ที่มา ประชาไท ศอฉ.โผล่ทีวีอีกครั้ง หลังหายไปนาน ใช้เพลงของ "เคนนี จี" ก่อนเข้ารายการเช่นเคย พร้อมแถลงห้ามใช้เส้นทางคมนาคม ยานพาหนะใกล้ทำเนียบ ห้ามกลุ่มบุคคลที่มีพฤติการณ์ปลุกระดม ยุยง ปลุกปั่น เข้าใกล้ทำเนียบ ลั่นฝ่าฝืนปรับสี่หมื่น คุกสองปี เมื่อเวลา 20.15 น. ของวันนี้ (6 ส.ค.) ศูนย์อำนาจการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้ประกาศผ่านทางสถานีโทรทัศน์ โดยมีการอ่านแถลงการณ์ 2 ฉบับ ฉบับแรกห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ ฉบับต่อมาห้ามใช้อาคาร หรือ เข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใด ๆ ทั้งนี้นับเป็นการแถลงทางโทรทัศน์ครั้งแรก นับตั้งแต่หลังการสลายการชุมนุมช่วงเดือนพฤษภาคม เป็นต้นมา ทั้งนี้ การแถลงของ ศอฉ. วันนี้ ถือเป็นการแถลงก่อนที่จะมีการนัดชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและเครือข่ายในวันพรุ่งนี้ (7 ส.ค.) ส่วนรูปแบบการแถลงทางโทรทัศน์นั้น ศอฉ. ยังคงใช้ไตเติลก่อนเข้ารายการแบบเดียวกับที่ใช้ในช่วงการชุมนุมเมื่อเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2553 และเปิดเพลงบรรเลงก่อนเข้ารายการเพลงเดิม คือเพลง Silhouette ของเคนนี จี สำหรับแถลงการณ์ของ ศอฉ. มีรายละเอียดดังนี้ 000 ประกาศ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร จ.นนทบุรี จ.สมุทรปราการ จ.ปทุมธานี จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.ขอนแก่น จ.อุดรธานี จ.อุบลราชธานี และ จ.นครราชสีมา แล้วนั้น เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็ว และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องควบคุม การใช้เส้นทางคมนาคม หรือการใช้ยานพาหนะ อาศัยอำนาจตามข้อ 3 แห่งข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงออกประกาศกำหนดดังนี้ ข้อ 1. ห้ามการใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะใด ๆ เข้าหรือออกในเส้นทางที่กำหนด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ในเส้นทางต่อไปนี้ ก.ถนนพิษณุโลก ตั้งแต่ สะพานชมัยมรุเชษฐ์ ถึงแยกสวนมิสกวัน ข้อ 2. ผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามตามประกาศนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ข้อ 3.ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ชั้นสัญญาบัตร หรือเทียบเท่าเป็นผู้ดำเนินการตามประกาศนี้ ข้อ 4.ประกาศกำหนดนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2553 เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป ประกาศวันที่ 6 สิงหาคม 2553 000 ประกาศ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในเขตท้องที่ กรุงเทพมหานคร จ.นนทบุรี จ.สมุทรปราการ จ.ปทุมธานี จ.เชียงใหม่ จ.เชียงราย จ.ขอนแก่น จ.อุดรธานี จ.อุบลราชธานี และ จ.นครราชสีมา แล้วนั้น เนื่องจากมีความจำเป็นต้องกำหนดการห้ามใช้อาคาร หรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินให้ยุติได้โดยเร็ว และป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ร้ายแรงมากขึ้น อาศัยอำนาจตามข้อ 4 แห่งข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ค.2548 ห้วหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน จึงออกประกาศกำหนดดังนี้ ข้อ 1.ห้ามบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใด ที่มีพฤติการณ์ในการปลุกระดม ยุยง ปลุกปั่น สร้างสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความรุนแรง หรือ เป็นอันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนและความมั่นคงของรัฐ หรือกระทำการอื่นใดอันอาจก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย หรือทำลายหรือทำความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ ใช้อาคารหรือเข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใด ๆ หรือห้ามเข้าไปในบริเวณพื้นที่โดยรอบ และอาคารทำเนียบรัฐบาล เว้นแต่เป็นบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ข้อ 2.ผู้ใดฝ่าฝืนข้อห้ามตามประกาศนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือ ปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้ตามที่บทบัญญัติไว้ในมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ข้อ 3.ให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมายซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ชั้นสัญญาบัตร หรือเทียบเท่าเป็นผู้ดำเนินการตามประกาศนี้ ข้อ 4.ประกาศกำหนดนี้ให้ใช้บังคับ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ประกาศวันที่ 6 สิงหาคม 2553
เรื่อง ห้ามใช้เส้นทางคมนาคมหรือการใช้ยานพาหนะ
ข.ถนนราชดำเนินนอก คู่ขนานด้านใน ตั้งแต่ แยกสวมิสกวัน ถึงแยกสะพานมัฆวานรังสรรค์
ค.ถนนลูกหลวง ตั้งแต่ แยกสะพานมัฆวานรังสรรค์ ถึงแยกเทวกรรมรังรักษ์
ง.ถนนนครปฐม ตั้งแต่ แยกเทวกรรมรังรักษ์ ถึง สะพานชมัยมรุเชษฐ์
(ลงชื่อ) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
เรื่อง ห้ามใช้อาคาร หรือ เข้าไป หรืออยู่ในสถานที่ใดๆ หรือห้ามเข้าไปในพื้นที่ใดๆ
(ลงชื่อ) พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา
หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน