัติการ รุนแรง

ใช้อาวุธสงครามยิงใส่กลุ่มผู้ชุมนุม ทำให้มีคนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก

ประณามรัฐบาลสั่งฆ่าประชาชน ประณามนายกฯมือเปื้อนเลือด

ขยายแผล ให้เกิดความเกลียดชังรัฐบาล

ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาล โดยนายกฯอภิสิทธิ์ และรองนายกฯสุเทพ ก็ลุกขึ้นชี้แจงข้อกล่าวหา แสดงข้อมูล โชว์รูปภาพ โชว์คลิปเหตุการณ์

เพื่อชี้ให้เห็นว่า ทหารแค่กระชับพื้นที่รอบๆแยกราชประสงค์ เพื่อกดดันให้แกนนำยุติการชุมนุม แต่มีการต่อต้านจากการ์ดเสื้อแดงและกองกำลังติดอาวุธที่แฝงอยู่ในม็อบึ

ทำให้เกิดการปะทะกับกองกำลังติดอาวุธที่ใช้อาวุธสงครามยิงใส่ทหาร เจ้าหน้าที่มูลนิธิ นักข่าว และผู้ชุมนุม เป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บล้มตาย

ขยายผล เรื่องกลุ่มก่อการร้ายที่แฝงอยู่ในม็อบ

ต่างฝ่ายต่างอ้างข้อมูลหลักฐาน ชี้หน้าโยนความผิดให้ฝ่ายตรงข้าม ชี้นำให้สังคมเกิดความเกลียดชังอีกฝ่ายหนึ่ง

โดยภาพรวมของการอภิปรายไม่ไว้วางใจในครั้งนี้ เวทีสภาจึงไม่ได้เป็นเวทีในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ
ไม่ได้ลดภาวะสงคราม

แต่เป็นเวทีด่าทอ โหมความแค้น

หยิบเอาประเด็นร้อนๆจากวิกฤติการเมืองบนท้องถนนเข้ามาขยายผลกันในสภาผู้แทนราษฎร
ตอกลิ่มความเกลียดชัง เพิ่มดีกรีความอาฆาตแค้น

ขยายความขัดแย้งในสังคมให้แตกแยกมากยิ่งขึ้นไปอีก

ส่วนการอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเด็นเรื่องการทุจริตคอรัปชันในกระทรวงต่างๆ ที่ถือเป็นหน้าที่หลัก ของฝ่ายค้าน

กลายเป็นเพียงน้ำจิ้ม เป็นแค่ส่วนประกอบ ไม่ได้ลงลึก แบบเอาเป็นเอาตาย

เพราะเทน้ำหนักไปที่การขยายแผลเหตุการณ์ นองเลือดจากวิกฤติม็อบเสื้อแดงเป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม ผลการลงมติในญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจครั้งนี้ แม้นายกฯอภิสิทธิ์ และรัฐมนตรีอีก 5 คน สามารถผ่าน การอภิปรายฯมาได้

แต่ก็มีเหตุทำให้รัฐบาลเกิดอาการเครื่องรวน เนื่องจากมี ส.ส.ของพรรคเพื่อแผ่นดิน ซึ่งเป็นหนึ่งในพรรคร่วมรัฐบาล

ปฏิบัติการหักดิบพรรคภูมิใจไทย

โหวตสวน ลงคะแนนไม่ไว้วางใจ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย จำนวน 10 เสียง
และลงคะแนนไม่ไว้วางใจ นายโสภณ ซารัมย์ รมว. คมนาคม จากพรรคภูมิใจไทย จำนวน 14 เสียง

อันเป็นผลมาจากปัญหาความขัดแย้งและการขบเกลียวระหว่างแกนนำพรรคเพื่อแผ่นดินกับแกนนำพรรคภูมิใจไทย

ทั้งปัญหาการทับซ้อนของพื้นที่ฐานเสียง การจัดสรรงบประมาณขององค์กรส่วนท้องถิ่น การโยกย้ายข้าราชการ รวมไปถึงการที่พรรคภูมิใจไทยพยายามเดินเกมใต้ดิน ต่อสายดึงลูกพรรคเพื่อแผ่นดินบางส่วนไปเข้าสังกัด

ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงกลายเป็นความแค้นสะสม และระเบิดออกมาในช่วงการลงมติอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ภายใต้เหตุผลว่า รับไม่ได้กับปัญหาการทุจริตที่เกิดขึ้นในกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคม

ขณะที่แกนนำพรรคภูมิใจไทย ก็ยอมไม่ได้ที่โดนแทงหลังโหวตสวนกลางสภาฯ ยื่นคำขาดให้นายกฯอภิสิทธิ์ตัดสินใจเลือกข้างว่าจะเอาพรรคเพื่อแผ่นดิน หรือพรรคภูมิใจไทย ร่วมรัฐบาลต่อไป

ส่งผลให้นายกฯอภิสิทธิ์ต้องตัดสินใจปรับ ครม.ในส่วนของพรรคเพื่อแผ่นดิน ยึดเก้าอี้ รมว.อุตสาหกรรม รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศฯ และ รมช.คลัง ในโควตาของกลุ่มวังพญานาค และกลุ่มโคราช กลับคืนมา

เหลือไว้เฉพาะเก้าอี้ รมช.ศึกษาธิการ ของกลุ่มบ้านริมน้ำ ในพรรคเพื่อแผ่นดิน ที่โหวตหนุนนายชวรัตน์และนายโสภณ

พร้อมกับต่อสายดึงพรรคมาตุภูมิ และ ส.ส.กลุ่มเล็กกลุ่มน้อยบางส่วนในพรรคเพื่อแผ่นดิน เข้ามาร่วมรัฐบาล

และถือโอกาสปรับ ครม.ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ 3–4 เก้าอี้ สลับสับเปลี่ยนกันเข้ารับตำแหน่ง

กระเพื่อมกระฉอก ไปตามธรรมชาติของการเมือง

ปรากฏการณ์ทั้งหมดนี้ คือผลกระทบที่เกิดจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางสถานการณ์ที่ความขัดแย้งในสังคมจากเหตุการณ์นองเลือด กรณีวิกฤติม็อบเสื้อแดง ได้ถูกนำมาขยายผลจากการเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในสภาผู้แทนราษฎร

ขยายแผล สร้างความเกลียดชัง

เพิ่มดีกรีความอาฆาตแค้นให้กับมวลชนคนเสื้อแดง

ตรงนี้ถือเป็นเรื่องที่อันตราย เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการที่จะถูกปลุกเร้าให้ออกมาตอบโต้ แก้แค้น

ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญ ต่อการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ

มาถึงวันนี้ แม้รัฐบาลภายใต้การนำของนายกฯอภิสิทธิ์ จะต้องเผชิญกับแรงกระเพื่อมและแรงเสียดทานในการปรับ ครม.

แต่เมื่อยังมีสถานะเป็นรัฐบาล ก็มีหน้าที่จะต้องเดินหน้าแผนปรองดอง เพื่อสร้างความสมานฉันท์ในประเทศ

ต้องเร่งดำเนินการตามแผนปรองดอง 5 ข้อ ที่ประกาศไว้ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็วที่สุด

เพื่อให้สังคมไทย ทุกคนทุกฝ่าย อยู่ร่วมกันได้ด้วยสันติสุข

แม้จะลำบากยากเย็นแค่ไหน ก็ต้องทำ.


"ทีมการเมือง"