WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, March 9, 2009

อีกก้าว!วิกฤติหมอ สถาบันพัฒนา รพ.

ที่มา ไทยรัฐ

หมอไทยอยู่ในภาวะวิกฤติขาดแคลนส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงคุณภาพการบริการในโรงพยาบาลน้อยใหญ่

โรงพยาบาลขนาดใหญ่ประจำจังหวัดหลายแห่ง...มีแพทย์ไม่พอ เตียงก็ไม่พอ พยาบาลก็รับไม่ไหว

ทุกอย่างขาดแคลนไปหมด จึงขัดแย้งกับเป้าหมาย มุ่งเอาบริการการรักษาที่เป็นเลิศ

วันนี้...คนไข้มองหมอเปลี่ยนไปจากอดีตมาก สมัยก่อนแพทย์ออกไปรักษาคนไข้ หรืออยู่รักษาเหมือนกับพี่น้อง ญาติสนิท

จากสภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น การแข่งขันที่มากขึ้น มีโรงพยาบาลเอกชนเพิ่มขึ้น การรักษาระหว่างหมอกับคนไข้ กลับเป็นแค่บริการประเภทหนึ่ง

การรักษาเป็นการบริการ เมื่อซื้อบริการแล้วไม่ได้บริการที่ดี แน่นอนว่าก็มีการฟ้องร้อง โวยวาย...ไม่ต่างกับซื้อปลากระป๋องเน่า นมไม่ได้คุณภาพ

สิ่งที่ต้องพูดถึงคือ เกณฑ์ที่เหมือนเป็นเส้นแบ่งมาตรฐาน การบริการสุขภาพของโรงพยาบาล ซึ่งก็คือ...HA (Hospital/Healthcare Accreditation)

“HA...เป็นเหมือนตัวแทนประชาชน หรือผู้บริโภค ที่คอยดูแลว่าโรงพยาบาลที่นำมาตรฐานมาใช้ เป็นที่น่าไว้วางใจมากเพียงใด

นายแพทย์อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) กระทรวงสาธารณสุข บอก

ปัจจุบันโรงพยาบาลแต่ละแห่งมีการแข่งขันกันสูง นอกจากจะรักษาโรคทั่วไปแล้ว ยังต้องเร่งเสริมศักยภาพ พัฒนาบุคลากร ทีมแพทย์ให้มีประสิทธิภาพ

จุดสำคัญ เพื่อเอื้อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เข้ารับบริการ

คุณหมออนุวัฒน์ บอกว่า ช่วงหลายปีที่ผ่านมาโรงพยาบาลนอกจากจะมุ่งพัฒนาทางด้านอาคารสถานที่ เพิ่มความสะดวกสบายในการตรวจรักษา ยังต้องพัฒนากระบวนการในการรักษาพยาบาลให้ได้มาตรฐาน

สถาบันรับรองและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของไทย (Hospital Accreditation : HA) จะทำหน้าที่ตรวจสอบและให้การรับรองคุณภาพสถานพยาบาลทั้งภาครัฐ...เอกชน เพื่อให้บริการดูแลรักษาสุขภาพผู้ป่วยเป็นไปอย่างมีคุณภาพยิ่งขึ้น

“HA...จะเป็นแรงจูงใจที่จะกระตุ้นให้โรงพยาบาล เกิดกระบวนการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประเมินซ้ำเป็นระยะๆ ส่วนโรงพยาบาลที่ยังไม่ได้รับการรับรอง ก็จะมีการไปเยี่ยม เป็นการกระตุ้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ที่ผ่านมา...บางเรื่องโรงพยาบาลก็ทำได้ดี บางเรื่องก็ยังมีปัญหา เพราะขาดระบบตรวจสอบที่รัดกุม หรือมีคนส่วนน้อยที่ไม่รับผิดชอบ

จากปัญหาจุดเล็กๆ ก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ จนสังคมเริ่มตั้งข้อสงสัยมากขึ้นเรื่อยๆว่า...สามารถไว้ใจโรงพยาบาลและผู้ประกอบวิชาชีพ ได้เพียงใด

โดยสรุป HA ทำเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมว่า โรงพยาบาลมีระบบการทำงานที่ไว้ใจได้

คุณหมออนุวัฒน์ บอกอีกว่า ทุกปี สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล จะจัดประชุม HA NATIONAL FORUM เพื่อนำเสนอแนวคิด ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ จากโรงพยาบาลหลากหลายพื้นที่

ปีนี้...จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 10 ภายใต้หัวข้อ “Lean & Seamless Healthcare” การบริการสุขภาพที่ไร้รอยต่อ มุ่งเน้นขจัดความสูญเปล่า และเพิ่มประสิทธิภาพภายในระบบองค์กร...

ระหว่างวันที่ 10-13 มีนาคม 2552 อิมแพค เมืองทองธานี คลิกดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.ha.or.th

คุณหมออนุวัฒน์ ย้ำว่า เวทีนี้จะเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อจะได้นำไปพัฒนาคุณภาพ จุดประกายให้เกิดความคิดที่ชัดเจนเพื่อสร้างบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ

การพัฒนาเฉพาะส่วนในองค์กร หรือเฉพาะส่วนต่างๆโดยไม่เชื่อมโยงกัน ย่อมไม่สามารถก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีคุณค่าที่สุดสำหรับผู้ป่วยได้...

