WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, September 9, 2008

หวังปลุกนักศึกษาขึ้นมาไล่รัฐบาล ฝันค้างของพันธมิตรอีกรอบ


บทความ โดย ลูกชาวนาไทย


ยุคนี้ไม่ใช่ยุค การต่อสู้ทางอุดมการณ์ของโลก เหมือนช่วงปี 1960-1980 ซึ่งเป็นช่วงสงครามเย็น ที่มีการต่อสู้ทางอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างเข็มข้นระหว่างอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ กับทุนนิยม

ประเทศไทยในช่วงนั้น สังคมเป็นยุคเกษตรกรรมเต็มที่ ปี 2516 ที่เกิดกระบวนการนักศึกษาขึ้นมานั้น สังคมในชนบทของไทยยังมีแต่ชาวบ้านที่ไม่ได้มีความเชื่อมโยงกับโลกภายนอกมากนัก ชาวบ้านส่วนใหญ่มีการศึกษาเพียงเล็กน้อย ส่วนใหญ่จบไม่เกิน ป.
4 ส่วนคนที่มีการศึกษาระดับมหาวิทยาลับก็มีอยู่เพียงในกรุงเทพมหานครเท่านั้น และมีอยู่จำนวนไม่มากด้วย เมื่อเทียบกับจำนวนประชาชนทั้งหมด


นักศึกษาในช่วงนั้น คณะต่างๆ ก็มีแต่คณะทางด้านสังคม เช่น รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ส่วนทางด้านวิทยาศาสต์ ก็มีแค่แพทย์และวิศวะ เป็นต้น คณะที่ดังๆ เช่น รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ก็ศึกษาเรื่องการเมืองเป็นส่วนใหญ่ ทำให้มีการตื่นตัวทางการเมืองสูง


เมื่อสังคมเป็น สังคมเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่มีความรู้ต่ำ คนที่มีการศึุกษาส่วนมากก็ทำงานราชการทั้งสิ้น ปัญญาชนนอกภาคราชการ ที่ไม่ได้ถูกควบคุมโดยรัฐมีพวกเดียวคือ "คนในรั้วมหาวิทยาลัย" ส่วนปัญญาชนอิสระก็มีแค่ทนายความ พนักงานบริษัทต่าง ๆ นั้นมีน้่อยมาก

เรียกว่าคนทั้งประเทศโดยเฉลี่ยมีการศึกษาต่ำกว่า นักศึกษาในมหาวิทยาลัย คนชนบทที่แม้มีอายุมากกว่านักศึกษา แต่ก็มีการศึกษาที่ต่ำกว่า


แต่โครงสร้างของประชากรในปัจจุบัน คนทำงานที่มีการศึกษาสูงกว่านักศึกษาเป็นจำนวนมาก และส่วนใหญ่ก็ทำงานนอกภาครัฐ มีการศึกษาและประสบการณ์ที่สูงกว่านักศึกษามาก คนที่มีการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยมีเป็นจำนวนมาก

คนที่มีความรู้ไม่ได้จำกัดตัวอยู่ในแวดวงมหาวิทยาลัยเท่านั้น คนที่จบปริญญาไม่ว่า ตรี โท เอก อยู่นอกมหาวิทยาลัยเป็นจำนวนมาก คนพวกนี้มีประสบการณ์มากกว่า อาจารย์และนักศึกษา มากนัก

ดังนั้น นักศึกษา ในยุคปัจจุบัน จึงไม่ใช่ "ปัญญาชนชั้นนำ" ของประเทศอีกต่อไป แต่เป็น "เด็กที่ยังเรียนไม่จบ" และยังไม่มีประสบการณ์ มองปัญหาไม่รอบด้าน รู้แต่ในตำราเท่านั้น



แม้แต่ในหมู่บ้าน ก็มีคนที่มีความรู้มากกว่านักศึกษา มีชาวนาที่จบปริญญาก็ยังมี คนที่ทำงานในระดับตำบล เช่น อบต. โรงเรียน หรืออื่นๆ ก็มีความรู้สูงกว่านักศึกษาแทบทั้งสิ้น

เมื่อนักศึกษาเป็นแค่เด็กในสังคม ความสนใจต่อสภาพสังคมที่มี "ภูมิความรู้ ประสบการณ์ และการศึกษามากกว่า" ก็ลดลง และโลกปัจจุบันก็มีสิ่งที่น่าสนใจมากกว่า "การเมือง" ความคิดของนักศึกษาในยุคนี้ก็ไม่สามารถชี้นำสังคมได้ แหล่งความรู้ไม่ได้จำกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่มีให้เข้าถึงได้โดยง่ายในโลกอินเตอร์เน็ต

นักศึกษาในยุคนี้จึงสนใจเรื่องอื่นๆ มากกว่าการเมือง เช่น วิิดิโอเกม อินเตอร์เน็ต เว็บไซต์ต่างๆ หรือ
Hi5 เป็นต้น


ดังนั้น ในมหาวิทยาลัยจึงมีนักศึกษาส่วนน้อยเท่านั้นที่ สนใจการเมืองแต่สนใจในฐานะ ผู้ที่ศึกษาเรียนรู้มากกว่า ที่จะคิดเปลี่ยนแปลงสังคม ที่ตนไม่ได้มีภูมิรู้มากกว่า

ผมจึงไม่คิดว่าการปลุกนักศึกษา ออกมาต่อต้านรัฐบาล ต่อต้านทุนนิยม จะสำเร็จไปได้

แม้จะมีนักศึกษาเข้าร่วม ก็แค่ส่วนน้อยเท่านั้น

บางคนที่ไปติดภาพ ขบวนการนักศึกษาปี 2516 ก็คิดว่า่ตนจะสามารถปลุึกเร้านักศึกษา "ออกมาต่อต้านทุนนิยม" ได้

อุดมการณ์ทางการเมืองแบบต่อต้านทุนนิยในยุคปัจจุบัน มันไม่ได้มีอยู่แล้วในมหาวิทยาลัย มันมีแต่อยู่ในกลุ่มอาจารย์ "ที่เคยเป็นนักศึกษาสมัยปี 2516" ที่ตกค้างมาตั้งแต่การต่อสู้กันในยุคสงครามเย็นเท่านั้น

นักศึกษาสมัยนี้สนใจแต่ว่า ตนจะจบออกไปให้เร็วที่สุด มีงานดีๆ ทำ ได้เงินเดือนแพงๆ และมีรถดีๆ ขับได้อย่างไรเท่านั้น ใครออกไปจากมหาวิทยาลัยได้ก่อน คนนั้นมีอิสระจากการพึ่งพาครอบครัวก่อน มีโอกาสไล่คว้าชีวิตที่เป็นอิสระก่อนเพื่อนที่ยังพึ่งเงินจากพ่อแม่ก่อน

ยุคนี้อุดมการณ์ จึงไม่ใช่เรื่อง สังคมนิยม ทุนนิยม

แต่กระแสในมหาวิทยาลัย น่าจะเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม โลกร้อน ตามสภาวะกระแสหลักของโลกมากกว่า


สำหรับประเทศไทย ปัญหามันก็แค่ "คนแก่กลุ่มหนึ่งที่มีอำนาจ" และไม่สามารถปรับตัวเข้ากับโลกสมัยใหม่ได้เท่านั้นเอง

ความ หวังที่จะเห็นภาพนักศึกษา เป็นหมื่นๆ คน เดินขบวนออกมาไล่รัฐบาลนั้น ผมว่าเป็นความฝันของพวกที่ยังติดภาพยุคสงครามเย็นมาเท่านั้น ไม่ได้ผงกหัวขึ้นมามองดูโลกยุคศตวรรษที่
21 ว่าเขาไปถึงไหนกันแล้ว

