WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Thursday, September 11, 2008

ฝากคำถามถึง“จรัญ”ตุลาการรธน.รับจ๊อบสอนหนังสือผิดไหม?

นิยาม “ลูกจ้าง” ยังโต้กันกระหึ่ม ชมรมนักกฎหมายเพื่อประชาชน ข้องใจศาลรัฐธรรมนูญ นิยามศัพท์กฎหมายขึ้นมาใหม่ ยันต้องว่ากันไปตามกฎหมายแพ่งและกฎหมายแรงงาน ขณะที่อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชน ติดใจสถานะ “จรัญ ภักดีธนากุล” ที่เคยไปรับจ้างสอนหนังสือ ทั้งที่เป็นตุลาการ ด้าน“สุทิน”ตั้งข้อสังเกตรีบชี้ขาด อยากให้ชี้แจงกับประชาชนกรณีที่ไม่ยึดบรรทัดฐาน แถมมีการข้ามขั้นตอน

นายสุวิทย์ นวลทอง รองประธานชมรมนักกฎหมายเพื่อประชาชน กล่าวแสดงความคิดเห็นกรณีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีมีคำตัดสินชี้ขาดให้นายสมัคร สุนทรเวช พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่า คำจำกัดความของศาลในเรื่อง “ลูกจ้าง” นั้น ปกติแล้วในการพิจารณาคดีก็ต้องว่าตามกฎหมายแพ่ง และกฎหมายแรงงาน ซึ่งปกติกฎหมายก็จะมีการจำกัดคำนิยาม ซึ่งคำว่าลูกจ้างกับรับจ้าง แตกต่างกัน “รับจ้าง” ตามความหมายของกฎหมายแรงงาน คือ ไม่ขึ้นกับใคร แต่บริษัทไม่สามารถกำหนดบังคับผู้ที่รับจ้างได้ตายตัว เพียงแต่ผู้รับจ้างก็ต้องดำเนินงานให้แล้วเสร็จไป ส่วนคำว่า “ลูกจ้าง” หมายความว่า นายจ้างสามารถบังคับบัญชาได้ มีการกำหนดเงินเดือน เวลาการทำงาน เป็นต้น ซึ่งศาลฎีกาก็ได้มีการตัดสินคำว่าลูกจ้างในลักษณะอย่างนี้มามากแล้ว

ทั้งนี้ที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ก็ได้มีการพิจารณาเพียงแค่ว่า นายสมัคร รับเงินการจัดรายการโทรทัศน์ ก็ถือว่าเป็นลูกจ้าง ตนในฐานะนักกฎหมายก็ข้องใจ และเป็นเรื่องที่ประหลาดเพราะว่าเป็นการสร้างนิยามคำว่าลูกจ้างขึ้นมาใหม่ เช่นเดียวกับกรณีการพิจารณาตัดสินคดีปราสาทเขาพระวิหารมาตรา 190 ที่ศาลพิจารณาโดยใช้คำว่า “อาจจะ”เป็นตัวตัดสิน ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนเอาไว้

“คำว่าลูกจ้างตอนนี้มันเปลี่ยนไปแล้วนะ เป็นการสร้างคำนิยามขึ้นมาใหม่ คำว่าลูกจ้างต้องมีที่มาที่ไป การที่คุณมาตั้งคำนิยามขึ้นมาใหม่ มันต้องมีหลักการมากกว่านี้ การเป็นกลางของคนที่ตัดสินก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ศาลต้องยึดหลักการ ถ้าคุณไม่มีหลักฐานที่จะเอาผิดเขา คุณต้องยกประโยชน์ให้เขาไป แม้ในใจคุณต้องการให้เขามีความผิด คำขยายความถ้าไม่มีกำหนดไว้ ทำได้ แต่ต้องเป็นคุณเท่านั้น ถ้าเป็นโทษก็เท่ากับเป็นการไปลิดรอนสิทธิกับผู้ถูกร้อง อย่างนี้บอกได้คำเดียวว่าผมไม่อยากคาดหวังอะไรเกี่ยวกับศาลรัฐธรรมนูญหรอกครับ” นายสุวิทย์กล่าว

ผศ.จรัล ดิษฐาอภิชัย อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กล่าวว่าการตัดสินต้องใช้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะความหมายของคำว่าลูกจ้างคือการมีสัมพันธ์กันทางนิตินัยกับนายจ้าง มีสัญญาจ้างตามแบบฟอร์มกฎหมาย ส่วนคำว่ารับจ้างนั้น คือการไปรับทำงานแบบเป็นครั้งเป็นคราว เช่น อาจารย์มหาวิทยาลัยที่เขียนบทความให้หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารเป็นคอลัมนิสต์

