WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, September 11, 2008

รัฐประหารโดยตุลาการ


คอลัมน์: สิทธิประชาชน

การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติวินิจฉัยว่า การจัดรายการ “ชิมไปบ่นไป” และ “ยกโขยง 6 โมงเช้า” ของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หลายมาตรา โดยเฉพาะมาตรา 265 และ 267 ทำให้ขาดคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี พูดง่ายๆ นายสมัครพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นับเป็นที่แปลกประหลาดใจของชาวโลก ที่นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยหลุดจากตำแหน่งด้วยการกระทำเล็กๆ น้อยๆ เพียงจัดรายการโทรทัศน์แนะนำการปรุงอาหารเท่านั้น แต่สำหรับคนไทยส่วนใหญ่จะคิดว่าเป็นเรื่องการต่อสู้ทางความคิดการเมือง ระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย กับ อำมาตยาธิปไตย ที่ดำรงมากว่า 2 ปีแล้ว โดยฝ่ายหลังจะใช้ศาลเป็นเวที เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 กันยายน ผมเห็นว่าเป็นรัฐประหารโดยตุลาการ (Judicial coup d’etat)

หลายเดือนมานี้ผมเคยพูดเคยเขียนว่า สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยออกมาชุมนุมเดินขบวน แล้วเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล ประสานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการสรรหา ที่คอยยื่นกระทู้ถาม เสนอญัตติอภิปราย และบางส่วนไปยื่นฟ้องฝ่ายนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งสื่อมวลชนคอยถล่มรัฐบาล หากไม่นำไปสู่รัฐประหารโดยกองทัพ ก็จะรัฐประหารโดยตุลาการ เหมือนที่เกิดขึ้นในตุรกี เพราะที่นั่นฝ่ายต่อต้านโดยอัยการสูงสุดยื่นฟ้องผู้นำรัฐบาลต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อเดือนมีนาคม 2551 จำนวน 71 คน ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และกรรมการพรรคยุติธรรมและการพัฒนา ว่าทำผิดกฎหมายอิสลาม

ซึ่งหากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าผิดจริง ผู้นำรัฐบาลจะพ้นตำแหน่ง รัฐบาลจะล้ม และพรรคถูกยุบ ในประเทศไทย มีคนไปยื่นฟ้องศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ ว่าคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี และประธานสภาผู้แทนราษฎร มีการกระทำผิดรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้พ้นตำแหน่งไป 1 คน รัฐมนตรีที่ต้องคดีลาออก 2 คน รวมทั้ง กกต. ส่งคำร้องยุบพรรคพลังประชาชนให้อัยการสูงสุดฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เฉพาะ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีเอง มี 4 คดี อนาคตทางการเมืองของรัฐบาลและพรรคพลังประชาชนจึงขึ้นกับศาลสูงดังกล่าว

ความจริง ก่อนหน้านี้ศาลเหล่านี้เคยมีบทบาทชี้ขาดปัญหาการเมือง เช่น ยกเลิกผลการเลือกตั้งทั่วไป 2 เมษายน 2549 ตัดสินจำคุก กกต. 4 คน การตัดสินยุบพรรค จนฝ่ายพันธมิตรฯ ยกย่องว่าเป็น “ตุลาการภิวัตน์” แต่เหตุการณ์ตั้งแต่ต้นปีมานี้ โดยเฉพาะเมื่อมีรัฐบาล สมัคร สุนทรเวช บรรดาฝ่ายอำมาตยาธิปไตยที่มีพันธมิตรฯ เป็นกองหน้า พยายามทุกวิถีทางที่จะล้มรัฐบาลนี้ ในที่สุดก็ใช้การชุมนุมยืดเยื้อ เดินขบวนไปที่ต่างๆ สุดท้ายจึงเข้ายึดทำเนียบ ในขณะเดียวกันฝ่ายพันธมิตรฯ บางกลุ่ม เช่น ส.ว. แต่งตั้ง คตส. หาเรื่องไปฟ้องต่อศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองกว่า 10 คดี โดยมุ่งหวังให้ศาลสูงเหล่านี้จัดการกับรัฐบาลที่พวกเขาขับไล่ อันเป็นยุทธวิธีที่มีประสิทธิภาพอย่างหนึ่งในช่วงที่ผ่านมา

การพิจารณาและตัดสินคดีของ นายสมัคร สุนทรเวช ของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 9 กันยายน ซึ่งมีผลให้นายสมัครพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และรัฐบาลล้มลง จึงเป็นไปตามแนวทางของฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ที่พยายามใช้ศาลยึดอำนาจรัฐ จึงมีลักษณะเป็นรัฐประหารรูปแบบหนึ่ง แบบนี้ไม่ต้องใช้กองทัพขับรถถังออกมาดังที่ฝ่ายพันธมิตรฯ เรียกร้องโหยหามาหลายเดือนแล้ว

สภาพความเป็นจริงประการนี้ ไม่เพียงแต่คนไทยเท่านั้นที่มองเห็น สื่อมวลชนต่างประเทศก็เห็น 2-3 เดือนมานี้ นักข่าวและคอลัมนิสต์นิตยสารชั้นนำของโลกหลายฉบับ เช่น The Economist, News Week เริ่มขีดเขียนตั้งข้อสงสัยต่อสถาบันตุลาการประเทศไทย

แต่อย่างไรก็ตาม รัฐประหารโดยตุลาการนี้จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ เช่น การตัดสินจำคุกนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ในคดีต่างๆ ไปจนถึงการยุบพรรคพลังประชาชน เพราะฉะนั้น ประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและความยุติธรรมที่ลุกขึ้นปกป้องรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ปกป้องระบอบประชาธิปไตย ออกมาแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์ และต่อต้านตุลาการภิวัตน์โดยเฉพาะรัฐประหารโดยตุลาการ ซึ่งเป็นทั้งเสรีภาพและการต่อสู้ทางความคิดทางการเมืองอย่างหนึ่ง แต่จะต้องระมัดระวัง ใช้เหตุผล มีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ด้วยเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อาจถูกข้อหาละเมิดอำนาจหรือหมิ่นศาลได้ ผู้พิพากษาของศาลดังกล่าวควรจะรับฟังความคิดเห็นของประชาชนบ้าง มิฉะนั้นประชาชนจะหมดความเชื่อมั่นศรัทธาต่อสถาบันตุลาการ

แล้วประเทศไทยจะอยู่กันอย่างไร

จรัล ดิษฐาอภิชัย