WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, September 10, 2008

ซัด‘ประสพสุข’หาทางออกให้ม็อบ


“ความจริงวันนี้” ซัดแหลก “ประสพสุข” ขาดวุฒิภาวะทำหน้าที่นายหน้าเจรจายุติปัญหาบ้านเมือง หลังพบเอียงกะเท่เร่ ทั้งการประกาศ 3 เงื่อนไข จี้ให้นายกฯ ลาออก แต่กลับพูดถึงพันธมิตรฯ สั้นๆ แค่ให้ทำตามกฎหมาย พร้อมตั้งคณะทำงาน 8 คน ที่ชวนให้ขนลุก เพราะมีแต่สว.สรรหา ทั้ง “คำนูณ-สมชาย-เลิศรัตน์” เรียงหน้าสลอน เชื่อเป็นการหาทางออกให้ม็อบ มากกว่าหาทางออกให้บ้านเมือง

รายการความจริงวันนี้ ออกอากาศเมื่อวันจันทร์ ที่ 8 กันยายน ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที นำโดยนายวีระ มุกสิกพงษ์ ผู้ดำเนินรายการ พร้อมด้วยนายจตุพร พรหมพันธุ์ และ นายก่อแก้ว พิกุลทอง ผู้ร่วมดำเนินรายการ ได้ร่วมกันวิพาษ์ข้อเท็จจริง ภายกลังมีการประชุม 3 ฝ่าย ได้แก่ นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาและหาทางออกในสถานการณ์วิกฤตการเมืองที่เกิดขึ้นที่รัฐสภา

โดยนายประสพสุข ได้รับมอบหมายหน้าที่จากสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และฝ่ายค้าย ให้เป็นตัวแทนในการเข้าเจรจาเพื่อหาข้อยุติในการแก้วิกฤต พร้อมกันนี้ได้ตั้งคณะทำงานเป็นการเฉพาะ 8 คน ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 7 คน มีนายประสพสุข เป็นประธานคณะทำงานมี นายนิคม ไวยรัชพานิช ส.ว. ฉะเชิงเทรา และรองประธานวุฒิสภา น.ส.ทัศนา บุญทอง ส.ว.สรรหา และรองประธานวุฒิสภา คนที่ 2 พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.สรรหา พล.ร.อ. ณรงค์ ยุทธวงศ์ ส.ว.สรรหา นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา และ นางสุวิมล ภูมิสิงหราช เลขาวุฒิสภา

ขณะเดียวกันนายประสพสุขได้แจกเอกสาร ที่ระบุถึงมติของคณะทำงานในแนวการปฏิบัติ 3 แนวทาง ที่ได้นำข้อมูลข้อคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ มาเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา คือ 1. นายกรัฐมนตรีควรประกาศลาออกเพื่อเปิดทางให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่ทุกฝ่ายรับได้ และรัฐบาลใหม่ทำหน้าที่ชั่วคราวในระยะสั้น ก่อนคืนอำนาจให้กับประชาชน หรือนายกรัฐมนตรีควรประกาศยุบสภา เพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชนได้เลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรเข้ามาใหม่ 2. กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ต้องเคารพและปฏิบัติอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายและยุติการชุมนุม และ 3. แนวทางการทำประชามติที่นายกรัฐมนตรีทำการเสนอนั้น ทางคณะทำงานคิดว่าไม่น่าจะปฏิบัติได้ในตอนนี้

นายจตุพร ส.ส.สัดส่วนพรรคพลังประชาชน หนึ่งในผู้ร่วมรายการ ในฐานะสมาชิกรัฐสภา ระบุว่า นายประสพสุขได้รับภาระเป็นตัวกลางในการเจรจากับรัฐบาล และกลุ่มพันธมิตรฯ โดยในประการแรกที่ระบุว่าให้นายกฯประกาศลาออก เพื่อให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่ทุกฝ่ายรับได้ ถ้าอ่านภาษาอย่างนี้ก็คือการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ซึ่งตนได้พูดก่อนหน้านี้ผ่านทางรายการแล้วว่า ไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งให้รัฐบาลใหม่นั้นทำหน้าที่ชั่วคราวในระยะสั้น ก่อนคืนอำนาจให้ประชาชน เพราะเมื่อรัฐบาลแห่งชาติซึ่งมีที่มาที่ไปไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนอูย และระบอบประชาธิปไตยเช่นนี้นั้น ก็จะถูกแรงต้านจากประชาชน ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องที่ว่าตามกลุ่มพันธมิตรฯทุกประการ

