WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, July 26, 2008

ธนาคารโลก-ยูเอ็นระบุไทยกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติเพราะปัญหาโลกร้อน

คอลัมน์ : ฮอตสกู๊ป

ธนาคาร โลกและสหประชาชาติระบุประเทศไทยและอีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออก กำลังเผชิญกับความเสี่ยงจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นอันเนื่องมาจากสาเหตุ ภาวะโลกร้อน เตือนผู้บริหารเมืองใหญ่ในแต่ละประเทศควรเร่งวางมาตรการบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน รวมทั้งปรับปรุงเมืองให้สามารถลดและรับมือกับความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติได้ก่อนสายเกินแก้

เมื่อเร็ว ๆ นี้ ธนาคารโลกร่วมกับหน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติชื่อ United Nations International Strategy for Disaster Reduction (UN/ISDR) และ Global Facility for Disaster Reduction and Recovery (GFDRR) ซึ่ง เป็นกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาให้ สามารถดำเนินโครงการเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติของตนและฟื้นฟูประเทศ หลังจากภัยธรรมชาติ ได้ร่วมกันจัดสัมมนาขึ้นที่เมืองพัทยา จ. ชลบุรี ภายใต้หัวข้อว่า Green Cities Workshop: Reducing Vulnerability to Climate Change Impacts and Related Natural Disasters in Asia หรือ “การลดความเสี่ยงจากภาวะโลกร้อนและภัยธรรมชาติที่เกี่ยวข้องในเอเชีย” ใน งานนี้มีผู้แทนจาก 17 ประเทศทั้งในเอเชีย อเมริกา และยุโรปเข้าร่วม โดยส่วนมากจะเป็นระดับผู้บริหารหรือที่ปรึกษาของเมืองใหญ่ต่าง ๆ ในแต่ละประเทศ

จุด ประสงค์ของงานสัมมนาในครั้งนี้คือเพื่อช่วยให้ผู้บริหารเมืองสำคัญ ๆ ของเอเชียตะวันออกได้เล็งเห็นถึงความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติที่เพิ่มสูงขึ้น อันเป็นสาเหตุจากภาวะโลกร้อน และอาจส่งผลกระทบต่อประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองมากถึง 660 ล้านคนด้วยกัน

โดยธนาคารโลกและ UN/ISDR ได้ ระบุว่าปกติแล้วภูมิภาคนี้ก็มีความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติสูงอยู่แล้ว ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกันเมื่อไม่กี่เดือนที่ ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหวในจีน พายุไซโคลนในพม่า หรือพายุไต้ฝุ่นในฟิลิปปินส์

นอกจากนี้ การที่เอเชียตะวันออกเป็นที่ตั้งของเมืองใหญ่มากถึง 30 เมืองด้วยกัน และแต่ละเมืองนั้นก็ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับชายฝั่งทะเลหรือแม่น้ำ ก็ ทำให้ความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติจากภาวะโลกร้อนของภูมิภาคสูงขึ้นไปด้วย ทั้งนี้ก็เพราะว่าภาวะโลกร้อนได้ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นนั่นเอง ประเทศที่กำลังเผชิญความเสี่ยงต่อระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเนื่องจากภาวะโลกร้อนก็มีไทย เวียดนาม จีน พม่า และฟิลิปปินส์

“ผล กระทบที่จะเกิดต่อเมืองต่างๆ ในเอเชียตะวันออกนั้น จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่าผู้บริหารของแต่ละเมืองได้ดำเนินมาตรการอะไร ไปบ้างเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เมืองของตนเอง” นายจิม อดัมส์ รองประธานธนาคารโลกสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกกล่าว “ดัง นั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารของเมืองต่างๆ ในภูมิภาคจะทำความเข้าใจกับภาวะเสี่ยงของตนเองก่อน และนำความเข้าใจนี้ไปใช้พัฒนายุทธศาสตร์สำหรับลดความเสี่ยงของเมืองขึ้น ทังนี้ก็เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชากรในเมืองใหญ่จากสภาพอากาศ ที่แปรปรวนขึ้นทุกวันอันเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน”

