เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ กรณีโพธิรักษ์ หรือนายรักษ์ รักษ์พงษ์ ได้นำนักบวชและชาวสันติอโศกเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ องค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทยและเครือข่ายชาวพุทธในทวีปยุโรป จึงได้จัดเสวนาเรื่อง “ลัทธิสันติอโศกกับความมั่นคงของพระพุทธศาสนา” เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด และเกิดภาพเสียหายต่อพระพุทธศาสนา ด้วยน้ำมือคนเพียงหยิบมืออีกต่อไป “พวกหลงเพศ ไม่รู้ตัวเองเป็นใครกันแน่” “สันติอโศกคืออะไร และกำลังทำอะไร”
ดร.พระมหาโชว์ ทัสสนีโย
ผู้อำนวยการส่วนธรรมนิเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
กรณีของการมาชุมนุมประท้วงทางการเมืองของกลุ่มสันติอโศกทำให้เกิดความสับสน ทั้งนี้เป็นเพราะนายรักษ์ รักษ์พงศ์ สับสนทางเพศ ไม่รู้ว่าตนเป็นเพศอะไร วันก่อนได้เห็นพระตุ๊ด มาวันนี้ได้เห็นสะพานมัฆวานตุ๊ด บางช่วงก็แทนตนเองว่าอาตมา แต่พอถูกไล่เรื่องกฎหมายก็บอกว่าตนเองเป็นฆราวาสไม่ใช่พระ จึงสามารถไปเลือกตั้งได้เหมือนฆราวาสทั่วไป
เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2549 นายรักษ์ รักษ์พงษ์ ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แต่พอมาที่สะพานมัฆวานฯ กลับแทนตนเองว่าอาตมา ตอนเช้าออกเดินบิณฑบาตเหมือนพระ ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเหมือนฆราวาส พอทางคณะสงฆ์ทักท้วง กลับบอกว่าตนเองเป็นนายรักษ์ รักษ์พงษ์ พฤติกรรมเช่นนี้ส่งผลกระทบต่อพระพุทธศาสนา ไม่มีพระรูปไหนกล้าเตือนมีแต่พระพยอมเท่านั้นที่ออกมาเตือน แต่ก็ถูกพันธมิตรฯ ด่าบนเวทีจนไม่กล้าออกมาพูดอีก ตอนนี้แม้แต่นายวิชัย ธรรมเจริญ ผอ.สำนักพุทธ ส่วนคุ้มครองฯ แทนที่จะชี้ผิดชี้ถูกกลับบอกว่าสันติอโศกเป็นนักบวชกลุ่มหนึ่ง แทนที่จะชี้ให้ชัดเจนว่าคืออะไรกลับไม่ชี้ชัด
เมื่อปี พ.ศ. 2532 มีมติคณะการกสงฆ์ และคำพิพากษาศาลฎีกาให้นายรักษ์ รักษ์พงษ์ และสาธานุศิษย์ไม่ใช่พระในพระพุทธศาสนา เนื่องจากมีพฤติกรรมวิปริตจากพระธรรมวินัย ซึ่งสิ่งสำคัญของคณะสงฆ์มี 2 เรื่องใหญ่ คือ ต้องอยู่ในระเบียบของพระธรรมวินัยและต้องอยู่ตามกฎ เมื่อได้ชำระแล้วว่าการกระทำของ นายรักษ์ รักษ์พงษ์ และคณะไม่ใช่พระสงฆ์อีกต่อไป ส่วนทางด้านกฎหมายนั้น ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาออกมาแล้วว่า พฤติกรรมของนายรักษ์ รักษ์พงษ์ ที่เป็นการแต่งกายเลียนแบบสงฆ์ ไม่ใช่พระสงฆ์ จึงเป็นที่ชัดเจนทั้งในแง่พระธรรมวินัยและกฎหมาย
พฤติกรรมของสันติอโศกทำให้ประชาชนและเยาวชนสับสนไม่เข้าใจว่าผู้แต่งกายเลียนแบบพระด้วยสีเหลืองคล้ำๆ เป็นพระหรือฆราวาส วันนี้กลุ่มสันติอโศกเป็นพระก็ได้เป็นนักการเมืองก็ได้เป็นฆราวาสก็ได้ พระไม่กล้าอธิบายแม้มหาเถรสมาคมจะทำหนังสือไปถึงเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา อย่าน้อยเมื่อปี 2532 มีรายงานต่างๆ ออกมา พระผู้ใหญ่เองก็ไม่กล้าออกมาขยับ อาตมาจึงออกมาขยับได้ลงหนังสือพิมพ์หน้า 1 เรื่อง แฉลัทธิสันติอโศก ก็นึกเหมือนกันว่าจะโดนด่าบนเวทีพันธมิตรฯ เหมือนพระพยอม
วันนี้เราไม่ได้ต้องการที่จะไปห้ำหั่นใคร เพราะถือว่าเป็นชาวพุทธด้วยกัน ขอเพียงแต่อย่าสับสันทางเพศเท่านั้น อย่าสับสนว่าตนเองเป็นเพศอะไร เป็นพระหรือฆราวาส ชายหรือหญิง ต้องระบุให้ชัดเจน
สันติอโศกสับสนแม้แต่หลักธรรม บอกว่า ฟ้าสั่งมา เป็นร่างทรงของพระสารีบุตรกลับชาติมาเกิด ตรงนี้ต้องชัดเจนทั้งสถานภาพ ทั้งด้านกฎหมายและด้านอื่นๆ เพราะจะกระทบต่อพระพุทธศาสนา ไม่มีใครกล้าพูดเพราะกลัวถูกด่าบนเวทีพันธมิตร สันติอโศกแต่งการยเลียนแบบพระสงฆ์ แทนตนเองว่าอาตมา บิณฑบาตเลียนแบบพระสงฆ์ และที่มีการติติงมาที่สุดเวลานี้คือ คำพูด ที่นำมาพูดกัน เช่น “อารยะขัดขืน” รู้จักกันหรือเปล่าก็ไม่รู้ หรือรู้จักแต่คำว่า “อารยะข่มขืน” อย่างเดียว “อารยะ” แปลว่าผู้ประเสริฐ แต่นำไปใช้สับสนกันไปหมด “อหิงสา” คือ การไม่เบียดเบียน ด้วยกาย วาจา แต่กลับมีอาวุธ มีไม่เบสบอล อ้างว่าเอาไว้ป้องกันตัว มิหนำซ้ำยังมีคำพูดแดกดัน เช่น ฯพณฯ หอกหัก พ่อไอ้ปื๊ด คำพูดเหล่านี้เป็นคำพูดที่ส่อเสียด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โยมผู้หญิงที่ขึ้นไปพูดบนเวทีพันธมิตรฯ ตั้งแต่เช้ายันค่ำ “เสรีภาพ” คือ การใช้สิทธิตามมาตรา 63 ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่สิทธิเสรีภาพที่จะด่าผู้อื่น พอถูกด่าบ้างบอกว่าเขาผิด
เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็คือ ขุมกำลังที่ก่อให้การเมืองแตกแยก ระหว่างพันธมิตรฯ นปช. (แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ ) และรัฐบาล จุดสำคัญอยู่ที่สันติอโศก ที่เป็นกองอาหาร เป็นกองกำลังพลที่มีความอดทนอย่างมหาศาล ไม่อาบน้ำ 5 วันก็อยู่ได้ ไม่มีความเป็นกลาง มีแต่ทำให้เกิดความสับสน
หากเราใช้ความเป็นกลางทั้งหมด ทุกคนสามารถร่วมแสดงความคิดเห็นได้ อย่างที่มีคนบอกว่าน่าจะบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ อย่างนี้ก็ควรที่จะให้การสนับสนุน ให้ดอกไม้ ระหว่างดีกับไม่ดีเราสามารถเตือนกันได้
หากการประท้วงครั้งนี้ของสันติอโศกชนะ มหาเถรสมาคมไม่มีสิทธิท้วงติงใดๆ เพราะหากสันติอโศกยกสถานะของตนเองได้จะเทียบเท่ากับมหาเถรสมาคม
สันติอโศกอาศัยสถานการณ์บ้านเมืองประท้วงและกีดกันเรื่องศาสนาประจำชาติ หากประท้วงชนะลัทธิศาสนาจะทำให้เกิดความสับสน หลักธรรมจะสอนอะไรชัดเจนไม่ได้ นายรักษ์จะตั้งตนเองเป็นพระศาสดา
มหาเถรสมาคมต้องมีความชัดเจน ต้องอาศัยกฎหมายเข้ามาจัดการเพื่อปกป้องคณะสงฆ์ให้พ้นภัยที่ดูเหมือนว่าจะตกต่ำไปเรื่อยๆที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับทางการเมือง สิ่งสำคัญก็คือแต่ละเช้าก็จะมีการเทศน์สั่งสอนยุยงให้คนเกิดความแตกแยกแตกความสามัคคีอย่างรุนแรง ซึ่งมิใช่วิสัยของพระพุทธศาสนาจะพึงกระทำ
การออกมาเคลื่อนไหวทางการเมืองของลัทธิสันติอโศกได้มีการเผยแพร่ภาพไปยังสำนักข่าวทั่วโลกจนทำให้คนเข้าใจว่าพระสงฆ์ไทยออกมาประท้วงรัฐบาล ทำให้เกิดภาพลักษณ์ที่เสื่อมเสียแก่วงการพระพุทธศาสนา
เมื่อบ้านเมืองมีการแยกฝ่ายอย่างนี้ ลัทธิสันติอโศกจึงอาศัยกระแสทางการเมืองเพื่อเคลื่อนไหว ส่วนตัวไม่ได้เข้าข้างรัฐบาล แต่เราดูอย่างมีความเป็นกลาง เราจึงต้องวางกติกา กฎหมายคือกติกาของสังคม หากไม่มีกติกาก็เปรียบเสมือนควายไม่มีคอก ไม่ใช่พอจะได้ประโยชน์บอกว่าไม่ยึดกับเกณฑ์กติกา สิ่งที่เกิดขึ้นเวลานี้ กระทบต่อพระพุทธศาสนา กระทบต่อมหาเถรสมาคม กระทบต่อการเมืองและความมั่นคง หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะแย่ เพราะผีป่ากำลังยื่นมือเข้าหากันสร้างความสับสน เพียงเพราะความคิดเห็นไม่เหมือนกัน บ้านเมืองไม่เป็นบ้านเมือง ศาสนาไม่เป็นศาสนา “คนที่พูดโกหกทั้งๆที่รู้อยู่จะไม่ทำความชั่วอย่างอื่นคงไม่มี”
ลองสังเกตคนที่ไปเขาพระวิหารอย่างนายสมาน ศรีงาม แท้จริงแล้ว คือ ลูกศิษย์ของสันติอโศก เป็นที่ปรึกษาของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายสมาน เคยจับพระ 10 รูป มาทะเลาะกับพระด้วยกันเพื่อทำให้เกิดความแตกแยก กินเงินจากพรรคการเมือง กินเงินจากตู้บริจาควันละประมาณ 3 หมื่นบาท หากนำพระพุทธมาชนกันได้จะได้เงินจาก คมช. (คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ) กินกันไปหลายชั้น คนที่บีบคอพระคือพวกสันติอโศก คนที่ร่าง รธน. คือ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ จากพรรคพลังธรรม จากสันติอโศกนั่นเอง
รศ.ดร.วรพล พรหมิกบุตร
อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สิ่งที่เรียกรวมๆว่า สันติอโสก ซึ่งประกอบด้วย คน 2 ประเภท หนึ่ง คนทั่วไป คือ นักเคลื่อนไหวทางสังคม บางคนทำงานร่วมกับนักกฎหมาย และสอง คือ คนที่เคยบวชในพระพุทธศาสนาอย่างนายรักษ์ รักษ์พงษ์ แต่มีพฤติกรรมหรือวิธีปฏิบัติตัวไม่เหมือนพระทั่วไป จึงถูกขับออกจากการเป็นพระ และถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย นายรักษ์ ประกาศต่อสาธารณชนว่าจะยังคงปฏิบัติตนอย่างที่ต้องการ แต่ไม่สามารถห่มจีวรอย่างพระสงฆ์ได้ จึงเปลี่ยนสีผ้าจีวรเป็นสีเหลือออกคล้ำ
องค์ประกอบที่สำคัญอีกอย่างของสันติอโศก คือ ความคิด หลักคิด หลักปรัชญาที่นำมาสอน ที่นำมาใช้เผยแพร่ในสันติอโศกไม่มีภูมิปัญญาใหม่เลยแม้แต่ชั้นเดียว เป็นภูมิปัญญาเก่าของลัทธิหรือศาสนาอื่นๆ นำมาผสมกันแล้วอ้างว่าเป็นคำสอนของตนเอง เช่น การที่สันติอโศกปฏิเสธสาธารณูปโภคสมัยใหม่ จุดเทียน จุดตะเกียง แล้วอ้างว่าเป็นความคิดของสันติอโศก แต่จริงๆ แล้วความคิดนี้เป็นความคิดเรื่องสมถะ คนพุทธก็ทำอย่างนี้เหมือนกัน นักปรัชญาชาวตะวันตกหลายคนก็ปฏิบัติเช่นนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นความคิดนี้จึงไม่ใช้ภูมิปัญญาใหม่
เมื่อเทียบกับหลักพุทธ สิ่งสำคัญคือ ให้คนที่เป็นพุทธเข้าใจเหตุของสิ่งต่างๆ ว่าเกิดได้อย่างไร แล้วหาวิธีดับทุกข์ หาวิธีปฏิบัติ เช่น มรรค 8 ซึ่งตรงนี้สันติอโศกไม่เคยมีเลย สิ่งที่สันติอโศกทำคือเจ้าสำนักคิดเองทั้งสิ้น นายรักษ์ไม่ใช่นักปรัชญาใหม่ แต่หยิบเล็กผสมน้อยจากศาสนาอื่นมาอุปโลกน์ว่าเป็นแนวคิดของตนเอง เพราะฉะนั้นสมาชิกสันติอโศกก็จะมีอยู่จำนวนหนึ่งที่ชอบตรงที่ 1 เดือนจะได้ไปทำสมถะสักครั้งหนึ่งเท่านั้น ในสมาชิก 1 แสนคน ที่รู้หลักรู้แจ้งเห็นจริงจะหาได้น้อยมาก บางคนที่เข้ามาเพราะติดใจในตัวบุคคล บางคนเข้ามาเพราะมีผลประโยชน์ผูกพัน สมาชิกสันติอโศกเมื่อเทียบกับคนในประเทศถือว่าไม่มากเท่าไรนัก แต่ถ้าในทางการเมืองคนจำนวนนี้ถือว่ามากพอสมควร สามารถสร้างอันตรายให้กับคนอื่นๆ ได้อย่างมหาศาล
กลุ่มผู้ห่มผ้าเลียนแบบพระสงฆ์เวลานี้กำลังทำงานการเมืองอยู่ ไม่ได้เผยแผ่ศาสนา งานการเมืองที่ทำ เช่น เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 กลุ่มคนที่ห่มผ้าเลียนแบบสงฆ์ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง สื่อมวลชนที่เป็นเครือข่ายสนับสนุนก็ได้นำภาพไปเผยแพร่ สิ่งที่น่าคิดคือ การกระทำในวันนั้นมีผลต่อรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งถ้าดูรายชื่อสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญกับสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หลายๆ คนเป็นกลุ่มคนที่มีความสัมพันธ์กันพันธมิตรฯ และกลุ่มสันติอโศก
สิ่งที่พรรคพวกของเขาเขียนในกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 100 บอกว่า บุคคลผู้ที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ในวันเลือกตั้งเป็นบุคคลต้องห้ามไม่ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ลักษณะบุคคลต้องห้าม (1) เป็น ภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช บนถนนในหลายๆที่นายรักษ์ และผู้ห่มผ้า ประกาศผูกมัดตนเองตลอดว่า เป็นนักบวช คำถามคือ คนกลุ่มนี้ละเมิดกฎหมาย มาตรา 100 หรือละเมิดหลักคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์ หลายศาสนามีหลักคุณธรรมเรื่องไม่ให้โกหกกับบุคคลอื่น ศีลข้อ 4 ทุกศาสนาห้ามคนโกหกกัน แต่การกระทำของกลุ่มคนที่ห่มผ้าคล้ายสงฆ์ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง หย่อนบัตรลงหีบ แสดงว่าเขาไม่ได้ละเมิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 100 ก็แสดงว่า พวกเขาไม่ใช่นักบวช คำถามต่อมาคือ คนพวกนี้เป็นคนหน้าไหว้หลังหลอกละเมิดคุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์
