WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, March 10, 2009

แนวคิดเทวราชา กับระบอบประชาธิปไตย

ที่มา thaifreenews

บทความโดย...ลูกชาวนาไทย



ผมเองเป็นคนที่นิยมการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ อย่างค่อนข้างมั่นคง เนื่องจากการมีสถาบันกษัตริย์ไว้ ทำให้สังคมสามารถรักษาขนบธรรมเนียบประเพณีบางอย่างที่สะสมกันมานานนับพันปีเอาไว้ได้ โดยไม่ถูกตัดตอนไปหมด

ช่วงที่ผมเคยศึกษาอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ผมมีเพื่อนเป็นคนจีนมากเหมือนกัน เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วระหว่างคนจีนกับคนไทย ผมรู้สึกว่าคนไทยจะมีรสนิยมที่ผมเรียกว่ามีความเป็นชาววัง หรือผู้ดีมีคลาสพอสมควร ทำให้รู้สึกว่าคนไทยมีความเป็นผู้ดีมากกว่าคนจีนบ้างเล็กน้อย แม้ว่าคนจีนจะมีสำนึกของความเท่าเทียมกันมากกว่าก็ตาม

แต่สิ่งที่ผมไม่ชอบใจอย่างยิ่งคือ คนไทยบางกลุ่มที่พยายามจะรื้อฟื้นสิ่งที่เรียกว่า “ลัทธิเทวราชา” ขึ้นมาใหม่ เราจะเห็นได้ว่าในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา มีแนวคิดสุดกู่ถึงขั้นที่ว่า จะมีการถวายอำนาจคืนแก่พระเจ้าอยู่หัว กลับไปสู่ระบอบที่ล้าหลังคือ “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” กันอย่างเต็มที่ ไม่น่าเชื่อว่าแนวคิดนี้จะเกิดขึ้นในช่วงเริ่มต้นของทศวรรษแรกของศตวรรษที่ 21 นี้ได้ เรียกว่าเป็นการพัฒนาการถอยหลังก็ว่าได้



ลัทธิเทวราชา ที่พยายามสร้างฟูมฟักกันขึ้นมาใหม่นี้ ทำกันถึงขั้นที่ว่า สถาบันกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ไม่อาจวิพาร์กวิจารณ์หรือกล่าวถึงได้แม้แต่น้อย แม้แต่องค์กรที่อยู่ใกล้สถาบัน เช่น องคมนตรีก็ทำท่าจะพยายามเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แตะต้องไม่ได้ไปด้วยเช่นกัน มีแนวคิดกันจนถึงขั้นจะมีกฎหมายห้ามหมิ่นองคมนตรีกันเลยทีเดียว

ที่จริงคนเหล่านี้ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นองคมนตรี ก็ไม่ใช่สถาบันแต่อย่างใด แต่ก็เข้ามามีอิทธิพลจนสามารถแทรกแซง "อำนาจอธิปไตยของปวงชน" ได้ เมื่อเป็นอย่างนี้ จึงเกิด "การปีนเกลียว" กันทางอำนาจขึ้น ระหว่างอำนาจอธิปไตยของปวงชน กับองคมนตรีที่เป็นตัวแทนของคนชั้นสูงเสียส่วนใหญ่ ซึ่งหากสถาบันและคนที่อยู่รอบข้างยังไม่ปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพสังคมในศตวรรษที่ 21 ผมไม่คิดว่า "ข้างประชาชน" จะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ประวัติศาสตร์ของทุกประเทศสอนอย่างนั้น หากมีความวุ่นวายและต่อสู้อำนาจกับปวงชนส่วนใหญ่ของประเทศ ประชาชนไม่เคยพ่ายแพ้ ไม่ว่าประเทศใดก็ตาม

ดังนั้น สิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งในขณะนี้ คือ "การกลับมายืนข้างประชาธิปไตย" อย่างเต็มที่ เลิกเสียทีกับ แนวคิด "ลัทธิเทวราชา" ซึ่งมันไม่สอดคล้องกับวัฒนธรรมของประชาชนยุคศตวรรษที่ 21 อย่างมากเลยทีเดียว

บอกตรงๆ ว่าจะมีสักกี่คนที่เชื่อกันว่า "เจ้า" คือ เทพเจ้าในยุคนี้ การบูชาเจ้าแล้วพวกเขาจะได้ "บุญกุศล" หรือ มี Merit จนได้ขึ้นสวรรค์ สมัยผมเป็นเด็กความคิดนั้นยังมีอยู่ แต่คนที่เชื่อแบบนั้น ในปี 2009 พวกเขาแก่ตายไปแทบหมดสิ้นแล้ว คนรุ่นใหม่ที่อายุต่ำกว่า 50 ปี ในชนบท ไม่ได้คิดอย่างนั้นแล้ว เพราะพวกเขาเติบโตในระบบโรงเรียนสมัยใหม่ แนวคิดและโลกทัศน์ หรือจักรวาลวิทยาของผู้คนแบบไตรภูมิพระร่วง ได้หายไปจนหมดสิ้นแล้ว

