WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, July 21, 2008

สิทธิตั้งคำถามต่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

คอลัมน์ : สิทธิประชาชน

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีข่าวเล็กๆ ข่าวหนึ่งที่ส่งผลสะท้อนกลับ ทำให้เกิดการวิจารณ์อย่างกว้างขวาง คือ ข่าวตุลาการศาลรัฐธรรมนูญชื่อเหมือนผม นายจรัญ ภักดีธนากุล ตั้งคำถามกับประชาชน 3 ข้อ 1 อยากให้ฆาตรกรแก้กฎหมายอาญาหรือไม่ 2 อยากให้นักการเมืองแก้ไกฎหมายป้องกันการทุจริตซื้อเสียงหรือไม่ และ 3 อยากให้คนมีอคติแก้รัฐธรรมนูญหรือไม่ ความจริง คำถามนี้ โดยเนื้อแท้คือ การโจมตีตรงมาที่พรรคพลังประชาชน นักการเมือง และประชาชนผู้รักประชาธิปไตย รวมทั้งคณะของผมที่เคลื่อนไหวให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีก ผมจึงขอตั้งคำถามกลับไป ดังต่อไปนี้

1.คุณจรัญ ภักดีธนากุล เมื่อคราวเป็นเลขาธิการประธานศาลฎีกา เคยแสดงความคิดเห็นและเคลื่อนไหวสนับสนุนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ชุมนุมเดินขบวนขับไล่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร หลายครั้งหรือไม่ โดยเฉพาะเคยมีบทบาทส่งผลให้ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง เข้ามาตัดสินยกเลิกผลการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 และตัดสินจำคุกกรรมการเลือกตั้ง 4 คน หรือไม่

2.หลังรัฐประหาร 19 กันยายน คุณจรัญเคยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน โดยเฉพาะรายการโทรทัศน์ เห็นด้วยและแก้ต่างให้คณะรัฐประหาร บทสัมภาษณ์ดังกล่าว กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติบางคนได้นำมาพิมพ์ไปแจกจ่ายในที่ประชุมคณะกรรมการฯ ต่อมาคุณจรัญได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐประหารเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม และยืมตัวผู้พิพากษาศาลฎีกา นายสุนัย มโนมัยอุดม ไปเป็นอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อไปดูคดีของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร การไปรับตำแหน่งฝ่ายบริหารนี้ เป็นการรับใช้ระบอบเผด็จการของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) หรือไม่

3.ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 คุณจรัญเป็นสมาชิกและกรรมาธิการสภาร่างรัฐธรรมนูญ มีบทบาทสำคัญในสภานี้ การแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่ของคุณเป็นไปในแนวทางต่อต้านระบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โจมตีพรรคการเมืองและนักการเมืองว่าชั่ว เลวทราม โกงกิน ทุจริต ซื้อเสียง ดูหมิ่นพรรคการเมืองและนักการเมือง ส.ส. ส.ว. ที่มาจากการเลือกตั้งต่างๆ นานา เป็นการดูถูกประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยหรือไม่

4.คุณจรัญเป็นผู้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับนี้คนหนึ่ง เป็นผู้ร่วมบัญญัติว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ โดยให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญประกอบด้วยผู้พิพากษาในศาลฎีกา ตุลาการในศาลปกครอง และผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์อื่น ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริง และผ่านการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด และคณะกรรมการสรรหา ตามมาตรา 204 และ 276 ขอถามว่า บทบัญญัตินี้รองรับและเอื้ออำนวยแก่ผู้พิพากษา ตุลาการ และข้าราชการชั้นสูง หรือไม่ และการที่คุณจรัญสมัครเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ แม้จะเป็นสิทธิของคุณ แต่คุณไม่รู้สึกว่ามีปัญหากับต่อมคุณธรรมหรือไม่

ยิ่งคุณจรัญเคยเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม รับใช้ระบอบเผด็จการของ คมช. เป็นคู่ขัดแย้งกับพรรคไทยรักไทย ต่อมาพรรคพลังประชาชน นักการเมือง และฝ่ายประชาธิปไตย ถ้าคดีของบุคคลคนเหล่านี้ขึ้นไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้มีอยู่หลายคดี แล้วก็ตัดสินไป 3 คดีแล้ว คุณจรัญจะวางตัวอย่างไร เป็นกลางได้จริงหรือ
คำถามทั้ง 4 ข้อนี้ ถ้าคุณจรัญได้รู้ไม่ว่าจะทางใด กรุณาตอบด้วย

ก่อนจบ ผมจะนำเสนอเหตุการณ์ทำนองรัฐประหารโดยตุลาการ ที่เกิดขึ้นในประเทศตุรกี กล่าวคือ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หัวหน้าอัยการสูงสุด ซึ่งเป็นฝ่ายอนุรักษนิยมหัวรุนแรง ได้ยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ยุบพรรคยุติธรรมและการพัฒนา ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล และขอให้สั่งให้ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา รวมทั้งหมด 71 คน พ้นจากตำแหน่งทางการเมือง ข้อหาสำคัญคือ การกระทำลดความสำคัญของศาสนาอิสลาม เพราะพรรคและรัฐบาลตุรกีดังกล่าวมีแนวความคิดทางการเมืองโน้มเอียงทางเสรีประชาธิปไตยแบบตะวันตก โดยศาลรัฐธรรมนูญจะพิพากษาในเดือนสิงหาคมที่จะถึงนี้ ถ้าตัดสินยุบพรรค และบุคคลในรัฐบาลในสภาพ้นตำแหน่ง ก็ถือเป็นรัฐประหารโดยตุลาการ ปัญหาว่า พรรคและรัฐบาลตุรกีจะยอมรับคำตัดสินหรือไม่ เพราะรัฐบาลนี้เข้มแข็งอย่างมาก และประชาชนส่วนใหญ่สนับสนุน

ช่างคล้ายกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทยขณะนี้จริงๆ

จรัล ดิษฐาอภิชัย