WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, March 15, 2008

ตุลาการ ประธาน ส.ว.

ที่สุด...ผู้มีต้นทุนทางสังคมสูงกว่า “คู่ชิง” เก้าอี้ ประธานสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) คนอื่นๆ อย่าง...นายประสพสุข บุญเดช อดีตประธานศาลอุทธรณ์ และ ส.ว.สรรหา
ก็สามารถจะ “แหกโค้ง” ก้าวขึ้นไปเป็น ประธาน ส.ว. ด้วยมติสนับสนุน 78 เสียง (อ่านรายละเอียดเลือกตั้ง ประธาน ส.ว. หน้า 5)

ต้องไม่ลืมว่า...ตำแหน่ง ประธาน ส.ว.นั้น สำคัญมากๆ สำคัญอย่างไร “บางกอกทูเดย์” ขอร่วมบัญทึกหลักฐานชิ้นนี้เอาไว้เริ่มจากบทบาทหน้าที่ของ ส.ว.ทั่วไปก่อนส.ว.จะต้อง...ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นอิสระ ในฐานะตัวแทนของประชาชนโดยปราศจากการครอบงำจากอิทธิพลของพรรคการเมือง

กลั่นกรองกฎหมายให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนทุกหมู่เหล่า
ตรวจสอบการทุจริตของฝ่ายบริหารในขอบเขตหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา สร้างกระบวนการตรวจสอบ ถ่วงดุล เพื่อให้เกิดธรรมาภิบาล และความโปร่งใสในการเมืองไทย พิจารณาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งที่ทุจริตประพฤติมิชอบอย่างเที่ยงธรรม

และ พิจารณาคัดเลือกคนดี คนมีความสามารถ คนกล้าหาญมาทำหน้าที่ในองค์กรอิสระขณะที่ ประธาน ส.ว. นอกจากจะทำหน้าที่กำกับดูแล และควบคุมการประชุมของ ส.ว.แล้ว ยังมีอีกหน้าที่ที่สำคัญคือ รองประธานรัฐสภา ซึ่งเป็นการประชุมร่วมของทั้ง ส.ว.และ ส.ส.สำคัญกว่านั้น ประธาน ส.ว.ยามนี้ ยังจะต้องทำหน้าที่ ประธานรัฐสภา ควบคู่กันไปด้วย

เนื่องจาก นายยงยุทธ ติยะไพรัช ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ ประธานรัฐสภา ต้องเว้นวรรคการทำหน้าที่ของตัวเอง จนกว่า...จะรับรู้ว่า ศาลฎีกา แผนกผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีเห็นอย่างไรกับ “ใบแดง” ที่ กกต.ส่งเรื่องมา
แน่นอน เมื่อ ประธาน ส.ว. ซึ่งมีตำแหน่งเป็น รองประธานรัฐสภา ทำหน้าที่แทนประธานรัฐสภา มีชื่อว่า...นายประสบสุข

สังคมไทย จึงพอเบาใจได้บ้างว่า...เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับ “ส.ว.เลือกตั้ง” ชุดแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย และปฏิบัติหน้าที่ระหว่างปี 2539-2544จะไม่เกิดขึ้นมาอีก!!!อย่างน้อย สิ่งที่ นายประสบสุข เคยกล่าวเอาไว้ก่อนหน้าจะมีการลงมติเลือก ประธาน ส.ว. เมื่อช่วงเช้า 14 มี.ค. ว่า...หากเขาได้เป็น ประธาน ส.ว. จะอยู่ในตำแหน่งเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของเทอม หรือเพียง 3 ปี

จากนั้น ก็จะเปิดโอกาสให้ ส.ว.คนอื่นๆ เสนอตัวชิงตำแหน่งนี้แทน
ระหว่างนี้ ทุกๆ จะเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งเพื่อน ส.ว. ไปจนถึงประชาชน และสื่อมวลชน ตรวจสอบการทำหน้าที่ตรงนี้ย้อนกลับไปเมื่อ 3-4 ปี ช่วงที่การเมืองเริ่มจะเข้ามาครอบงำ ส.ว.นั้นจะเห็นว่า...เริ่มมีการกล่าวหาเรื่องกากรซื้อเสียงของ ส.ว.

