WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, September 12, 2008

นักวิชาการ NATO


คอลัมน์ : ตาต่อตา ฟันต่อฟัน

“...อย่ามาดัดจริตเรื่องจริยธรรมกันเลยครับขอร้อง เพราะ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ไปยึดทำเนียบ เป็นผู้ต้องหาคดีกบฏอยู่ ก็ไม่เห็นนักวิชาการคนไหนออกมาพูดเรื่องจริยธรรมของประชาธิปัตย์ ส.ส. ประชาธิปัตย์ และ ส.ว. กว่า 30 คนไปเยี่ยมกบฏในทำเนียบ โดยเดินแหวกหมายศาลไป ก็ไม่มีใครบ่นเรื่องจริยธรรมกันเลย...”

วันนี้สภาผู้แทนราษฎรได้มีนัดหมายเปิดประชุมเพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่แทน นายสมัคร สุนทรเวช ที่ถูกคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญให้พ้นจากตำแหน่ง ตามความผิดในคดี “ชิมไปบ่นไป” ที่เป็นความผิดเฉพาะตัว อันเป็นผลให้คณะรัฐมนตรีทั้งชุดต้องหมดวาระการทำงานลง แต่ยังให้รักษาการได้จนกว่าจะมีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

นักวิชาการหลายคนได้ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่กัน อย่าง ดร.อัมมาร สยามวาลา รักษาการประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา หรือ ทีดีอาร์ไอ กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า การดำเนินการทางการเมืองเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรีใหม่ ต้องมีมารยาทที่จะไม่เลือกคนเก่าที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง เพราะขาดคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 กันยายน ที่ผ่านมา โดยเห็นว่าความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ ควรแก้ปัญหาโดยการยุบสภาแล้วมีการเลือกตั้งใหม่ เพื่อยุติปัญหาโดยเร็วที่สุด เพราะเมื่อเห็นว่าประชาชนหลายกลุ่มไม่ยอมรับก็ควรจะยุบสภาเสีย ซึ่งหากปล่อยให้เหตุการณ์ยืดเยื้อต่อไปจะทำให้ประชาชนในประเทศเกิดความแตกแยกกันมากขึ้น ดังนั้น ควรจะทำให้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองลดความรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพรรคพลังประชาชน ซึ่งหากสนับสนุนให้ นายสมัคร สุนทรเวช กลับเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ก็จะทำให้สถานการณ์ทางการเมืองยังเหมือนเดิม เพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นเลย

ขณะที่ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองต่อจากนี้ไป ถือเป็นความขัดแย้งที่นักการเมืองไทยควรจะต้องผ่านกระบวนการเรียนรู้ โดยภายในแต่ละพรรคจะต้องมีประชาธิปไตยมากกว่านี้ เพื่อให้มีการรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกพรรคที่หลากหลาย แต่เนื่องจากในแต่ละพรรคจะมีกลุ่มที่มีอำนาจ สามารถรวบรัดตัดสินใจในการกำหนดทิศทางของพรรค โดยมีความเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่อาจต้องยุบสภา ซึ่งอาจไม่เกิดขึ้นทันทีทันใด จากผลทางกฎหมายที่รัฐบาลยังอยู่ต่อไปได้ ทั้งที่ในทางปฏิบัติรัฐบาลเสียความชอบธรรมไปแล้ว เพราะการกำหนดนโยบายหรือการบริหารจัดการไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนได้

ทั้งนี้ ที่สำคัญ อ.ผาสุก เห็นว่า ต้องนำความสันติมาให้กับสังคมหรือปวงชน โดยรัฐบาลต้องทำหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ ในการป้องกันไม่ให้เกิดการปะทะกันของกลุ่มคนที่ขัดแย้งกัน

นอกจากนี้แล้วยังมีหลายคนได้มีการออกมาแสดงความคิดเห็นว่า นายสมัคร สุนทรเวช ขาดจริยธรรม หากจะเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

ภายในวันนี้ เราคงจะได้ทราบกันว่า สภาผู้แทนราษฎรได้เลือกสมาชิกท่านใดขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่ผมเห็นเกี่ยวกับการแสดงความคิดเห็นของนักวิชาการทั้ง 2 ท่านข้างต้นนั้น ก็คือ คนเป็นนักวิชาการก็ยังคงเป็นนักวิชาการ (แบบไทยๆ) อยู่นั่นเอง คือ นั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง (Ivory Tower) และเป็นอย่างที่เขาชอบพูดล้อเลียนบรรดานักวิชาการบางคนว่า เป็นพวกนาโต้ (NATO) ซึ่งมิได้หมายถึงองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ หากแต่คือ No Action Talk Only ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า ไม่ทำอะไร พูดอย่างเดียว หรือหากให้ฟังดูเป็นสุภาษิตหน่อยก็ต้องว่า มือไม่พาย แต่เอาเท้าราน้ำ เพราะทั้ง 2 ท่านมิได้แสดงความคิดเห็นอย่างใดเลยว่า กลุ่มแก๊งอันธพาลกบฏเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลอันเป็นการทำผิดกฎหมายนั้น ควรจะต้องดำเนินการอย่างใด และการที่รัฐบาลได้ใช้ความพยายามประคับประคองละมุนละม่อม โดยยึดหลักกฎหมายดำเนินการต่อกลุ่มต่อต้านกฎหมาย พวกอนาธิปไตยเหล่านั้น ก็คือ การใช้หลักสันติวิธีที่น่าชมเชย

