WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, June 11, 2010

กระแส ต่อต้าน คณะกรรมการ "อิสระ" ที่จัดตั้งโดยรัฐบาล

ที่มา ข่าวสด


เสียงคัดค้านการแต่งตั้ง นายคณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด จากหลายคนจากพรรคเพื่อไทย เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้

เหมือนกับเสียงคัดค้านในกรณีของ นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานกสม.

แม้คนในรัฐบาล และคนในพรรคประชาธิปัตย์ จะหยิบแต่ข้อมูลซึ่ง นายคณิต ณ นคร เคยเป็นผู้ร่วมก่อตั้งพรรคไทยรักไทยเมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 มาขยาย

แต่ก็มองข้ามข้อมูลที่ นายคณิต ณ นคร แยกตัวจากพรรคไทยรักไทย

และก็มองข้ามข้อมูลที่ นายคณิต ณ นคร เคยมีบทบาทเป็นอย่างสูงในคดีอันเกี่ยวกับส.ป.ก. 4-01

เช่นเดียวกับ กรณีของ นางอมรา พงศาพิชญ์ คนในรัฐบาลและคนในพรรคประชาธิปัตย์ก็มองแต่เพียงตำแหน่งประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) โดยแสร้งลืมบทบาทของ นางอมรา พงศาพิชญ์ ขณะเป็นคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปรากฏการณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นความเป็นจริงอะไรของ "บ้านเมือง"

คําตอบก็คือ สะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของปัญหาความขัดแย้ง แตกแยก ทางความคิดที่ดำรงอยู่อย่างฝังลึกและกว้างขวาง

สถานการณ์เช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วอย่างน้อยก็ 3 กรณี

กรณีหนึ่ง คือสถานการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2516 กรณีหนึ่ง คือ สถานการณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2519 และกรณีหนึ่ง คือ สถานการณ์เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535

ความขัดแย้งทางความคิดในสถานการณ์ทั้ง 3 นำไปสู่การปะทะโดยความรุนแรง

การปะทะโดยความรุนแรงนำไปสู่การบาดเจ็บ ล้มตาย ของประชา ชนเป็นจำนวนมาก อันเท่ากับแสดงว่าความขัดแย้งทางความคิด ก่อให้เกิดการปะทะทางการเมือง ทางการทหาร

แรงสะเทือนนี้ทำให้จำเป็นต้องมีการจัดตั้งองค์ประกอบทางการเมืองใหม่

เดือนตุลาคม 2516 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ มาแทน จอมพลถนอม กิตติขจร เดือนตุลาคม 2519 นายธานินทร์ กรัยวิเชียร มาแทน ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช

เดือนพฤษภาคม 2535 นายอานันท์ ปันยารชุน มาแทน พล.อ.สุจินดา คราประยูร

ทั้ง 3 กรณีในอดีตเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง การบริหารจัดการบ้านเมืองก็เดินหน้าต่อไปได้ เพราะคนมาใหม่ย่อมชำระสะสางปัญหาที่เกิดขึ้นได้โดยสะดวกและราบรื่นกว่า

ตรงกันข้าม สถานการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 แตกต่างออกไป

แตกต่างออกไปเพราะปัญหาและความขัดแย้งถูกจัดการโดยกระบวนการทางทหารจากการปะทะทางความคิดขยายตัวเป็นการปะทะด้วยความรุนแรง มีการใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามสลายการชุมนุม

มีคนตาย 89 ราย มีคนบาดเจ็บเกือบ 2,000 คน

แต่ที่แตกต่างเป็นอย่างมากก็คือ รัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังดำรงคงอยู่และมีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

ทั้งๆ ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีส่วนในการสั่งปราบปรามและนำไปสู่การตาย บาดเจ็บ

จึงไม่แปลกที่เมื่อเสนอชื่อ นางอมรา พงศาพิชญ์ ขึ้นมาคนก็ค้าน จึงไม่แปลกที่เมื่อเสนอชื่อ นายคณิต ณ นคร ขึ้นมาอีกฝ่ายก็ค้านและไม่ยอมรับ

แม้จะเรียกชื่อคณะกรรมการว่า "อิสระ" และ "เป็นกลาง" ก็ตาม

ปมเงื่อนสำคัญอยู่ที่รัฐบาลเป็นคู่ความขัดแย้ง เป็นคู่กรณีกับสถานการณ์ความขัดแย้งที่ปะทุขึ้น

แม้ นายคณิต ณ นคร จะเคยมีเกียรติประวัติทางกฎหมาย แต่เมื่อแต่งตั้งโดยรัฐบาลอันเป็นคู่กรณีกับปัญหาและความขัดแย้ง รอยด่างของรัฐบาลย่อมเปื้อนไปกับคณะกรรมการด้วย

เท่ากับเป็นการเริ่มต้นอย่างมีข้อครหา เท่ากับเป็นการเริ่มต้นอย่างมีรอยด่างดำ