มี ส.ว.บางคน ปฏิบัติหน้าที่ตาม “โพย” หรือ “ใบสั่ง” จากนักการเมือง จนทำให้ชื่อเสียงของ ส.ว.ดีๆ พลอยเสื่อมเสียไปด้วยก่อนการเลือกตั้ง ส.ว.ครั้งที่ 2 เมื่อ 19 เม.ย.2549 กระทั่ง มีการปฏิวัติรัฐประหารในเหตุการณ์ “19 กันยายน” ปีเดียวกันนั้น นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ เคยเตือนไปยังผู้เกี่ยวข้องว่า...

“ประชาชนจะต้องติดตามเรื่องเหล่านี้ เพราะความเสียหายรุนแรงมาก ประสบการณ์ 6 ปีที่ผ่านมา เมื่อ ส.ว.ส่วนหนึ่งขายตัว และเลือกองค์กรอิสระตามที่เขาสั่งมา จะได้คนที่ไม่มีความเหมาะสม คนเหล่านี้ ก็เข้าไปปกป้องคนที่ทำให้เขาได้เป็น ตรงนี้ที่ประชาชนไม่เข้าใจ มองไม่เห็น มองไม่ถึงจุดนี้ ซึ่งเสียหายต่อหลักการของบ้านเมืองอย่างยิ่ง...”เรา “บางกอกทูเดย์” ไม่อยากจะให้ภาพเหล่านี้เกิดขึ้นกับสังคมไทยอีก

ก็ได้แต่หวังว่า...คนอย่าง นายประสพสุข จะทำหน้าที่ ประธาน ส.ว. ตลอดเวลา 3 ปีที่เขาลั่นวาจาเอาไว้...ได้อย่างสมบูรณ์แบบโดยจะไม่เปิดทางให้มีการ “ซื้อสิทธิ...ขายเสียง” ของบรรดา ส.ว. ภายในสภาฯอันทรงเกียรติแห่งนี้ไม่ว่าจะเป็น ส.ว.ชุดที่มาจากสรรหา หรือเลือกตั้ง ก็ตามที่สำคัญ อย่าปล่อยให้มีกลุ่ม...ก๊วนใดๆ เข้ามาต่อรอง เพื่อผลประโยชน์ทางตรงและแอบแฝงเกิดขึ้นเป็นอันขาด

ขึ้นชื่อว่า...ผู้ที่เคยผ่านการทำหน้าที่ ประธานศาลอุทธรณ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “อำนาจตุลาการ” อย่าง...นายประสพสุข นั้นจะสามารถดำรงไว้ซึ่ง...ความเป็นกลาง เป็นธรรม และความถูกต้องเป็น “เสาหลัก” ค้ำยันระบอบประชาธิปไตยของเมืองไทยให้ยั่งยืนสืบไปอย่าทำให้คนไทยต้องรู้สึกผิดหวัง...เมื่อคนจากฟาก ตุลาการ เข้าไปเป็น ประธาน ส.ว.เลย!!!.

ก่อนเป็นประธาน ส.ว.

นายประสพสุข บุญเดช เกิดเมื่อ 27 พ.ค.2488 ที่ จ.นครสวรรค์ ปัจจุบัน อายุ 62 ปี
เรียนจบนิติศาสตร์บัณฑิต ม.ธรรมศาสตร์ และปริญญาโท เนติบัญฑิต ที่สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา เมื่อปี 2510
เคยเป็น อาจารย์สอนระดับปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ต่อมาโอนไปสังกัดกรมการปกครอง
นอกจากนี้ เขายังเคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น...
ผู้พิพากษาจังหวัดตาก
ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์
เลขานุการ รมว.ยุติธรรม
อธิบดีผู้พิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางรวมถึง ยังเคยเป็น...กรรมการกฤษฎีกา อีกด้วย