ความจริงวันนี้
รายการ “ความจริงวันนี้” ซึ่งมีขึ้นเป็นวันที่สองทางสถานีโทรทัศน์ NBT ในคืนวันที่ 22 กรกฎาคม ยังคงมากมายด้วยประเด็นข่าวที่อยู่ในกระแสสนใจ โดยมีนายวีระ มุสิกพงษ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ และแขกรับเชิญ ยังคงเป็น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายจตุพร พรหมพันธ์
วีระ - หลังจากที่ได้ตั้งคำถามเพื่อเค้นเอาความจริงตั้งแต่เมื่อวานนี้และจะตามต่อเนื่องกันในวันนี้ ซึ่งหลังจากที่คณะกรรมการป.ป.ช.ท่านได้ชักแถวกันออกมานั่งแถลงกันอย่างเป็นทางการถึงคำพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งเรื่องคำสั่งในประกาศของคณะปฏิวัติ โดยหลักใหญ่ก็อยู่ตรงนี้ แต่ว่าที่พวกเราสงสัยก็คือ ประกาศ คปค.ที่เกิดขึ้นมานั้นเราไม่ได้ว่าอะไร เพราะว่าฉีกรัฐธรรมนูญไปแล้ว แต่ว่าต้องเน้นเรื่องเมื่อกฎหมายป.ป.ช.และกฎหมายเงินเดือนซึ่งไม่ได้ถูกยกเลิก และกฎหมายทั้ง 2 ฉบับระบุไว้อย่างชัดเจนว่าตำแหน่งที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งอยู่นั้น ให้นับวันเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ได้รับพระราชกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง และการรับเงินเดือนก็ต้องนับตั้งแต่วันที่มีการโปรดเกล้าฯด้วยเช่นกัน
แต่ในเมื่อไม่ได้มีการพิจารณาโปรดเกล้าฯพวกท่านจะสามารถรับเงินได้อย่างไร และจะปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างไร ซึ่งจากที่ได้มีการย้อนกลับมาดูนั้น ในวันที่มีการยึดอำนาจกันนั้นหัวหน้าคณะยึดอำนาจถือเป็นองค์ “รัฐาธิปัตย์” สั่งอะไรก็ได้ทำอะไรก็ได้ แต่ผมอยากจะบอกว่าการยึดอำนาจการปกครองในครั้งนั้น มีการยึดเพื่อแค่ระดับรัฐบาลลงมาเท่านั้นสภาฯที่ยึดไปและจากนั้นก็ระดับต่ำลงมา แต่อยากจะถามว่าคุณได้ยึดขึ้นไปถึงระดับพระราชอำนาจเลยนั้นหรือ ซึ่งออกมาชี้แจงกันอย่างนี้ และตอนนี้ก็ถึงเวลาอธิบายตรงนี้จึงอยากจึงขอรบกวนคุณณัฐวุฒิช่วยตอบหน่อย
ณัฐวุฒิ - ผมคิดว่ากรณีที่ท่านกรรมการป.ป.ช.ออกมาตั้งทีมแถลงข่าวกันนี้ สาเหตุหนึ่งคิดว่ามีการพูดถึงจากฯพณฯท่านนายกรัฐมนตรีและอีกหลายฝ่าย ปรากฏว่าความจริงทุกวันที่พูดกันป.ป.ช.ได้เอามา กล่าวอ้างว่าเป็นความชอบธรรมแล้วที่ได้มาจากการแต่งตั้งด้วยลายเซ็นของท่านพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะหัวหน้าคณะยึดอำนาจเมื่อพูดอย่างนี้ ผมก็มีความจำเป็นที่ต้องพูดกันถึงความจริงซึ่งเป็นความจริงตลอดการณ์ตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีองค์พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศไทย
นั้นก็คือว่า ไม่มีข้าราชการระดับสูงคนไหน ที่จะสามารถดำรงตำแหน่งและสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยไม่ได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง โดยทั่วไปข้าราชการระดับสูงถึงแม้จะผ่านความเห็นผ่านมติคณะรัฐมนตรีให้ดำรงนั้นหรืออันนี้ก็ตาม ถ้าหากว่ายังไม่ได้รับพิจารณาโปรดเกล้าฯ ก็ยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่มิได้ เมื่อปฏิบัติหน้าที่มิได้นั้นหมายถึงจะรับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งค่าตอบแทนใด ๆ มิได้เช่นเดียวกัน แต่วันนี้ผมจำเป็นต้องพูดอย่างนี้ครับว่า ข้าราชการระดับสูงของประเทศไทยทั้งแผ่นดินอยู่ภายใต้หลักการนี้ แต่ว่าขณะนี้มีบุคคลเพียง 14 คนเท่านั้นที่นอกเหนือหลักการดังกล่าวนั้นคือ ป.ป.ช. 9 คนและกกต.อีก 5 คน หมายความว่า 2 องค์กรนี้ 2 กลุ่ม 14 คนเข้าสู่ตำแหน่งรับเงินเดือน ค่าสวัสดิการต่าง ๆ โดยไม่มีการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง
ซึ่งประเด็นก็คือว่า การกล่าวอ้างของป.ป.ช.นอกเหนือจาการกล่าวอ้างในอำนาจ รัฐาธิปัตย์ ของพล.อ.สนธิ ซึ่งเราได้แสดงความเห็นไว้อย่างหลายแง่มุมนั้นแล้วเมื่อคืนที่ผ่านมา ยังมีการกล่าวอ้างของป.ป.ช.ถึงเรื่องสำนักงานป.ป.ช.ได้มีหนังสือสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อขอให้มีการกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งคณะกรรมการป.ป.ช. หลังจากนั้นสำนักงานเลขาธิการฯได้มีหนังสือตอบทางป.ป.ช.ว่า “คณะกรรมการป.ป.ช.ตามประกาศ คปค.ฉบับที่ 19 นั้นได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้นแล้วย่อมถือว่ามีผลสมบูรณ์ บังคับใช้ได้ตามกฎหมายเนื่องจากขณะนั้น คปค.มีฐานะเป็นรัฐาธิปัตย์ มีอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว
ผมเรียนอย่างนี้ท่านผู้ชมว่าป.ป.ช.อ้างเหตุผลนี้โดยอ้างเอาหนังสือฉบับหนึ่งซึ่งเป็นหนังสือที่ลงนามโดย คุณรองพล เจริญพันธุ์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีทำตอบป.ป.ช.ตามประเด็นที่กล่าวไปเมื่อซักครู่นี้
ผมก็ไปตามเนื้อความในหนังสือฉบับนี้ซึ่งรายละเอียดคงไม่ต้องพูดกัน แต่ว่าผมไปสะดุดอยู่ท่อนหนึ่งว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้สำนักราชเลขาธิการกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมต่อไปแล้ว บัดนี้ ได้รับแจ้งความเห็นว่าคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้มีประกาศฉบับที่ 19 แต่งตั้งก็ว่าความอธิบายกันไปเหมือนที่ได้พูดไปแล้ว ประเด็นก็คือว่า เลขาธิการคณะรัฐมนตรีอ้างถึงการได้รับแจ้งความเห็น คำถามก็คือ ได้รับแจ้งความเห็นของใคร? และคำถามต่อไปก็คือว่า สำนักราชเลขาธิการได้แจ้งความเห็นให้กับสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีในลักษณะใด? ซึ่งหนังสือฉบับนั้นเราก็ยังไม่เห็นนะครับ
วีระ - อืม...จะเป็นการแจ้งด้วยวาจาหรือจะเป็นหนังสือและถ้าแจ้งเป็นหนังสือถ้อยคำเต็ม ๆ เป็นอย่างไร? ซึ่งก็ยังไม่ได้เห็นซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญอย่างมาก
ณัฐวุฒิ - ประเด็นก็คือว่า การแสดงความเห็นดังกล่าวเป็นความเห็นของใครและความเห็นเห็นของบุคคลผู้นั้นมีผลให้เป็นกฎหมายหรือไม่?และมีผลให้พระราชอำนาจแห่งองค์พระมหากษัตริย์มีผลในการปฏิบัติในการแต่งตั้งกลุ่มบุคคลที่เรียกตนเองว่า ป.ป.ช.ในการดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่หรือไม่?
จตุพร - ก่อนจะถึงหนังสือทั้ง 2 ฉบับที่คุณณัฐวุฒิได้พูดเอาไว้นั้น ป.ป.ช.เองได้เปิดหนังสือฉบับที่ 3 ซึ่งเป็นหนังสือฉบับแรกคือ หนังสือที่สำนักเลขาธิการ คปค. ลงวันที่ 30 กันยายน ปีพ.ศ.2549 สรุปความว่า ให้ป.ป.ช.นำความกราบบังคมทูลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งป.ป.ช.ให้มีผลในการดำรงตำแหน่งเมื่อมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามารับหน้าที่แล้ว ควรให้สำนักเลขาธิการรัฐมนตรีเป็นคนเสนอ นั้นหมายความว่า ทางป.ป.ช.ก็รู้มาตั้งแต่ต้นจะต้องพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งก่อน
ผมมีองค์กรเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนก็คือว่า ศาลรัฐธรรมนูญที่ถูกคำสั้งของ คปค.ให้ยุบหลังจากมีการยึดอำนาจและได้มีคำสั่งแต่งตั้งตุลาการรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่หนึ่งชุดโดยไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พี่น้องประชนคนไทยคงจะจำกันได้ว่า วันที่ตุลาการรัฐธรรมนูญชุดนั้น พิพากษายุบพรรคไทยรักไทยเห็นได้ชัดว่าองคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯจากองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯนั้น ไม่มีสิทธิ์ใสเสื้อครุยซึ่งเป็นสัญลักษณ์ในการโปรดเกล้าฯในการพิพากษาในคดีนั้นซึ่งจะเห็นได้ชัดเจน
วีระ - และจะไม่มีสิทธิ์ใช้คำว่าได้ตัดสินไปในพระปรมาภิไธยขององค์พระมหากษัตริย์
จตุพร - นี้ชัดเจนว่าเป็นองค์กรที่ไม่การโปรดเกล้าฯ ต่อมานั้น ได้มีการพยายามกล่าวอ้าง คตส.ซึ่งจะมีสถานะที่แตกต่างไปจาก ป.ป.ช และ กกต. นั้นคือคตส.เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นมาใหม่จากประกาศ คปค. ซึ่งไม่มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเหมือนกับป.ป.ช.และกกต.เพราะฉนั้นจึงเป็นเป็นอำนาจขององค์รัฐาธิปัตย์ที่นำมากล่าวอ้างได้ แต่จะนำมาใช้กับป.ป.ช.และกกต.ไม่ได้
เพราะฉะนั้นต่อให้ทางป.ป.ช.ชี้แจงเป็นข้ออย่างไร สุดท้ายก็ยังคงไม่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ การนำข้อรัฐธรรมนูญ มาตรา 299 มากล่าวอ้างนั้น ได้บัญญัติให้คระกรรมการป.ป.ช.ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ยังคงตำแหน่งอยู่ต่อไปจนสิ้นสุดวาระ โดยให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถอ้างมาตรา 299 ได้เลยเพราะต้องนับตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เพราะฉะนั้นป.ป.ช.ชุดนี้ไม่มีการแต่งตั้ง จึงไม่ได้เป็น ป.ป.ช.มาตั้งแต่ต้น
วีระ - เอาละประเด็นข้อกฎหมายเก็บไว้ก่อน ซึ่งมันยังไม่จบหรอก แต่อยากจะให้เก็บไว้ก่อน
ณัฐวุฒิ - ป.ป.ช.คนหนึ่งนั้นคือ นายวิชา มหาคุณ ได้แถลงร่วมกับคณะว่าการที่มีข้อสังเกตว่าป.ป.ช.ชุดนี้ไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯนั้น ซึ่งการได้รับการโปรดเกล้าฯไม่ได้เป็นเครื่องยืนว่า ป.ป.ช.คนนั้น จะมีความสื่อสัตย์ตามที่ได้ปฏิญาณตนไว้ เรื่องนี้ไม่ได้ยื่นยันว่าการเข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณแล้วจะไม่ตระบัดสัตย์ เพราะที่ผ่านมาการตรวจสอบของป.ป.ช.มีรัฐมนตรีหลายคนที่ถูกชี้มูลความผิดหรือติดคุกอยู่ก็มี คุณวิชากล่าวอย่างนี้
คุณวิชาครับ ด้วยความเคารพนะครับ ผมในฐานะผู้เยาว์แต่เรื่องหลักการคงแบ่งเป็นผู้เยาว์ผู้ใหญ่กันไม่ได้หละการต้องเป็นหลักการ ซึ่งคุณวิชาพูดอย่างนี้ จะให้เข้าใจว่าอย่างไร? จะให้เข้าใจว่าคุณวิชาคิดเอาเองว่า การได้รับพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นเครื่องยืนยันความซื่อสัตย์สุจริตหรืออย่างไร?
ซึ่งจริงไม่ใช่นะครับ การซื่อสัตย์สุจริตของแต่ละบุคคลนั้นมันเป็นเรื่องของตัวบุคคลจะต้องรู้ว่าตัวเองมีความสง่างามมีความชอบธรรมเพียงที่จะดำรงตำแหน่งนั้น
วีระ - คนไม่ซื่อก็ไม่ซื่อ เป็นเรื่องของบุคคล
จตุพร - แต่การทรงพระราชกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นเรื่องพระราชอำนาจและเป็นบทบัญญัติของกฎหมาย ตราบใดที่บทบัญญัติของกฎหมายยังไม่ถูกยกเลิกนั้น คุณทำการตำสนุกไม่ได้ คือคุณวิชา กำลังใช้ทฤษฎีโต้วาที ซึ่งความจริงแล้วมันสะท้อนถึงวุฒิภาวะของคุณวิชาได้เป็นอย่างดี การมาหักล้างประเด็นที่ไม่ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งนั้น มาหักล้างว่า คนที่ผ่านพระบรมราชโองการผ่านการถวายสัตย์ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นคนสุจริต เพราะฉะนั้นประเด็นนี้มันนำมาหักล้างไม่ได้เลย เพราะว่าตำแหน่งของตำแหน่งของคุณจะต้องมาจาการโปรดเกล้าฯถึงจะสามารถดำรงตำแหน่งได้ แต่คุณใช้วิธีตอบแบบนี้เพื่อต้องการจะหักล้างประเด็นการโปรดเกล้าฯ
ผมจึงบอกว่า วุฒิภาวะอย่างคุณที่นำมาหักล้างนั้นมันไม่เหมาะสม