ผมไม่ได้เห็นด้วยกับตรรกะว่า "สถาบัน" จำเป็นและต้องอยู่คู่ประเทศไทย นั่นเป็นการสะกดจิตคน และเริ่มคลายมนต์สะกดไปแทบหมดสิ้นแล้ว สถาบันจะอยู่ต่อไปได้ต้องปรับตัวและ "เป็นประโยชน์และมีคุณค่าต่อสังคม” ไม่อย่างนั้น ต่อให้โปรประกันดาอย่างไรก็ไม่ได้ผล

ยอมรับความผิดพลาดใน 3 ปีมานี้เถอะว่า ทำให้เกิดปัญหามากมาย กรณีน้องโบ และพันธมิตรต้องแก้ไข การปฏิเสธ ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น เพราะยุค Information Age ผู้คนไม่ได้โง่ขนาดที่จะไม่รู้อะไรเลย

การไล่บี้คนที่วิจารณ์โดยยัดข้อหาหมิ่นฯ ให้ รังแต่จะทำให้สถานการณ์พัฒนาไปในทางที่เลวร้ายมากยิ่งขึ้น ผู้คนไม่ได้เชื่อในแนวคิดเทวราชาอีกแล้วจำนวนมาก การพยายามฝืนยัดเยียด โดยการโปรประกันดา มีแต่ทำให้สถานการณ์เลวร้ายหนักขึ้น


บอกตรงๆ ว่าผมยังเสียดาย และนิยมสถาบันแบบ Constitution Monarchy อยู่มาก แต่การพยายามยัดเยียดแนวคิด เทวราชา มาให้ผม ผมยอมรับได้ยาก ยิ่งพยายามทำ แรงต้านจะแรงขึ้นเรื่อย ๆ

ปัญหาทางการเมืองปัจจุบันแก้ไขได้ไม่ยาก เพียงแต่ "แสดงตนสนับสนุนประชาธิปไตย" ให้เต็มที่ อย่าพยายาม "รักษาแนวคิดเทวราชา ที่ล่มสลายไปแล้ว" เอาไว้ให้ได้ การรักษาสถาบัน กับการรักษาแนวคิด เทวราชา มันคนละเรื่องกัน หากกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ยังคงอยู่ ท่านก็คงเปลี่ยน "กุศโลบาย" ในการรักษาสถาบันเอาไว้ให้คู่สังคมไทย โดยใช้แนวคิด " Constitution Monarchy“อย่างเต็มที่ ยุทธศาสตร์และกุศโลบายต้องเปลี่ยนไปตามสภาวะของสังคม ไม่ใช่ยังจะรักษากุศโลบายที่ล้าหลังเป็น paradigm ที่ตายไปแล้ว เอาไว้กับสังคมยุคใหม่ให้ได้ เหมือนกับการรักษาทฤษฎีโลกแบนนั่นแหละ แม้ว่าจะพยายามระดมคนที่น่าเชื่อถือในสังคมมามากมายเพียงใด ในการบอกประชาชนว่าโลกแบน คนก็คงไม่เชื่ออยู่ดี

อีกอย่าง ทักษิณไม่ใช่ภัยคุกคาม แต่หากยังดำรงแนวคิด เทวราชา ตราบนั้นก็จะคิดว่าทักษิณเป็นภัยคุกคาม การพยายามทำลายทักษิณ ต้องใช้ต้นทุนความศรัทธาอย่างมหาศาล สุดท้ายนอกจากทำลายไม่ได้แล้ว ยังทำลายตนเองไปอย่างมากมายจนไม่น่าเชื่อ

การต่อสู้ระหว่างแนวคิด "เทวราชา" กับ "ประชาธิปไตยแบบทุนนิยม" ถึงอย่างไร แนวคิดเทวราชา ก็ไปไม่รอดในศตวรรษที่ 21

ทำไมไม่ยอมฟังหลายฝ่าย แทนที่จะก่อสงครามที่สุดท้ายก็นำไปสู่ความพ่ายแพ้อยู่ดี

ผมก็อึดอัดใจเหมือนกัน เพราะคิดเขียนอย่างไร ก็โดนกล่าวหาว่า "หมิ่น" หมด คำแนะนำดีๆ มันเลยเกิดขึ้นไม่ได้ สุดท้ายก็ไล่ล่าทำลายล้างกัน แล้วคิดกันหรือว่า จะสามารถทำให้ประชากร 65 ล้าน หันกลับไปนิยมแนวคิดแบบ เทวราชา ผู้มีปัญญามอง ก็รู้อยู่แล้วว่า "จุดสิ้นสุดมันอยู่ตรงไหน"

ผมเห็นผลลัพธ์มันชัดเจน ยิ่งกว่า ลายมือ บนฝ่ามือผมเสียอีก

ลองพูดแบบเปิดอกกัน โดยไม่ต้องกล่าวหากันว่าใครจงรักภักดี ใครไม่ใช่ สุดท้ายความสามัคคี มันก็ไม่มีทางเกิด เพราะจะกดหัวให้คนจำนวนมาก ยอมสยบตามแนวคิดเทวราชาคงยาก ยิ่งทำแรงเสียดทานยิ่งมากขึ้น คุมสถานการณ์ก็ไม่ได้

ประชากร 65 ล้าน นะครับ ไม่ใช่ 12 ล้าน เหมือน ปี 2490