WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, September 11, 2008

คำวินิจฉัยที่ไม่สุจริตของศาลรัฐธรรมนูญ กรณี สมัคร สุนทรเวช


มีข้อพึงสังเกตบางประการเกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ผมเห็นว่าไม่ควรมองข้ามไป แม้จะเป็นเงื่อนงำเล็กๆ ที่ใครต่อใครก็มองข้าม แต่ผมเห็นว่าไม่อาจจะมองข้ามไปได้ เพราะผลของเงื่อนงำที่ถูกปิดบังไว้ด้วยความไม่สุจริตในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญประการนี้ มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติ และ ทุกองค์กร ในประเทศไทย หากวันหนึ่งข้างหน้ามีผู้ใดหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็น ในอนาคต

เงื่อนงำบางประการที่ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่กระทำให้มีความชัดเจนที่ผมกล่าวถึงนี้ก็คือ "นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากความเป็นนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรี ตั้งแต่วันใด"

ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ระบุไว้ ซึ่งผมเข้าใจว่าเป็นความพยายามหลีกเลี่ยงที่จะระบุวันที่นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม โดยมีความไม่สุจริตใจ เป็นที่ตั้ง

ผู้คนส่วนใหญ่อาจจะเห็นว่าประเด็นที่ผมนำเสนอเป็นประเด็นเล็กๆ ที่ไม่มีความสำคัญต้องนำมาพิจารณา จึงไม่มีใครนำมาเสนอให้ได้พิจารณากัน แต่ในมุมมองของผมกลับเห็นว่าเป็นประเด็นใหญ่มาก

ใหญ่มากกว่าการพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช เสียอีก

เนื่องเพราะวันที่พ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ของนายสมัคร สุนทรเวช มีความสัมพันธ์กับความถูกต้องตามกฎหมายของการปฏิบัติราชการในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ของนายสมัคร สุนทรเวช ทุกๆ กรณี

กรณีการแต่งตั้งรัฐมนตรี

กรณีการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารประจำปี

กรณีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการตำรวจ

กรณีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการพลเรือนทุกกระทรวง ทบวง กรม

กรณีการเจรจากับประเทศต่างๆ

กรณีการประชุมคณะรัฐมนตรี และ มติคณะรัฐมนตรีทุกมติ

กรณีการรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งสำคัญ

โดยเฉพาะ การรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายประสพสุข บุญเดช เป็นประธานวุฒิสภา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2551 และ การรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายทหาร เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2551

ยังมีอีกหลายเรื่อง หลายกรณี หลายมติ หลายคณะกรรมการ ที่นายสมัคร สุนทรเวช เป็นประ ธาน และเป็นคณะกรรมการ ทำหน้าที่กำหนด ตัดสินใจ ลงมติ ในฐานะนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

เหล่านี้เป็นประเด็นสำคัญซึ่งผูกพันอยู่กับการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช ที่ศาลรัฐธรรมนูญ พยายามหลีกเลี่ยงเบี่ยงบ่ายที่จะไม่กล่าวถึง เพราะเกรงว่าหากมีการระบุวันสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช แล้วจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง ใหญ่หลวง และ ก่อให้เกิดปัญหาติดตามอย่างมากมาย จนไม่อาจจะแก้ไขได้ เนื่องจากมีผลกระทบทั้งภายในประเทศและผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณี นายสมัคร สุนทรเวช จึงไม่แตกต่างจากที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ ว่า เพียงเพื่อจะจับหนูหนึ่งตัว ทำไมต้องรื้อบ้านทั้งหลัง

เพียงเพื่อจะทำให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไม่คำนึงถึงผลกระทบ และความเสียหายที่จะติดตามมา

ถึงแม้ว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จะไม่คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับศาลรัฐธรรมนูญ กระบวนการยุติธรรม และภาพลักษณ์ของศาลไทย ว่าจะเป็นอย่างไร ในสายตาของชาวไทย และชาวต่างประเทศ แต่ก็ควรจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล องค์กร และสถาบันอื่นๆ ที่จะต้องรับผลกระทบจากคำวินิจฉัยของตนบ้าง

ประเด็น "นายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรี วันใด" เป็นประเด็นที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญ ต้องทำให้มีความกระจ่างแจ้ง มิใช่คลุมเครือปล่อยให้ประชาชนไปตีความกันเอง โดยศาลรัฐธรรมนูญไม่รับผิดชอบไม่ได้

" ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์ จึงวินิจฉัยว่าผู้ถูกร้องกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 มีผลให้ความเป็นรัฐมนตรีของนาย สมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7) และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้องกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 จึงเป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรคหนึ่ง(1) แต่ด้วยความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีเป็นการสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ทำให้รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่เหลือ จึงอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 181"

