WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, March 8, 2009

ญัตติซักฟอก บทพิสูจน์2ฝ่าย

ที่มา ข่าวสด


การเมืองว่าด้วยเรื่องการอภิปรายไม่ไว้วางใจ

ฝ่ายค้านพรรคเพื่อไทยกำหนดปฏิทินเบื้องต้นว่าจะยื่นญัตติต่อประธานสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ 11 มีนาคม โดยวางเป้าหมายผู้ที่จะถูกอภิปรายไว้ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีก 3-4 คน

ตามที่ปรากฏเป็นข่าว อาทิ นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง นายกษิต ภิรมย์ รมว.การต่างประเทศ และนายอิสสระ สมชัย รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นต้น

ส่วนจะมีรายชื่อเพิ่มเติมจากนี้อีกหรือไม่ขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านข้อมูลหลักฐานในมือของฝ่ายค้าน ซึ่งอาจจะมีให้เก็บเกี่ยวได้ไม่มากนักเนื่องจากรัฐบาลเพิ่งเข้ามาบริหารประเทศได้เพียง 2 เดือนเศษ

ความชั่ว-ความดียังไม่มีปรากฏให้เห็นเด่นชัด

ด้วยเหตุนี้เองทำให้นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้าพรรคประชาราช หนึ่งในพรรคร่วมฝ่ายค้านออกมาแสดงความเห็นคัดค้านการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ พร้อมเสนอทางเลือกใหม่ให้พรรคเพื่อไทยเปิดอภิปรายแบบไม่ต้องลงมติ

นายเสนาะ ไม่เห็นด้วยอย่างรุน แรงต่อการที่พรรคเพื่อไทยมีมติใส่ชื่อร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทยเป็นนายกรัฐ มนตรีแนบไปกับญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์

หัวหน้าพรรคประชาราชกล่าววิพากษ์ วิจารณ์ตรงๆ ว่าน้ำหนักต้นทุนทางสังคมของร.ต.อ.เฉลิม เทียบไม่ได้กับนายอภิสิทธิ์ เหมือนเอาคนน้ำหนัก 5 กิโล ไปไล่คนน้ำหนัก 20 กิโล แลกกันได้ไม่คุ้มเสีย เปลืองน้ำลาย แถมยังจะอายเขาเปล่าๆ

ขณะเดียวกันกลุ่ม 12 ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดินภายใต้การควบคุมของพล.ต.อ. ประชา พรหมนอก ยังประกาศอ้างตัวเป็นกลางทางการเมืองโดยจะไม่ร่วมกับพรรคเพื่อไทยลงชื่อในญัตติอภิปรายครั้งนี้

สำคัญกว่านั้นล่าสุดปรากฏว่ามีส.ส. กทม. พรรคเพื่อไทยบางคนเริ่มพูดถึงการเลื่อนยื่นญัตติซักฟอกรัฐบาลจากวันที่ 11 มีนาคม ออกไปเป็นเดือนเมษายนหลังเทศกาลสงกรานต์

ให้เหตุผลว่าเป็นช่วงเวลาที่สถาน การณ์น่าจะสุกงอมกว่านี้ โดยเฉพาะความล้มเหลวด้านการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลจะช่วยเพิ่มน้ำหนักหมัดฝ่ายค้านในการอภิปราย

ทั้งหมดคือกระจกสะท้อนถึงปัญหาความเป็นเอกภาพภายในของพรรคร่วมฝ่ายค้านและพรรคเพื่อไทย

แกนนำพรรคเพื่อไทยพยายามชักแม่น้ำอ้างถึงเหตุผล และความจำเป็นในการ เสนอชื่อร.ต.อ.เฉลิมเป็นนายกฯแนบท้ายญัตติ

ว่าเป็นเพียงการใส่ชื่อไว้เพื่อให้กระ บวนการยื่นอภิปรายนายกฯ สมบูรณ์ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ฝ่ายผู้อภิปรายต้องเสนอชื่อคนเป็นนายกฯเข้ามาด้วยเท่านั้น

ไม่ได้หวังให้เกิดผลจริงจังเนื่องจากถึงอย่างไรในการอภิปรายที่ต้องตัดสินแพ้ชนะกันด้วยจำนวนมือในสภา ฝ่ายค้านก็ต้องพ่ายแพ้รัฐบาลอยู่วันยังค่ำ

อีกทั้งยังถือเป็นการให้เกียรติต่อ ร.ต.อ. เฉลิม ในฐานะหัวหมู่ทะลวงฟันและเป็นคนทำการบ้านหนักที่สุดในศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจที่กำลังจะมีขึ้น

แต่ด้วยต้นทุนทางสังคมที่ต่างกับนายอภิสิทธิ์ลิบลับ ทำให้ร.ต.อ.เฉลิมถูกมองว่าคือจุดอ่อนของฝ่ายค้านในเกมการซักฟอกครั้งนี้ ซึ่งหากจะว่ากันตามจริงแล้วข้อวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าวไม่ค่อยเป็นธรรมกับร.ต.อ.เฉลิมเท่าใดนัก

เนื่องจากเกมการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลควรต้องตัดสินกันด้วยข้อมูลหลักฐานชี้ขาดกันด้วยเหตุผล มากกว่าจะด่วนสรุปเอาจากภาพลักษณ์ภายนอก

อย่าว่าแต่ตัวของร.ต.อ.เฉลิมยังได้วางเดิมพันติดปลายนวม ท้าทายว่าหากข้อมูลการอภิปรายไม่มีน้ำหนักสร้างรอยขีดข่วนให้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้ ก็พร้อมรับผิดชอบลาออกจากตำแหน่งประธาน ส.ส.พรรคเพื่อไทย

นายกฯและรัฐบาลก็เหมือนไม่ได้วิตกทุกข์ร้อนต่อการอภิปรายที่กำลังจะมีขึ้นเท่าใดนัก

วิปรัฐบาลตอบรับทันทีว่าถ้าฝ่ายค้านยื่นญัตติเชือดวันที่ 11 มีนาคม รัฐบาลก็พร้อมเปิดเขียงให้วันที่ 26-27 มีนาคม ทางด้านนายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์เชื่อว่าข้อมูลที่ฝ่ายค้านมีอยู่ไม่น่าจะทำอะไรรัฐบาลได้

ทั้งยังย้ำถึงความพร้อมตอบข้ออภิปรายฝ่ายค้านทุกประเด็น ไม่ว่าเรื่องเส้นทางเคี้ยวคดของเงินบริจาค 250 ล้านบาท หรือกรณีเงื่อนงำเงินจัดสรรจากกองทุนพัฒนาการเมือง 23 ล้านบาท

การยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล คือช่องทางในระบอบประชาธิปไตย และนับเป็นอาวุธสำคัญของฝ่ายค้านในการทำหน้าที่ตรวจสอบคณะผู้บริหารประเทศ

เมื่อสองฝ่ายต่างแสดงความพร้อมที่จะหักล้างกันด้วยข้อมูล และต่อสู้กันด้วยเหตุด้วยผลในสภา จึงไม่จำเป็นที่ใครจะต้องเข้าไปสกัดขัดขวาง

นอกจากจะเป็นการเสียมารยาททางการเมืองแล้วยังอาจถูกมองว่ามีวาระซ่อนเร้น หวังผลประโยชน์ต่อรองทางการเมืองเหมือนอย่างที่หัวหน้าพรรคร่วมฝ่ายค้านบางคนกำลังถูกกล่าวหาในขณะนี้

ข้อมูลการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯและรัฐบาลที่ร.ต.อ.เฉลิมคุยนักหนา ว่ามีความหนักแน่นชัดเจนยิ่งกว่ากรณีการแจกส.ป.ก.4-01 จะมี ความร้ายกาจสมราคาคุยหรือไม่

หรือจะเป็นแค่การโฆษณาปั่นราคาเกินจริงเพื่อหวังผลขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทยและผู้นำฝ่ายค้าน อันจะมีผลต่อเนื่องไปถึงการช่วงชิงเก้าอี้นายกรัฐมนตรีในอนาคต ตามที่ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์หรือใครต่อใครหลายคนตั้งข้อสังเกต

การเปิดโอกาสให้มีการอภิปรายเกิดขึ้นแล้วให้ประชาชนชั่งน้ำหนักตัดสิน

คือหนทางหนึ่งที่จะพิสูจน์เบื้องหลังดังกล่าวได้ดีที่สุด