สถิติที่รวบรวมโดยสภากาชาดสากลนั้นชี้ให้เห็นว่า ความ ถี่ในการเกิดภัยธรรมชาติในโลกนั้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ โดยจากจำนวนภัยธรรมชาติทั้งสิ้น 428 ครั้งในช่วงปี 2537-2541 ได้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 707 ครั้งในช่วงปี 2542-2547 นอกจากนี้ ความรุนแรงของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งก็ดูเหมือนจะเพิ่มสูงขึ้น ด้วย

ทั้งนี้ธนาคารโลกได้คาดการณ์ว่า ทุกๆ หนึ่งเมตรของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นนั้น จะ ทำให้เกิดภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงจนสามารถลดอัตราการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจของประเทศได้มากถึง 2% ทีเดียว อันเป็นผลจากการขาดแคลนน้ำจืดสำหรับดื่มใช้ และจากความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมการเกษตร การประมง และการท่องเที่ยว รวมทั้งการขาดแคลนพลังงานอีกด้วย

“การเจริญเติบโตของเมืองนั้นมีความสัมพันธ์อย่างมากต่อความสามารถของเมืองเองในการลดความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติ และจากภาวะโลกร้อน” นายสาโรช กุมาร จา ผู้บริการกองทุน GFDRR กล่าว “เนื่องจากในปัจจุบันนี้ทิศทางการบริหารของเอเชียตะวันออกกำลังเป็นไปตามแนวทางกระจายอำนาจมากขึ้น นี่ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมความรับผิดชอบในการบรรเทาความเสี่ยงและเสริมสร้างความ แข็งแกร่งของระบบป้องกันภัยธรรมชาติจึงมาตกอยู่ที่ผู้บริหารเมืองหรือ จังหวัดใหญ่ๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ ผู้บริหารเมืองใหญ่ๆ จะต้องเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของตนเองเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อภัย ธรรมชาติและภาวะโลกร้อนของเมือง รวมทั้งวางนโยบายที่จะช่วยรับมือหรือบรรเทาผลกระทบนั้นด้วย”

ในการนี้ ธนาคารโลกและ UN/ISDR รวมทั้ง GFDRR จึงได้ร่วมกันจัดทำ “คู่มือสำหรับลดความเสี่ยงต่อจากภาวะโลกร้อนและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติในเอเชียตะวันออก” ขึ้น เพื่อช่วยให้ผู้บริหารเมืองใหญ่ ๆ ในภูมิภาคได้ใช้เป็นแนวทางในการรับมือกับความเสี่ยงและบรรเทาผลกระทบต่อ เมืองเอง โดยหน่วยงานทั้งสามได้ร่วมกันเผยแพร่คู่มือเล่มนี้อย่างเป็นทางการใน ระหว่างการสัมมนาเพื่อลดความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติที่พัทยาเมื่อเร็วๆ นี้

หนังสือคู่มือเล่มนี้ได้รับการออกแบบมาให้เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับสาเหตุของภาวะโลกร้อนและผลกระทบจากภาวะโลกร้อนต่อภัยธรรมชาติ โดย ได้เสนอแนวทางต่างๆ มากมายที่จะช่วยให้ผู้บริหารเมืองใหญ่ๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมของแต่ละเมือง ทั้งเพื่อบรรเทาการเกิดภาวะโลกร้อนและปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศที่ เปลี่ยนแปลงไป คู่มือเล่มนี้แสดงให้เห็นถึงความเปราะบางของเมืองสำคัญ ๆ ในเอเชียตะวันออกต่อภาวะโลกร้อน และนำเสนอตัวอย่างที่จะสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในระดับเมือง

ผู้สนใจสามารถขอรับคู่มือ (ภาษาอังกฤษ) ได้ที่แผนกสิ่งแวดล้อม ธนาคารโลก โทร.0-2686-8300 หรืออีเมล tphetmanee@worldbank.org และดาวน์โหลดได้ที่ www.worldbank.or.th

ที่มา : ประชาไท