แต่ข้อเรียกร้องที่กลับไปยังกลุ่มพันธมิตรฯมีเพียงแค่ว่า ต้องเคารพและปฏิบัติตามข้อกฎหมาย พร้อมยุติการชุมนุม ส่วนแนวทางปฏิบัติในข้อที่ 3 เป็นการตัดตอน และเป็นการตัดสิ่งที่รัฐบาลเสนอทั้งหมด ฉะนั้นข้อที่ไปเจรจาความล้วนเป็นประโยชน์ต่อพันธมิตรฯ และไม่เป็นผลดีต่อรัฐบาลและประชาธิปไตยเลย

“การปฏิเสธเงื่อนไขการทำประชามติมันสะท้อนว่าคนเหล่านี้กลัวเสียงของพี่น้องประชาชน เพราะพวกเขารู้ดีว่า คะแนนในการลงประชามติมันเป็น มายาคติ การมาอ้างว่าไม่พร้อมในการปฏิบัติมันเป็นเรื่องที่ฟังไม่ขึ้น นี่เป็นทางออกให้กลับกลุ่มพันธมิตรฯ แต่ไม่ใช่เป็นทางออกให้กับประเทศชาตินี้ครับ” นายจตุพร กล่าว

อย่างไรก็ตาม ผู้ร่วมรายการกล่าวเสริมว่าข้อเสนอทั้งหมดเดิมไม่มี แต่เมื่อมีการตั้งคณะทำงานมาแล้ว ทัศนคติของนายประสพสุขก็เปลี่ยนไป ซึ่งหากคนกลางหากขาดหลักนิติธรรมในการเจรจาแล้ว ก็จะไม่เป็นประโยชน์หรือเกิดผลดีต่อประเทศชาติเลย เริ่มต้นในการเจรจานั้นก็เหมือนจะดี ว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่เมื่อพิจารณา 3 แนวทางปฏิบัติที่คณะทำงานเสนอขึ้นมานั้น ชี้ได้ว่านี่ไม่ใช่คณะทำงานการเจรจา แต่เป็นคณะทำงานเพื่อร่วมยึดอำนาจรัฐบาล ไม่มีอะไรแตกต่าง นี่คือข้อเจรจาที่อาจก่อให้เกิดการปะทะ ไม่ใช่ก่อให้เกิดข้อยุติ

ส่วนกรณีที่เรียกร้องให้นายสมัครประกาศยุบสภานั้น ตนมองว่าไม่มีหลักประกันอะไรที่จะรับรองได้ว่ากลุ่มพันธมิตรฯจะยอมยุติ เนื่องจากเป้าหมายของกลุ่มนี้คือการเมืองใหม่ ที่ไม่ใช่ระบบรัฐสภาและไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ด้านนายวีระ ผู้ดำเนินรายการ กล่าวเสริมว่า การตั้งคณะทำงานชุดดังกล่าว พร้อมกับมีมติออกมา 3 ข้อ ซึ่งในข้อแรกกรณีที่ว่า ต้องจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่นั้น หากเป็นรัฐบาลแห่งชาติตนไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ในฐานะที่เป็นประชาชนคนหนึ่งตนไม่ยอมให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนไปยอมจำนนต่อพวกกบฏ ซึ่งผู้ต้องหากบฎจะมีศักดิ์เท่ากับรัฐบาลเชียวหรือ ซึ่งตนรับไม่ได้