เพราะฉะนั้นในกรณีนี้ นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่เป็นคนตัดสินคดีนายสมัคร ทราบว่าไปสอนหนังสือที่คณะนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยหลายแห่ง เช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นต้น การที่ไปสอนหนังสือถือว่าเป็นการรับจ้าง แต่บรรทัดฐานหลังการตัดสินเปลี่ยนไป แสดงว่านายจรัญมีฐานะเป็นลูกจ้างของมหาวิทยาลัยนั้น ทั้งๆ ที่ตำแหน่งตุลาการก็ห้ามมิให้เป็นลูกจ้างใครเช่นกัน

หรืออย่างนักการเมืองที่ไปอภิปรายตามสถานที่ที่มีคนเชิญไป นักการเมืองก็จะได้ค่าเป็นวิทยากรให้ ดังนั้นนักการเมืองก็เป็นลูกจ้างกันหมด

การตีความของศาลรัฐธรรมนูญเท่ากับเป็นการขยาย หรือการขัดภาวะ แต่ต้องเป็นไปตามกฎหมายแรงงาน ไม่เช่นนั้นคนที่รับจ้างก็อาจจะเรียกร้องสวัสดิการเพื่อให้เท่าเทียมกับคนที่เป็นลูกจ้าง

“ศาลรัฐธรรมนูญสูงสุดก็จริง ระบุห้ามมิให้เป็นลูกจ้างผู้ใด แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ให้คำนิยามคำว่าลูกจ้างเอาไว้ว่าคืออะไร เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ต้องเอากฎหมายรอง อย่างกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาดูว่าเป็นยังไง ศาลรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูง ต่อไปนี้ต้องยึดคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นคอลัมนิสต์ หรือส.ส. ส.ว. ที่ไปเป็นวิทยากรก็ต้องเป็นลูกจ้างกันหมด” ผศ.จรัล กล่าว

นายสุทิน คลังแสง ส.ส.มหาสารคาม ในฐานะรองโฆษกพรรคพลังประชาชน กล่าวว่า การพิพากษามีข้อน่าสังเกตที่ทำให้ไม่สบายใจอยู่ 2-3 ข้อ คือ 1. การเร่งรีบที่จะชี้ขาดตัดสิน หลังจากการสอบปากคำเพียงวันเดียว อะไรคือเหตุผลที่จะต้องเร่งรีบขนาดนั้น 2. กระบวนการพิจารณาตัดสิน เดิมเมื่อเสร็จแล้วจะให้เวลาผู้พิพากษาไปเขียนสำนวนส่วนตัวแล้วนำสำนวนส่วนตัวมาวิเคราะห์เพื่อที่จะเขียนสำนวนกลาง แล้วจึงอ่านคำพิพากษาเพื่อชี้ขาด แต่กระบวนการในขั้นตอนนี้ถูกข้ามไป ซึ่งถ้าตนพูดผิดก็อยากให้ศาลรัฐธรรมนูญออกมาชี้แจงต่อพี่น้องประชาชน และ 3.การใช้นิยามศัพท์คำว่า "ลูกจ้าง" ในกฎหมายแพ่งและในฎีกา มีคำพิพากษาศาลฎีกาหลายฎีกาที่จะยึดเป็นแนวทางว่า "ลูกจ้าง" หมายถึงอะไร ซึ่ง
ตามหลักแล้ว ลูกจ้างจะต้องมีรายได้ชัดเจน และนายจ้างสามารถสั่งได้ เหล่านี้อยู่ในคำพิพากษาศาลฎีกามากมาย แต่ศาลรัฐธรรมนูญไม่นำมาใช้ ตรงนี้จะเป็นบรรทัดฐานที่เปลี่ยนไปส่งผลกระทบถึงอนาคต

"ต่อไปนี้การเขียนกฎหมายคงไม่ต้องเขียนนิยามศัพท์ในมาตราต้นๆแล้ว ให้ยึดเอาความหมายตามพจนานุกรมเลยดีไหม อย่างนี้จะวุ่นวายแน่นอน อนาคตพลเมืองดีที่ปฏิบัติตามกฎหมายคงต้องคิดหนักว่าจะยึดความหมายตามพจนานุกรมหรือตามตัวบทกฎหมายดี ตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่" นายสุทิน กล่าวและว่า ขอตั้งข้อสังเกตว่าการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมีความชอบธรรมหรือไม่ เรื่องนี้ละเลยไม่ได้ เพราะที่พึ่งสุดท้ายเราจะต้องช่วยกันทะนุถนอม อย่าให้เสื่อม