WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, March 13, 2008

หยุด!หวยบนดิน...ทำอาชญากรรมพุ่ง!!!


นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เมื่อนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สคช. เปิดข้อมูล ในรายงานภาวะสังคมประจำไตรมาส 4 ปี 2550 และภาพรวมในปี 2550 ขึ้นมา โดยเฉพาะเรื่องความมั่นคงทางสังคมของไทย ที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยนำเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของ 2549

ตัวเลขที่เลาขาฯสคช.นำมาเปิดเผย ระบุว่า คนไทยมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2549 โดยในไตรมาส 4 ปี 2550 เพิ่มขึ้นจาก 57,740 คดี เป็น 64,207 คดี ซึ่งคดีสำคัญๆ มาจากยาเสพติด ที่มีการจับกุมเพิ่มขึ้น จาก 26,790 ราย เป็น 39,106 ราย หรือเพิ่มขึ้นถึง 46%

นอจกานั้น คดียาเสพติดในส่วนของผู้ที่กระทำความผิดกลุ่มเด็กและเยาวชนยังน่าเป็นห่วงเช่นกัน คือเพิ่มขึ้นจาก 2,356 คดี เป็น 2,902 คดี หรือเพิ่มขึ้น 23.3% ขณะที่ภาพรวมของคดีในปี 2550 มีทั้งหมด 255,688 คดี เพิ่มขึ้นจากปี 2549 ประมาณ 10.6% โดยเป็นคดียาเสพติดถึง 141,839 คดี เพิ่มจากปี 2549 ที่มี 110,904 คดี หรือเพิ่มขึ้น 27.9% นอกจากนี้ ผลการศึกษาของ สศช.ยังพบว่าจำนวนเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีในสถานพินิจทั่วประเทศ เพิ่มจาก 36,080 คดี ในปี 2548 เป็น 51,218 คดี ในปี 2550

ตัวเลขที่สภาพัฒน์ฯนำมาเปิดเผย บ่งบอกถึงอาชญากรรมที่เกิดกับเยาวชนมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งนับเป็นเรื่องที่สังคมไทย ทั้งผู้ปกครอง ครูบา อาจารย์ ตลอดจนผู้หลักผู้ใหญ่ของบ้านเมือง จำต้องเป็นห่วงและหาทางป้องกันก่อนรุกลามใหญ่โตขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม เหตุผลอันเป็นสาเหตุหลักของการเพิ่มขึ้นของคดียาเสพติดนั้น นายอำพน ระบุอย่างตรงไปตรงมาทันที่ว่า ส่วนหนึ่งมาจากการที่หวยกลับลงไปอยู่ใต้ดิน

พร้อมย้ำให้เห็นด้วยว่า การยกเลิกหวยบนดิน ที่ทำให้หวยใต้ดินฟื้นคืนชีพกลับมาอีกครั้งนั้น คือต้นตอของการก่ออาชญากรรมอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย โดยจะเห็นว่าตั้งแต่ที่รัฐบาลประกาศเลิกหวยบนดิน ปรากฏว่าตัวเลขคดียาเสพติด และการจับกุมเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นตลอด

ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นั่นก็เพราะ หวยใต้ดิน เป็นเรื่องของการก่ออาชญากรรมที่ผิดกฎหมายอย่างหนึ่งที่สร้างรายได้ให้กับเจ้ามือหวยและผู้เกียวข้องอย่างมหาศาล ประเมินกันว่า นับเป็นเงิน หลายหมื่นล้านบาท ในช่วงเวลาไม่นานนัก และเมื่อเงินที่ได้มาอย่างผิดกฎหมายนี้ราบรื่น ก็ส่งผลให้มีการต่อยอดไปสู่การกระทำที่ผิดกฎหมายอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะต่อยอดไปถึงการเปิดบ่อนที่ผิดกฎหมาย เมื่อมีบ่อนย่อมมีแก๊งควบคุมดูแล ย่อมมีเรื่องของการเสพ การค้ายาเสพติดเป็นเงาตามมาด้วย

แน่นอนเรื่องของการทำผิดกฎหมายที่เป็นกอบเป็นกำมหาศาลแบบนี้ เบื้องหลังแล้วย่อมมีอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้อง มาดูแลให้พ้นเงื้อมือของกฎหมาย ซึ่งเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจาก คนมีสี มีอำนาจเท่านั้น ชักใยอยู่เบื้องหลัง