ณัฐวุฒิ - ผมจะตั้งคำถามไปยังคุณวิชา มหาคุณต่อ เพราะผมยืนยันว่าเรื่องพระราชอำนาจนั้นเป็นเรื่องที่ใครจะล่วงละเมิดอำนาจมิได้ ประเด็นก็คือเมื่อคุณวิชา กล่าวอ้างเช่นนี้ ผมจึงตั้งคำถามว่าก็แล้วพล.อ.สนธิ ที่คุณวิชา อ้างว่าเป็น รัฐาธิปัตย์ ลงนามแต่งตั้งนั้น เป็นคนวื่อสัตย์สุจริตมากน้อยเพียงใด ที่คุณวิชา เอามากล่าวอ้างว่า ลายเซ็นของพล.อ.สนธินั้นสามารถทำให้ตนเองสามารถดำรงตำแหน่งได้ถึง 9 ปี กินเงินเดือนประจำตำแหน่งได้ทุกอย่าง
วีระ - เอาละตั้งคำถามค้างไว้แค่นี้ก่อน เมื่อวานนี้เรื่องนี้เราได้พูดกันยาวนานพอสมควร และเราเชื่อว่าประเด็นมันไม่จบในวันนี้อย่างแน่นอน เราเว้นไปเรื่องหน้าก่อน แต่ไม่ได้หมายความว่าเลิกไปเท่านี้ แต่ให้แขวนไว้ก่อน ที่นี้แขวนแล้วเป็นไง แขวนก็จะบอกต่อไปว่า เราจะบอกว่ามีอำนาจหรือไม่มีอำนาจสุดแล้วแต่เถอะท่านก็แถลงเสร็จท่านก็ใช้อำนาจจัดตั้งคณะกรรมการของเค้าเหมือนกันจะได้สอบสวนกรณีที่มีคนร้องเรื่องคณะรัฐมนตรีไปสนับสนุนให้กระทรวงการต่างประเทศเซ็นแถลงการณ์ร่วม แล้วเค้าก็ดำนเนินการกันจนกระทั้งรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศต้องลาออกไปคนหนึ่งแล้ว แต่เรื่องไม่จบสมาชิกสภาฯก็ยังชวนกันมาร้องเรื่องนี้เป็นประเด็นที่ต้องพูดกันต่อไป เพราะนี้คืออนาคตของคณะรัฐมนตรี
จตุพร***คณะกรรมการของป.ป.ช.ได้มีมติตั้งคณะกรรมการไต่สวนนายสมัคร สุนทรเวชนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ทั้งชุดตามที่ปรากฏเป็นข่าว ประเด็นก็คือมันมีเรื่องทั้งหมด 7 เรื่อง พวกเราเองเคยตั้งข้อสังเกตว่า การยื่นเรื่องให้ดำเนินคดีสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯได้ซ่อนเงื่อนไว้พอสมควร หนังสือฉบับลงวันที่ 14 กรกฎาคม ให้ดำเนินคดีกับคณะรัฐมนตรีทั้งคณะเรียงลำดับที่ 1 คือนายนพดล ปัทมะ ลำดับที่ 2 คือนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรีและร่วมกระทั้งว่า ข้าราชกระทรวงการต่างประเทศและพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปมประเด็นที่ซ่อนเงื่อนก็คือ พันธมิตรฯที่ได้ยื่นหนังสือต่อป.ป.ช.นั้นรู้อยู่ว่าถ้า ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดนายกรัฐมนตรีคณะรัฐมนตรีจะต้องยุติบทบาทการทำหน้าโดยทันที
แต่พันธมิตรฯเว้นไว้คนหนึ่ง ซึ่งผมเชื่อว่าคนที่ถูกเว้นชื่อนั้นก็คงจะไม่รู้เช่นกัน นี้เชื่อกันโดยสุจริตเลย มีลำดับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีอยู่ครบถ้วนตามหนังสื่อของพันธมิตรฯที่ยื่นให้ ป.ป.ช.ที่มีมติให้ตั้งคณะกรรมการไต่สวนในวันนี้ ซึ่งเค้าเว้นรองนายกฯรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไว้คนเดียว แต่ว่าผมเชื่อว่าจะโดยการจงใจหรืออะไรก็แล้วแต่ แต่รัฐมนตรีในโควตาพรรคเพื่อแผ่นดิน 2 คน ก็ยังอยู่ครบ แต่ว่าเกมส์วิธีการอย่างนี้อย่างจะตั้งคำถามว่าคิดอะไรกันอยู่
เพราะฉะนั้นขณะนี้ สาเหตุที่ ป.ป.ช.ตั้งคณะกรรมการไต่สวน ก็คือว่ามันมี ที่มาจาการตีความของรัฐธรรมนูญกรณีมาตรา 190 สืบเนื่องจากปราสาทพระวิหารนั้นเอง
วีระ***กรณีที่ไปเซ็นแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา เพื่อจะเอาแถลงการณ์ร่วมไปใช้งาน แต่เกิดมีส.ส.ร้องขึ้นว่าขัดรัฐธรรมนูญ ไปศาลปกครองเพื่อให้คุ้มครองฉุกเฉิน ห้ามใช้จากนั้นก็ต่อความยาวจนมาถึงเรื่องถึงแม้ว่าจะไม่ใช้ แต่ก็เป็นความผิดที่ร่วมกันลงมติว่า ให้กระทรวงการต่างประเทศไปเซ็นแถลงการณ์ร่วมได้
ณัฐวุฒิ***ผลพ่วงที่ป.ป.ช.ได้มีมติตั้งคณะกรรมการไต่สวนนั้นเป็นผลมาจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในมาตรา 190 ระบุถ้อยคำในวรรค(2)ว่า หนังสือสัญญาใดมีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิ์อธิปไตยปรากฏว่า ศาลรัฐธรรมนูญ
โดยนักวิชาการและอีหลายคนนั้นได้ตั้งข้อสังเกตมาตั้งแต่ต้นว่า ถ้อยคำที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญว่า “หนังสือสัญญาใด มีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย” ว่าในคำวินิจฉัยได้เติมว่า “อาจจะ” มีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยซึ่งมันคนละเรื่องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
แต่ว่าขณะนี้มันมีปัญหาก็คือว่า ได้มีการพูดเรื่องนี้ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการบังคับใช้เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญในมาตรา 190 ในวรรคต่อมาก็คือว่า ในมาตรา 190 นั้นมีถ้อยคำดังนี้ก็คือว่า หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขว้าง หรือมีผลผูกพันทางการค้าการลงทุนหรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาในการนี้รัฐสภาต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วันตั้งแต่ได้รับเรื่องดังกล่าว
ซึ่งผมเองก็ได้หยิบยกกรณีตัวอย่าง ของมติคณะรัฐมนตรีสมันพล.อ.สุรยุทธ์ จุฬานนท์ ซึ่งได้ใช้รัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว ซึ่งรัฐธรรมนูญได้ใช้มาตั้งวันที่ 23 สิหาคม พ.ศ.2550 มติของรัฐมนตรีที่ว่านั้นคือ มติเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2551 ช่วงรอยต่อของรัฐบาล ผมขอเรียนกับพี่น้องประชาชนว่า ประเด็นนี้ผมมีความรักชาติบ้านเมือง แต่ประเด็นจะเป็นปัญหาในอนาคตในเรื่องของความมั่นคงเพราะรับธรรมนูญ มาตรา 190 บัญญัติไว้ครอบจักรวาลแบบนี้ มติคณะรัฐมนตรีในวันที่ 8 มกราคมนั้นนะครับ ได้ให้ความเห็นชอบกระทรวงกลาโหมโดยกองทัพอากาศดำเนินการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ “กริฟเพน” 39 CD จำนวน 6 ลำ อุปกรณ์พร้อมอะไหล่การฝึกอบรมการปรับปรุงอาคารสถานที่และการการบริหารโครงการ เป็นเงิน 19,000 ล้านบาท โดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล(จีทูจี) ระหว่างรัฐบาลไทย-สวีเดน และให้ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้รับมอบอำนาจลงนามการซื้อขายเครื่องในนามรัฐบาลไทย ร่วมทั้งการแก้ไขข้อตกลงการซื้อขายเครื่องบิน
สำหรับโครงการดังกล่าวนะครับ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้กองทัพกองทัพอากาศก่อหนี้ผูกพัน ข้ามงบประมาณ โครงการจัดหาเครื่องบินเอนกประสงค์แทนที่เครื่องบินขับไล่นะครับ โดยระยะที่ 1 ระหว่างปี 2551-2555 เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 ซึ่งงบผูกพันใช้ ตั้งแต่ปี 51-55 โดยใช้งบ 19,000 ล้านบาท ลองย้อนขึ้นไปดูมาตราเมื่อซักครู่สิครับ
วีระ***ผมย้ำให้ มาตรา 190 หนังสือสัญญาใดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขว้างหรือมีผลผูกพันทางการค้าการลงทุนหรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา นี้ผมเว้นเรื่องเสียดินแดนแล้วนะ คงยังไม่พูดเรื่องเสียดินแดน พอมาถึงตรงนี้ท่านผู้ชมก็จะเห็นชัดเลยว่า หนังสือสัญญาซื้อเครื่องบินที่คณะรัฐมนตรีชุดก่อนได้ทำกันเอาไว้ต้องนำไปตีความว่า มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขว้างหรือไม่ หรือมีผลผูกพันทางการค้าการลงทุนหรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญหรือไม่ ซึ่งทั้งหมดนี้คือคำถาม? แล้วก็เป็นปัญหา
ที่นี้ในที่ประชุมคณะกรรมาธิการชุดที่ คุณจตุพรเป็นกรรมาธิการอยู่ ว่าอย่างไรบ้าง?