...การร่นระยะเวลาในการให้บริการ รวมถึงการให้ความสำคัญและพยายามเข้าใจในตัวผู้ป่วย ซึ่งในปัจจุบันนี้สถานพยาบาลทุกที่ก็ทำกันอยู่แล้ว แต่ถึงอย่างไรก็ยังไม่สามารถเข้าไปนั่งอยู่ในหัวใจของผู้ป่วยได้มากพอ

ข้อมูลการศึกษาตรวจเยี่ยมจาก เจเน็ท ฟาร์เรล (Janet Farrell) ที่ปรึกษา สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ระบุว่า โรงพยาบาลเกือบทุกแห่งพยายามพัฒนาการดูแลผู้ป่วยในเรื่องการจัดสรรเวลา

ตั้งแต่ผู้ป่วยเดินเข้ามารักษาในโรงพยาบาล หรือการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลชุมชนไปยังโรงพยาบาลทั่วไป...ต้องใช้เวลาที่รวดเร็วที่สุด สะดวกที่สุด

กระนั้นยังมีปัจจัยอีกมากมายที่ควบคุมไม่ได้ จนต้องกลับมาศึกษากันใหม่ ตั้งแต่การเตรียมตัวผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง การปฏิบัติตนของผู้ป่วย

การสื่อสารขอความช่วยเหลือ การนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล การประเมินเบื้องต้นและการตรวจวินิจฉัยโรค การประสานงาน...ส่งต่อ...ในกรณีโรงพยาบาลไม่สามารถให้การดูแลได้

ความสูญเปล่าเหล่านี้ เป็นช่องว่างในระบบที่ต้องใช้การสังเกต เพื่อนำมาพัฒนาจัดลำดับความสำคัญเพื่อปรับปรุง แก้ปัญหาเจเน็ท ว่า

คุณหมออนุวัฒน์ เสริมว่า การปิดช่องว่างคือมุมมองที่เราต้องมองให้กว้างขึ้น

ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงรู้จักดูแลตัวเอง ทำอย่างไรให้ผู้ป่วยปฏิบัติตนได้ถูกต้องเมื่อมีอาการ ทำอย่างไรให้มีการสื่อสารและขนส่งผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ...

ทำอย่างไรให้มีการวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว และทำอย่างไรให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่จำเป็นภายในช่วงเวลาคับขัน...

ระบบบริการสุขภาพในภาพรวมที่มีอยู่...โครงการสุขภาพถ้วนหน้า ถึงจะเป็นโครงการที่ดี แต่ปัญหามีว่า ขณะที่เราต้องการให้คนเข้าถึงแพทย์ มากขึ้น แพทย์ต้องทำงานหนักขึ้น รับภาระมากขึ้น

ผลที่ตามมา คือคุณภาพการรักษาพยาบาลลดลง

และที่ตามมาอีกอย่างคือ การฟ้องร้อง

แนวทางแก้ปัญหาในวันนี้คือการบริการให้มีคุณภาพ ที่ทำได้โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว คือ โครงการใกล้บ้านใกล้ใจ ซึ่งตรงกับหัวใจของ HA...การทำงานด้วยใจ โดยเน้นผู้ป่วยและผู้รับผลงาน...เป็นศูนย์กลาง

โครงการใกล้บ้านใกล้ใจ...ศูนย์สุขภาพชุมชนในทศวรรษหน้า สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หัวใจสำคัญอยู่ที่...การให้หมอได้สัมผัสชีวิตผู้ป่วยมากขึ้น หมอไม่ใช่ว่าจะรักษาแต่โรค...ต้องสัมผัสผู้ป่วยด้วยหัวใจ

หมอต้องมองคนไข้...ผู้ป่วยมากกว่าการรักษาโรค หมอจะดูโรค รักษาโรคอย่างเดียวไม่ได้ สำคัญที่สุด คือ การเข้าใจความเป็นมนุษย์

ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานระบบบริการสุขภาพ...หรือโครงการใกล้บ้าน ใกล้ใจ จะเป็นจุดสำคัญ ที่จะลดเส้นแบ่งบางๆระหว่างหมอกับคนไข้ไปได้อีกมาก

ศ.นพ.สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล ผู้อำนวยการ ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า นอกจากการบริการสุขภาพที่ได้คุณภาพแล้ว อีกประเด็นที่น่าเป็นห่วง คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น

จับตา...ประชากรวัยสูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป จาก 4.02 ล้านคน ในปี 2533 จะเพิ่มเป็น 17.74 ล้านคนในปี 2573 จะเป็นภาระอันหนักหนาในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร...ทำให้อัตราส่วนภาระพึ่งพิง ที่ประชากรวัยทำงานจะต้องเลี้ยงดูประชากรวัยเด็กและวัยสูงอายุเพิ่มขึ้น

ที่น่ากังวล คือผลพวงผสมผสานจากภาวะเศรษฐกิจ ที่ทำให้คนจนขยายจำนวนมากขึ้น...เสริมภาระให้หนักขึ้น

วิกฤติฟองสบู่แตกปี 2540 ผู้สูงอายุมีแนวโน้มเป็นปัญหา เป็นภาระในช่วงเวลาสั้นๆไม่เกินปี 2543...ก็เบาบางลงไป เทียบกับวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน แนวโน้มวิกฤติจะใหญ่และยืดเยื้อยาวนานกว่ากันมาก

สถานการณ์วันนี้...รัฐบาลแก้ปัญหาผู้สูงอายุด้วยการเยียวยาแจกเบี้ยยังชีพ และมีอีกหลายโครงการสารพัดแจก แต่รัฐฯไม่ได้มีวิธีหาเงินมาทดแทนอย่างใดเลย

เมื่อไม่มีใครรู้ว่า...วิกฤติเศรษฐกิจคราวนี้ จะเรื้อรังไปอีกนาน แค่ไหน จึงเป็นกังวลว่า...รัฐบาลจะชักหน้าไม่ถึงหลัง ประเทศไทย จะต้องเป็นหนี้ฝรั่งกันอีกหน.