ดังนั้น การนำหวยที่อยู่ใต้ดิน ที่ต้องยอมรับความจริง ไม่เพียงเฉพาะแต่ในประเทศไทย ว่าควรทำให้ถูกต้อง ถูกกฎหมายจึงเป็นสิ่งควรดำเนินการ เพราะรัฐสามารถเข้าดูแลและควบคุมได้อย่างมีแผน ไม่ก่อให้เกิดเป็นปัญหาสังคมขยายวงกว้างออกไปยังส่วนอื่นๆ

นอกจากนี้ รัฐยังสามารถเก็บรายได้จากการนี้ได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ยิ่งหากนำไปใช้ประโยชน์ต่อสาธารณชน ต่อการศึกษาด้วยแล้ว นับเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ดังเช่นเห็นผลสำเร็จมาแล้วจากนโยบายของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

นายอำพน ยังยอมรับในความคิดเห็นของตัวเองด้วยว่า ควรนำหวยใต้ดินกลับขึ้นมาไว้บนดินให้ถูกต้องเหมือนเดิม โดยทำกฎหมายให้ชัดเจน จะได้ควบคุมดูแลและให้คำแนะนำได้อย่างเหมาะสม และเมื่อนโยบายรัฐบาลไม่ได้ทำเพื่อแสวงหากำไร ดังนั้น จึงขออย่ามองแต่เรื่องหวยเพียงด้านเดียวว่า เป็นการมอมเมาหรืองมงาย เพราะถ้าเทียบจำนวนตัวเลขอาชญากรรมต่างๆ ในช่วงที่มีหวยบนดินจะเห็นว่ามันลดลงมาก และเงินที่ได้มาเอาไปส่งเด็กเรียนต่างประเทศก็ไม่ใช่การกระทำที่ทำให้งมงาย

อย่างไรก็ตาม เลขาธิการ สศช.ก ไม่ขอออกความเห็นถึงเรื่องการจัดตั้งกาสิโนในประเทศไทย เนื่องจากขณะนี้ยังเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวของนายกรัฐมนตรี ยังไม่ได้ออกมาเป็นนโยบายรัฐบาลและสั่งการให้ สศช.พิจารณาศึกษาในรายละเอียด

รายงานของสภาพัฒน์ฯฉบับนี้ ยังกล่าวไว้อีกหลายเรื่อง นอกจกาเรื่องของการเสพยาเสพติดพุ่งขึ้นแล้ว เพราะเผยผลสำรวจภาวะสังคมไตรมาส 4 พบมีการจ้างงานเพิ่มในสาขาอุตสาหกรรม-โรงแรม-ภัตตาคาร คนตกงานลดลง แต่คุณภาพการศึกษาของไทยน่าเป็นห่วง

รายงาน เปิดเผยว่า คุณภาพการศึกษาไทยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้วในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเด็กไทยจะมีโอกาสได้รับการศึกษาในทุกระดับมากขึ้น จากการที่รัฐเร่งจัดบริการให้ได้รับการศึกษาอย่างน้อย 9 ปี แต่จากผลการประเมินความรู้นักเรียนอายุ 15 ปี ของโครงการศึกษาสำรวจความรู้และทักษะของนักเรียนกลุ่มอายุ 15 ปี ในประเทศสมาชิกองค์กรเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (โออีซีดี) ในชื่อ PISA ทุก 3 ปี พบว่าอยู่ในระดับที่ไม่น่าพึงพอใจมาก

ทั้งนี้ คะแนนเฉลี่ยทั้งวิชาวิทยาศาสตร์ การอ่าน และ คณิตศาสตร์ของเด็กไทยลดลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยของประเทศสมาชิกโออีซีดี (500 คะแนน) ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียมีผลการประเมินความรู้อยู่ในระดับที่สูงกว่า และเมื่อพิจารณาเป็นรายวิชาพบว่า นักเรียน 46% มีความรู้วิชาวิทยาศาสตร์ต่ำกว่าระดับพื้นฐาน และเกือบไม่มีนักเรียนที่รู้วิทยาศาสตร์ในระดับสูง ส่วนคะแนนเฉลี่ยการอ่านของไทยอยู่ในระดับพื้นฐาน ด้านคณิตศาสตร์พบว่านักเรียนไทย 52% มีความรู้ต่ำกว่าพื้นฐาน