จตุพร***เพราะว่ามันระบุชัดเจนว่ามีผลผูกพันทางการค้าการลงทุนของประเทศอย่างมี นัยยะสำคัญ ปรากฏว่า นายสามารถ แก้วมีชัย ซึ่งเป็นประธานวิปรัฐบาล เข้าประชุมกรรมาธิการชุดนี้ในฐานะกรรมาธิการ เสนอในที่ประชุมมีความเห็นเลยว่า จะใช้กรณีเพื่อเป็นกรณีตัวอย่าง ยื่นให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากรณีดังกล่าวขัดรัฐธรรมนูญ ม.190 หรือเปล่านี้เป็นปัญหาใหญ่เลยเพราะวันนี้กระทรวงการต่างประเทศก็ดำเนินการอะไรไม่ได้ ซึ่งมีเนื้อหาเช่นนี้ ถ้าตีความตามลายลักษณ์อักษรมันก็เข้าในทุกกรณี
วีระ***วันนี้คณะรัฐมนตรีก็มีปัญหา กระทรวงยุติธรรมด้วยใช้ไหม
ณัฐวุฒิ***สรุปความโดยอย่างย่อเลยนะครับ ท่านสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ในฐานะรัฐมนตรีดูแลกระทรวงการยุติธรรมและกำกับดูแลป.ป.ส.ท่านก็จะต้องไปลงนามเกี่ยวการเป็นภาคีข้อตกลงกับ 7 ประเทศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าด้วยในแนวทางดำเนินนโยบายในการป้องกันและปราบปราบยาเสพติด ซึ่งท่านรายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาว่าไม่เข้าในมาตรา 190 (2) ให้รัฐมนตรีไปเว็นกับเค้าได้ทันที
จตุพร***ปัญหาก็คือในเมื่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อได้ยินอย่างนี้ ถ้าดูเหตุการณ์กรณีปราสาทเขาพระวิหารใครไม่สะดุ้งก็แปลกแล้ว ว่ากรณีปราสาทเขาพระวิหารกระทรวงการต่างประเทศ ด้วยกรมสนธิสัญญาท่านก็ได้บอกไว้เช่นเหมือนกัน ยืนยันว่าไม่เข้า แต่สุดท้ายมีคุณไปยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ และมีการพิจารณาว่าเข้าจึงเกิดเป็นปัญหาจนถึงทุกวันนี้
เพราะฉะนั้นเหตุการณ์นี้ คุณสมพงษ์ จึงมีความจำเป็นแม้กระทรวงการต่างประเทศจะวินิจฉัยแล้วว่าไม่เข้า ม.190 (2) จึงจำเป็นเอาเรื่องนี้เข้าสภา ซึ่งในวันนี้มีเรื่องจ่อเข้าที่ประชุมสภาเต็มไปหมดเลย เพราะเนื่องจากว่าโดยมาตรา 190 มันครอบจักรวาล
ซึ่งประเด็นต่อมาก็คือว่า กรณีหลายบอกว่าถ้าเกิดว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 จะส่งผลเสียหายต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง? นี้เป็นประเด็นที่เราต้องพูดถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
แต่มีประเด็นที่พี่น้องประชาชนคนไทยฟังแล้วจะต้องมีความรู้เหมือนกับพวกเราทุกคน
วีระ***ขออนุญาตนิดเดียว ผมจะอธิบายความตรงนี้ ซึ่งท่านผู้ชมฟังแล้วจะไม่เข้าใจว่ากรณีกระทรวงยุติธรรมจะไปลงนามในหนังสือของ ป.ป.ส หรือว่าก่อนหน้านี้สักประมาณสัปดาห์หนึ่ง ที่กรมอาเซียนจะไปลงนามในที่ประชุมของกลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งกำลังจะได้รับเลือกให้เป็นประธาน ทำไมไปกลัวอะไรทั้งที่ไม่น่าจะเกี่ยวกับการสูญเสียดินแดน
จตุพร***สูญเสียดินแดน นั้นไม่เสียหรอกครับแต่ว่า ข้อความในมาตรา 190 (2) มันกินความอย่างนี้ “มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขว้าง”ไอ้ตรงนี้แหละครับที่มีผลทำให้ถอยหลังก็ไม่ได้เดินหน้าก็ไม่ดี ซึ่งมีผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจนั้นไม่เท่าไร หรือสังคมหรือประเทศอย่างกว้างขวาง ซึ่งกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวางด้วย พูดกันอย่างตรงไปตรงมาเลย ซึ่งถ้าต้องการหาเรื่องกันนี้ ทำอะไรไม่ได้เลย
มีประเด็นต่อมาคือว่า มีส.ส.พรรคพลังประชาชนในจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งต้องยกให้เป็นเครดิตเลยคือ นายชัยวัฒน์ ติณรัตน์ ได้ไปค้นบันทึกการประชุมไม่ว่าจะเป็นการประชุมของสนช.หรือของสสร. แต่สิ่งที่ได้มานั้นคือ ซึ่งกำลังจะมีการจัดนิทรรศการ โดยในสมัย สนช.โดยการแต่งตั้งของคมช.นั้น ทำหน้าที่สมาชิกสภานิติบัญญัติ มีกฎหมายประกาศไปพระราชกิจจาณุเบกษา ทั้งหมด 211 ฉบับ แต่ปรากฏว่าใน 211 ฉบับนั้นมีกฎหมายถึง 177 ฉบับ ที่องค์ประชุมของสภานิติบัญญัติไม่ถึงครึ่ง ซึ่งมีกฎหมายที่มีองค์ประชุมถึงครึ่งเพียง 34 ฉบับ ซึ่งถึงครึ่งคือถูกต้องการตามกระบวนการกฎหมาย เพราะว่ามันมีกรณีตัวอย่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งตามรัฐธรรมนูญปี 50 ในกรณีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก่อนจะกราบบังคมทูลได้วินิจเสียก่อน นั้นคือผ่าน สนช.ไปต้องส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ปรากฎว่ามีกฎหมาย 4 ฉบับรวมกฎหมาย ป.ป.ช.ปี 50 ด้วยโดยศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้เป็นโมฆะเพราะองค์ประชุมไม่ครบทั้ง 4 ฉบับ
เพราะฉะนั้น จึงกลายเป็นปัญหาคือว่า บุคคลที่คมช.แต่งตั้งไปนั้นให้เข้าไปทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้ออกกฎหมายโดยองค์ประชุมไม่ครบถึง 177 ฉบับ ซึ่งประเมินเป็นผิดถึง 85 เปอร์เซ็นต์ซึ่งถูกต้องเพียงแค่ 15 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นเอง เพราะฉะนั้นเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก.
