WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, August 8, 2010

ทำไมต้อง “ทบทวนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย”

ที่มา ประชาไท


กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทยกับการสรุปแนวคิดการทำสื่อเพื่อการสื่อสาร 2 ทางในซีรี่ส์ชุด "NGO เป็นไงในขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน" และคำถามถึงการมีอยู่ของ “เอ็นจีโอ-ภาคประชาชน-ภาคประชาสังคม” ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบัน

แนวคิดการทำงาน กับคำถาม "NGO เป็นไง ในขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน"

ท่ามกลางสถานการณ์แห่งความขัดแย้งที่ยังคงครอบคลุมอยู่ การปรองดองและปฏิรูปประเทศหลังเหตุการณ์เมษา-พฤษภา 53 ที่มีคนตาย 91 ศพ และคนที่ได้รับบาดเจ็บกว่า 2,000 คน ไม่นับรวมการไล่ล่า และการคงอยู่ของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งดูเหมือนจะกลายเป็นภาวการณ์ฉุกเฉินถาวรไปแล้วสำหรับรัฐบาลนั้น ทำให้กลุ่มคนอีกจำนวนมากที่ทำงานสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับปัญหาของชาวบ้าน รู้สึกอีหลักอีเหลื่อ อึดอัดขัดใจ จนกระทั่งไปถึงขั้นไม่เอาด้วย ไม่ยอมรับกับบทบาทของเอ็นจีโอในปัจจุบัน

“กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย” (Thai Social Movement Watch: TSMW) จึงได้ถือกำเนิดขึ้น พร้อมกับคำถามสำคัญว่า “เอ็นจีโอ” “ขบวนการภาคประชาชน” และ “ภาคประชาสังคมไทย” นั้น คืออะไร ทำอะไร และจะเป็นไปในทิศทางไหนกันแน่

“กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย” เป็นกลุ่มนักวิชาการ อดีต NGO และ NGO กลุ่มน้อย ที่เคยออกจดหมายเวียนเพื่อระดมผู้ร่วมลงชื่อใน “จดหมายเปิดผนึกคัดค้านวาทกรรมอำพราง “ปฏิรูปประเทศไทย” “ประชาสังคม” “ภาคประชาชน” ต่อต้านกระบวนการปฏิรูปประเทศไทยอำมหิต” เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่าน และกำลังกิจกรรมเพื่อหาคำตอบ ต่อคำถามคาใจของพวกเขา

ซีรี่คลิปวีดีโอขนาดสั้น (ถึงสั้นมาก) ที่ชื่อว่า "NGO เป็นไงในขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชน" ที่ถูกนำเสนอผ่านสายตาผู้คนในโลกออนไลน์มาแล้วในระยะหนึ่งนั่นคือส่วนหนึ่งของผลงานจาก TSMW ที่จะถูกนำเสนอต่อเนื่องไปจนถึง เวทีเสวนาทางวิชาการ “ทบทวนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย” ในวันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2553 โดยมุ่งหวังให้เกิดการรับรู้ ถกเถียง วิพากษ์วิจารณ์ ก่อนงานเวทีเสวนาวิชาการที่จะจัดขึ้น

เนื้อหาของคลิปแต่ละตอนนั้นได้นำเสนอผลการสำรวจความเห็นของชาวบ้าน เอ็นจีโอ และนักวิชาการ ที่ทำงานขับเคลื่อนประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวเองให้ปรากฏต่อสาธารณะ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาทั้งในระดับรากฐาน โดยเจาะจงคำถามใน 3 ประเด็นหลักที่สังคมมักได้ยินได้ฟังเมื่อมีการเคลื่อนไหว คือ 1.นิยาม ความหมายว่า ภาคประชาชน คืออะไร 2.เอ็นจีโอ เป็นใคร และมีบทบาทอย่างไรในการเคลื่อนไหวภาคประชาชนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และ 3.อนาคตเอ็นจีโอควรจะมีบทบาทอย่างไร หรือควรจะมีอยู่อีกไหมและอยู่อย่างไร