นอกจากนั้น ผลการประเมินในครั้งนี้เห็นว่า นักเรียนไทยที่อยู่ในกลุ่มโรงเรียนสาธิตที่มีผลการประเมินทุกด้านทัดเทียมกับประเทศสมาชิกโออีซีดี ขณะที่กลุ่มโรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่าระดับพื้นฐานมากที่สุดทั้ง 3 วิชา คือ กลุ่มโรงเรียนขยายโอกาสเดิม และโรงเรียนสังกัด กทม. ส่วนโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนมีคะแนนเฉลี่ยด้านคณิตศาสตร์ต่ำที่สุด และถ้าพิจารณากันเป็นรายภาคจะพบว่า ภาคอีสานและภาคเหนือตอนล่างมีคะแนนเฉลี่ยด้อยที่สุด

โดยสรุปของรายงานฉบับนี้ คือ มิติด้านคุณภาพคน : สถานการณ์การมีงานทำไตรมาสสี่มีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้น โดยการขยายตัวมากในสาขาอุตสาหกรรม การค้า โรงแรมและภัตตาคาร มีผู้ว่างงานลดลงเฉลี่ย 4.1 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 1.1 ผู้สมัครงานที่มีการศึกษาระดับประถมหรือต่ำกว่าจะได้รับการบรรจุงานในสัดส่วนที่น้อยกว่าระดับการศึกษาอื่นๆ ส่วนด้านสุขภาพประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวัง 11 โรค เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะโรคมือ เท้า ปาก ไข้เลือดออก และอหิวาตกโรค สามารถป้องกันได้ด้วยการรักษาสุขอนามัยและความสะอาดของบุคคลและที่อยู่อาศัย รวมทั้งช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

มิติด้านความมั่นคงทางสังคม : ปัญหายาเสพติดยังคงเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ส่วนอุบัติเหตุและความเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุในไตรมาสสี่และช่วง 7 วันอันตรายในวันสิ้นปีเก่าและขึ้นปีใหม่ (28 ธ.ค.50-3 ม.ค.51) ลดลง เนื่องจากการรณรงค์ป้องกันและตั้งจุดตรวจของตำรวจและหน่วยงานต่างๆ สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่คือเมาแล้วขับ

มิติด้านพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคน : ค่าใช้จ่ายในการบริโภคยาสูบของคนไทยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.9 การลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ด้วยการเลิกสูบที่ได้ผลคือการใช้ยาและการบำบัดพฤติกรรม ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเลิกบุหรี่ได้สูงถึง 2-4 เท่า เมื่อเทียบกับการเลิกด้วยการหักดิบ สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กำลังกลายเป็นค่านิยมอย่างหนึ่งที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตคนไทย ค่าใช้จ่ายการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาซึ่งพบว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงในการชอบดื่มสุรา เที่ยวกลางคืน และสูบบุหรี่

มิติด้านสิ่งแวดล้อม : มลพิษทางเสียงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ และสระบุรี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ที่เห็นได้ชัดคือการสูญเสียการได้ยินทั้งชั่วคราวและถาวร ด้านคุณภาพอากาศปริมาณฝุ่นและก๊าซโอโซนยังคงเกินมาตรฐาน

ส่วนภาพรวมภาวะสังคมไทยปี 2550 : ภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวทำให้การจ้างงานเพิ่มขึ้น อัตราการว่างงานต่ำสุดเฉลี่ยทั้งปีที่ร้อยละ 1.4 แต่ยังคงมีปัญหาความรู้และทักษะแรงงานไม่สอดคล้องกับทิศทางการปรับโครงสร้างการผลิตจำเป็นต้องปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับแนวโน้มและความต้องการของตลาด ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยลดลง ยาเสพติดยังคงเป็นปัญหาอย่างต่อเนื่อง คาดว่าในปี 2551 จะมีเด็กและเยาวชนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด 5.6 แสนคน ส่วนปัญหาคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่สำคัญคือแหล่งน้ำ ปัจจุบันทั่วประเทศมีแหล่งน้ำคุณภาพดีเพียงร้อยละ 24

