ที่มา thaifreenews
โดย : NEWS
วันที่ 11 มี.ค. 2552 นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีของฝ่ายค้านว่า ยังไม่เห็นเรื่อง ได้ยินแต่เสียงปี่กลองมานาน หากฝ่ายค้านยื่นมา ก็ต้องดูว่าเนื้อหาสาระที่จะอภิปรายเข้าข่ายกฎหมายที่ระบุไว้หรือไม่ หากเป็นไปอย่างถูกต้องก็จะส่งเรื่องไปให้รัฐบาลตามระเบียบ ตนเป็นเพียงคนกลางทำหน้าที่เสมือนบุรุษไปรษณีย์เท่านั้น ส่วนจะบรรจุญัตติอภิปรายฯในวันใดนั้น ยังไม่ทราบแน่ชัด และไม่ทราบว่าที่ออกข่าวจะอภิปรายกันวันนั้นวันนี้ไปเอามาจากไหน
158 ส.ส.เพื่อไทย ยื่นถอดถอน “อภิสิทธิ์” แล้ว-ประธานวุฒิขอเวลา 15 วันตรวจสอบ
เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย พร้อมส.ส.พรรคเพื่อไทยจำนวน 30 คน อาทิ นายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี นายนิรมิตร สุจารี ส.ส.ร้อยเอ็ด นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม นางเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข ได้เข้ายื่นญัตติถอดถอนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา
โดยนายพีรพันธุ์ กล่าวว่า เนื่องจากการอภิปรายพฤติกรรมนายกรัฐมนตรีที่ส่อจงใจทุจริตต่อหน้าที่ราชการ กระทำผิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น รัฐธรรมนูญได้กำหนดว่าจะต้องยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีเสียก่อนการอภิปรายไม่ ไว้วางใจ ดังนั้นส.ส.พรรคเพื่อไทย จำนวน 158 คน จึงได้ร่วมเข้าชื่อขอให้ประธานวุฒิสภาดำเนินการถอดถอนนายกรัฐมนตรีตามขั้น ตอนของรัฐธรรมนูญต่อไป เมื่อยื่นญัตติแล้วไม่ต้องรอผลการถอดถอน พรรคฝ่ายค้านสามารถยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ทันที
ด้าน นายประสพสุข กล่าวว่า ตนจะเร่งดำเนินการตรวจสอบรายชื่อภายใน 15 วัน และจะแจ้งให้ที่ประชุมวุฒิสภารับทราบในวันที่ 13 มี.ค.นี้ เพื่อเร่งดำเนินการตามกระบวนการต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับญัตติขอให้ถอดถอนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีความยาวทั้งสิ้น 9 หน้า ระบุสิ่งที่ส่งมาด้วย 4 รายการ คือ 1.หนังสือของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ นร.0405/(ลร1)ว/600 ลงวันที่ 25 ก.พ.2552 2.รายละเอียดภาพถ่ายและแผนที่ประกอบแสดงถึงการถูกบุกรุกยึดครองใช้พื้นที่ ดินแดนของประเทศไทยเป็นทางขึ้นเขาพระวิหาร 3.หนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ออกให้แก่นายธานินทร์ ใจสมุทร หนังสือที่ ปชป.พิเศษ/2551 และ 4.รายชื่อผู้ยื่นคำร้องถอดถอน
สำหรับ เนื้อหาส่วนแรก ระบุข้อความว่า ด้วยนายอภิสิทธิ์ ผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในคณะรัฐมนตรีซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีประวัติยึดมั่นใน หลักการของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และยึดมั่นในมาตรฐานทางด้านจริยธรรมอย่างยิ่งยวด โดยอย่างน้อยต้องปฏิบัติหรือประพฤติตนให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรนูญ พ.ศ.2550 ม.279 เป็นมาฐานขั้นต่ำ แต่นายอภิสิทธิ์กลับไม่ทำตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีการเลือกปฏิบัติ สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในหมู่ปวงชนทุกหมู่เหล่า ทำให้ประเทศขาดความเชื่อถือจากนานาชาติ เป็นผลกระทบเสียหายอย่างกว้างขวางในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จึงส่อว่านายอภิสิทธิ์จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือ กฎหมายและยังส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่
ความผิด 7 ข้อขาดความชอบธรรม ขุดพฤติการณ์นับแต่บอยคอตเลือกตั้ง จนถึงเข้าสู่ตำแหน่งมิชอบ
ส่วน ที่สองเป็นเนื้อหาที่ระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งการกระทำประกอบญัตติ ยื่นถอดถอนตามมาตรา 271 เพื่อขอให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ทั้งหมด 7 ข้อโดยข้อ
1.เหตุการณ์หลังจากวันที่ 24 ก.พ. 2549 ที่สภาผู้แทนราษถูกยุบและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เม.ย.2549 แต่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้คัดค้านและไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง จึงแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่านายอภิสิทธิ์มีพฤติกรรมขัดขวางการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 2 นอกจากนี้ยังนำพรรคพวกไปเรียกร้องนายกฯพระราชทานตามมาตรา 7 ยิ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าไม่ฝักใฝ่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ได้ร่วมปฎิบัติการกับกลุ่มพันธมิตรฯเคลื่อนไหวการเมืองนอกสภาโค่นล้ม รัฐบาล สร้างความเสียหายวุ่นวายต่อประเทศอย่างรุนแรง การเลือกตั้งครั้งใหม่นายอภิสิทธิ์นำพรรคประชาธิปัตย์ลงสมัครรับเลือกตั้ง ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่าใช้มาตรการตามเอกสารลับซึ่งเป็นแผนปฎิบัติการของคมช . เมื่อพรรครัฐบาลถูกยุบจำเป็นต้องตั้งรัฐบาลใหม่ตามบรรทัดฐานประเพณีพรรค เสียงข้างมากต้องได้รับสิทธิ์ แต่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีส.ส.อันดับสองกลับฉวยโอกาสตั้งรัฐบาล จึงจงใจไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม ตามมาตรา 270
2.การเข้าสู่ ตำแหน่งนายกฯมิได้เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย แต่อยู่ภายใต้การชี้นำของบุคคลชั้นสูงบางกลุ่ม บางคน ผลักดันให้ได้เข้ามาบริหารประเทศ นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังได้คบหากับกลุ่มการเมืองนอกสภาหลายกลุ่ม ซึ่งมีอิทธิพลทางการเมืองช่วยเหลือจัดตั้งรัฐบาลจนสำเร็จ ซึ่งเป็นการกระทำอันฉ้อฉลหวังเพียงให้ได้ตำแหน่งนายกฯ
3.นาย อภิสิทธิ์เห็นชอบและแสดงตนเข้าตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจ ให้การช่วยเหลือสนับสนุน ให้ความดีความมชอบแต่งตั้งนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ และแกนนำหลายคนเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายตำแหน่ง นอกจากนี้ครม.นายอภิสิทธิ์ยังพยายามเสนอกฎหมายตราเป็นพ.ร.บ.ว่าด้วยความ ปลอดภัยและรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งสาระสำคัญให้ผู้ที่ทำผิดได้รับโทษเพียงเสียค่าปรับตั้งแต่ 500-10,000 บาทเพื่อให้มีหลักเกณฑ์คล้ายกับการกระทำของนายกษิตและพวกได้รับประโยชน์ใช้ อ้างอิงในการต่อสู้คดีต่อไป อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศพ.ศ.2521 มาตรา 6 ทวิ และ ม.11 ซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งนายอภิสิทธิ์ผู้สนับสนุนจะต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน และยังรู้เห็นเป็นใจกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายผิดตามมาตรา 266
4. เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปกปิดซ่อนเร้น การรับเงินสนับสนุนจากบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งไม่จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกกต.ให้เป็นไปตามที่กำหนด จึงมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270
5. ขณะนี้มีประเทศเพื่อนบ้านทำถนนบุกรุกยึดครองใช้พื้นที่ดินแดนของประเทศไทย เป็นทางขึ้นเขาพระวิหาร ซึ่งนายอภิสิทธิ์นอกจากจะไม่รักษาดินแดน และยังไม่สนใจที่จะปกป้องแผ่นดินไทยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 119 และยังถือว่ามีความผิดฐานละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157
6. ทำเอกสารเท็จแจ้งต่อกกต.โดยออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเท็จ ให้แก่นายธานินทร์ ใจสมุทร ลงสมัครนายกฯอบจ.สตูลทั้งที่นายธานินทร์ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจึงขาดการ เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนอกจากส่อจงใจผิดพ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่นพ.ศ.2545 แล้ว ยังส่อว่ากระทำความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 264
7.กรณีขอให้บริษัท ทรูมูฟ เอไอเอส และดีแทค ส่งข้อความสั้นหรือ SMS ไปยังผู้ใช้บริการ ในโอกาสที่ได้รับตำแหน่งนายกฯ โดยเมื่อรวมค่าใช้จ่ายทั้ง 3 บริษัทเป็นเงินจำนวนหลายล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายในการให้บริการดังกล่าวเป็นการให้ฟรีแก่นายอภิสิทธิ์ จึงถือเป็น “ประโยชน์อื่นใด” ตามประกาศป.ป.ช.เรื่องหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ของเจ้าหน้าที่รัฐพ.ศ.2543 ข้อ 3 ซึ่งมีมูลเกินกว่า 3,000 บาทต้องห้ามไม่ให้รับประโยชน์นั้นนายอภิสิทธิ์จึงฝ่าฝืนมาตรา 103 พ.ร.บ.ป.ป.ช.2542 และเข้าหลักเกณฑ์รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดตามข้อ 4 จึงเป็นความผิดตามมาตรา 112 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช.และความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 35 เนื่องจากไม่ได้สอบถามความสมัครใจของผู้ใช้บริการก่อน จึงถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ใช้บริการ
นายพีรพันธุ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า สาเหตุที่ส.ส.พรรคเพื่อไทย ไม่ได้ร่วมลงชื่อให้ครบตามจำนวนส.ส.ของพรรคที่มีอยู่ 187 คน แต่ลงชื่อเพียงส.ส.158 คนนั้น จำแนกได้ดังนี้
1.รองประธานสภาผู้แทนราษฎรของพรรคทั้ง 2 คนงดลงชื่อ
2.มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาให้ใบเหลือง-ใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อีก 10 คน
3.ส.ส.อยู่ระหว่างการพำนักที่ต่างประเทศตามคำเชิญ 8 คน
4.เจ็บป่วย 2 คน
5.ติดภาระกิจอีกจำนวนหนึ่ง
