WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, July 23, 2008

กลุ่ม 24 มิถุนาฯ ตะเพิด ป.ป.ช. ยุติบทบาทเดี๋ยวนี้!

คอลัมน์ : ฮอตสกู๊ป

ข้อกังขาเกี่ยวกับความชอบธรรมขององค์กรอิสระอย่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กำลังเป็นประเด็นร้อนแรง และเป็นที่สนใจอย่างยิ่งของสาธารณชนในเวลานี้

เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม ที่ผ่านมา กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย นำโดย สมยศ พฤกษาเกษมสุข พร้อมสมาชิกประมาณ 50 คน ได้เดินทางไปเรียกร้องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. หยุดการปฏิบัติหน้าที่ และลาออก เพื่อเป็นการแสดงออกให้เห็นถึงความกล้าหาญด้านจริยธรรม หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังดื้อดึง ยืนกรานที่จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จะเป็นการนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อการเป็นองค์กรอิสระ ที่ควรได้รับการแต่งตั้งตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย

โดยกลุ่มได้ตะโกนขับไล่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่า “ออกไป” และ “หน้าไม่อาย ” พร้อมทั้งนำป้ายผ้าสีดำที่มีข้อความสีขาวว่า “คณะกรรมการปราบปรามคนดี และปอกลอกงบประมาณแห่งชาติ” มาปิดทับป้ายสำนักงาน ป.ป.ช. และติดป้ายประกาศว่า “ปิดทำการคณะกรรมการ ป.ป.ช.” บริเวณทางออกสำนักงาน ป.ป.ช. รวมทั้งยังได้จุดประทัดเพื่อเป็นการขับไล่ด้วย

จดหมายเปิดผนึกที่เป็นข้อเรียกร้อง มีใจความดังต่อไปนี้

กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย
81/6 ถนนอรุณอัมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กทม. 10700 โทร. 081-8229-477 โทร./แฟกซ์ 0-2882-4065
Email:
june24democrazy@yahoo.com
http://www.siamreview.net/24june.php

วันที่ 22 กรกฎาคม 2551
เรื่อง ขอให้หยุดปฏิบัติหน้าที่และให้ลาออกจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.
เรียน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
ตามที่ นายกล้านรงค์ จันทิก และผู้เกี่ยวข้อง ได้ยืนยันว่า ประกาศ คปค. ก็ได้แต่งตั้งมาถูกต้องตามอำนาจ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2551 ต่อมาในวันที่ 18 กรกฎาคม นายภักดี โพธิศิริ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวยืนยันอีกครั้งว่า ป.ป.ช. ได้รับการแต่งตั้งโดยคณะยึดอำนาจ ซึ่งถือเป็นองค์รัฐาธิปัตย์ผู้มีอำนาจเด็ดขาดขณะนั้น จึงถือว่าเป็นองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมาย เป็นการกล่าวยืนยันถึงสถานภาพของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ว่าเป็นผลผลิตมาจากการปกครองของเผด็จการทหาร ที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับปี 2540 และ 2550 โดยมีกระบวนการสรรหาตามรัฐธรรมนูญ แต่ต่อมาเมื่อมีการรัฐประหารโดย คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ได้มีคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 3 ให้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 สิ้นสุดลง โดยในส่วนของ ป.ป.ช. นั้น คปค. ได้มีประกาศฉบับที่ 19 ให้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มีผลใช้บังคับต่อไป

โดยงดการบังคับใช้บทบัญญัติเกี่ยวกับการสรรหา และแต่งตั้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 9 คน ขึ้นมา ซึ่งรวมถึงตัว นายกล้านรงค์ จันทิก ด้วย และ คปค. ยังได้มีประกาศฉบับที่ 31 ลงวันที่ 30 กันยายน 2549 ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำรงตำแหน่งตั้งแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งตามประกาศฉบับดังกล่าว และมีวาระการดำรงตำแหน่งตามพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 แต่ในขณะเดียวกันนั้น ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 12 ได้บัญญัติไว้ว่า “กรรมการมีวาระการดำรงตำแหน่งเก้าปี นับแต่วันที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว”

ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นก็คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติชุดนี้ พระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงแต่งตั้ง ตามพระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 12 จึงต้องถือว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดนี้ เป็นคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งจาก คมช. แต่ไม่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามกฎหมาย แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ให้ไว้ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2549 มาตรา 36 บัญญัติให้บรรดาประกาศและคำสั่งของ คมช. ซึ่งได้ประกาศหรือสั่ง ระหว่างวันที่ 19 กันยายน 2549

จนถึงวันที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ให้ถือว่าประกาศหรือคำสั่งหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็ตาม แม้ในเวลาต่อมาประกาศและคำสั่งของ คมช. ดังกล่าว จะนำมาบรรจุไว้ในมาตรา 309 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550 ก็ตาม แต่ถือได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นภายใต้การปกครองเผด็จการทหาร และเกิดขึ้นจากกระบวนการยัดเยียดให้กับประชาชนภายใต้กฎอัยการศึก

ผู้ก่อการรัฐประหารย่อมมีความผิดร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญา เป็นการกระทำเยี่ยงโจรกบฏ ดังนั้น การอ้างเหตุผลว่าได้รับการแต่งตั้งจาก คมช. จึงเป็นการอ้างเหตุผลในการยอมรับอำนาจเผด็จการทหาร เป็นการยอมรับการกระทำเยี่ยงโจรกบฏของผู้ก่อการรัฐประหาร ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่น่าละอายและน่าขยะแขยงเป็นอย่างยิ่ง หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังยืนยันเช่นเดิมดังกล่าวมาแล้วนี้ จะกลายเป็นเยี่ยงอย่างที่เลวร้ายในสังคมประชาธิปไตย ที่ไม่อาจปล่อยให้บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจาก คมช. เหล่านี้ ลอยนวลปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้อีกต่อไป

การอ้างเหตุผลว่า คมช. มีอำนาจถูกต้อง ไม่ต้องมีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง ไม่เพียงแต่ขัดต่อ พ.ร.บ.การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 12 เท่านั้น ยังเป็นการยกฐานะ คมช. อยู่เหนือพระมหากษัตริย์ เป็นการขัดต่อพระราชอำนาจ และยังเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติเงินเดือน เงินประจำตำแหน่งฯ พ.ศ.2541 มาตรา 4 โดยบัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งตามอัตราในบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง

ดังนั้น หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ยังคงดื้อดึง ยืนกรานปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จะเป็นการนำมาซึ่งความเสื่อมเสียต่อการเป็นองค์กรอิสระ ซึ่งควรได้รับการแต่งตั้งตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย การตรวจสอบและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของอำนาจเผด็จการทหาร และไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นองค์กรอิสระตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ 2540 ที่มีมาแต่เดิม

ดังนั้น จึงขอเรียกร้องต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทุกท่าน ได้โปรดมีความละอายและเกรงกลัวต่อบาป ควรมีสำนึกแห่งพลเมืองไทยตามระบอบประชาธิปไตย การดำรงตำแหน่งของท่านโดยมีที่มาจากการแต่งตั้งของเผด็จการทหาร ย่อมปราศจากความน่าเชื่อถืออันสมควรจะให้ดำรงตำแหน่งอีกต่อไป

การลาออกของท่านจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญทางจริยธรรม อันควรได้รับการยกย่องและสรรเสริญ หากยังยืนกรานอยู่ต่อไป โดยได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งอีกต่อไปนั้น ถือได้ว่าท่านได้ปฏิบัติหน้าที่อันไม่บังควรเป็นอย่างยิ่ง เป็นพฤติกรรมที่ปราศจากคุณธรรมและจริยธรรมโดยสิ้นเชิง

ขอแสดงความนับถือ
นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข
กลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย