WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, March 10, 2009

วิธีสกัดม็อบ

ที่มา ข่าวสด

คอลัมน์ บทบรรณาธิการ



ในช่วงเพียงไม่กี่เดือนที่เข้ารับตำแหน่ง รัฐบาลชุดปัจจุบันแทบจะต้องรับมือหรือแก้ไขปัญหาการชุมนุมของผู้ได้รับความเดือดร้อนอยู่เป็นประจำแทบทุกวัน

โดยในจำนวนนี้กลุ่มที่ออกมาประท้วงมากที่สุดก็คือผู้ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ทั้งผู้ใช้แรงงานที่ถูกปลดออกจากงาน และเกษตรกรที่ประสบปัญหาราคาพืชผลตกต่ำกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต

มีแนวโน้มว่าหากรัฐบาลไม่สามารถประคับประคองสถานการณ์เศรษฐกิจให้ทรงตัวอยู่เช่นนี้ได้ จำนวน ความถี่ และระดับของข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ประท้วงจะยิ่งมากขึ้นสูงขึ้นเป็นลำดับ

ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ไม่ว่าใครก็ไม่ต้อง การให้เกิดขึ้น

ในเฉพาะหน้า นอกเหนือไปจากการทำความเข้าใจกับประชาชน โดยเฉพาะผู้ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ และการให้ความช่วยเหลือในระยะสั้น เพื่อให้แต่ละกลุ่มสามารถพยุงตัวผ่านสถานการณ์ที่ยากลำบากไปได้

แต่ขณะเดียวกันรัฐบาลก็จะต้องผลักดันนโยบายที่สามารถแก้ไขปัญหาในระยะปานกลางและระยะยาวได้จริง

ไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นให้ภาคเศรษฐกิจสามารถแสวงหาช่องทางการลงทุนใหม่ ที่ทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น

รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนนโยบายที่ผิดพลาดในอดีต และวางรากฐานใหม่ให้ถูก โดยเฉพาะในด้านการ เกษตร ที่จะต้องเลิกการประกันราคา ซึ่งทำให้เกษตรกรลงทุนลงแรงเพาะปลูกโดยขาดความระวัง จนหลายครั้งผลผลิตออกมาเกินต้องการ และเป็นช่องทางในการ ทุจริตมาทุกยุคทุกสมัย

มาเป็นการเผยแพร่ความรู้และกระจายข้อมูลให้ทั่วถึง

ในฐานะนักเรียนเศรษฐศาสตร์ นายกรัฐมนตรีย่อมตระหนักดีว่าการที่ผู้เล่นแต่ละรายในตลาดได้รับ "ข้อมูล" ไม่เท่าเทียมกันนั้น ก่อให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมได้อย่างไร

ยิ่งในกลุ่มที่มีโอกาสได้รับข้อมูลและมีกำลังในการต่อรองน้อยกว่ากลุ่มอื่นอย่างเกษตรกร รัฐจะเข้าไปมีบทบาทส่งเสริมให้ข้อมูลสามารถกระจายออกไปทั่วถึงได้อย่างไร หรือจะสร้างอำนาจต่อรองให้กับเกษตรกรในฐานะผู้ผลิตได้อย่างไร

การสนับสนุนส่งเสริมเช่นนี้จะเป็นประโยชน์กับเกษตรกรมากกว่าการโปรยหว่านเงิน ที่ในระยะยาวจะสร้างผลเสียมากกว่าผลดี ดังที่ปรากฏให้เห็นแล้วในปัจจุบัน ไม่ลงมือทำในช่วงวิกฤต แล้วเมื่อใดจะมีโอกาสได้ทำ