จะเห็นได้ว่า คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ บอกเพียงว่านายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี แต่ มิได้บอกว่าสิ้นสุดเมื่อใด ณ วันที่กระทำการอันเป็นเหตุให้คุณสมบัติ ขัดรัฐธรรมนูญ หรือ ณ วันที่ ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย

เหตุที่ผมยกประเด็นนี้ขึ้นมาเป็นประเด็นสำคัญก็เพราะว่า เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2551 หรือ ก่อนหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ จะวินิจฉัยว่านายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี นั้น ศาลรัฐธรรมนูญ โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง 9 คนนี้ เพิ่งจะวินิจฉัยว่านายไชยา สะสมทรัพย์ สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี กรณีภรรยา มิได้จัดการหุ้นในบริษัท ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่านายไชยา สะสมทรัพย์ สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี นับตั้งแต่วันที่กระทำการขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งหมายความว่านายไชยา สะสมทรัพย์ สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม 2551 (วันสุดท้ายครบกำหนดการยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของรัฐมนตรีและคู่สมรส)

คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในกรณีนายไชยา สะสมทรัพย์ กำหนดวันสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ ไว้ชัดเจน และ ระบุด้วยว่าการกระทำใดๆ ของนายไชยา สะสมทรัพย์ ภายหลังวันที่ 6 มีนาคม 2551 ไม่ได้รับรับรองตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากความเป็นรัฐมนตรี สิ้นสุดลงไปแล้ว

ความแตกต่างระหว่างคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีนายสมัคร สุนทรเวช กับ นายไชยา สะสมทรัพย์ อยู่ที่การระบุวันสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีในกรณีของนายไชยา กับ การไม่ระบุในกรณีของนายสมัคร ซึ่งเป็นการวินิจฉัยแบบสองมาตรฐานของศาลรัฐธรรมนูญ อย่างเห็นได้ชัด และไม่อาจจะเข้าใจเป็นอื่นได้ นอกจากว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีเจตนาอันไม่สุจริต มีเจตนาที่จะปกปิด ไม่ทำความกระจ่างในคำวินิจฉัยของตนเอง

ในกรณีของนายไชยา สะสมทรัพย์ ศาลรัฐธรรมนูญ (ชุดเดียวกัน) มีคำวินิจฉัยว่า...

"ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า ผู้ถูกร้องได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 และได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินพร้อมเอกสารประกอบของตนเองและคู่สมรสต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2551 กรณีเข้ารับตำแหน่งดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าผู้ถูกร้องได้แจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบว่าประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการที่นางจุไร สะสมทรัพย์ คู่สมรสของผู้ถูกร้องถือหุ้นในบริษัท ทรัพย์ฮกเฮง จำกัด เกินกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนหุ้น ที่จำหน่ายได้ในบริษัทภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้ถูกร้องได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 แม้ว่าในปัจจุบันพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ยังมิได้มีการบัญญัติให้รวบถึงการถือครองหุ้นและได้รับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของรัฐมนตรี แต่เมื่อรัฐธรรมนูญ มาตร 269 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของรัฐมนตรีผู้นั้นที่จะต้องแจ้งให้ประธานกรรมการ ป.ป.ช.ทราบ ดังนั้น รัฐมนตรีจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งความประสงค์จะรับประโยชน์จากกรณีดังกล่าวของคู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย กรณีจึงถือว่าการกระทำของผู้ถูกร้องในฐานะรัฐมนตรีเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 269 เป็นการกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7)ประกอบมาตรา 269

มีกรณีต้องวินิจฉัยต่อไปว่า ผู้ถูกร้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อใด เห็นว่าความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7) บัญญัติให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อกระทำการอันต้องห้ามตามมาตรา 269 ซึ่งหมายถึงว่า เมื่อมีเหตุการใดเหตุการณ์หนึ่งตามที่กำหนดไว้เกิดขึ้น ความเป็นรัฐมนตรีย่อมต้องสิ้นสุดลงทันที ไม่ใช่สิ้นสุดลงในวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ส่วนมาตรา 92 นั้น เป็นการบัญญัติถึงการลาออกจากตำแหน่งไว้เพื่อแก้ปัญหาอันเกี่ยวกับกิจการที่รัฐมนตรีได้ทำไปหลังจากความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดแล้วถึงวันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ไม่ให้กระทบกระเทือนกิจการที่กระทำไปในระหว่างนั้น หากความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย ย่อมไม่มีความจำเป็นต้องบัญญัติรับรองกิจการที่ทำไปก่อนการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 182 วรรคหนึ่ง(7) ประกอบมาตรา 269 ตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี

หากศาลรัฐธรรมนูญ มีมาตรฐานเดียวในการวินิจฉัยกรณีนายสมัคร สุนทรเวช กับกรณี นายไชยา สะสมทรัพย์ ศาลรัฐธรรมนูญ ก็ควรจะต้องกำหนดให้ชัดว่านายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี ตั้งแต่วันใด เพราะประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญ ยิ่งเป็นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ยิ่งต้องได้รับความสนใจ ใส่ใจ ที่จะพิจารณาวินิจฉัยมากกว่าตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แต่จากคำวินิจฉัยที่นำมาเสนอเปรียบเทียบ สองกรณีนี้ จะเห็นได้ว่าศาลรัฐธรรมนูญ มีสองมาตรฐานในการวินิจฉัย อย่างชัดเจน และมิอาจจะปฏิเสธได้

หากศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีสองมาตรฐาน และใช้มาตรฐานเดียวกันในสองกรณีนี้ นายสมัคร สุนทรเวช ก็จะต้องสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่กระทำการอันเป็นเหตุให้มีคุณสม บัติขัดรัฐธรรมนูญ คือ ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งเป็นวันที่นายสมัคร สุนทรเวช ทำการบันทึกเทปรายการชิมไปบ่นไป เป็นครั้งแรก หลังจากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

เป็นการสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ก่อนที่จะแถลงนโย บายบริหารราชการแผ่นดินต่อรัฐสภา ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2551

เป็นการสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นัดที่หนึ่งจนถึงนัดสุดท้ายเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2551 ที่ผ่านมา

เป็นการสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะลงนามรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายประสพสุข บุญเดช เป็นประธานวุฒิสภา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2551

เป็นการสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะลงนามรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายทหารประจำปี เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2551

เป็นการสิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรี

พิจารณาเพียงเท่านี้ ก็ทำให้เกิดคำถามขึ้นมากมายแล้วว่า เมื่อนายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี ตามมาตรา 182 (7) แล้ว การบริหารราชการแผ่นดิน ในห้วงเวลาที่ผ่านมา 7 เดือน จะเป็นโมฆะหรือไม่

การลงนามในข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลนานาชาติ ยังมีผลสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นโมฆะทั้งหมด

การรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งประธานวุฒิสภา มีความถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ และตำแหน่งประธานวุฒิสภา ของนายประสพสุข บุญเดช มีความถูกต้อง มีผลสมบูรณ์หรือไม่ หากว่าผู้รับสนองพระบรมราชโองการเป็นผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติ หรือ เป็นผู้ที่ไม่มีสถานะรับสนองพระบรมราชโองการ ได้

เช่นเดียวกับ การรับสนองพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนายทหารประจำปี มีความถูกต้องหรือไม่ ในเมื่อนายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2551

คำถามเหล่านี้ ศาลรัฐธรรมนูญต้องวินิจฉัยให้เกิดความกระจ่าง ก่อนที่จะมีการตีความแบบเข้าข้างตัวเอง ของฝ่ายต่างๆ คนต่างๆ อันจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายขึ้นมาอีก หลายร้อยพันเรื่อง

เช่นเดียวกันหากศาลรัฐธรรมนูญ ใช้มาตรฐานเดียวกับกรณีนายไชยา สะสมทรัพย์ ก็ต้องบอกว่าการกระทำใดๆ ของนายสมัคร ที่เกิดขึ้นหลังวันสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี ย่อมไม่มีผลตามกฎ หมาย เนื่องจากนายสมัคร ไม่มีสถานะเป็นนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ตั้งแต่วันที่กระทำการขัดรัฐธรรมนูญ แล้ว มิใช่ วันที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย

พอจะมองเห็นเค้าลางความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นหลังจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้นายสมัคร สุนทรเวช สิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี หรือยัง

พอจะมองเห็นความไม่สุจริตในคำวินิจฉัยแบบสองมาตรฐานของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือยัง

พอจะมองเห็นความไม่น่าเชื่อถือของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีจุดมุ่งหมายทางการเมือง และ ใช้ศาล เป็นเครื่องมือกำจัดศัตรูทางการเมืองให้แก่ใครบางคนหรือยัง

พอจะมองเห็นหรือยังว่า ศาลรัฐธรรมนูญ มีเจตนาที่จะกำจัด นายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลที่มาจากประชาชน และพยายามจำกัดความเสียหายให้อยู่ในวงจำกัดเฉพาะรัฐบาล ป้องกันไม่ให้ลุกลามไปถึงองค์กร บุคคลอื่น ที่เป็นพวกพ้องของตนเอง

ลองตอบตัวเองว่า เราจะเชื่อถือศาลรัฐธรรมนูญ และ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 9 คนนี้ ได้อีกหรือไม่ ?

ประดาบ

จาก thai-grassroots