อีกทั้ง เพื่อให้คลิปดังกล่าวเป็นสื่อเพื่อการสื่อสาร 2 ทาง (ระหว่างคณะทำงานและผู้สนใจ) TSMW ได้เปิดช่องทางให้ผู้รับสารสามารถสะท้อนความเห็นกลับจากคลิปสั้นๆ นั้นได้ โดยผ่านทาง Face Book ทบทวนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย, เว็บไซต์ประชาธรรม และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท โดยสามารถเข้าดูรายละเอียดเวทีเสวนาและคลิปบทสัมภาษณ์ที่จะปล่อยออกมาวันละชิ้น จนถึงวันงาน

ในส่วนเวทีเสวนาทางวิชาการ “ทบทวนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย” นั้น ถือเป็นงานเสวนาและการเสนอผลการศึกษาในหัวข้อที่เกี่ยวข้อง เพื่อทบทวนถึงช่วงระยะเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยว่า ... “เอ็นจีโอ” “ภาคประชาชน” และ “ภาคประชาสังคม” ได้ทำหน้าที่ในการเป็นพลังแห่งการตั้งคำถามและการเปลี่ยนแปลงสังคมจริงหรือไม่

จากภาพการแสดงออกที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นการให้ท้ายหรือเพิกเฉยต่อรัฐประหาร การไม่นำพาหรือปฏิเสธการเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมของคนจำนวนมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ผู้มีบทบาทสำคัญใน “ภาคประชาสังคม” และองค์กรกึ่งรัฐจำนวนมากเข้าร่วมในคณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้น โดยละเลยการตั้งคำถามถึงความถูกต้องชอบธรรมของอำนาจที่อยู่เบื้องหลัง รวมทั้งภาวะความเงียบงันของกลุ่มและองค์กรต่างๆ ต่อสิ่งที่เกิดขึ้น

ด้วยความหวั่นวิตกว่า สภาวะถดถอยของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยฉบับ “ภาคประชาสังคม” ดังที่เป็นอยู่นี้ จะกลายสภาพมาเป็นเครื่องมือของการกดทับและการธำรงสถานะเดิมของสถาบันสังคมและการเมืองจารีตไปอย่างสมบูรณ์...

000

โครงการงานเสวนาทางวิชาการ “ทบทวนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย”

ความสำคัญของปัญหา

ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมามีลักษณะยอกย้อนเป็นอย่างยิ่ง เพราะขณะที่ในช่วงระยะแรกหลังกึ่งทศวรรษ 2530 ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยดูเหมือนจะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและการเมืองไทยในทิศทางที่เอื้อประโยชน์กับคนส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นด้วยการส่งเสริมให้คนธรรมดาสามัญได้เจรจาต่อรองภายในระบบการเมืองรัฐสภาอย่างเสมอหน้า การขยายพื้นที่การต่อสู้เรียกร้องให้กว้างขวางกว่าระเบียบและวิธีปฏิบัติของระบบราชการ หรือว่าการเสนอประเด็นปัญหาที่กว้างไกลกว่าผลประโยชน์เฉพาะหน้าเฉพาะกลุ่ม ทว่านับจากปลายทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา การเคลื่อนไหวของบุคคล กลุ่ม และองค์กรจำนวนหนึ่งกลับมีแนวโน้มที่จะทำให้คนส่วนใหญ่มีโอกาสเข้าร่วมทางการเมืองในระบบรัฐสภาได้น้อยลง ขณะเดียวกันก็หนุนให้สถาบันสังคมและการเมืองจารีตมีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้นทว่าคับแคบลง ด้วยความเชื่อว่าจะสามารถช่วยให้เป้าหมายเฉพาะของตนบรรลุได้ ทั้งด้วยการสนับสนุนการเคลื่อนไหวกลุ่มการเมืองอนุรักษ์นิยมในรูปแบบต่างๆ รวมไปถึงการก่อรัฐประหาร การไม่นำพา ปฏิเสธ หรือแม้กระทั่งต่อต้านการเคลื่อนไหวของคนจำนวนมากที่เรียกร้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเท่าเทียม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการที่บุคคลจำนวนหนึ่งซึ่งอ้างตนเป็นตัวแทน “ภาคประชาชน” หรือ “ภาคประชาสังคม” เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการชุดต่างๆ ที่รัฐบาลแต่งตั้งขึ้นในสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองโดยปราศจากการตั้งคำถามถึงความถูกต้องชอบธรรมของคณะกรรมการชุดต่างๆ ดังกล่าว

การเปลี่ยนแปลงในทิศทางและท่าทีของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยดังกล่าวเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของขบวนการภายใต้บริบททางสังคมและการเมืองที่เปลี่ยนไปอย่างสำคัญ เป็นการเปลี่ยนแปลงจาก “ขบวนการประชาชน” ซึ่งมีกลุ่มหรือองค์กรประชาชนซึ่งก่อตัวจากสภาพปัญหาของตนโดยการประสานความร่วมมือกับองค์กรพัฒนาเอกชนเป็นองค์ประกอบหลัก มาเป็น “ภาคประชาสังคม” ซึ่งประกอบด้วยกลุ่ม องค์กร และเครือข่ายใหม่ๆ จำนวนมาก ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรกึ่งรัฐซึ่งตั้งขึ้นใหม่ เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ส.ส.ส.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พ.อ.ช.) เป็นต้น ขณะที่องค์กรพัฒนาเอกชนหากไม่ปิดตัวลงด้วยข้อจำกัดด้านแหล่งทุนก็ปรับตัวด้วยการขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์กรกึ่งรัฐดังกล่าวนี้ด้วย ทั้งนี้ “ภาคประชาสังคม” ที่ว่านี้เน้นยุทธศาสตร์การประสานความร่วมมือเชิงพิธีการมากกว่าการตั้งคำถามหรือการท้าทายระดับรากฐาน การประท้วงและการเดินขบวนกดดันรัฐบาลของกลุ่มและองค์กรต่างๆ จึงถูกแทนที่ด้วยกิจกรรมจำพวก “สมัชชา” ระหว่างฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน ตำบล ไปจนถึงระดับประเทศ เป็นนิมิตรหมายที่ดีว่าปัญหาต่างๆ จะสามารถแก้ไขเยียวยาได้ด้วยความรักและสมานฉันท์ ภายใต้การกำกับดูแลของผู้ชำนาญการทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ที่ผันตัวเองมาเป็นวิศวกรทางสังคม

อย่างไรก็ดี แม้การเคลื่อนไหวของ “ภาคประชาสังคม” จะส่งผลให้กลุ่ม องค์กร และเครือข่ายต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมและการเมืองเพิ่มมากขึ้น แต่ก็มีข้อจำกัด เพราะยุทธศาสตร์ของ “ภาคประชาสังคม” เน้นการลดบทบาทและความสำคัญของการเมืองระบบรัฐสภา ซึ่งนอกจากจะไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาการเมืองระบบรัฐสภา ยังส่งผลให้ระบบการเมืองดังกล่าวถูกแทรกแซงและครอบงำจากอำนาจนอกระบบอย่างมาก การที่รัฐประหารครั้งล่าสุดสามารถเกิดขึ้นอย่างสะดวกและง่ายดาย ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเคลื่อนไหวของ “ภาคประชาสังคม” ที่ว่านี้ ขณะที่การเมืองระบบรัฐสภาหลังรัฐประหารก็ไม่ได้ตอบคำถามของประชาชนเป็นหลัก หากแต่มุ่งทำหน้าที่ปกป้องสถาบันสังคมและการเมืองจารีตอย่างแข็งขัน ในทำนองเดียวกับองค์กรกึ่งรัฐภายใต้การกุมบังเหียนของวิศวกรทางสังคมซึ่งไม่ขึ้นต่อการเมืองระบบรัฐสภาและประชาชนมาตั้งแต่ต้น ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยฉบับ “ภาคประชาสังคม” จึงไม่ได้มีสถานะเป็นพลังแห่งการตั้งคำถามและการเปลี่ยนแปลง หากแต่มีสภาพเป็นเครื่องมือของการธำรงสถานะเดิมของสถาบันสังคมและการเมืองจารีต การให้ท้ายหรือเพิกเฉยต่อรัฐประหารก็ดี การไม่นำพาหรือปฏิเสธการเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมของคนจำนวนมากก็ดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการที่ผู้มีบทบาทสำคัญใน “ภาคประชาสังคม” และองค์กรกึ่งรัฐจำนวนมากเข้าร่วมในคณะกรรมการที่รัฐบาลตั้งขึ้นโดยละเลยการตั้งคำถามถึงความถูกต้องชอบธรรมของอำนาจที่อยู่เบื้องหลัง ผนวกกับความเงียบงันของกลุ่มและองค์กรต่างๆ ซึ่งนอกจากอาจจะเป็นเพราะเห็นด้วยกับแนวทางการปฏิรูปดังกล่าว ยังเป็นเพราะสายสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์กับองค์กรกึ่งรัฐ ซึ่งสนับสนุนการธำรงสถานะเดิมของสถาบันสังคมและการเมืองจารีต ยิ่งตอกย้ำสภาวะถดถอยของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยฉบับ “ภาคประชาสังคม” ยิ่งขึ้น

เพราะเหตุนี้ การทบทวนสถานะและบทบาทของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยฉบับ “ภาคประชาสังคม”ภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สนใจ และห่วงใย ได้ร่วมกันพิจารณาอย่างรอบคอบว่าควรจะมีท่าทีต่อสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบันอย่างไร จะทำอย่างไรให้ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยฉบับ “ภาคประชาสังคม” ตอบคำถามต่อประชาชนมากกว่าสถาบันสังคมและการเมืองจารีต จะทำอย่างไรกลุ่มและองค์กรต่างๆ จึงจะสามารถเป็นพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นอิสระภายใต้เงื่อนไขและข้อผูกมัดของแหล่งทุนเช่นองค์กรกึ่งรัฐที่มีแนวคิดอนุรักษ์นิยมทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือไม่กลายสภาพเป็นเพียงเครื่องมือของการกดทับและการธำรงสถานะเดิมของสถาบันสังคมและการเมืองจารีตอย่างเช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ประเด็นปัญหา

1. จะจัดความสัมพันธ์ระหว่างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมกับสถาบันอำนาจประเภทต่างๆ ในสังคมไทยอย่างไร กล่าวคือ จะมีท่าทีต่ออำนาจและการเมืองระบบรัฐสภาในฐานะที่เป็นสถาบันอำนาจทางการที่มีส่วนในการกำหนดชีวิตและความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่อย่างไร วิธีปฏิบัติเช่นการหว่านล้อมหรือการอาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะหน้าเป็นแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ จะทำอย่างไรจึงจะทำให้ทั้งการเมืองระบบรัฐสภาและองค์กรกึ่งรัฐตอบคำถามต่อประชาชนมากกว่าสถาบันทางสังคมและการเมืองจารีตอย่างเช่นที่เป็นอยู่ และจะทำอย่างไรให้สถาบันทางสังคมและการเมืองจารีตอยู่ภายใต้การกำกับของประชาชนโดยเฉพาะที่ผ่านการเมืองระบบรัฐสภา

2. จะจัดความสัมพันธ์ระหว่างขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมต่อกระบวนการปฏิรูปประเทศไทยซึ่งขับเคลื่อนและผลักดันโดยผู้ปวารณาตัวเป็น “ภาคประชาสังคม” และองค์กรกึ่งรัฐภายใต้การประสานความร่วมมือกับนักพัฒนาเอกชนและผู้นำชุมชนอย่างไร โดยเฉพาะภายใต้ข้อพิจารณาที่ว่ากระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองรวมทั้งมีรูปแบบและวิธีการดำเนินงานไม่แตกต่างจากที่ผ่านมา ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้นำไปสู่การเจรจาต่อรองหรือการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่มีนัยสำคัญแต่อย่างใด ขณะเดียวกันเงื่อนไขและสภาวะทางการเมืองปัจจุบันภายใต้กฎหมายพิเศษฉบับต่างๆ ก็ไม่เอื้อให้เกิดการปฏิรูปในระดับรากฐานได้

3. จะจินตนาการถึงรูปแบบการเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมืองซึ่งแตกต่างจากรูปแบบที่วิศวกรทางสังคมใน “ภาคประชาสังคม” และองค์กรกึ่งรัฐรณรงค์ส่งเสริมได้อย่างไร จะทำอย่างไรไม่ให้รูปแบบการเคลื่อนไหวถูกผูกขาดอยู่เฉพาะบางรูปแบบ เช่น “กระบวนการสมัชชา” แต่เปิดกว้างกับรูปแบบการเคลื่อนไหวที่แตกต่างหลากหลาย ซึ่งรวมแม้กระทั่งการเคลื่อนไหวเรียกร้องความเป็นธรรมทางสังคมของกลุ่มคนเสื้อแดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือจะทำอย่างไรขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมไทยจึงจะสามารถตอบคำถามต่อประชาชนได้อย่างแท้จริง