มิติด้านคุณภาพคน : การจ้างงานรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เมื่อเทียบกับปี 2549 โดยการจ้างงานนอกภาคเกษตรขยายตัวร้อยละ 2.0 ผู้ว่างงานลดลงเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำร้อยละ 1.4 ด้านการศึกษาเด็กไทยได้รับโอกาสทางการศึกษามากขึ้นโดยเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและอุดมศึกษาแต่ยังมีปัญหาคุณภาพการศึกษาที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการประเมินคุณภาพการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ระหว่างปี 2543-2549 พบว่ายังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน จำเป็นต้องปรับปรุงความรู้พื้นฐานของนักเรียนอย่างจริงจังและเร่งด่วน ด้านสุขภาพประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวัง 11 โรค เพิ่มขึ้น และการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่ติดต่อคือ เบาหวาน หัวใจและมะเร็ง ที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมและแบบแผนการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป รวมทั้งการใช้สารเคมีทั้งปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืชในปริมาณมากทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรอันจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค

มิติด้านความมั่นคงทางสังคม : ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยลดลง คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ คดีชีวิต ร่างกายและเพศ รวมทั้งคดียาเสพติดเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เด็กและเยาวชนกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์และยาเสพติดเพิ่มขึ้น และการกระทำผิดซ้ำมีถึงร้อยละ 11.8 เป็นเพศชายสูงถึงร้อยละ 91.1และเป็นนักเรียนระดับมัธยมต้นร้อยละ 40 จำนวนการเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกลดลงร้อยละ 8.1 แต่มูลค่าทรัพย์สินที่เสียหายเพิ่มขึ้น ร้อยละ26.8 สาเหตุหลักเกิดจากการขับรถเร็วเกินอัตราที่กำหนด ส่วนการมีหลักประกันทางสังคมครอบคลุมประชากรได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังมีแรงงานนอกระบบประมาณ 24 ล้านคนยังไม่ได้การคุ้มครองทางสังคม

มิติด้านพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคน : ค่าใช้จ่ายในการบริโภคยาสูบเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 และแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.1 โดยมีปริมาณการจำหน่ายเบียร์เพิ่มมากกว่าสุรา สาเหตุหนึ่งมาจากกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ผลิตที่แข่งขันกันสร้างแบรนด์ใหม่ๆ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าระดับล่างในชนบทห่างไกล ส่วนเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการโฆษณาและการขายตรง ซึ่งควรกำกับดูแลเป็นพิเศษเพื่อไม่ให้มีการเอาเปรียบผู้บริโภค เนื่องด้วยช่องทางการซื้อขายสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ผ่านทางอินเทอร์เน็ตเป็นที่นิยมมากขึ้น

มิติด้านสิ่งแวดล้อม : สถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมในบางพื้นที่ของ กรุงเทพฯ และเขตเมืองอุตสาหกรรม ยังคงมีปัญหาในเรื่องระดับเสียง ปริมาณขยะ และคุณภาพแหล่งน้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำลำตะคองตอนล่างเป็นแหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก ด้านคุณภาพอากาศไฟป่าเป็นมหันตภัยที่ก่อให้เกิดมลพิษที่ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งป้องกันได้โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจและประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการอย่างถูกวิธี

ในรายงานฉบับเดียวกันนี้ ยังพุ่งเป้าไปถึงเรื่องของการกวดวิชากับระบบการศึกษาของไทยด้วย โดยกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของโรงเรียนการกวดวิชา เกิดขึ้นมานานกว่า 40 ปี และยังเป็นที่นิยมของนักเรียนทุกยุคทุกสมัยที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้ให้สามารถสอบแข่งขันเข้าโรงเรียนที่มีชื่อเสียงและมหาวิทยาลัยชั้นนำ ส่งผลให้มีโรงเรียนกวดวิชาจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว

การขยายตัวของธุรกิจกวดวิชา เริ่มจากการเรียนเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นกวดวิชาทั้งปีเพื่อสอบเข้าเรียนในระดับต่างๆ มีรูปแบบหลากหลาย ทั้งสอนสดโดยอาจารย์ ผสมผสานระหว่างสอนจริงและผ่านทางวีดีโอ อินเทอร์เน็ต เน้นวิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ และเคมี สถาบันกวดวิชาบางแห่งทำเป็นธุรกิจที่มีสาขาทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัด โรงเรียนกวดวิชาที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในปี 2547 มีจำนวน 864 แห่ง และเพิ่มขึ้นเป็น 967 แห่ง ในปี 2550 หรือร้อยละ 12 และมีนักเรียนเข้าเรียนกว่า 3 แสนคน ในปี 2549

ค่าใช้จ่ายในการเรียนกวดวิชา ประเทศไทยประมาณการค่าใช้จ่ายการเรียนพิเศษของเด็กนักเรียนไทย ในปี 2550 คิดเป็น 6,039 ล้านบาท โดยครัวเรือนใน กทม.มีค่าใช้จ่ายสูงสุด และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางประมาณ 200 บาทต่อคนต่อเดือน รวมถึงการมีนักเรียนบางส่วนเดินทางจากต่างจังหวัดมาเรียนพิเศษในกรุงเทพฯ ช่วงวันเสาร์-อาทิตย์

เสียงสะท้อนของผู้ที่เกี่ยวข้อง การกวดวิชาเกี่ยวข้องทั้งระดับปัจเจกบุคคล สถาบันการศึกษา และหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งแต่ละกลุ่มอาจจะมีพฤติกรรมและความเห็นที่สอดคล้องและแตกต่างกัน โดย นักเรียน/นักศึกษา ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ต้องการมีผลการเรียนดีขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อ

ขณะที่ ผู้ปกครอง ครูที่สอนกวดวิชา และสถาบันกวดวิชา ต่างมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า เด็กจำเป็นต้องเรียนกวดวิชา เพราะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในวิชาที่เรียนมากขึ้น ได้เทคนิคการทำข้อสอบ โดยเฉพาะในส่วนของผู้ปกครองแม้มีค่าใช้จ่ายสูงในการส่งบุตรหลานเรียนกวดวิชาประมาณ 1,000- 3,000 บาทต่อเดือน แต่คิดว่าคุ้มค่า

แต่จุดอ่อนของระบบการศึกษาก็คือ คุณภาพครู โดยกระทรวงศึกษาธิการยังมีครูที่ไม่จบระดับปริญญาตรีและสอนไม่ตรงวุฒิกว่า 30,000 คน ประกอบกับ การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบางแห่งมีปัญหาการขาดแคลนครูรายสาขาวิชา ส่งผลกระทบให้ครูที่มีอยู่ต้องสอนในวิชาที่ไม่ตรงตามวุฒิการศึกษา

หลักสูตรการเรียนการสอน เนื้อหารโดยทั่วไปมีมากเกินไป แต่ไม่สอดคล้องกับความรู้ที่ใช้ในการสอบคัดเลือกในระดับต่างๆ จึงจำเป็นต้องกวดวิชาเพิ่มเติม

รายงานยังเสนอทางออกไว้ด้วยว่า การกวดวิชาและคุณภาพการศึกษาควรมีแนวทางการพัฒนาที่สำคัญควบคู่กันอย่างเหมาะสมคือ พัฒนามาตรฐานด้านการเรียนการสอนโรงเรียน โดยปรับเนื้อหาหลักสูตรให้มีความเชื่อมโยงระหว่างระดับชั้นการศึกษา และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการเรียนต่ออย่างสัมฤทธิผล รวมทั้งใช้ในโลกของการทำงานได้

สร้างโอกาสและความมั่นใจให้แก่เด็กนักเรียน โดยการเผยแพร่เนื้อหาสาระวิชาที่มีความเข้มข้นและมีเทคนิคการเรียนการสอนที่ทัดเทียมโรงเรียนกวดวิชา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศถ่ายทอดไปยังโรงเรียนหรือแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและจัดรายการกวดวิชาทางสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง

กำกับดูแลมาตรฐานโรงเรียนกวดวิชา โดยจดทะเบียนโรงเรียนเหล่านี้ทุกแห่งให้ถูกต้องตามกฎหมายและตรวจสอบการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์