WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, March 15, 2008

สุรพงษ์สั่งแปลงงบ'อยู่ดีมีสุข' กว่าหมื่นล้านเป็นเอสเอ็มแอล [15 มี.ค. 51 - 01:15]

นายสมชัย สัจจพงษ์ โฆษกกระทรวงการคลัง แถลงผลการประชุมร่วม 4 หน่วยงานด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงบประมาณ ที่มี นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน วานนี้ (14 มี.ค.) ว่า ที่ประชุมเห็นตรงกันว่าการจัดทำงบประมาณกลางปีที่ต้องขาดดุลเพิ่มเติมไม่มีความจำเป็น เพราะยังมีงบประมาณอีกมากกว่า 10,000 ล้านบาท ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือเบิกจ่ายล่าช้าในบางโครงการ สามารถปรับมาใช้ได้และสามารถเบิกจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันที ได้ให้สำนักงบประมาณไปตรวจสอบและนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 18 มี.ค.นี้ เช่น โครงการอยู่ดีมีสุข 15,000 ล้านบาท นพ.สุรพงษ์ ยืนยันชัดเจนว่า จะแปลงมาเป็นโครงการเอสเอ็มแอล และยังมีโครงการอื่นๆ อีก นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นว่า หากมีการตั้งงบประมาณกลางปีจะทำให้เกิดแรงกดดันมาก โดยการเบิกจ่ายจะทำได้ลำบาก เพราะต้องมีการตั้งเสนอขอใช้งบประมาณให้ทันในปีนี้

โฆษกกระทรวงการคลังกล่าวต่อว่า ส่วนการจัดทำงบประมาณปี 2552 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เน้นรักษาวินัยทางการคลังอย่างเป็นรูปธรรม โดยยังจำเป็นต้องตั้งงบประมาณขาดดุลสูงกว่าในปี 2551 ที่ขาดดุล 1.65 แสนล้านบาท แต่คงไม่เกินร้อยละ 2.5 ของจีดีพี และยึดกรอบวินัยการคลัง คือ หนี้สาธารณะไม่เกินกว่าร้อยละ 50 ของจีดีพี ภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15 สัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 25


นายสมชัย กล่าวต่ออีกว่า ที่ประชุมเห็นสอดคล้องกันว่า เศรษฐกิจในปีหน้าจะขยายตัวได้ดีกว่าปีนี้ โดย สศช.คาดว่า จะขยายตัวไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5.5 ธปท.คาดร้อยละ 4.5-6 และกระทรวงการคลังคาดว่า จะขยายตัวร้อยละ 5.4-5.5 และเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 3.5 อย่างไรก็ดี การทำงบประมาณปี 2552 มีข้อจำกัดหลายอย่าง อาทิ การต้องตั้งงบชดเชยเงินคงคลังที่ใช้ไปในปีงบประมาณ 2550 วงเงินกว่า 30,000 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.5 ของจีดีพี ขณะที่รายได้ของรัฐบาลคาดว่าจะขยายตัวขึ้น เพราะเศรษฐกิจขยายตัวได้ดีกว่าปีนี้ แต่การออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้จะไปส่งผลกระทบต่อรายได้ในปีหน้ามากกว่าที่จะกระทบรายได้ปีนี้เป็นหลักหมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีงบที่ต้องจัดสรรให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพิ่มขึ้นมากกว่าปีนี้ที่จัดสรร 25.2%


โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ต้องการให้มีการใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่ามากที่สุด โดยปัจจุบันพบว่า งบผู้ว่าราชการจังหวัดซีอีโอ ที่มีการเสนอขอมากถึง 30,000-40,000 ล้านบาท ที่อาจจะใช้วิธีให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) จ่ายสมทบในแต่ละโครงการ นอกเหนือจากใช้งบประมาณอย่างเดียว รวมถึงโครงการเร่งด่วนของรัฐบาลอื่นๆ เช่น กองทุนหมู่บ้าน หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การแก้ปัญหาความไม่สงบภาคใต้ พักหนี้เกษตรกร เป็นต้น


นายสมชัยกล่าวต่อว่า จากการคาดการณ์ว่า การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดจะลดลงในปี 2552 จากที่ในปี 2551 เกินดุลมากจนกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่า แต่ปีหน้าจะมีการลงทุนในโครงการเมกกะโปรเจกต์เต็มรูปแบบ และการนำเข้าอย่างมีนัยสำคัญต่อการลงทุน โดยนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. คาดว่า ปีหน้าจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลง จึงได้ให้มีการจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะปีหน้าจะต้องมีการขาดดุลการคลังอยู่แล้ว จึงเกรงว่า ปี 2552 อาจจะเกิดภาวะขาดดุลแฝดเหมือนกับประเทศสหรัฐอเมริกา


"ไม่อยากเห็นการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เพราะประเทศไทยจะขาดดุลการคลังอยู่แล้ว และจะเหมือนกับสหรัฐฯที่มีการขาดดุลแฝด" โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าว


โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมยังหารือถึงโครงการพักหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยที่จะประกาศภายในเดือนนี้ ว่าจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาการเกิดหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของเกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการด้วย เนื่องจากเกรงว่า อาจจะมีเกษตรกรที่ยังไม่เป็นเอ็นพีแอลฉวยโอกาสปล่อยให้เกิดเอ็นพีแอล เพื่อหวังเข้าร่วมโครงการ และจะกำหนดว่าผู้ที่จะได้รับการพักหนี้ ต้องมีแผนการฟื้นฟูกิจกรรมทางการเกษตรอย่างชัดเจนด้วย ไม่ใช่ให้ทุกคนที่เป็นเอ็นพีแอล