“ดังนั้นการที่ส.ส.ไม่ได้ลงชื่อครบทั้งหมดนั้น ยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากงูเห่าแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามพรรคเพื่อไทยจะทำโพลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเปิด อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลว่าประชาชนต้องการ ให้ฝ่ายค้านถามประเด็นใดต่อรัฐบาลในสภา นอกจากนี้หลังการอภิปรายพรรคเพื่อไทยก็จะทำโพลสำรวจกระแสความนิยมของรัฐบาล และความพึงพอใจในการทำหน้าที่ฝ่ายค้านของประชาชนอีกด้วย”นายพีระพันธุ์กล่าว
158 ส.ส.เพื่อไทย ยื่นถอดถอน “อภิสิทธิ์” แล้ว-ประธานวุฒิขอเวลา 15 วันตรวจสอบ
เวลา 10.00 น. ที่รัฐสภา นายพีรพันธุ์ พาลุสุข ส.ส.ยโสธร พรรคเพื่อไทย พร้อมส.ส.พรรคเพื่อไทยจำนวน 30 คน อาทิ นายประเกียรติ นาสิมมา ส.ส.สัดส่วน นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี นายนิรมิตร สุจารี ส.ส.ร้อยเอ็ด นายไพจิต ศรีวรขาน ส.ส.นครพนม นางเปล่งมณี เร่งสมบูรณ์สุข ได้เข้ายื่นญัตติถอดถอนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต่อนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา
โดยนายพีรพันธุ์ กล่าวว่า เนื่องจากการอภิปรายพฤติกรรมนายกรัฐมนตรีที่ส่อจงใจทุจริตต่อหน้าที่ราชการ กระทำผิดรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น รัฐธรรมนูญได้กำหนดว่าจะต้องยื่นถอดถอนนายกรัฐมนตรีเสียก่อนการอภิปรายไม่ ไว้วางใจ ดังนั้นส.ส.พรรคเพื่อไทย จำนวน 158 คน จึงได้ร่วมเข้าชื่อขอให้ประธานวุฒิสภาดำเนินการถอดถอนนายกรัฐมนตรีตามขั้น ตอนของรัฐธรรมนูญต่อไป เมื่อยื่นญัตติแล้วไม่ต้องรอผลการถอดถอน พรรคฝ่ายค้านสามารถยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ทันที
ด้าน นายประสพสุข กล่าวว่า ตนจะเร่งดำเนินการตรวจสอบรายชื่อภายใน 15 วัน และจะแจ้งให้ที่ประชุมวุฒิสภารับทราบในวันที่ 13 มี.ค.นี้ เพื่อเร่งดำเนินการตามกระบวนการต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับญัตติขอให้ถอดถอนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี มีความยาวทั้งสิ้น 9 หน้า ระบุสิ่งที่ส่งมาด้วย 4 รายการ คือ 1.หนังสือของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ นร.0405/(ลร1)ว/600 ลงวันที่ 25 ก.พ.2552 2.รายละเอียดภาพถ่ายและแผนที่ประกอบแสดงถึงการถูกบุกรุกยึดครองใช้พื้นที่ ดินแดนของประเทศไทยเป็นทางขึ้นเขาพระวิหาร 3.หนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ออกให้แก่นายธานินทร์ ใจสมุทร หนังสือที่ ปชป.พิเศษ/2551 และ 4.รายชื่อผู้ยื่นคำร้องถอดถอน
สำหรับ เนื้อหาส่วนแรก ระบุข้อความว่า ด้วยนายอภิสิทธิ์ ผู้ดำรงตำแหน่งสูงสุดในคณะรัฐมนตรีซึ่งต้องเป็นผู้ที่มีประวัติยึดมั่นใน หลักการของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และยึดมั่นในมาตรฐานทางด้านจริยธรรมอย่างยิ่งยวด โดยอย่างน้อยต้องปฏิบัติหรือประพฤติตนให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรนูญ พ.ศ.2550 ม.279 เป็นมาฐานขั้นต่ำ แต่นายอภิสิทธิ์กลับไม่ทำตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย นอกจากนี้ยังมีการเลือกปฏิบัติ สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในหมู่ปวงชนทุกหมู่เหล่า ทำให้ประเทศขาดความเชื่อถือจากนานาชาติ เป็นผลกระทบเสียหายอย่างกว้างขวางในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง จึงส่อว่านายอภิสิทธิ์จงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือ กฎหมายและยังส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่
