WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, June 12, 2010

แอฟริกาใต้ ไม่ได้มีดีแค่ฟุตบอลโลก

ที่มา บางกอกทูเดย์



“ประเทศแอฟริกาใต้” ได้รับคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฟุตบอลโลก ในปี 2010 ถือเป็นครั้งแรกที่มหกรรมฟุตบอลของชาวโลกดวลแข่งกันที่กาฬทวีป และเริ่มระเบิดแข้งอย่างเป็นทางการแล้ว เราลองมาทำความรู้จักประเทศแอฟริกาใต้ในด้านอื่นนอกเหนือจากการเป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลโลกกันบ้างดีกว่า

แม้แอฟริกาใต้จะเป็นตลาดที่มีจำนวนประชากรเพียง 45 ล้านคน แต่ด้วยพื้นที่ประเทศที่มีขนาดใหญ่กว่าไทยถึง 2.5 เท่า และร่ำรวยไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะแหล่งแร่สำคัญๆ เช่น ทองคำ เพชร จนได้ชื่อว่าเป็นประเทศผู้ผลิตทองคำรายใหญ่สุดของโลก และแหล่งแพลตตินั่มมากเป็นอันดับสองของโลก

วัตถุดิบเหล่านี้จึงเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมาก บวกกับความต้องการในการบริโภคสินค้าของคนในประเทศที่กำลังขยายสูง โดยเฉพาะกลุ่มคนชั้นกลางผิวดำ (black middle class) ที่มีกำลังซื้อสูง ทำให้นักลงทุนต่างชาติจากหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งในเอเชีย ให้ความสนใจไหลเข้าไป

แข่งขันกันลงทุน ปัจจุบันจึงมีนักลงทุนจากเอเชียหลายกลุ่มรุกเข้าไปลงทุนยึดหัวหาดในอาฟริกาใต้แซงหน้าไทย เช่น ตาต้ากรุ๊ปจากอินเดียเข้าไปลงทุนทั้งโรงงานผลิตรถยนต์ และโรงงานผลิตเหล็ก ขณะที่จีนเข้าไปกอบโกยและยึดครองธุรกิจ ตั้งแต่สถาบันการเงิน ไปจนถึงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนการลงทุน

จากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(อาเซียน) เช่น มาเลเซีย อาทิ กลุ่ม ปิโตรนาส เข้าไปตั้งสถานีบริการน้ำมัน และสัมปทานสร้างสนามบินรูปแบบเทิร์นคีย์ เวียดนามก็กำลังรุกเข้าไปตั้งเทรดดิ้งเฟิร์มและดิสตริบิวชั่นด้านการค้า แอฟริกาใต้เป็นประเทศน่าลงทุนอันดับที่ 28 ของโลก จากปัจจัยเอื้อด้านเศรษฐกิจและ

การบริโภคในประเทศที่กำลังเติบโต ขณะที่แต่ละพื้นที่ของประเทศทั้ง 9 มณรัฐ ได้แก่ ควาซูลู-นาทาล, นอร์ธเทิร์นเคป,นอร์ธเทิร์นโพรวินซ์, นอร์ธ-เวสต์, อีสเทิร์นเคป, พูมาลังก้า, ฟรีสเตท, เวสเทิร์นเคป และ กัวเต็ง ต่างก็แข่งขันกันดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ(เอฟดีไอ)เข้าไปลงทุน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์

ท่องเที่ยว ก่อสร้าง เกษตรแปรรูป สิ่งทอ และโครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน ที่คาดหวังสร้างความสำเร็จในอนาคตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเรือธงที่รัฐบาลคาดหวังช่วยผลักดันเศรษฐกิจขยายตัว ช่วยสร้างงานและลดปัญหาความยากจน ปัจจุบันแอฟริกาใต้มีรถยนต์จำหน่าย

อยู่ทั่วประเทศรวม 36 แบรนด์ โดยรัฐบาลมุ่งส่งเสริมการพัฒนาฐานผลิตใน 3 มลรัฐหลักๆ คือ มลรัฐกัวเต็ง(Gauteng) เป็นฐานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์(OEM) ให้กับค่ายรถบีเอ็มดับบลิว นิสสัน เฟียต ฟอร์ดและตาต้า มีสัดส่วนประมาณ 50% ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ มลรัฐอีสเทิร์นเคป(Eastern Cape) แหล่งใหญ่

คือ พอร์ต อลิซาเบธ เป็นฐานผลิตของค่ายรถ เจเนอรัล มอเตอร์(จีเอ็ม) โฟลค์สวาเก้น และเครื่องยนต์สำหรับฟอร์ต ส่วนที่อีสต์ ลอนดอน เป็นฐานผลิตของค่ายเดมเลอร์ไดรสเล่อร์ สัดส่วนประมาณ 30% ของการผลิตรวม และมลรัฐควาซูลู-นาทาล เป็นฐานผลิตค่ายโตโยต้า คิดเป็นสัดส่วน 15% นอกจากนี้ยังมีฐานผลิต

ที่กระจายอยู่ในมลรัฐนอร์ธ-เวสต์ และ เวสต์เทิร์นเคป บางส่วน รัฐบาลตั้งเป้าขยายฐานการผลิตยานยนต์ จาก 650,000 คัน ในปี 2549 เป็น 1,000,000 คันในปี 2563 หรือเพิ่มขึ้น 57.7% ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อส่งออก โดยวางยุทธศาสตร์ขยายเพิ่มฐานผลิตของค่ายรถต่างๆ ขยายฐานซัพพลายเออร์ระดับโลก

ด้วยการร่วมทุน การนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามา รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านต้นทุนต่ำ เทียบกับออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และบราซิล เป้าหมายหลักๆเพื่อสร้างขีดความสามารถของ บุคลากร ธุรกิจ และอุตสาหกรรม ก้าวเข้าสู่การแข่งขันในตลาดโลก พร้อมๆไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

เช่น น้ำ ไฟ ระบบสื่อสาร ถนน รถไฟ ท่าเรือ สนามบิน และระบบโลจิสติกส์ ที่มุ่งเน้นมาตรฐานระดับโลกแต่ต้นทุนค่าใช้จ่ายต่ำ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นอีกเป้าหมายหนึ่งซึ่งในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา การท่องเที่ยวแอฟริกาใต้ขยายตัวจาก 5 ล้านคนเป็น 8 ล้านคนและสร้างรายได้เพิ่มจาก 5% เป็น 8% ของจีดีพีประเทศ

จึงคาดหวังเปิดโอกาสด้านการลงทุนโรงแรม การท่องเที่ยวแบบผจญภัย การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และรูปแบบอื่นๆ เข้าไปลงทุน ตลอดจนภาคการเกษตรที่รัฐบาลกำลังส่งเสริมการพัฒนาการเกษตรปลอดสารพิษ และ ไบโอฟูเอลหรือเชื้อเพลิงชีวภาพ เป็นต้น ทั้งนี้จุดแข็งคือ การเป็นประเทศที่มีต้นทุนค่าแรงงานต่ำ

เช่นเดียวกับ จีน และอินเดีย และยังเป็นแหล่งผลิตสินค้าเข้าสู่ตลาดยุโรป สหรัฐอเมริกา และลาตินอเมริกา นอกจากนี้รัฐบาล กำลังเจรจาที่จะสร้างแอฟริกาใต้เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเส้นทางการค้ากับอินเดีย และบราซิล พร้อมๆไปกับการสร้างแอฟริกาใต้เป็นประตูเข้าสู่ตลาดแอฟริกา