ประการสำคัญก็คือ ท่านนักวิชาการทั้งสองคิดไม่ออกหรืออย่างไรว่า รัฐบาลนี้มีความชอบธรรมยิ่งกว่ารัฐบาลใดๆ เพราะมีที่มาจากมติประชาชนทั้งประเทศ ดังนั้นจู่ๆ กลับเห็นว่าควรจะต้องยุบสภาเสียเพื่อยุติปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองนั้น ขอถามหน่อยเถอะครับ เวลานี้ในระบบรัฐสภานั้นเขามีความขัดแย้งกันตรงไหนละครับ ก็เห็นเขาทำงานดีกันอยู่ มีฝ่ายค้าน มีฝ่ายรัฐบาล ว่าไปตามปกติของระบบ ไม่เห็นเขามีความขัดแย้งกันจนถึงขนาดจะต้องยุบสภาตรงไหนเลย

หรือว่าท่านนักวิชาการยกย่องยอมรับให้พวกล่วงละเมิดกฎหมาย หนีหมายจับข้อหากบฏ เป็นกลุ่มสำคัญที่จะต้องให้สภายุบ ถามตรงๆ เถอะครับ ท่านอาจารย์คิดเช่นนั้นจริงๆ หรือ อาจารย์ นักวิชาการ ไม่มีความคิดหรือข้อเสนอแนะอย่างอื่นหรือ ประการสำคัญก็คือ จะทำให้ปัญหาจบหรือ เพราะพันธมิตรฯ เขาประกาศโต้งๆ อยู่ว่าเขาไม่เลิกชุมนุมจนกว่าจะได้การเมืองใหม่ของเขา หรือคนเป็นนายกรัฐมนตรีจะร้องเป็นคนที่เขาทั้งหลายเห็นสมควร

สิ่งซึ่งน่าหงุดหงิดสำหรับประเทศไทยของเรานี้ก็คือ การชอบพูดอ้างอิงถึงจริยธรรม หรือการต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ถามจริงๆ เถอะครับ การจัดรายการ “ชิมไปบ่นไป” มันผิดตรงไหนครับ

ตามหลักกฎหมายนั้น ความผิดแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เป็นความผิดในตัวมันเอง เช่น ลักทรัพย์ ฆ่าคนตาย ที่เรียกเป็นภาษาละตินว่า MALA IN SE กับปกติการกระทำนั้นไม่เป็นความผิด แต่ที่ผิดเพราะกฎหมายบอกว่าเป็นความผิด เช่น ปกติเราจะขับรถเลนซ้ายหรือเลนขวา มันไม่ผิดในตัวมันเอง แต่ประเทศไทยกฎหมายจราจรบังคับว่าจะต้องขับรถเลนซ้าย ดังนั้นถ้าขับรถเลนขวา กฎหมายบอกว่าผิด ละตินเรียกว่า MALA IN HABITA ถือว่าเป็นกฎหมายเทคนิค

ดังนั้น การจัดรายการ “ชิมไปบ่นไป” มันไม่ผิดกฎหมายหรอกครับ แต่ที่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าผิดก็เพราะรัฐธรรมนูญบัญญัติว่า หากมีการกระทำลักษณะที่ว่าแล้วถือว่าต้องพ้นจากตำแหน่ง เมื่อศาลรัฐธรรมนูญตีความตามพจนานุกรมแล้วเห็นว่า นายกฯ สมัครเป็นลูกจ้าง จึงต้องพ้นจากตำแหน่ง ก็พ้นไปแล้วนี่ครับ แต่จะพูดจากันถึงขนาดว่า การจัดรายการของนายกฯ คือการกระทำที่ไม่ชอบต่อกฎหมาย ดูเสมือนเป็นเรื่องเลวร้ายชั่วช้า มันเวอร์ไปครับ

ส่วนที่บอกว่า หากจะกลับมาเป็นนายกฯ อีกครั้งเป็นการขาดจริยธรรมนั้น เป็นความคิดที่คับแคบเกินไปไหม เพราะการกระทำของนายกฯ นั้น อย่าลืมนะครับว่ารัฐธรรมนูญไม่เห็นว่าเป็นความผิดร้ายแรง มิฉะนั้นแล้วผู้ร่างรัฐธรรมนูญคงกำหนดเรื่องการเว้นวรรคทางการเมืองไปแล้ว ก็รัฐธรรมนูญไม่ห้าม หากนายกรัฐมนตรีจะชื่อ สมัคร สุนทรเวช แล้วจะเป็นไรไป

อย่ามาดัดจริตเรื่องจริยธรรมกันเลยครับขอร้อง เพราะ นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ไปยึดทำเนียบ เป็นผู้ต้องหาคดีกบฏอยู่ ก็ไม่เห็นนักวิชาการคนไหนออกมาพูดเรื่องจริยธรรมของประชาธิปัตย์ ส.ส. ประชาธิปัตย์ และ ส.ว. กว่า 30 คน ไปเยี่ยมกบฏในทำเนียบ โดยเดินแหวกหมายศาลไป ก็ไม่มีใครบ่นเรื่องจริยธรรมกันเลย

ผมว่าหากนายสมัครจะเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ก็ย่อมมีความชอบธรรม และไม่เห็นจำเป็นเลยที่จะต้องสนใจบรรดานักวิชาการ NATO

ศุภชัย ใจสมุทร