WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, September 11, 2008

ต้องสลายการชุมนุมพันธมาร!


คอลัมน์ : ฮอตสกู๊ป

นัฐพงษ์ เป็งใจยะ เขียนบทความ “จังหวะก้าวของพันธมิตรฯ และความชอบธรรมของรัฐในการสลายการชุมนุม” ลงเว็บไซต์ประชาไท เสนอความคิดที่สวนกับบรรดาปัญญาชน นักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน ที่ต่างดาหน้ากันออกมาว่ารัฐไม่ควรสลายการชุมนุมของพวกกบฏพันธมิตรฯ

ความดังนี้
“ผู้เขียนสนับสนุนการสลายการชุมนุมของพันธมิตรฯ มาตั้งแต่ 26 สิงหาคม หลายคนไม่เห็นด้วย ทั้งนี้จะเป็นด้วยเคารพใน ‘สิทธิมนุษยชน’ และ ‘สิทธิตามระบอบประชาธิปไตย’ ด้วยใจบริสุทธิ์ หรือด้วยอคติต่อรัฐ ด้วยยึดติดภาพเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ก็แล้วแต่

ผู้เขียนขอแบ่งการเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ เป็น 2 ช่วง ซึ่งเกี่ยวพันกับความชอบธรรมในการเข้าสลายม็อบโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนี้
ช่วงแรก ตั้งแต่กันยายน 2548 จนถึง 25 สิงหาคม 2551

ในช่วงนี้รัฐไม่มีสิทธิและไม่มีความชอบธรรมในการสลาย ถึงแม้ว่าจุดประสงค์ ข้อเรียกร้อง การยุยงปลุกปั่น และการโฆษณาชวนเชื่อทางอุดมการณ์ ต้องการนำไปสู่ความรุนแรงและการรัฐประหารก็ตาม เนื่องจากว่าถึงที่สุดแล้วความเคลื่อนไหวทั้งหมดยังจำกัดตัวอยู่ที่ ‘การชุมนุม’ ความเดือดร้อนของประชาชนและการละเมิดกฎหมายยังไม่ชัดแจ้ง และยังไม่มีผลสะเทือนเป็นวงกว้างเท่าที่ควร

ช่วงสอง ตั้งแต่ 26 สิงหาคม จนถึงปัจจุบัน
จุดประสงค์ท้ายสุดยังอยู่ที่การรัฐประหาร แต่ทว่าข้อเรียกร้องได้พัฒนาอย่างถดถอย โดยการที่กลุ่มพันธมิตรฯ ต้องการยึดอำนาจรัฐเพื่อที่จะเข้าไปครอบครองและใช้อำนาจรัฐเสียเอง โดยปฏิเสธการเลือกตั้งหรือวิถีทางใดๆ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงเจตนารมณ์ของคนส่วนใหญ่ เพราะถึงแม้ว่านายกรัฐมนตรีจะลาออก พันธมิตรฯ ก็ประกาศว่าจะไม่หยุดการชุมนุม ทั้งนี้เพื่อกำหนด ‘การเมืองใหม่’ ที่ลดคุณค่าของคนสามัญทั้งหมดในประเทศนี้ ให้มีค่าเท่าผงธุลี

หากมองในระดับปฏิบัติการ การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ยกระดับจากการชุมนุมและการยุยงปลุกปั่นผู้ชุมนุม ไปสู่ "การก่อจลาจล" ท้าทายกฎหมายและอำนาจรัฐ มีการใช้กำลังและความรุนแรงกับผู้ที่เห็นต่าง นำไปสู่การสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของรัฐและประชาชน ซ้ำยังทำตัวอยู่เหนือกฎหมาย ใช้เด็กและผู้หญิงเป็น ‘โล่มนุษย์’ ในการปกป้องตนเอง ยิ่งกว่านั้นยังสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนทั้งประเทศด้วยการตัดน้ำ ตัดไฟ ยึดสนามบิน หยุดการเดินรถ ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของประชาชนทั้งประเทศ ทั้งความเสียหายดังกล่าวยังมีผลกว้างไกลไปถึงความเชื่อมั่นในทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวของประเทศ ทำให้ต่างชาติมองว่าไทยเป็นบ้านป่าเมืองเถื่อน รัฐบาลไม่สามารถใช้อำนาจและกลไกที่มีอยู่จัดการกับการจลาจลครั้งนี้ได้ ที่สุดแล้วผลทั้งหมดก็ตกที่ประชาชนสามัญที่หาเช้ากินค่ำ โดยปราศจากความรับผิดชอบจากพันธมิตรฯ

