WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Sunday, October 11, 2009

ตัวเร่งรอบใหม่ รัฐไทยอันตราย

ที่มา ไทยรัฐ
Pic_38683

ไม่ใช่เรื่องเซอร์ไพรส์

แม้จะเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่เกิดขึ้นมาใหม่ แต่สำหรับคอการเมืองบ้านเรา

ไม่มีใครประหลาดใจ

กับปรากฏการณ์ที่ "บิ๊กจิ๋ว" พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคความหวังใหม่

เปิดตัวสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทย พร้อมกับ บรรดากุนซือ ที่ปรึกษาที่ติดสอยห้อยตามกันมาตั้งแต่สมัยเป็นหัวหน้าพรรคความหวังใหม่

โดยเส้นทางของ พล.อ.ชวลิต ที่เคยประกาศล้างมือในอ่างทองคำ หวนกลับมาเล่นการเมืองกับพรรคเพื่อไทย ครั้งนี้

เตรียมที่จะเข้ามารับตำแหน่งประธานที่ปรึกษาพรรค ก่อนที่จะก้าวขึ้นไปสู่ตำแหน่งหัวหน้าพรรคเพื่อไทย นำทัพ สู้ศึกเลือกตั้งครั้งหน้า

และก็เป็นที่รู้กันว่า การที่พรรคเพื่อไทยจะขยับปรับ โครงสร้าง กำหนดตำแหน่งต่างๆในพรรค ย่อมต้องได้รับสัญญาณไฟเขียวจาก "นายใหญ่" ที่ "ดูไบ"

ในห้วงที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่า พรรคเพื่อไทยแม้จะมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ นั่งเป็นหัวหน้าพรรค

แต่ก็ไม่ใช่ผู้กุมบังเหียนตัวจริงเสียงจริง

ทำให้พรรคอยู่ในสภาพไม่ต่างจากภาวะไร้หัว ส่งผล ให้การขับเคลื่อนทางการเมืองของพรรคไร้ทิศทาง

เมื่อได้ พล.อ.ชวลิตเข้ามาร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย ก็ถือเป็นตัวหลักสำคัญที่จะช่วยขับเคลื่อนพรรคไปในแนวทาง ที่ "นายใหญ่" ต้องการ

ที่สำคัญ การที่ พล.อ.ชวลิตเป็นตัวเลือกของ "นายใหญ่" ในการเข้ามานำพรรคเพื่อไทย ก็เพราะเป็นผู้ที่มีฐานความ สัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาก่อน

ถึงขนาดเคยยุบรวมพรรคความหวังใหม่เข้ากับพรรคไทยรักไทยมาแล้ว

และด้วยบุคลิกของ พล.อ.ชวลิตที่ประสานประโยชน์ ได้กับทุกฝ่าย อ่อนน้อม นุ่มนวล จนได้ฉายา "จิ๋ว หวาน เจี๊ยบ" ที่ยอมทิ้งความเป็นโซ่ข้อกลาง หันมาสวมบทโซ่ คล้องใจในคราวนี้

ภาระหน้าที่สำคัญของ พล.อ.ชวลิตนอกจากจะเป็นตัวหลักในการนำพรรคเพื่อไทยสู้ศึกในห้วงเลือกตั้งแล้ว ก็คงเป็นเรื่องของการเจรจา กล่อมอำมาตย์ และฝ่ายต้าน "ทักษิณ"

โดยเห็นได้ชัดจากการที่ "บิ๊กจิ๋ว" ประกาศตั้งแต่วันแรกที่ก้าวเข้าสู่ชายคาพรรคเพื่อไทย

เน้นสร้างความสมานฉันท์ ต้องหันหน้าเข้าหากัน ต้องอโหสิกรรม ลืมเรื่องเก่า

เปิดทางช่วย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายก-รัฐมนตรี อย่างเต็มที่

พร้อมกับการอ้างเหตุในการกลับเข้ามาทำงานการเมือง เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในชาติบ้านเมือง

แม้เหตุผลสวยหรู แต่ชาวบ้านทั่วไป ไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นอะไร

เพราะชินเสียแล้วกับลีลาของ "บิ๊กจิ๋ว"

สำหรับอีกปรากฏการณ์หนึ่งที่ตามมาติดๆ คือ ความ เคลื่อนไหวของพรรคการเมืองใหม่ พรรคการเมืองของกลุ่ม พันธมิตรฯ

ที่มีการประชุมใหญ่เลือกหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค ซึ่งก็เป็นไปตามคาด

นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรค การเมืองใหม่

งานนี้ก็ไม่มีอะไรให้ตื่นเต้น

เพราะการขับเคลื่อนของกลุ่มพันธมิตรฯย่อมเป็นที่รู้ๆกันอยู่แล้วว่า พรรคการเมืองนี้ ใครจะมาเป็นหัวหน้าพรรค

ที่สำคัญ ต้องยอมรับว่า พรรคการเมืองใหม่ กำเนิดมาจากกลุ่มพันธมิตรฯที่มีเป้าหมายโค่นล้มระบอบ "ทักษิณ"

มีการเคลื่อนไหวชุมนุมต่อต้านรัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท. ทักษิณ และรัฐบาลนอมินี อย่างต่อเนื่อง ทั้งในยุคของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์

สร้างวีรกรรมยึดทำเนียบรัฐบาล ยึดสนามบิน จนกระฉ่อนไปทั่วโลก

ขับเคลื่อนการเมืองภาคประชาชน จนประสบความสำเร็จ

แม้ในห้วงที่ผ่านมา นายสนธิและแกนนำม็อบพันธมิตรฯหลายคน ประกาศไม่อยากได้ใคร่ดี ไม่ลงเล่นการเมือง ไม่อยากได้ตำแหน่ง

แต่วันนี้ "สนธิ" โผล่มาเป็นหัวหน้าพรรคอย่างเป็นทางการแล้ว

โดยให้เหตุผลว่า การเมืองเก่าไม่สามารถนำพาประ-เทศชาติไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้ ต้องใช้แนวทางของการเมืองใหม่

ขณะเดียวกัน ก็ประกาศที่จะใช้แนวทางการขับเคลื่อนทางการเมือง ทั้งในสภาและนอกสภา คู่ขนานกันไป

พูดง่ายๆ แม้จะเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ แต่ก็ยังคงแนวทางในการเดินเกมการเมืองภาคประชาชนควบคู่ไปด้วย

เน้นย้ำแยกฝ่ายดี ฝ่ายชั่ว ชูธงต้าน "ทักษิณ" ไม่ เปลี่ยนแปลง

สำหรับนโยบายอันดับแรกของพรรคการเมืองใหม่ ภายใต้การนำของนายสนธิ ก็คือคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญทุกรูปแบบ

พร้อมทั้งประกาศจะนัดชุมนุมใหญ่กลุ่มพันธมิตรฯ ระดมพลคนเสื้อเหลืองออกมาคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญทันทีที่มีการยื่นร่างขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

ปรากฏการณ์ตรงนี้ ถือว่าเป็นมิติใหม่ของการเมือง เพราะแนวทางของพรรคการเมืองใหม่ เป็นการทำการเมือง ในสภาควบคู่ไปกับการเมืองนอกสภา

เป็นวิวัฒนาการทางการเมือง ที่คนดูยังสับสน

อย่างไรก็ตาม การยกระดับจากแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯมาเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ ถ้าใช้หลักกฎหมายมาจับ ก็จะมองเห็นความชัดเจนมากขึ้น

เมื่อตอนที่เป็นแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ ขับเคลื่อนการเมืองภาคประชาชน สามารถเคลื่อนไหวชุมนุม โดยอ้างสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ ชุมนุมโดยสงบภายใต้กรอบกฎหมาย

แต่เมื่อมาเป็นพรรคการเมือง เป็นนักการเมืองเต็มตัว นอก จากต้องปฏิบัติตัวอยู่ภายใต้กติการัฐธรรมนูญแล้ว

ยังต้องอยู่ภายใต้กฎหมายเฉพาะอีกหลายฉบับ ทั้งกฎหมาย พรรคการเมือง กฎหมายเลือกตั้ง กฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริต

ต้องถูกตรวจสอบเข้มจากองค์กรอิสระต่างๆ รวมทั้งภาคสังคม

การเคลื่อนไหวนอกกรอบ นอกกฎกติกา ไม่ใช่เรื่องง่ายอีกต่อไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งกรณีที่ พล.อ. ชวลิตเข้ามาเป็นตัวหลักนำพรรคเพื่อไทย และนายสนธิ ก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่

ต่างก็ชูว่าเป็นการเข้ามาทำการเมือง เพื่อแก้ปัญหาประเทศชาติ ทำเพื่อประชาชน แสดงความตั้งใจดีด้วยกัน ทั้งนั้น