ที่มา: ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย

(ร่าง) กำหนดการ
งานเสวนาทางวิชาการ “ทบทวนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย”
วันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2553 เวลา 9:00-17:00น.
ณ ห้องประชุมจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้จัด: ศูนย์ติดตามประชาธิปไตยไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
สำนักข่าวประชาธรรม (PNN) -Local Talk
ประชาไท หนังสือพิมพ์ออนไลน์
“กลุ่มจับตาขบวนการประชาสังคมไทย” (Thai Social Movement Watch-TSMW)
9.00 – 9.15 กล่าวต้อนรับและเปิดงาน
โดย ผศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง (หัวหน้าภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ)
9:20-9:45 ปาฐกถาช่วงที่ 1: “ประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวทางสังคมไทยกับข้อท้าทายในปัจจุบัน” (25 นาที)
โดย ศ.ดร. นิธิ เอียวศรีวงศ์ (คณะกรรมการปฏิรูป)
9:50-10:15 ปาฐกถาช่วงที่ 2: “หนึ่งทศวรรษ ‘วิถีชีวิต วิธีสู้: ขบวนการประชาชนร่วมสมัย’” (25 นาที)
โดย ศ.ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร (คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ)
10:15-10:35 ช่วงถาม-ตอบ (20 นาที)
10:35-10:50 พัก (15 นาที)
10:50-12:45 การเสวนาโต๊ะกลม “ทบทวนขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในประเทศไทย”
ช่วงที่ 1: นำเสนอประเด็นการเสวนา (1 ชั่วโมง 25 นาที)
“ ‘ภาคประชาสังคม’ ‘ภาคประชาชน’ กับกับดักจินตนาการ ‘ไม่เลือกเพื่อสร้างทางเลือก’ ”
นำเสนอโดย อ.ดร.อัจฉรา รักยุติธรรม (15 นาที)
‘ภาคประชาชน’ กับก้าวที่ไม่ทันความเปลี่ยนไปของสังคมชนบท”
นำเสนอโดย อ.พฤกษ์ เถาถวิล (15 นาที)
‘ภาคประชาชน’ กับท่าทีต่อการเมืองในระบบรัฐสภา
นำเสนอโดย อ.ดร.เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ (15 นาที)
ให้ความเห็นโดย
อ.ดร. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (20 นาที)
อ.ดร. นฤมล ทับจุมพล (20 นาที)
ช่วงที่สอง: การแลกเปลี่ยนจากผู้เข้าร่วม (30นาที)
(ดำเนินรายการโดย คุณสืบสกุล กิจนุกร)
12:45-13:45 พักเที่ยง
13:45-14:00 ชมวีดิทัศน์ เรื่อง “ขบวนการภาคประชาชนและเอ็นจีโอจากหลากหลายมุมมอง”
14:00-16:15 การอภิปราย: “ขบวนการประชาชนท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองปัจจุบัน”
- คุณจอน อึ้งภากรณ์ (15 นาที) (คณะกรรมการนโยบายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย)
- คุณสมยศ พฤกษาเกษมสุข (15 นาที) (อดีตผู้นำแรงงาน บรรณาธิการนิตยสาร Red Power และผู้ประสานงานสมัชชาปฏิรูปประเทศไทยภาคประชาชน)
- คุณกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา (15 นาที) (มูลนิธิชีววิถี)
- คุณใบตองแห้ง (15 นาที) (คอลัมนิสต์)
- คุณสารี อ๋องสมหวัง (เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและคณะกรรมการสมัชชาปฏิรูป) (15 นาที)
- คุณขวัญระวี วังอุดม (15 นาที) นักสิทธิมนุษยชน
แลกเปลี่ยนซักถาม ( 45 นาที)
(ดำเนินรายการโดย ดร.กฤษฎา บุญชัย)
16:15-16:40 สังเคราะห์ภาพรวมผลการเสวนา
โดย อ.อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16:40-17:00 พิธีปิด (แถลงข่าว/อ่านบทกวี/การแสดง)
*** พิธีกรตลอดวัน รจเรข วัฒนพานิช (ชุมชนคนรักป่า)
หมายเหตุ: รายชื่อวิทยากรอาจมีการเปลี่ยนแปลง