ณัฐวุฒิ***คุณจตุพร กำลังบอกว่า สนช.ที่เค้าจัดตั้งกันเข้าไปนั้น เข้าไปแล้วไปขาดประชุม
วีระ***เรื่องนี้ประเด็นสนช.มีประสิทธิเพียงใด ดีแค่ไหน มีคุณธรรมแค่ไหนออกกฎหมายอะไรบ้าง เป็นเรื่องยาวต้องยกกันอีกวัน แต่ประเด็นตรงนี้ที่น่าสนใจ ต้องเอามาพูดกันก่อนคือ มีกฎหมายถึง 117 ฉบับ ที่รอการตัดสินว่าเป็นโมฆะ ซึ่งเหตุที่รอเพราะว่ายังไม่มีใครยกขึ้น ซึ่งก่อนหน้ามีมาแล้ว 4 ฉบับแต่ว่าเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ซึ่งก่อนกราบบังคมทูลต้องผ่านศาลรัฐธรรมนูญเสียก่อน โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่าเมื่อองค์ประชุมไม่ครบก็สั่งเป็นโมฆะก็ตายจากไปแล้ว 4 ฉบับ แต่ว่า 177 ฉบับที่คุณจตุพรพูดไปก่อนหน้านี้ เป็นกฎหมายที่ไม่ใช่กฎหายประกอบรัฐธรรมนูญ จึงไม่ผ่านศาลรัฐรัฐธรรมนูญคือ สนช.มีมติก็ส่งให้ขึ้นทูลเกล้า ทรงลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้เป็นกฎหมายใช้ แต่ปรากฎหมายมีการไปสอบสวนจนพบความจริงซึ่งหลักฐานมันปรากฏ 177 ฉบับ เป็นกฎหมายที่ผ่านสภาโดยสมาชิกที่นั่งไม่ถึงครึ่งขององค์ประชุม
ซึ่งกฎหมายทั้ง 177 ฉบับ รอคนตัดสินให้เป็นโมฆะอยู่
จตุพร***คุณชัยวัฒน์ ติณรัตน์ เค้าได้บันทึกการประชุมของกฎหมายทุกฉบับซึ่งจะรู้เลยว่า กฎหมายที่องค์ประชุมไม่ครบ สนช.คนใดขาดประชุมบ้างจะได้จัดนิทรรศการประจานกันไปเลย
ณัฐวุฒิ***ช่วยบอกส.ส.ชัยวัฒน์ ท่านนั้นทีครับเมื่อที่มีการเปิดเผยชื่อ ที่เข้าไปกินเงินเดือนที่เป็นภาษีอากรประชาชน ไปรับสวัสดิการในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่ไม่เข้าประชุมจนเกิดความเสียอย่างนี้ชื่ออะไรบ้าง รายการเราจะช่วยประชาสัมพันธ์เหล่านั้นอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย
จตุพร*** ความแตกเพราะว่าสภาผู้แทนราษฎรนั้น มีการเก็บบันทึกเป็นระคอมพิวเตอร์เวลาลงมติต้องใช้การ์ดและกดเห็นด้วยหรือไม่เห็นจึงรู้เลยว่าใครเข้าประชุมหรือไม่เข้าประชุมเสียเข้าประชุมด้วยจำนวนเท่าไร
วีระ***ขอสอบถามที่ประชุมว่ากรรมาธิการของชุดคุณจตุพรได้วินิจฉัยเรื่องรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ด้วยหรือเปล่า? ว่ากระบวนการครบถ้วนหรือไหมครบถ้วน
จตุพร***โดยคุณชัยวัฒน์ จิณรัตน์ คนเดิมนั้นอีกครับได้ค้นบันทึกรายงานการประชุมที่มี 100 คนปรากฏว่าหลายมาตราที่มีการยกมือผ่านนะครับ องค์ประชุมมี 41 คนก็มี ไม่ถึงครึ่งอยู่หลายมาตราเช่นเดียวกัน แต่ก็ให้ผ่านแล้วนำความขึ้นกราบบังคมทูล เหมือนกับกรณี 177 ฉบับ ประธานสนช.ก็ส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรีกราบบังคมทูล
เพราะฉะนั้นสิ่งเหล่านี้ ความรับผิดชอบมันจะเกิดขึ้นกับใครแต่ว่าความเสียเกิดขึ้นแน่นอนเพราะถ้ากฎหมายนี้ไปเกิดขึ้นกับใครและได้รับผลกระทบ แล้วมีการยกเรื่องนี้ขึ้นมาพูดต้องเป็นปัญหาแน่นอน
วีระ***สรุปรวมความที่ประชุมพิจารณากฎหมายมาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการบริหารประเทศเป็นอุปสรรคต่อกระทรวงการต่างประเทศที่ว่า ไปทำว่า หนังสือสัญญาใดมีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศ อันนี้หนึ่งกระทรวงโดนไปแล้ว
แล้วมีอ่านความต่อไปมันก็จะไปกระทบกระเทือนเรื่องอื่น ๆ เป็นจำนวนมากและหนึ่งในนั้นกระคือเรื่องกองทัพอากาศไปซื้อเครื่องบินในระบบรัฐบาลต่อรัฐบาล ซื้อในสมัยรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ เพราะฉะนั้นถ้ามาอ่านรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 เราต้องการจะชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลไหนก็เจอปัญหาทั้งนั้นแหละ เรื่องนี้ถ้ามีคนร้องขึ้น ก็แน่ละว่ามีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมหรือประเทศอย่างกว้างขวางมีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุนหรืองบประมาณของประเทศ ซึ่งมันแน่นอนอยู่แล้ว เพราะต้องบอกว่ากรณีนี้ไม่ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภามันก็ย่อมเป็นโมฆะ
ซึ่งเจตนารมณ์ต้องการจะชี้แบบนี้ แต่ว่าเมื่อพิจารณาเรื่องในที่สุดมันก็ลามไปถึงเรื่องของกฎหมาย ซึ่งผ่าน 211 ฉบับปรากฏว่า มันจะโมฆะถึง 177 ฉบับ แล้วค้างประเด็นนี้ไว้ก่อน
โดยเราจะย้อนกลับมาดูสู่ มาตรา 190 เท่านั้น เพราะว่ามาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญนี้เอง ที่นายกรัฐมนตรีบอกว่าถ้าหากว่า ปล่อยอยู่อย่างนี้กระทรวงการต่างประเทศจะทำงานไม่ได้
กระทรวงกลาโหมจะตายไปด้วยกองทัพจะทำงานไม่ได้ กระทรวงอื่นก็จะตายด้วยเอาละเพื่อให้เกิดความแน่ใจ อ่านย้ำกันอีกทีว่า
หนังสือสัญญาใดมีผลเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศซึ่งประเทศไทยมีอำนาจอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือกฎหมายระหว่างประเทศหรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขว้างหรือมีผลผูกพันทางการค้าการลงทุนหรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
ตีความกันตามนี้แล้วรัฐบาลไหนก็จะต้องมีปัญหาจะไปเซ็นสัญญากับเค้าที่อาเซียนอยู่เร็ววันนี้ก็ทำไม่ได้ พูดง่ายเป็นเรื่องทำให้ปวดหัว เพราะเกรงว่าจะโนปีศาจมาตรา 190 หลอกหลอนเอาแต่ว่าอะไรไม่สำคัญเท่ากับมันย้อนกับสมัยรัฐบาลท่านสุรยุทธ์ เองศึกเป็นกรณีศึกษา
ณัฐวุฒิ***โดยกรณีเช่นนี้เราเองมีความรักในกองทัพโดยเห็นว่าเรื่องนี้ถ้าไม่มีการพิสูจน์ หากเกิดประเทศมีศึกสงครามหรือมีเรื่องที่เกิดขึ้นกับอำนาจอธิปไตยจะเกิดความเสียหายกันอย่างรุนแรง
วีระ***สรุปร่วมความว่าที่เราพูดกันมาทั้งหมดนั้นเปิดประเด็นใหม่ ความจริงจะมาเปิดเรื่องมาตรา 190 ฉบับรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อจะเรียนให้ท่านผู้ชมทราบว่า นอกจากระทรวงต่างประเทศจะทำอะไรไม่ได้แล้วกระทรวงอื่น ๆ ก็จะเดือดร้อนดดยไม่ได้เจนาเพราะว่าเรื่องนี้ในที่ประชุมกรรมาธิการ โดยเอาเรื่องกองทัพอากาศเป็นกรณีศึกษาที่ศาลรัฐธรรมนูญ
ซึ่งแน่นอนถ้าศาลรัฐธรรมนูญใช้มาตรฐานเดียวเรื่องนี้ก็ต้องหนีไม่พ้น การนั้นต้องเป็นโมฆะและการซื้อเครื่องบินฝูงนั้นก็ต้องมีปัญหา เพราะฉะนั้นใครจะรับผิดชอบ แต่ที่แน่หนีไม่พ้นอีกคนหนึ่งแล้วคือ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม จะหนีไปไหนพ้น แต่ว่าเรื่องนี้ไม่เป็นปัญหาแน่นอนเพราะเกิดขึ้นในสมัยที่ท่านยังไม่ได้รับตำแหน่ง
แต่สรุปรวมความมันเป็นปัญหาของรัฐบาลสุรยุทธ์ รัฐบาลในคุณสมัคร และจะเป็นปัญหาของบาลใครก็ไม่รู้ข้างหน้า ถ้าไม่มีการแก้ไขกฎหมายให้มันเลิกการเป็นอุปสรรคของประเทศ