รัฐธรรมนูญ 2550 พรรคพวกเขาเขียนมา เขาน่าจะรู้ดี แต่เขาก็ยังไปหย่อนบัตร แล้วบอกว่าไม่ใช่นักบวช แสดงว่า เขาใช้คำว่านักบวชมาหากินกับสมาชิก แล้ว สมาชิกจะยอมให้คนหน้าไหว้หลังหลอกจูงจมูกอีกหรือ จะไม่ถอนตัวออกมาหรือ ใครมีพี่น้องที่เข้าร่วมกิจกรรมสันติอโศกลองถามดูว่าจะยอมให้คนพวกนี้หลอกอีกหรือ นายรักษ์สามารถพูดกลับไปกลับมาเพื่อหาประโยชน์จากคน
การเคลื่อนไหวของกลุ่มสันติอโศกมีการเคลื่อนไหวแบบ NGO ที่มีแกนนำห่มผ้าแบบสงฆ์มาหากิน ขออาหาร โดยมีเงินทุนก้อนใหญ่ซ่อนอยู่ใต้โต๊ะ ทำงานร่วมกับคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย และกลุ่ม NGO อื่นๆ ประเด็นที่คนกลุ่มนี้ออกมาเคลื่อนไหว เป็นเหมือนกองกำลังที่ตั้งตามจุดต่างๆ เป็นสงครามภายในประเทศ แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นสงครามการเมือง เมื่อจัดกลุ่มจัดประเภทดูแล้วจะเห็นได้ว่าเป็นสงครามของ 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มเผด็จการเสียงข้างน้อยและเผด็จการเสียงข้างมากในการเมืองไทย ต้นสังกัดของคนกลุ่มน้อยที่เมื่อเลือกตั้งแล้วพรรคการเมืองที่ตนเองสนับสนุนไม่ได้เป็นรัฐบาลแต่อยากมีอำนาจ จึงทำตัวเป็นแก๊งข้างถนน พันธมิตรพันธมารจัดอยู่ในกลุ่มนี้ ไม่สนใจใครอ้างอย่างเดียวว่าทำเพื่อบ้านเมือง เพื่อประชาชน คนพวกนี้ต่อสู้กับประชาธิปไตยซึ่งมีประชาชนเป็นเจ้าของ เมื่อมีการเลือกตั้งประชาชนเลือกใครก็ให้อำนาจคนนั้นไปบริหารจัดการ และประชาชนจะเป็นผู้ตรวจสอบดูแล เราทุกคนเชื่อมั่นในเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งที่ประชาชนไว้ใจเลือกให้มาบริหารประเทศ
เชื่อว่าคนที่อยู่ที่นี่รังเกียจเผด็จการเสียงส่วนน้อย เพราะหาเรื่องไม่หยุด คนเพียง 4-5 คน ออกมาแถลงให้ทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ เขาเป็นเจ้าของประเทศหรือไร สาระสำคัญที่เกิดขึ้นและนำความหดหู่มาสู่สังคมไทยในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา คือ ความพยายามที่จะยึดอำนาจของเผด็จการเสียงส่วนน้อย ยึดอำนาจมาจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของคนส่วนใหญ่เมื่อปี 2548 ให้คนส่วนน้อยเข้ามาเขียนกฎหมายบังคับคนส่วนใหญ่ของประเทศ พอมีการเลือกตั้ง 2550 ก็ผิดพลาดอีก ประชาชนไม่เลือก คนพวกนี้จึงอยากมีอำนาจจึงพยายามระดมทุกวิถีทาง สันติอโศกก็เป็นอาวุธอย่างหนึ่งของพวกเผด็จการเสียงข้างน้อย
ในทุกสังคมของโลกถ้าเผด็จการเสียงข้างน้อยยึคอำนาจได้จะมีการล้างผลาญทำลายคนอื่นๆ ที่ไม่รู้เรื่องด้วยมากมายมหาศาล และความรุนแรงในครั้งนี้จะมากกว่าการต่อสู้ในสมัย 2477 หลังจากที่คณะราษฎรยึดอำนาจ เสียงข้างน้อยเมื่อเข้ามาก็จะโกงกินประเทศเหมือนที่ครั้งหนึ่งเคยทำได้ ใครที่มีประสบการณ์ช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมาแล้วถูกคุกคามด้านธุรกิจ หรือเป็นข้าราชการแล้วถูกกลั่นแกล้งก็จะนึกออกว่า เรื่องของตนเองเป็นเรื่องส่วนบุคคล แต่กลุ่มนี้เมื่อมีอำนาจแล้วจะกวาดล้างผู้อื่น ส่งคนแทรกแซงยั่วยุให้เกิดกลียุค
