WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, March 9, 2009

พท.ยื่น กกต.สอบบิ๊ก ปชป.รู้เห็นทุจริตเลือกตั้งซ่อมปากน้ำ อ้างมีหลักฐานชัด เล็งแฉ"ชวน"ปกปิดทรัพย์สิน

ที่มา มติชนออนไลน์

อธิการบดี"นิด้า"หนุนตั้ง กก.ปฏิรูปการเมือง "เติ้ง"หวั่นคนกลางทำสูญพันธุ์อีก แนะให้นักการเมืองร่วมวงด้วย "จตุพร"ซัดสถาบันพระปกเกล้าไม่เป็นกลาง ยืนข้างเผด็จการ เผย"สุเทพ"บ่นน้อยใจเจอพันธมิตรโจมตีแรง "พิภพ"ยัน 5 แกนนำยังไม่คิดตั้งพรรคการเมือง แค่เสนอมิติใหม่ "พท."ยื่น กกต.สอบบิ๊ก ปชป. ที่สมุทรปราการ อ้างมีหลักฐานชัด เล็งแฉ"ชวน"ปกปิดทรัพย์สิน

ปชป.เชื่อสังคมยอมรับ "สุจิต"


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวเมื่อวันที่ 8 มีนาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล ถึงแนวทางการปฏิรูปการเมืองว่า จะมีส่วนช่วยคลี่คลายสถานการณ์ให้ดีขึ้น เพราะเป้าหมายคือต้องการให้ทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วม ว่าเป้าหมายของทุกคนคืออะไร ซึ่งตนขอฝากไปถึงสถาบันพระปกเกล้าให้พิจารณาเข้ามาช่วยการทำงานของรัฐบาลเพื่อประโยชน์ของสังคม เมื่อถามว่า นายสุจิต บุญบงการ ประธานสภาพัฒนาการเมือง จะมาเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองจะสร้างความเชื่อมั่นได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ไม่ได้เป็นคนตั้งเงื่อนไขเรื่องนี้ เพียงแต่ขอให้สถาบันพระปกเกล้าเป็นผู้พิจารณา


นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า รัฐบาลจะไม่เข้าไปแทรกแซง เพราะมอบให้สถาบันพระปกเกล้าเป็นเจ้าภาพ และเท่าที่ทราบนายสุจิต บุญบงการ ก็รับเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองแล้ว เชื่อว่าสังคมจะยอมรับผลการทำงานที่ออกมา


นายสุจิต บุญบงการ ประธานสภาพัฒนาการเมือง กล่าวถึงความคืบหน้าในการรับตำแหน่งประธานคณะกรรมการปฏิรูปการเมืองว่า ต้องรอความชัดเจนจากการประชุมระหว่างนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าและรัฐบาลในวันที่ 9 มีนาคม ว่าจะมีให้สถาบันพระปกเกล้าเป็นเจ้าภาพหรือไม่ และรัฐบาลจะรับเงื่อนไขและรับข้อเสนอของสถาบันพระปกเกล้าหรือไม่ หากมีการตั้งคณะกรรมการจริงก็ไม่ทราบว่าตนจะได้รับแต่งตั้งเป็นประธานหรือไม่


อธิการฯนิด้าหนุน - "เติ้ง"ค้าน


นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวว่า นายสุจิตเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ที่ได้รับการยอมรับจากสังคม มีความเหมาะสมพอสมควรที่จะเป็นประธานคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง และเห็นด้วยที่จะให้มีคณะกรรมการขึ้นมารับฟังประเด็นปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ควรทำให้เกิดการตกผลึกทางความคิดก่อน จากนั้นจึงนำเสนอต่อสาธารณะ


นายสมบัติกล่าวว่า สำหรับปัญหาแตกต่างทางความคิดที่แบ่งคนในสังคมเป็นสีเหลืองสีแดงก็ถือเป็นอุปสรรคต่อการระดมความคิดเห็น แต่การรับฟังความคิดเห็นมีหลายวิธี ไม่ควรให้คนที่มีจุดยืนต่างกันมานั่งประชันความคิดกัน เพราะจะหาข้อสรุปได้ยาก คณะกรรมการควรเข้าไปรับฟังความคิดเห็นเป็นกลุ่มๆ จากนั้นนำข้อเสนอแต่ละกลุ่มมาประมวลเพื่อจัดลำดับความสำคัญว่าข้อเสนอเหล่านั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติมากน้อยแค่ไหน

นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่า "ถ้าเป็นผมปีเดียวก็จบ การให้สถาบันปกเกล้าเข้ามาเป็นเรื่องที่ไม่ดี ควรให้นักการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมมากกว่า เพราะคนกลางเข้ามาทำให้นักการเมืองเหี้ยนหมด คนเข้ามาควรผสมผสานกับนักการเมือง เหมือนรัฐธรรมนูญ 2550 ร่างสู้รัฐธรรมนูญปี 2540 ก็ไม่ได้


"จตุพร" ชี้ส.พระปกเกล้าเผด็จการ


นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาสถาบันพระปกเกล้าไม่เคยแสดงตนว่าอยู่ฝ่ายประชาธิไตย โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ประธานยกร่างรัฐธรรมนูญก็เป็นคนของสถาบันพระปกเกล้าปกเองไม่ใช่หรือ เชื่อว่าคนไม่สบายใจ


"คนรู้สึกว่าสถาบันพระปกเกล้ายืนข้างเผ็จการมากกว่าประชาธิปไตย เมื่อคนของสถาบันพระปกเกล้าเองเป็นประธานยกร่างรัฐธรรมนูญ 2550 มันก็จะไม่มีอะไรที่เป็นความเชื่อมั่นได้เลย" นายจตุพรกล่าว


ด้านนายสมชาย ปรีชาศิลปกุล อดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า เจตนาในการปฏิรูปการเมืองถือเป็นความตั้งใจดี แต่บรรยากาศทางการเมืองขณะนี้ยังไม่เอื้อต่อการให้ผู้คนทุกภาคส่วนในสังคมมาร่วมอย่างแท้จริง ส่วนหนึ่งเป็นที่ตัวองค์กรที่อาจจะมีปัญหา เพราะสถาบันพระปกเกล้าไม่อยู่ในฐานะที่เป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางมากนัก ในช่วงที่สังคมแบ่งเป็นฝักฝ่ายเช่นนี้จะมีความยุ่งยากในการดึงคนมาร่วมหาทางออก ดังนั้น คนที่เข้ามาร่วมกระบวนการนี้จึงอาจเป็นนักกฎหมายที่อยากจะเขียนรัฐธรรมนูญเพราะเห็นแก่ลาภยศสรรเสริญ โดยไม่สนใจที่จะแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง ซึ่งนักกฎหมายเหล่านี้จะมีชื่อนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าปรากฏอยู่


"พิภพ" ยัน5แกนนำยังไม่คิดตั้งพรรค


นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวที่ จ.นครราชสีมา ถึงกระแสข่าวการตั้งพรรคการเมืองของกลุ่มพันธมิตรว่า แกนนำพันธมิตรทั้ง 5 คน ยังไม่คิดจัดตั้งพรรคการเมือง แต่สิ่งที่พูดบนเวทีที่เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นเพียงการชี้ว่าหากตั้งพรรคการเมืองในนามกลุ่มพันธมิตร และให้ทั้ง 5 แกนนำพันธมิตรและประชาชนสนับสนุน ควรจะเป็นพรรคการเมืองในลักษณะใด และหากพรรคการเมืองใดต้องการให้กลุ่มพันธมิตรสนับสนุนส่งผู้สมัครลง ส.ส.นั้น เราเพียงแต่จะชี้นำว่า ส.ส.ที่จะลงสมัครนั้นต้องเป็นบุคคลที่ซื่อสัตย์ เสียสละ และกล้าหาญเท่านั้น นอกจากนี้ พรรคการเมืองจะต้องได้รับการสนับสนุนจากเครือข่ายพันธมิตรทั่วประเทศ จะเป็นมิติใหม่ของพรรคการเมืองที่เกิดจากประชาชน ไม่ใช่กลุ่มบุคคลใดกลุ่มบุคคลหนึ่ง


นายพิภพกล่าวว่า ถ้าเกิดพรรคการเมืองขึ้น ขบวนการเคลื่อนไหวภาคประชาชนก็ยังคงอยู่ ดำเนินงานควบคู่กันไปและหนุนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่วนเงินที่นำมาจัดกิจกรรมของพรรคการเมืองใหม่นั้น เป็นเงินที่ได้รับจากการบริจาคจากประชาชน จะเป็นมิติใหม่ของการเมืองไทยเหมือนในสหรัฐอเมริกา เช่น พรรคกรีน เป็นต้น


