WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, July 21, 2008

‘สมัคร’ ตอบ ‘ฮุนเซน’ ย้ำสองประเทศควรใช้ความพยายามเพื่อป้องกันเหตุการณ์ลุกลาม!

คอลัมน์: ฮอตสกู๊ป

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงต่อสื่อมวลชน เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา บริเวณติดกับปราสาทเขาพระวิหาร ความว่า

“วันนี้ (18 ก.ค. 2551) กระทรวงการต่างประเทศได้เชิญ นายอึง เซียน เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทย มาพบเพื่อมอบหนังสือที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ลงนามถึงสมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ตอบหนังสือที่นายกรัฐมนตรีกัมพูชามีมาถึงฝ่ายไทย เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2551

หนังสือของนายกรัฐมนตรีได้ยืนยันความตั้งใจของรัฐบาลไทย ที่จะแก้ไขสถานการณ์ในบริเวณพื้นที่ที่ติดกับปราสาทเขาพระวิหารโดยสันติวิธีและเป็นธรรม โดยมอบหมายให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด นำคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) สมัยพิเศษ ที่ จ.สระแก้ว ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 เพื่อหารืออย่างฉันมิตรกับฝ่ายกัมพูชา และย้ำว่าทั้ง 2 ประเทศควรใช้ความพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ลุกลาม

นายกรัฐมนตรีไทยยืนยันว่า พื้นที่บริเวณวัดแก้วสิขเรศวรที่กล่าวถึง ในหนังสือของนายกรัฐมนตรีกัมพูชา อยู่ในดินแดนของไทย การที่ได้มีชาวกัมพูชาขึ้นไปสร้างวัด สิ่งปลูกสร้างต่างๆ รวมทั้งที่อยู่อาศัย กับทั้งมีทหารอยู่ในพื้นที่นั้น ถือว่าได้ละเมิดอธิปไตยและดินแดนของไทย ซึ่งเรื่องนี้ รัฐบาลไทยได้ทำการประท้วงเป็นลายลักษณ์อักษรมาแล้ว 4 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2547, 2548, 2550 และครั้งหลังสุด เมื่อเดือนเมษายน 2551

ฝ่ายไทยเห็นว่า การที่กัมพูชาเพิ่มกำลังทหารจาก 200 นายเป็นกว่า 1,000 นาย ได้ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดขึ้น นายกรัฐมนตรีของไทยเรียกร้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจ และควรเร่งรัดให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Commission: JBC) หารือโดยเร็ว เพื่อสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตลอดแนวระหว่างทั้ง 2 ประเทศ อันจะป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในลักษณะเดียวกันนี้ขึ้นอีก และในระหว่างที่ JBC ดำเนินการอยู่

ฝ่ายไทยพร้อมที่จะเจรจาหารือถึงมาตรการชั่วคราวต่างๆ ที่จะใช้ไปก่อน เพื่อหยุดยั้งปัญหาใดๆ ที่อาจจะมีขึ้นหลังการมอบหนังสือให้เอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยแล้ว กระทรวงการต่างประเทศได้เชิญเอกอัครราชทูตของประเทศสมาชิกอาเซียนประจำประเทศไทย อีก 8 ประเทศ มาพบเพื่อแจ้งท่าทีไทย และมอบสำเนาหนังสือลงวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ.2008 จากนายกรัฐมนตรีกัมพูชาถึงนายกรัฐมนตรีไทย หนังสือลงวันที่ 18 กรกฎาคม ค.ศ.2008 จากนายกรัฐมนตรีไทยถึงนายกรัฐมนตรีกัมพูชา พร้อมด้วยเอกสารแนบคือสำเนา หนังสือประท้วง 4 ฉบับ

ตลอดจนบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชา ที่ทั้ง 2 ฝ่ายลงนามร่วมกันเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2543 นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้เวียนเอกสารดังกล่าวให้แก่สถานเอกอัครราชทูตของประเทศอื่นๆ ในประเทศไทยด้วย

นายธฤตได้อธิบายเพิ่มเติมว่า การประท้วงทั้ง 4 ครั้งของไทยนั้น ตั้งอยู่บนพื้นฐานของบันทึกความเข้าใจฯ ปี 2543 ซึ่งข้อ 5 ของบันทึกความเข้าใจฯ ระบุว่า ระหว่างที่การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนระหว่างทั้ง 2 ประเทศยังไม่เสร็จสิ้น ทั้ง 2 ฝ่ายจะไม่ดำเนินการใดๆ ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ชายแดน บนพื้นฐานของข้อ 5 ของบันทึกความเข้าใจ ฝ่ายไทยทำการประท้วงต่อกัมพูชา เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2547 ประท้วงการขยายตัวของชุมชนกัมพูชา

ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในบริเวณพื้นที่ชายแดน และก่อปัญหาขยะมูลฝอยและปัญหาน้ำเสีย ซึ่งส่งผลกระทบต่อชุมชนไทยในบริเวณที่อยู่ต่ำกว่า รวมทั้งการก่อสร้างอาคารที่ทำการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นกัมพูชาในพื้นที่ดังกล่าว ต่อมา วันที่ 8 มีนาคม 2548 ได้ยื่นหนังสือประท้วงกัมพูชา เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ของกัมพูชาในการก่อสร้างและปรับปรุงถนนจากบ้านโกมุย อ.จอมกระสาน จ.พระวิหาร ถึงปราสาทเขาพระวิหาร

ต่อมา วันที่ 17 พฤษภาคม 2550 ได้ยื่นหนังสือประท้วงคัดค้านเอกสารเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารในบัญชีมรดกโลกของกัมพูชา และต่อการออกพระราชกฤษฎีกากัมพูชา กำหนดเขตอนุรักษ์ปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งล้ำดินแดนไทย และวันที่ 10 เมษายน 2551 ได้ยื่นหนังสือประท้วงกัมพูชาที่ละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย และละเมิดข้อ 5 ของบันทึกความเข้าใจฯ ปี 2543 โดยย้ำคำประท้วงที่ผ่านมาทั้ง 3 ครั้ง รวมทั้งขอให้ถอนกำลังทหารและตำรวจที่อยู่ในพื้นที่ที่มีการอ้างสิทธิทับซ้อนกันของกัมพูชาและไทยออกทันที อย่างไรก็ดี กัมพูชาไม่เคยตอบสนองคำประท้วงของไทย

ขณะนี้ สถานการณ์ทั่วไปยังเป็นปกติ