ใช้ประสบการณ์และความเคยชินยุคปี 1970 มาประเมินสถานการณ์ยุคปี 2008

น่าสงสารคนพวกนี้จัง

บางคนสงสัย และเคยมีคำถามของคอลัมนิสต์บางคนว่า ทำไมขบวนการนักศึกษายุคนี้ถึงไม่เข็มแข็งเหมือนยุคก่อน และทำไมนักศึกษาถึงไม่สนใจการเมือง

ผมว่าคำตอบส่วนหนึ่งก็เหมือนกับที่ผมเสนอไว้ข้างบนแหละครับ

อีกส่วนหนึ่งคือ "กระแสโลก" ในขณะนี้ ไม่ได้เป็นการต่อสู้ทางอุดมการณ์ทางการเมืองอีกแล้ว แวดวงวิชาการระดับโลกเรื่องที่เป็นที่สนใจ ไม่ได้อยู่ที่ คอมมิวนิสต์ สังคมนิยม ทุนนิยมหรือ เผด็จการ อย่างไหนจะดีกว่ากัน โลกมีคำตอบเรื่องพวกนี้หมดแล้ว จนนักวิชาการไม่ต้องตั้งประเ็ด็นมาถามกันแ้ล้ว หรือบทความทางวิชาการเด่นๆ ระดับโลกไม่มีเรื่องพวกนี้อีกแล้ว

กระแสโลก เป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องโลกร้อน

ภาพยนต์ดังๆ ยุคนี้ ไม่มีประเด็นทางการเมืองมากมายนัก ไม่มีประเด็นการต่อสู้ทางอุดมการณ์ทางการเมือง

มีแต่เรื่อง "น้ำจะท่วมโลก" หนังยอดฮิต ก็เป็นเรื่องภัยพิบัิติจากโลกร้อน
แวดวงวิชาการระดับโลก สนใจเรื่องเหล่านี้มากกว่าเรื่องการเมือง

กระแสนักศึกษา ปัญญาชนในมหาวิทยาลัยยุคใหม่ ที่ไม่ใช่นักวิชาการที่ตกค้างมาตั้งแต่ยุคคนเดือนตุลา สนใจปัญหาระดับโลกเรื่องอื่นๆ มากกว่า

ดังนั้น การจะปลุกนักศึกษามาไล่รัฐบาลสมัคร ผมว่าออกมาอย่างมาก ก็ไม่เกินหลักร้อยหรือหลักพัน แต่เมื่อเทียบกับจำนวนนักศึกษาทั้งหมดแล้ว มีน้อยนิดมาก

เอาอุดมการณ์เรื่อง พระมหากษัตริย์ ระบอบประธานนาธิบดี ไปใส่นักศึกษา ผมว่าไม่สำเร็จหราอกครับ

Thai Free News

ขนาดพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่พันธมิตรและสหภาพฯ พยายามปลุกขึ้นมาตัดน้ำตัดไฟ หยุดเดินรถ ก็ทำได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่สงผลกระทบต่อการเมืองแต่อย่างใด เพราะประเด็นที่ปลุก เป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ ไม่ได้เกี่ยวกับเรื่อง รายได้ ความมั่นคงของพนักงานรัฐวิสาหกิจแต่อย่างใด

การปลุกนักศึกษาออกมาไล่รัฐบาล ผมว่าเป็นแค่ความฝันลมๆ แล้งๆ ของพวกคนแก่เท่านั้น

การปลุกระดมนักศึกษาออกมาไล่รัฐบาล จึงไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวหรือน่าวิตกแต่อย่างใด เจอฝนตกหนักๆ น้องๆ กลัวกระโปรงเปียก เสื้อเปียก ก็หนีกลับบ้าน หรือไปเที่ยวอาร์ซีเอดีกว่า

จาก thaifreenews