ทางออกเรื่องนี้อยู่ที่บทบาทของ 3 ส่วนสำคัญที่จะช่วยกันแก้ไข และในการที่จะไม่ให้เกิดกลียุคคือ 1. เราจะต้องรักษาโครงสร้างหลักของสังคมไทยให้ได้ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เสียงส่วนใหญ่เวลาจะทำอะไรต้องคำนึงถึง 3 สถาบันนี้ พวกเผด็จการเสียงข้างน้อยไม่เคยสนใจเรื่องพวกนี้ ไม่สนใจ แต่กังวลอยู่อย่างเดียวคือ ตนเองจะต้องขึ้นมาเป็นใหญ่ในประเทศให้ได้ 2.หากองค์กรภาคประชาชนรุกขึ้นมาให้สัญญาณว่าให้รักษาศาสนาพุทธไว้ ส่วนตัวเชื่อว่าพระชั้นผู้ใหญ่ก็ยินดีที่จะก้าวออกมายืนอยู่ข้างประชาชน เพราะทั้งองค์กรภาคประชาชนและองค์กรพุทธล้วนแต่เป็นโครงสร้างหลักในการรักษาสถาบันศาสนาพุทธให้คงอยู่กับสังคม ทำให้เกิดความเข้มแข็งในระบอบประชาธิปไตยเสียงข้างมาก
และ 3.รัฐบาลต้องขยับ เพราะประชาชนมอบหน้าที่ให้จัดการเผด็จการเสียงข้างน้อย รัฐบาลไม่ได้นิ่งเฉยเหมือนที่หลายคนเข้าใจ ที่ผ่านมารัฐบาลได้ดำเนินการอะไรหลายๆ อย่างที่ไม่ให้เราพลี่ยงพล้ำเสียทีเสียงข้างน้อย เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนายกฯ เปรยออกมาว่า ตอนที่พันธมิตรฯ ไปล้อมทำเนียบรัฐบาล หากมีเสียงปืนดังขึ้นมาแม้แต่เปรี้ยงเดียว รัฐบาลคงอยู่ไม่ได้ พวกเผด็จการเสียงข้างน้อยก็คงมายึดอำนาจ พวกเราเสียงส่วนใหญ่ก็ลงรูเหมือนกัน เพราะถูกคุกคาม
การที่ดูเหมือนกับว่ารัฐบาลงอมืองอเท้าแพ้นั้น ความจริงไม่ใช่เลย ดูได้จากกรณีที่นายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ถูกกล่าวหาเรื่องจาบจ้วงสถาบันเบื้องสูง ผมเองไปเป็นพยานให้ ไม่มีส่วนไหนเลยที่นายจักรภพพูดจาจาบจ้วง มีแต่พูดจาชื่นชม แต่พวกหน้าไหว้หลังหลอกนำมาพูดอีกอย่างหนึ่งบิดไปบิดมา ที่นายจักรภพยอมลาออกเพราะต้องการให้สังคมเห็นความจริงว่าพวกอันธพาลทางการเมืองเป็นอย่างไร มันไม่เลิกราง่ายๆ ถึงจะลาออกแต่รัฐบาลก็ยังอยู่ ยังทำงานต่อ พวกเผด็จการก็ออกลวดลายใหม่ หากประชาชนขยับรัฐบาลก็จะขยับเหมือนกัน รัฐบาลคิดในรายละเอียดมาก หากประชาชนส่งสัญญาณที่ชัดเจนเราก็จะขยับพร้อมๆ กันคล้ายๆ กับวันเลือกตั้ง
ฝ่ายเผด็จการเสียงข้างน้อยหลังจากที่ใช้อาวุธแล้วทำได้สำเร็จ แต่อยู่ได้ไม่ยืดยาว ก็คงทำอีกได้ยาก หลังจากใช้พวกกลุ่มทุนสนับสนุนตนเองก็จะไม่ได้ผลแล้ว ใช้นักวิชาการก็แล้ว ใช้สื่อมวลชนจนคนส่วนใหญ่ไม่เชื่อสื่อมวลชนแล้ว ทำไม่สำเร็จแล้ว มันสมองของเผด็จการเสียงข้างน้อยจึงเลือกวิธีที่จะนำตุลาการภิวัตน์ หรือผู้พิพากษามาวินิจฉัยตรงนั้นตรงนี้ และอ้างว่าตุลาการบริสุทธิ์เที่ยงธรรม ผมขอบอกว่า ทุกวงการมีคนเลว สถาบันตุลาการก็เช่นกัน มีคนเลว แม้คนเลวจะไม่มาก แต่หากเข้ามาก็จะทำให้บ้านเมืองปั่นป่วน สถานะของสถาบันตุลาการไม่ต่างอะไรกับสถาบันวิชาการ คือ มีทั้งคนดีคนเลว
วิธีเดียวที่จะเป็นทางออกได้คือ ใช้ประชาภิวัตน์สู้กับตุลาการภิวัตน์