ส่วนทางฝ่ายรัฐเองนั้น นับแต่การเคลื่อนไหวของพันธมิตรฯ ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงบัดนี้ ผู้ที่มีใจเป็นธรรมคงตระหนักว่า รัฐไทยเรียนรู้ที่จะอดทนต่อความเห็นต่างทางการเมืองมากขึ้นกว่าในอดีต เพราะรัฐบาลไม่เคยสั่งห้ามหรือสลายการชุมนุม ตรงกันข้าม ฝ่ายผู้ชุมนุมเสียอีกที่อดรนทนไม่ได้ จนต้องเผยธาตุแท้เรียกร้องยั่วยุและทำให้เกิดความรุนแรงเสียเอง

อคติต่อรัฐของปัญญาชนไทย กลายมาเป็นความคิดรวบยอดเกี่ยวกับ "ความรุนแรง" เนื่องจากถ้ารัฐใช้อำนาจหรือกลไกที่มีอยู่ในการรักษาไว้ซึ่งระเบียบทางการเมือง ก็จะถูกประเมินว่าเป็น "ความรุนแรง" โดยอัตโนมัติ

ตรงกันข้าม ถ้าหากเป็นฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐกระทำการ "รุนแรง" เพียงใด ก็จะไม่ถูกนับเป็น "ความรุนแรง" เพียงเพราะอยู่ตรงข้ามกับ "รัฐ"

ด้วยวิธีคิดหรืออุดมการณ์เช่นนี้เอง จึงทำให้กลไกรัฐไม่สามารถทำหน้าที่ได้เช่นในอารยประเทศสมควรทำในสถานการณ์ปัจจุบัน

ดังนั้น ผู้เขียนอยากให้ปัญญาชนและประชาชนทั้งหลายที่คัดค้านการสลายการชุมนุม อย่ามองว่าการสลายม็อบจะเป็นความรุนแรงในทุกกรณี โดยเฉพาะกรณีนี้ การสลายม็อบเป็นการรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมาย ยืนยันว่ารัฐยังมีสิทธิและความชอบธรรม ในอันที่จะรักษาความสงบและความปลอดภัย รวมถึงบรรเทาความเดือดร้อนอันเกิดจากการกระทำของพันธมิตรฯ ที่ทำการละเมิดกฎหมายโดยการก่อจลาจล และรัฐประหารโค่นอำนาจรัฐอย่างชัดแจ้งในครั้งนี้ ซึ่งถ้าเทียบกันระหว่างการสลายม็อบและการกระทำของพันธมิตรฯ นับแต่วันที่ 26 สิงหาคม เป็นต้นมา ผู้ที่มีสติสัมปชัญญะคงตรองได้ว่า อันไหนกันแน่ที่เป็น ‘ความรุนแรง’ ที่แท้จริง
เป้าหมายสูงสุดของสงคราม 26 สิงหาคม คืออะไร?

กล่าวอย่างรวบรัดที่สุด

เป้าหมายสูงสุดหรือเป้าหมายที่แท้จริงของสงคราม 26 สิงหาคม คือการกำหนดอนาคตของระบอบเผด็จการอำมาตยาธิปไตย ที่ต้องการรักษาสถานะอำนาจให้อยู่เหนือสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ดังนั้น ‘การเมืองใหม่’ คือการรับประกันว่า ไม่ว่าในอนาคตสังคมการเมืองไทยจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ‘ระบอบเผด็จการอำมาตยาธิปไตย’ ก็จะมีสถานะอำนาจเหนือ ‘ประชาชน’ ไปจนชั่วกัลปาวสาน”