นอกจากนี้การตั้งรัฐบาลใหม่อาจไม่ได้เป็นไปตามข้อบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 เนื่องจากมีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) หากเอานายกฯจากคนภายนอกตามแนวคิดรัฐบาลแห่งชาติก็จะเป็นการฉีกรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากยอมเอาข้อเสนอนี้ไปเจรจาก็เท่ากับว่าเป็นการยอมแพ้ตั้งแต่แรก ซึ่งเป็นการต่อรองทางการเมืองที่เสียเปรียบ และไม่ช่วยอะไร ทั้งนี้การตั้งคณะทำงานขึ้นมาเป็นการชักแถวกลุ่มพันธมิตรทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นนายสมชาย แสวงการ หรือนายคำนูณ สิทธิสมาน จะพูดไปแล้วก็คือพรรคพวกของโจรกบฏ

“ผู้ง่ายๆ ว่า เหมือนโจรมาปล้นบ้าน แทนที่ตำรวจจะเข้ามาปราบโจร กลับเอาเงื่อนไขของโจรมาบีบบังคับเจ้าของบ้าน ลักษณะอย่างนี้ไม่ใช่ลักษณะทางการเมืองที่ใช้ได้ เอาเป็นมาตรฐานไม่ได้ เป็นการเสียเปรียบ ผมไม่อยากจะพูดถึงขั้นว่าวุฒิภาวะมันไม่ถึงนะ และคณะทำงานก็พวกของกบฏทั้งนั้น นายสมชาย นายคำนูณ การร่างแบบนี้เท่ากับว่าประเทศเราได้ถูกยึดไปเรียบร้อยแล้ว ถูกจับเป็นเชลย ซึ่งเราไม่เห็นด้วย” นายวีระกล่าวว

ส่วนแนวคิดในข้อที่ 3 นั้นตนประหลาดใจอย่างยิ่งว่า แนวทางที่รัฐบาลจะถามประชาชนนั้นผู้ซึ่งเป็นเจ้าของประเทศนั้นจะมีเหตุอันใดที่จะทำไม่ได้ ซึ่งงบประมาณที่จัดทำตนไม่เห็นว่าเป็ฯเรือ่งที่มากมายใหญ่โต หรือจะส่งผลกระทบอะไร แล้วหากมีการอ้างว่าเมื่อได้ประชามติมาแล้วก็ไม่สามารถปฏิบัติได้ เป็นเรื่องที่ไม่จริง เพราะเมื่อเป็นรัฐบาลประชาธิปไตยได้เสียงประชามติจากประชาชนมาแล้วไม่จัดทำก็ไม่ต้องเป็นรัฐบาล ประชาชนจะทำการขับไล่ไปเอง ฉะนั้นตนมองว่าควรจะนำการทำประชามติเป็นตัวอย่างเพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด หรือความรุนแรง นี่คือทางออกที่ดีที่สุดแต่ว่านี่คณะทำงานดูคล้ายกับกลัวประชาชน

นายก่อแก้ว กล่าวเสริมว่า จากแนวทางดังกล่าวนั้นตนรู้สึกผิดหวังที่ข้อเสนอแนะไม่เป็นกลาง และประชาชนจะอดมองไม่ได้ว่า นายประสพสุขถือหางพันธมิตรฯ รัฐบาล ส.ส. และ ประเทศชาติเสียหาย เมื่อประเทศชาติก็เสียหาย ส.ส.กี่ร้อยคนในสภาก็ต้องถูกหางเลข เท่ากับว่าข้อเสนอดังกล่าวนั้น รัฐบาลถอยอย่างสุดกำลัง ซึ่งข้อเรียกร้องของกลุ่มพันธมิตรฯ นั้น ตนมองว่าน่าจะมีเงื่อนไขมากกว่านี้ เช่น ไม่ให้มีการชุมนุมอีกหากมีการเลือกตั้งใหม่ ส่วนการทำประชามตินั้นเป็นเรื่องที่สมควรอย่างยิ่งที่จะยุติความรุนแรง