WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, September 10, 2008

เปิดคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ "สมัคร" พ้นสภาพนายกรัฐมนตรี


คอลัมน์ : ฮอตสกู๊ป

หลังจากลุ้นระทึกกันมานาน กรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนา ส.ว.สรรหา และคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีของ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นพิธีกรในรายการ"ชิมไปบ่นไป" และรายการ"ยกโขยง 6 โมงเช้า"ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7) และมาตรา 267 ประกอบ 182 วรรคสาม และมาตรา 91 โดยพยานผู้ถูกร้องมี 2 ปากคือ นายศักดิ์ชัย แก้วมณีสกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด และนายสมัคร

องค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ได้ออกนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยสรุปใจความเบื้องต้นได้ว่า นายสมัครผู้ถูกร้องได้ร่วมดำเนินธุรกิจกับบริษัทเฟช มีเดีย จำกัดในฐานะพิธีกรแม้จะอ้างว่าไม่ใช่ลูกจ้าง แต่ทั้งนี้ผู้ถูกร้องซึ่งเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ย่อมทราบข้อห้ามกฎหมาย ม. 267 ดีอยู่แล้วเพราะเข้าข่ายหมิ่นเหม่ แต่ยังคงร่วมดำเนินธุรกิจเรื่อยมา แต่มาเลิกเป็นพิธีกรก็ต่อเมื่อมีผู้ร้องเรียนถึงกกต. ขณะที่บริษัท เฟซ มีเดีย ถือเป็นบริษัทเอกชน ย่อมมุ่งแสวงหากำไร และจะนำรายได้มาแบ่งปันกัน

อีกทั้งจากหลักฐานพิเคราะห์แล้วเห็นว่าผู้ถูกร้องได้ทำหน้าที่พิธีกร รายการชิมไปบ่นไป ตั้งแต่เมื่อครั้งออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และได้รับค่าตอบแทนเรื่อยมาเดือนละ 80,000 บาท จนกระทั่งมีโลโก้รูปภาพการ์ตูนจมูกชมพู่เป็นโฆษณาไปปรากฏบนจอโทรทัศน์ในช่วงออกอากาศ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่ทราบกันดีว่าหมายถึงตัวผู้ถูกร้อง

ส่วนเรื่องผู้ถูกร้องโต้แย้งว่าไม่ได้เป็นลูกจ้างเฟซ มีเดีย เพราะไม่ได้รับค่าจ้างหรือเป็นผู้บริหารในบริษัท ซึ่งต้องวินิจฉัยตามกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่จากหลักฐานการหักภาษี ณ ที่จ่าย ของกรมสรรพากรได้ยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาพบว่าผู้ถูกร้องมีเงินได้จากการเป็นพิธีกรจาก บริษัท เฟซ มีเดีย

ต่อมาเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2551 หลังผู้ถูกร้องได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้ร่วมบันทึกเทปกับบริษัท เฟซ มีเดีย อีก 2- 3 ครั้งและนำมาออกอากาศอีก โดยผู้ถูกร้องมิได้ดำเนินการยับยั้ง โดยใช้รูปจมูกชมพู่เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นชัดว่ามีการร่วมดำเนินธุรกิจกันจริง

ส่วนความหมายคำว่า"ลูกจ้าง"ตามรธน. ผู้ถูกร้องพยายามหาช่องหลีกเลี่ยง ต้องตีความเจตนารมณ์ วินิจฉัยการเป็นพิธีกรกิจการงานร่วมกับผู้ถูกร้อง มุ่งค้าหากำไรผุ้ถูกร้องต้องได้รับค่าตอบแทนตามฐานะ ม.267 ยังพบว่าข้อโต้แย้งของผู้ถูกร้องที่รับรายได้เพียงค่าน้ำมันรถ ถือว่าเป็นการให้ขัดแย้งกัน และพบว่าหลักฐานเพื่อปกปิดข้อเท็จจริง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 เสียง เห็นว่าผู้ต้องร้องกระทำต้องห้ามขัดต่อรธน. 267 จึงสิ้นสุดความเป็น รมต. เฉพาะตัว แต่ให้คณะรัฐมนตรีรักษาการจนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรีคนใหม่

จากกรณีดังกล่าว นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม ในฐานะรองโฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวว่าจากที่ฟังคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ตนเห็นว่า วันนี้ความเชื่อถือของต่างประเทศ ระบบการบังคับใช้กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรม ได้สั่นสะเทือน เพราะวันนี้มีปรากฏการณ์ใหม่ที่เกิดขึ้น โดยจะเป็นการตอกย้ำความบอบช้ำของประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสังเกตว่าคดีของนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่เล็กน้อย

แต่ศาลรัฐธรรมนุญกลับรีบร้อนหยิบยกขึ้นมพิจารณาให้แล้วเสร็จ ซึ่งผิดกับคดีของ 9 กบฎแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯที่วันนี้ยังคงคาราคาซัง พร้อมกันนี้ในส่วนของตำจำกัดความในการตัดสิน ตนมองว่าในภายภาคหน้าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญควรที่จะใช้พจนานุกรมในการประกอบคำวินิจฉัย โดยไม่ต้องยึดคำจำกัดความในกฎหมาย แม้สุดท้ายก็ต้องยอมรับ เพียงแต่ว่าต้องคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชนและสังคมบ้าง

“เป็นปรากฏการณ์ใหม่นะ ซึ่งก็สงสารประเทศไทย ที่ว่าคดีใหญ่ๆโตๆ เรื่องจะเป็นจะตายของประชาชน ช้ามาก อย่างเช่ยข้อหากบฏ ช้ามาก นี่แค่นายกฯจัดรายการวิทยุ เขารับเลื่อนมาพิจารณาก่อนเลย ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสงสารมาก ส่วนการจำกัดความในกฎหมาย กับพจนานุกรมก็ยังไม่รู้ว่าควรจะยึดคำจำกัดความว่าอะไร และที่ไหนดี ต่อไปกฎหมายก็ไม่ต้องมีคำจำกัดความ เอาพจนานุกรมมาอ้างเลยดีกว่า คำว่าผู้รับจ้าง กับผู้จ้าง คืออะไรกันแน่ เอาพจนานุกรมไปเลย” นายสุทินกล่าว