แต่เมื่อถึงเวลาจะทำได้จริงแค่ไหน เป็นเรื่องที่ต้องรอพิสูจน์กัน

ที่แน่ๆ ณ วันนี้ สิ่งที่ต่างฝ่ายต่างสะท้อนออกมา ยังยืนอยู่คนละจุดคนละขั้ว

พล.อ.ชวลิตเรียกร้องให้อโหสิ เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งในช็อตต่อๆไปก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการนิรโทษกรรมให้ "นายใหญ่"

ส่วนท่าทีของพรรคเพื่อไทยต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น ตามแนวทางของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ เสียงค้านดังกว่าเสียงหนุน

เพราะถึงแม้นายวิทยา บุรณศิริ ส.ส.อยุธยา พรรคเพื่อไทย ประธานวิปฝ่ายค้าน จะยืนยันกับวิป 3 ฝ่ายว่า

ฝ่ายค้าน พรรคเพื่อไทย เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น แต่ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติ

แต่แกนนำพรรคเพื่อไทยส่วนใหญ่ ยังเน้นจุดยืนเดิมไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติ

แตกประเด็นไปถึงขั้นที่จะให้ทำประชามติถามประชาชนว่า ควรแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยใช้ รัฐธรรมนูญปี 2540 หรือรัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นหลัก

สอดรับกับการเคลื่อนไหวของแกนนำกลุ่ม นปช.ม็อบเสื้อแดง ที่ต้องการให้นำรัฐธรรมนูญ ปี 2540 กลับมาใช้ใหม่

เหนืออื่นใด พ.ต.ท.ทักษิณ นายใหญ่ตัวจริงเสียงจริงของพรรคเพื่อไทย ได้ส่งสัญญาณผ่านเว็บไซต์ทวิตเตอร์ดอทคอม ระบุชัด

ฝากถามรัฐบาลว่า แก้ รัฐธรรมนูญ 6 มาตรา จากฉบับปี 50 ประชาชนได้ สิทธิเสรีภาพและความเป็นธรรมเพิ่มขึ้นไหม

มีแต่ให้ประโยชน์กับนักการเมืองและพรรคการเมือง ในระบอบประชาธิปไตย การกระทำและไม่กระทำใดๆ ต้อง ยึดโยงกลับไปที่ผลประโยชน์ของประชาชน ถ้าจะใช้เงิน 2,000 ล้านบาท ทำประชามติยามนี้ ถามว่าประชาชนได้อะไร

นักการเมืองที่อ้างว่ามาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในระบอบประชาธิปไตย ยังเห็นดีงามกับรัฐธรรมนูญเผด็จการ และไม่พยายามนำฉบับประชาธิปไตยมาใช้ก็เศร้า บ้านเมืองปรองดองไม่ได้

ถอดรหัสกันตรงๆ ก็คือ

ไม่เอาด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญแค่ 6 ประเด็น ไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติ เน้นให้เอารัฐธรรมนูญปี 2540 กลับมาใช้ใหม่

ขณะที่นายสนธิ พรรคการเมืองใหม่ และกลุ่มพันธมิตรฯ เสื้อเหลือง ประกาศเจตนารมณ์ชัด ต่อต้าน "ทักษิณ" คัดค้าน แก้ไขรัฐธรรมนูญทุกรูปแบบ

เมื่อสถานการณ์การเมืองเดินมาถึงจุดนี้ ก็ไม่ต่างอะไร กับการเปลี่ยนฉาก เปลี่ยนหน้าเล่น

แต่เนื้อเรื่องและเนื้อหาของความขัดแย้งที่เกิดจากวิกฤติ "ทักษิณ" จนลุกลามกลายเป็นวิกฤติของชาติมากว่า 3 ปี ยังเหมือนเดิม

ที่แน่ๆ ยิ่งเปลี่ยนฉาก เปลี่ยนตัวเล่น สถานการณ์ยิ่งร้อนแรง

เพราะเมื่อมองไปบนกระดานการเมืองเวลานี้ มีแต่ ตัวเร่งที่จะทำให้เกิดการปะทะ

ซึ่งจะเป็นการปะทะกันทั้งในสภาและนอกสภา โดยมีปมจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นตัวจุดชนวน

ถ้าความขัดแย้งหลายปัจจัยที่เพาะบ่ม อั้นกันไว้นาน ถึงจุดปะทุจนเกิดการปะทะรอบใหม่

รัฐไทยอันตรายแน่.

"ทีมการเมือง"