WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, March 11, 2008

วิสัยทัศน์ แคนดิเดต ปธ.สภาสูง

หมายเหตุ - การประชุมวุฒิสภานัดแรกวันที่ 14 มีนาคม มีวาระสำคัญคือการเลือกประธานวุฒิสภาและรองประธานวุฒิสภา โดยผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจะต้องแสดงวิสัยทัศน์ "มติชน" ได้สอบถามวิสัยทัศน์ของผู้ที่คาดว่าจะได้เสนอชื่อประธานวุฒิสภาตามที่ปรากฏในข่าว ดังนี้

นายประสพสุข บุญเดช

ส.ว.สรรหา


"การบริหารองค์กรภายใต้การนำของผม จะทำให้วุฒิสภาเข้าใจในภาระหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ 2550 บัญญัติ คือ การตรวจสอบ และพิจารณากฎหมาย ยึดความโปร่งใสและเป็นกลาง ต้องทำงานด้วยความยุติธรรมอย่างเคร่งครัด ไม่มีอคติ ต้องเป็นผู้นำทำให้วุฒิสภามีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ซึ่งหากประธานวุฒิสภายึดมั่นหลักการดังกล่าวแล้ว สมาชิกคนอื่นก็จะสั่นคลอนยากหากโดนฝ่ายการเมืองแทรกแซง

ทั้งนี้ จะประสาน ส.ว.ทุกฝ่าย โดยเน้นทำความเข้าใจกัน และเชื่อมั่นในสมาชิกทุกคนว่ามีจริยธรรมคุณธรรมอยู่แล้ว จึงไม่เคร่งครัดแบบครูกับนักเรียน และเท่าที่ดู วุฒิสภาชุดนี้ไม่ได้อิงฝ่ายใดชัดเจน รัฐธรรมนูญก็วางกฎกติกาในการเข้ามาไว้ค่อนข้างดี ส่วน ส.ว.เลือกตั้งก็เป็นผู้ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานจนประชาชนไว้วางใจ องค์ประกอบของ ส.ว.ที่ออกแบบไว้ว่ามาจาก 2 ระบบ น่าจะทำงานร่วมกันได้

ผมจะยึดการทำงานเป็นทีม ทำอะไรจะปรึกษารองประธานทั้ง 2 คน และประธาน กมธ.ทุกคณะ พร้อมเชิญตัวแทน ส.ว.สตรีที่จะประชุมกันวันที่ 11 มีนาคม มาเป็นทีมรองประธานด้วย เพื่อองค์กรจะได้ก้าวไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ใช่ทุบโต๊ะแล้วยึดตามความคิดของตนเอง


ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะประเด็นที่มา ส.ว. รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ออกแบบไว้เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องจากรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 และประชาชนก็ผ่านประชามติฉบับนี้ ดังนั้น แม้วิจารณ์ว่าบกพร่องก็เป็นเรื่องที่คิดกัน แต่น่าจะลองปฏิบัติดูก่อนอย่างน้อยสัก 1 ปี"

นายทวีศักดิ์ คิดบรรจง

ส.ว.บุรีรัมย์


"หากผมได้รับการเลือกเป็นประธานสภา ประการแรก จะต้องนำองค์กรนี้ให้มีความสง่างาม และปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ ประการสอง การประสานงานจะต้องประสานงานได้กับองค์กรอื่น ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ส.ส. และทางรัฐบาล ซึ่งสามารถที่จะประสานงานกันได้เป็นอย่างดี เพื่อให้การดำเนินงานของวุฒิสภาเกิดประสิทธิภาพ

ส่วนเรื่องที่มาของ ส.ว.ที่มีความแตกต่างกันนั้น เราจะต้องทำความเข้าใจซึ่งกันและกันกับ ส.ว.ทุกคน ซึ่งเมื่อถึงเวลาทำงานเราจะไม่แบ่งแยกได้ ถ้าทะเลาะกันภาพของวุฒิสภาก็จะไม่สง่างาม และทำให้งานเดินต่อไปไม่ได้ ต้องใช้ความสมานฉันท์ ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว. นั้น ประเด็นนี้จะต้องพิจารณาร่วมกัน และพูดคุยทั้ง ส.ส. และ ส.ว.สำหรับความเป็นกลางต้องตีกรอบว่าสามารถแยกแยะระหว่างงานในหน้าที่ปฏิบัติ กับความสัมพันธ์ส่วนตัวออกจากกัน"

พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์

ส.ว.สุราษฎร์ธานี


"สิ่งสำคัญที่ผมจะต้องทำคือ การรักษาความเป็นกลางของวุฒิสภา เนื่องจากภายใต้บริบทการเมืองเช่นนี้ ประชาชนจะมีความคาดหวังกับวุฒิสภามาก การวิพากษ์ วิจารณ์การทำงานของวุฒิสภาที่แล้วมาก็ได้มีบทเรียนสำคัญที่ทำให้วุฒิสภาชุดใหม่นี้ต้องทำงานหนัก เพื่อยกระดับความเข้าใจอันดีของประชาชนในหน้าที่ของ ส.ว.อย่างเป็นธรรม

และเนื่องจากเป็นอดีตผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 4 มาก่อน จึงรู้งานด้านกฎหมาย อีกทั้งยังเคยเป็นอดีต ส.ว.ด้วย การทำงานโดยไม่ให้การเมืองเข้าแทรกซึมนั้น ไม่น่าวิตกหากมีการทำงานอย่างตรงไปตรงมา ส่วนเรื่องที่จะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาของ ส.ว.ที่ต่างกันนั้น ยังไม่ชัดเจน และต้องศึกษาพูดคุยรายละเอียดกันว่าแก้ไขอย่างไรให้รอบคอบมากที่สุด"

พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช

ส.ว.สรรหา


"หากได้รับเลือกเป็นประธานวุฒิสภา จะอาศัยจุดเด่นที่เป็นคนประสานงานเก่ง และรอมชอมในการบริหารจัดการ จะให้เกียรติสมาชิก และต้องฟังเสียงส่วนน้อยให้มากที่สุด แต่ถ้าจำเป็นต้องลงมติก็ต้องลงมติเพื่อหาข้อยุติ ส.ว.149 คน ประธานต้องให้สมาชิกแสดงความคิดเห็น และเป็นกลางในการบริหาร ความเป็นผู้นำและเป็นที่ยอมรับจะช่วยในจุดนี้ คิดว่าไม่ยากในการบริหารองค์กรวุฒิสภา เพราะทหารเป็นกองทัพยังบริหารได้ดี

ส่วนการป้องกันการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองคิดว่าไม่ยาก เพราะ ส.ว.ครั้งนี้ต่างกับ ส.ว.ชุดที่แล้ว เมื่อศึกษาดูพบว่า การแทรกแซงต่างๆ เช่น การเลือกองค์กรอิสระ มาจากความต้องการให้คนที่ตนเองชอบได้รับเลือก แต่รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้วุฒิสภาเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ ไม่ได้ให้เลือก หากกรรมการสรรหายืนยันว่าจะเอาบุคคลนั้น วุฒิสภาก็ทำอะไรไม่ได้ คืออำนาจวุฒิสภาลดลง การแทรกแซงของฝ่ายการเมืองก็ลดลงด้วย ส่วนเรื่องอำนาจการถอดถอน วุฒิสภาเป็นเพียงผู้ตัดสิน ป.ป.ช.จะเป็นพนักงานสืบสวน รัฐธรรมนูญนี้ดีในแง่การออกแบบให้ป้องกันการบล็อคโหวตในสภา และลดการยุ่งเกี่ยวของฝ่ายการเมืองกับวุฒิสภาลงไป ส่วนจุดอ่อนเรื่องการได้มาซึ่ง ส.ว. ผมคล้อยไปในแนวโน้มให้เลือกตั้งทั้งหมด แต่ไม่ได้หมายความว่า ส.ว.สรรหา 74 คนที่เข้ามาตอนนี้ไม่ดี แต่ควรลองระบบนี้ก่อน 1 ปี แล้วค่อยเปรียบเทียบว่า ระบบ ส.ว.ไทยควรจะเป็นแบบใด ไม่ใช่เข้ามาแล้วจะมาแก้รัฐธรรมนูญกันเลย"