ปฏิเสธไปสหรัฐหาทุนตั้งพรรค


นายพิภพกล่าวถึงกรณีนายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ และนักวิชาการหลายคน รวมทั้งพันธมิตรบางส่วน แสดงความไม่เห็นด้วยกับการตั้งพรรคของพันธมิตรและเป็นห่วงว่าจะอยู่ในวังวนการเมืองน้ำเน่าว่า ต้องขอบคุณที่หลายฝ่ายที่เป็นห่วง แต่ตนเห็นว่าถ้าพรรคการเมืองมีการตั้งกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน และใช้นโนบายเป็นไปตามรูปแบบการเมืองใหม่ของพันธมิตร จึงไม่มีทางเป็นการเมืองน้ำเน่า รวมทั้งมีประชาชนคอยตรวจสอบ และคนที่จะเป็นผู้สมัคร ส.ส.ต้องได้รับการคัดสรรจากประชาชนเครือข่ายพันธมิตรทั้งประเทศ เมื่อเข้าไปเป็น ส.ส.ในสภาต้องไม่รับตำแหน่งรัฐมนตรี ไม่รับเงินเดือน


นายพิภพยังกล่าวถึงข่าวแกนนำพันธมิตรจะเดินทางไปหาทุนตั้งพรรคการเมืองที่สหรัฐอเมริกาว่า ไม่เป็นความจริง แต่ไปหาทุนช่วยเหลือเอเอสทีวีให้อยู่ได้ ส่วนการหาทุนตั้งพรรคการเมืองใหม่ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปสหรัฐอเมริกา ฉะนั้น ความเห็นที่แตกต่างไม่ถือว่าเป็นความแตกแยกในพันธมิตร ทั้งนี้ ตนกับนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรได้ประกาศไปแล้วว่าจะไม่รับตำแหน่งใดๆ ทางการเมือง ขอทำงานในส่วนภาคประชาชน


อธิการฯนิด้าแนะพันธมิตรคิดให้ดี


นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ กล่าวถึงกรณีที่พันธมิตรจะตั้งพรรคการเมืองว่า เป็นสิทธิเสรีภาพที่สามารถทำได้ แต่แกนนำพันธมิตรจะต้องตอบคำถามตัวเองให้ชัดว่าต้องการเป็นองค์กรการเมืองภาคประชาชนที่ตรวจสอบนักการเมืองเพื่อสร้างความโปร่งใสต่อไปหรือต้องการจะเปลี่ยนบทบาทเป็นพรรคการเมือง เพราะบทบาททั้งสองอย่างนี้แตกต่างกัน พันธมิตรต้องการตรวจสอบอำนาจหรือต้องการอำนาจเสียเอง


"ผมไม่มีทรรศนะสนับสนุนหรือคัดค้าน เพราะถือเป็นสิทธิเสรีภาพ แต่พันธมิตรต้องตอบโจทย์ให้ชัดว่าต้องการอะไร การตั้งพรรคการเมืองมีทั้งผลดีและผลเสีย เวันนี้พันธมิตรมีพลังทางสังคมในการขับเคลื่อนทางการเมืองสูงและมีสมาชิกเครือข่ายมากอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ถ้าเป็นพรรคการเมืองจะถูกจำกัดด้วยระบบพรรคที่ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง ดังนั้น พรรคการเมืองจึงเป็นสมบัติส่วนตัวของหัวหน้าพรรค ถ้าหัวหน้าพรรคหมดอำนาจวาสนาผู้คนในพรรคก็จะล้มหายตายจากสารบบการเมือง" นายสมบัติกล่าว


"พท." อัดพันธมิตรตระบัดสัตย์


นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่แกนนำพันธมิตรจะตั้งพรรคการเมืองว่า ถือเป็นการตระบัดสัตย์ หวังปูทางไปสู่อำนาจ กาลเวลาได้พิสูจน์แล้วว่าคำพูดของแกนนำพันธมิตรเป็นคำพูดนักลวงโลก เพราะเคยพูดไว้ว่าจะไม่ตั้งพรรคการเมือง แต่กลับมาตั้งพรรคเทียนแห่งธรรม แสดงให้เห็นว่าการโค่นล้ม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ เพื่อปูทางให้ตัวเองไปสู่อำนาจ จนบางคนได้ดิบได้ดีมีตำแหน่งในรัฐบาล


นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า พรรคเพื่อไทยยินดีมากที่กลุ่มพันธมิตรตั้งพรรคการเมือง จะได้ไม่ไปหลบๆ ซ่อนๆ อยู่หลังพรรคประชาธิปัตย์อีก และอยากถาม พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตร ว่าเงินบริจาคของพันธมิตรหลายร้อยล้านบาทที่บอกว่าจะนำไปให้กลุ่มสันติอโศก และพนักงานสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีนั้น มีความคืบหน้าอย่างไร เพราะมีแกนนำบางคนมีบ้านใหม่ รถใหม่ จ้างบอดี้การ์ดมากมาย ไม่รู้ว่าไปเอาเงินจากมาจากไหน หรือถ้าพรรคเทียนแห่งธรรมเป็นรัฐบาล จะให้ใช้ศาสนาใดเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะหลายคนในพันธมิตรนับถือสมณะโพธิรักษ์ ของสำนักสันติอโศกที่ไม่ยอมรับหลักการพุทธศาสนา


เผย"สุเทพ"น้อยใจถูกพันธมิตรอัด


นายชุมพล กาญจนะ ส.ส.สุราษฎร์ธานี และประธาน ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) คนสนิทนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง กล่าวว่า กลุ่มพันธมิตรจะเสียคำพูดที่เคยประกาศว่าจะไม่เล่นการเมือง และจะทำให้เสียมวลชน การตั้งพรรคของพันธมิตรไม่น่าจะเป็นการทำให้พรรคประชาธิปัตย์เสียฐานเสียงไป แต่ยอมรับว่าเมื่อถึงเวลาคนที่เป็นพันธมิตรและอยู่ในพรรคประชาธิปัตย์จะต้องตัดสินใจว่าจะเลือกอยู่ฝั่งไหน


ส่วนกรณีที่แกนนำพันธมิตรโจมตีนายสุเทพเรื่องย้ายตำรวจนั้น นายชุมพลกล่าวว่า ก่อนหน้านี้นายสุเทพเคยชี้แจงในที่ประชุม ส.ส.ของพรรคว่าเพิ่งเข้ามาเป็นรัฐบาลจะไปทำทุกอย่างทันทีคงไม่ได้ พนักงานสอบสวนในคดีความต่างๆ เป็นคนที่รัฐบาลชุดเก่าตั้งไว้ หากรัฐบาลนี้เข้าไปแทรกแซงก็อาจถูกร้องว่าทำผิดกฎหมาย จะทำตามใบสั่งพันธมิตรทันทีคงไม่ได้ สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาตนได้พบกับนายสุเทพ ซึ่งนายสุเทพยังบ่นเชิงน้อยใจว่าทำไมต้องโจมตีกันแรงขนาดนี้ด้วย


เปรยตร.คนสนิทพธม.จะได้ดี


"แต่การโยกย้ายนายตำรวจตั้งแต่ระดับรองผู้บัญชาการตำรวจ ผู้บังคับการ และผู้กำกับ ในเดือนเมษายนนี้จะต้องมีการโยกย้ายครั้งใหญ่แน่นอน เพื่อเอาคนที่ไม่มีประสิทธิภาพ คนที่ใส่เกียร์ว่าง และคนที่กลุ่มอำนาจเก่าวางไว้ออกไป โดย พล.ต.ต.ชัยยะ ศิริอัมพันธ์กุล คนสนิทนายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตร อยู่ในข่ายที่จะได้รับการพิจารณาด้วย" นายชุมพลกล่าว


ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการมองว่าการที่พันธมิตรออกมาแสดงความไม่พอใจเพราะต้องการต่อรองคดียึดสนามบิน นายชุมพลกล่าวว่า ถ้าเรื่องใดทำผิดกฎหมายต่อรองไม่ได้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะยึดสนามบินหรือยึดทำเนียบรัฐบาล ยืนยันไม่มีมวยล้มต้มคนดู ที่ผ่านมาไม่เคยมีแกนนำพันธมิตรประสานมาเพื่อขอให้นายสุเทพยุติการดำเนินคดี แต่อยากชี้แจงต่อแกนนำพันธมิตรว่าสำนวนคดีความต่างๆ ทำไว้เกือบเสร็จตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อนแล้ว จึงอยากขอร้องให้เห็นใจรัฐบาลด้วย


ปชป.นัดถกท่าทีพันธมิตรตั้งพรรค


แหล่งข่าวจากพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า ในการประชุม ส.ส.ของพรรควันที่ 10 มีนาคม จะมีการหารือถึงกรณีที่แกนนำพันธมิตรประชาชนประกาศจัดตั้งพรรคการเมืองด้วย เพื่อกำหนดท่าทีของพรรคประชาธิปัตน์ต่อพรรคของพันธมิตร เพราะหากมีการจัดตั้งพรรคดังกล่าวจริงจะมีผลเสียต่อฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากมวลชนของพันธมิตรและฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์แทบจะเป็นคนกลุ่มเดียวกัน


แหล่งข่าวกล่าวว่า จากการประเมินเบื้องต้น เห็นว่าสาเหตุการจัดตั้งพรรคของพันธมิตรอาจเพราะคนที่อยู่เบื้องหลังแกนนำพันธมิตรบางคนอยากเล่นการเมือง ไม่น่าจะเป็นไปเพื่อต่อรองเรื่องคดีความ ทั้งคดียึดทำเนียบ หรือยึดสนามบิน เนื่องจากคดีความต่างๆ ของพันธมิตรอยู่ในกระบวนการหมดแล้ว รัฐบาลไม่สามารถเข้าไปยุ่งเกี่ยวได้ และถ้าพันธมิตรทำเช่นนั้นจริงก็จะทำให้เสียมวลชนไปจำนวนหนึ่งด้วย


พท.ขู่ปูด"ชวน"ปกปิดทรัพย์สิน


วันเดียวกัน นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า ในสัปดาห์นี้จะไปยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ดำเนินการเอาผิดกับคณะกรรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ทั้งนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค นายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรค กรณีรู้เห็นเป็นใจการทุจริตการเลือกตั้งซ่อม ส.ส.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2552 ที่ กกต.มีมติให้ใบแดงแก่ น.ส.สรชา วีระชาติวัฒนา ผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ กรณีแจกทรัพย์สินแก่ประชาชน


นายพร้อมพงศ์กล่าวว่า พรรคมีหลักฐานชัดเจนทั้งพยานบุคคล ภาพถ่าย ซีดี ที่เป็นข้อมูลยืนยันว่ากรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์เหล่านี้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจในการทำความผิดร่วมกับ น.ส.สรชา โดยลงไปช่วยหาเสียงให้ น.ส.สรชาในช่วงต้นเดือนมกราคม จึงถือว่ามีส่วนรู้เห็นในการซื้อเสียง และได้ทำผิดร่วมกันแล้ว นอกจากนี้จะเปิดหลักฐานกรณีนายชวนปกปิดการแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)ซึ่งเป็นหลักฐานชิ้นใหม่ มีข้อมูลหลักฐานครบถ้วน แต่ยังไม่เปิดเผยว่าเป็นเรื่องใด


ปชป.เย้ยพท.ข้อมูลไม่พอซักฟอก


นายทิวา เงินยวง ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวว่า ถ้าพรรคเพื่อไทย (พท.) ยังไม่มีความพร้อมที่จะยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันที่ 11 มีนาคมนี้ ก็เลื่อนไปได้จนกว่าจะถึงช่วงต้นเดือนพฤษภาคม เนื่องจากการประชุมสภาสมัยสามัญทั่วไปจะปิดสมัยประชุมในวันที่ 20 พฤษภาคมนี้


นายทิวากล่าวว่า ที่ พท.ยังตกลงไม่ได้ว่าจะยื่นญัตติน่าจะเป็นเพราะมีข้อมูลไม่เพียงพอ เท่าที่ดูหนังตัวอย่างที่ฝ่ายค้านนำมาแสดง มีแต่เรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบริหารราชการแผ่นดินหรือการทุจริต ทั้งกิ๊กรัฐมนตรี หรือรถยนต์ของนายกฯ ในอดีตการจะอภิปรายไม่ไว้วางใจใครต้องมีข้อมูลเป็นเอกสารทางราชการ จะนำมาแสดงก่อนเปิดอภิปรายจริงสัก 10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ประชาชนติดตาม แต่ครั้งนี้แทบไม่มีข้อมูลอะไรเลย และอีกเหตุผลที่ลังเลก็น่าจะมาจากการเสนอชื่อร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.สัดส่วน พท.เป็นนายกฯคนใหม่ เพราะสุดท้ายอาจถูก ร.ต.อ.เฉลิมตีกินตำแหน่งเหมือนที่เคยเกิดขึ้น


"การอภิปรายไม่ไว้วางใจไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เป็นดาบสองคม หากทำไม่ดีก็เจ๊ง ถ้ามาอภิปรายแบบไม่มีข้อมูลท้ายสุดประชาชนก็จะเห็น และสื่อก็จะให้คะแนนเองว่าใครเป็นอย่างไร" นายทิวากล่าว