ความผิด 7 ข้อขาดความชอบธรรม ขุดพฤติการณ์นับแต่บอยคอตเลือกตั้ง จนถึงเข้าสู่ตำแหน่งมิชอบ
ส่วน ที่สองเป็นเนื้อหาที่ระบุข้อเท็จจริงและพฤติการณ์แห่งการกระทำประกอบญัตติ ยื่นถอดถอนตามมาตรา 271 เพื่อขอให้วุฒิสภามีมติตามมาตรา 274 ทั้งหมด 7 ข้อโดยข้อ
1.เหตุการณ์หลังจากวันที่ 24 ก.พ. 2549 ที่สภาผู้แทนราษถูกยุบและจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 เม.ย.2549 แต่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้คัดค้านและไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง จึงแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่านายอภิสิทธิ์มีพฤติกรรมขัดขวางการปกครองใน ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 2 นอกจากนี้ยังนำพรรคพวกไปเรียกร้องนายกฯพระราชทานตามมาตรา 7 ยิ่งเป็นการตอกย้ำให้เห็นว่าไม่ฝักใฝ่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ได้ร่วมปฎิบัติการกับกลุ่มพันธมิตรฯเคลื่อนไหวการเมืองนอกสภาโค่นล้ม รัฐบาล สร้างความเสียหายวุ่นวายต่อประเทศอย่างรุนแรง การเลือกตั้งครั้งใหม่นายอภิสิทธิ์นำพรรคประชาธิปัตย์ลงสมัครรับเลือกตั้ง ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่าใช้มาตรการตามเอกสารลับซึ่งเป็นแผนปฎิบัติการของคมช . เมื่อพรรครัฐบาลถูกยุบจำเป็นต้องตั้งรัฐบาลใหม่ตามบรรทัดฐานประเพณีพรรค เสียงข้างมากต้องได้รับสิทธิ์ แต่พรรคประชาธิปัตย์ซึ่งมีส.ส.อันดับสองกลับฉวยโอกาสตั้งรัฐบาล จึงจงใจไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานจริยธรรม ตามมาตรา 270
2.การเข้าสู่ ตำแหน่งนายกฯมิได้เป็นไปตามครรลองประชาธิปไตย แต่อยู่ภายใต้การชี้นำของบุคคลชั้นสูงบางกลุ่ม บางคน ผลักดันให้ได้เข้ามาบริหารประเทศ นอกจากนี้นายอภิสิทธิ์ยังได้คบหากับกลุ่มการเมืองนอกสภาหลายกลุ่ม ซึ่งมีอิทธิพลทางการเมืองช่วยเหลือจัดตั้งรัฐบาลจนสำเร็จ ซึ่งเป็นการกระทำอันฉ้อฉลหวังเพียงให้ได้ตำแหน่งนายกฯ
3.นาย อภิสิทธิ์เห็นชอบและแสดงตนเข้าตรวจเยี่ยมและให้กำลังใจ ให้การช่วยเหลือสนับสนุน ให้ความดีความมชอบแต่งตั้งนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ และแกนนำหลายคนเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี และที่ปรึกษารัฐมนตรีหลายตำแหน่ง นอกจากนี้ครม.นายอภิสิทธิ์ยังพยายามเสนอกฎหมายตราเป็นพ.ร.บ.ว่าด้วยความ ปลอดภัยและรักษาความปลอดภัยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งสาระสำคัญให้ผู้ที่ทำผิดได้รับโทษเพียงเสียค่าปรับตั้งแต่ 500-10,000 บาทเพื่อให้มีหลักเกณฑ์คล้ายกับการกระทำของนายกษิตและพวกได้รับประโยชน์ใช้ อ้างอิงในการต่อสู้คดีต่อไป อันเป็นความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดบางประการต่อการเดินอากาศพ.ศ.2521 มาตรา 6 ทวิ และ ม.11 ซึ่งมีโทษถึงประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ซึ่งนายอภิสิทธิ์ผู้สนับสนุนจะต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน และยังรู้เห็นเป็นใจกับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงการบรรจุแต่งตั้งโยกย้ายผิดตามมาตรา 266
4. เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปกปิดซ่อนเร้น การรับเงินสนับสนุนจากบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งไม่จ่ายเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากกกต.ให้เป็นไปตามที่กำหนด จึงมีพฤติการณ์ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 270
5. ขณะนี้มีประเทศเพื่อนบ้านทำถนนบุกรุกยึดครองใช้พื้นที่ดินแดนของประเทศไทย เป็นทางขึ้นเขาพระวิหาร ซึ่งนายอภิสิทธิ์นอกจากจะไม่รักษาดินแดน และยังไม่สนใจที่จะปกป้องแผ่นดินไทยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 119 และยังถือว่ามีความผิดฐานละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ตามมาตรา 157
6. ทำเอกสารเท็จแจ้งต่อกกต.โดยออกหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเท็จ ให้แก่นายธานินทร์ ใจสมุทร ลงสมัครนายกฯอบจ.สตูลทั้งที่นายธานินทร์ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจึงขาดการ เป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งนอกจากส่อจงใจผิดพ.ร.บ.เลือกตั้งท้องถิ่นพ.ศ.2545 แล้ว ยังส่อว่ากระทำความผิดตามกฎหมายอาญามาตรา 264
7.กรณีขอให้บริษัท ทรูมูฟ เอไอเอส และดีแทค ส่งข้อความสั้นหรือ SMS ไปยังผู้ใช้บริการ ในโอกาสที่ได้รับตำแหน่งนายกฯ โดยเมื่อรวมค่าใช้จ่ายทั้ง 3 บริษัทเป็นเงินจำนวนหลายล้านบาท ซึ่งค่าใช้จ่ายในการให้บริการดังกล่าวเป็นการให้ฟรีแก่นายอภิสิทธิ์ จึงถือเป็น “ประโยชน์อื่นใด” ตามประกาศป.ป.ช.เรื่องหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ของเจ้าหน้าที่รัฐพ.ศ.2543 ข้อ 3 ซึ่งมีมูลเกินกว่า 3,000 บาทต้องห้ามไม่ให้รับประโยชน์นั้นนายอภิสิทธิ์จึงฝ่าฝืนมาตรา 103 พ.ร.บ.ป.ป.ช.2542 และเข้าหลักเกณฑ์รับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดตามข้อ 4 จึงเป็นความผิดตามมาตรา 112 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยป.ป.ช.และความผิดตามรัฐธรรมนูญมาตรา 35 เนื่องจากไม่ได้สอบถามความสมัครใจของผู้ใช้บริการก่อน จึงถือเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ใช้บริการ
นายพีรพันธุ์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า สาเหตุที่ส.ส.พรรคเพื่อไทย ไม่ได้ร่วมลงชื่อให้ครบตามจำนวนส.ส.ของพรรคที่มีอยู่ 187 คน แต่ลงชื่อเพียงส.ส.158 คนนั้น จำแนกได้ดังนี้
1.รองประธานสภาผู้แทนราษฎรของพรรคทั้ง 2 คนงดลงชื่อ
2.มีผู้ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาให้ใบเหลือง-ใบแดงของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อีก 10 คน
3.ส.ส.อยู่ระหว่างการพำนักที่ต่างประเทศตามคำเชิญ 8 คน
4.เจ็บป่วย 2 คน
5.ติดภาระกิจอีกจำนวนหนึ่ง
“ดังนั้นการที่ส.ส.ไม่ได้ลงชื่อครบทั้งหมดนั้น ยืนยันว่าไม่ได้เกิดจากงูเห่าแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามพรรคเพื่อไทยจะทำโพลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเปิด อภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นรายบุคคลว่าประชาชนต้องการ ให้ฝ่ายค้านถามประเด็นใดต่อรัฐบาลในสภา นอกจากนี้หลังการอภิปรายพรรคเพื่อไทยก็จะทำโพลสำรวจกระแสความนิยมของรัฐบาล และความพึงพอใจในการทำหน้าที่ฝ่ายค้านของประชาชนอีกด้วย”นายพีระพันธุ์กล่าว