WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, December 24, 2008

เสถียรภาพทางการเมืองภาพจำแลงรัฐบาลประชาธิปัตย์

ที่มา ประชาทรรศน์

คอลัมน์ : ตะแกรงข่าว

โดย ณัฐณิชา


หลังมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีให้เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมาทำให้ประชาชนคนไทยได้เห็นโฉมหน้าค่าตาคณะรัฐมนตรีชุด “อภิสิทธิ์ 1” ชัดเจน อย่างเต็มๆ หลังจากเก็งคนนั้น เก็งคนนี้กันมาหลายเพลา

ที่น่าสังเกตก็คือ ในคณะรัฐมนตรีชุดนี้ ไม่มีการนั่งควบเก้าอี้ นั่นอาจเป็นเพราะพรรคการเมืองที่เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เป็นฝ่ายค้านมานาน อดอยากปากแห้ง จนไม่มีใคร “ก้นใหญ่” พอที่จะนั่งควบ 2 เก้าอี้

แม้จะเริ่มมีสื่อมวลชน และนักวิชาการบางท่าน ออกมาท้วงติงถึงโฉมหน้าของคณะรัฐมนตรีชุดนี้ว่า “ขี้เหร่” บ้าง “ยี้” บ้าง บางรายถึงขนาดนำไปเปรียบเทียบว่า “แย่กว่า” รัฐบาลชุด “นอมินี” ทั้งของท่านอดีตนายกรัฐมนตรี “นายสมัคร สุนทรเวช” หรือ อดีตนายกรัฐมนตรี “นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์” เสียอีก

แต่อย่างไรก็ตาม นอกจากเรื่องโฉมหน้า ของคณะรัฐมนตรีชุด “อภิสิทธิ์ 1” หรือ “มาร์ค 1” แล้ว ที่น่าสนใจไม่ยิ่งหย่อน น้อยไปกว่ากัน นั่นก็คือคำว่า “เสถียรภาพ” ของรัฐบาล

คณะรัฐมนตรีชุด“อภิสิทธิ์ 1” หรือ “มาร์ค 1” นี้ ประกอบด้วยบุคคลที่มาจากพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลดังนี้ พรรคประชาธิปัตย์ 17 เก้าอี้ (รวมเก้าอี้นายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ), พรรคชาติไทยพัฒนา (ชาติไทยเดิม) 4 เก้าอี้, พรรคเพื่อแผ่นดิน 5 เก้าอี้, พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 2 เก้าอี้, พรรคภูมิใจไทย (มัชฌิมาฯเดิม) 2 เก้าอี้, กลุ่มเพื่อนเนวิน (พรรคพลังประชาชนเดิม) 4 เก้าอี้, กลุ่มนายสรอรรถ กลิ่นประทุม (พรรคพลังประชาชนเดิม) 1 เก้าอี้ และรัฐมนตรีคนนอก 1 เก้าอี้ (ตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งน่าจะเป็นโควตาของผู้จัดการรัฐบาลตัวจริง ) รวมเบ็ดเสร็จมี 36ตำแหน่ง (รวมนายกรัฐมนตรี) 36 เก้าอี้ 36 คนไม่ซ้ำหน้า (เพราะไม่มีการควบตำแหน่ง)

ซึ่งถ้ามองกันตามจำนวนเสียงที่โหวตในสภาผู้แทนราษฏร เมื่อวันที่มีวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฏร เพื่อทำการเลือกนายกรัฐมนตรีแล้ว และมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก เป็นผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นแคนดิเดตกัน

จะเห็นว่าคะแนนเสียงที่โหวตให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก้าวขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่27 ของประเทศไทย หรือที่เรียกง่ายๆ นั่นก็คือ พรรคที่จะเข้าร่วมรัฐบาลน่าจะมีอยู่ 236เสียง (รวมนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่งดออกเสียง), ในขณะอีกซีกที่ฝ่ายแพ้การโหวตในวันนั้นน่าจะเรียกว่า พรรคร่วมฝ่ายค้าน มีคะแนนเสียง 198 เสียง ซึ่งทำให้เห็นได้ว่า คะแนนเสียงระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลกับพรรคร่วมฝ่ายค้าน มีส่วนต่างห่างกันถึงร่วมๆ 40เสียง

และกอปรกับปัจจัยภายนอกอย่างอื่นเช่น การออกมาร่วมแสดงความยินดีของภาคธุรกิจต่างๆ (ซึ่งแม้การก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในครั้งนี้ จะแลกมาด้วยการให้สมาชิกพรรคหลายต่อหลายคน ไปเคลื่อนไหวปิดสนามบินนานาชาติ จนทำให้ประเทศชาติขาดความเชื่อมั่นในสายตาชาวโลก และภาคธุรกิจทุกแขนงเอง ก็เสียหายยับเยินอย่างมหาศาล),

รวมทั้งการออกมามาร่วมแสดงความยินดีของ “เหล่าทัพ” ต่างๆ (แม้ภาพของคณะรัฐมนตรีชุดนี้ จะขี้เหร่..ปานใด?ก็ตาม) แม้แต่การออกมาพูดของบางสื่อมวลชน และนักวิชาการบางคน ที่บอกว่าควรให้โอกาสรัฐบาลก่อน (ทั้งๆที่ รัฐบาลนายสมัคร สนุทรเวช และรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ไม่เคยได้รับโอกาสเช่นนี้)
ก็ต้องบอกว่า ….“อภิสิทธิ์” จริง จริง

ทำให้มองเห็นได้ชัดว่า รัฐบาลชุด“อภิสิทธิ์ 1” หรือ “มาร์ค 1” นี้ น่าจะอยู่ได้อย่างยาวนาน เพราะค่อนข้าง จะเป็นอีกหนึ่งคณะรัฐบาล ที่มีเสถียรภาพมั่นคงเป็นอย่างมากทั้งใน และนอกสภาฯ

แต่ถ้าหากมองการจัดสรรปันแบ่งโควตาคณะรัฐมนตรีชุดนี้ ให้ดีๆ แล้ว จะเห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมีจำนวน ส.ส.อยู่ 166 คน ได้ไป 17เก้าอี้ (รวมเก้าอี้นายกรัฐมนตรี) ถือเป็นสัดส่วนจำนวน ส.ส.ต่อเก้าอี้รัฐมนตรี 10:1 ในขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ มีจำนวน ส.ส.ที่โหวตให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีดังนี้

พรรคเพื่อแผ่นดิน 22 คน ได้ไป 5 เก้าอี้ สัดส่วนจำนวน ส.ส.ต่อเก้าอี้รัฐมนตรี 4:1, พรรคชาติไทยพัฒนา (ชาติไทยเดิม) 12 คน ได้ไป 4 เก้าอี้ สัดส่วนจำนวน ส.ส.ต่อเก้าอี้รัฐมนตรี 3:1, พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 7 คน ได้ไป 2 เก้าอี้ สัดส่วนจำนวน ส.ส.ต่อเก้าอี้รัฐมนตรี 3.5:1, พรรคภูมิใจไทย 6 คน ได้ไป 2เก้าอี้ สัดส่วนจำนวน ส.ส.ต่อเก้าอี้รัฐมนตรี 3.5:1, กลุ่มเพื่อนเนวิน 22 คน ได้ไป 4 เก้าอี้ สัดส่วนจำนวน ส.ส.ต่อเก้าอี้รัฐมนตรี 5:1, กลุ่มนายสรอรรถ กลิ่นประทุม 2 คน ได้ไป 1 เก้าอี้ สัดส่วนจำนวน ส.ส.ต่อเก้าอี้รัฐมนตรี 2:1

และถ้ามีการมองกันในสภาพความเป็นจริง กับโฉมหน้ารัฐบาลชุดนี้แล้ว ก็จะเห็นได้ชัดว่า พรรคประชาธิปัตย์ กำลังสูญเสียสภาพการเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล เพราะตำแหน่งรัฐมนตรีที่ว่ากันว่าเป็นกระทรวงเกรดเอ ล้วนแล้วแต่ตกอยู่ในมือของกลุ่มนเพื่อเนวิน และพรรคร่วมรัฐบาลที่ย้ายขั้วมาจากรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ แทบทั้งสิ้น

เว้นแต่ว่านายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อาจจะมองโลกในแง่ดีว่า จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร 166เสียงของพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีตนเป็นหัวหน้าพรรคนั้น แลกกับเก้าอี้นายกรัฐมนตรี เก้าอี้เดียวก็คุ้มเกินคุ้มแล้ว ดังนั้น จำนวนเก้าอี้รัฐมนตรีที่พรรคประชาธิปัตย์ได้มาอีกตั้ง 16 เก้าอี้ ถือว่าเป็นกำไร และโบนัสของพรรค จึงถือว่าพรรคยังได้เปรียบและยังเป็นแกนนำ ยังมีอำนาจต่อรองอยู่

แต่เชื่อขนมกินได้เลยว่า สมาชิกพรรคคนอื่นๆ จำนวนไม่น้อย อีกหลายต่อหลายคน ไม่ได้มีความคิดเหมือนนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะแน่ๆ เพราะการออกมาเคลื่อนไหวของนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ, นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ฯลฯ ที่ออกมาแฉเรื่อง “แก๊งค์ออฟโฟร์” ล้วนแล้วแต่มีมูลเหตุมาจากการอกหักจากเก้าอี้รัฐมนตรี ที่พรรคประชาธิปัตย์ได้รับจัดสรรมา (จากใคร?ก็ไม่รู้) ซึ่งมีไม่พอกับจำนวนคนที่ต้องการเป็นรัฐมนตรี

และถ้าว่ากันตามจริงแล้ว สัดส่วนของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร ต่อจำนวนเก้าอี้รัฐมนตรี ควรจะต้องเป็น อัตรา 6:1 ซึ่งจะเห็นได้ชัดว่า มีเพียงพรรคประชาธิปัตย์ เพียงพรรคเดียวเท่านั้น ที่เสียเปรียบพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลพรรคอื่นในเรื่องนี้ ดังนั้น ถ้ายึดหลักในสัดส่วน 6:1 แล้ว

พรรคประชาธิปัตย์ที่ได้มา 17เก้าอี้ เป็นโควตานายทุนพรรค (ที่ชัดๆ) 1 เก้าอี้, เป็นโควตากลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 1 เก้าอี้ เหลือจริงๆ 15 เก้าอี้ เฉพาะเก้าอี้นายกรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงต้องแลกมาด้วยจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรพรรคประชาธิปัตย์ถึง 76เสียง ประเด็นนี้ นับว่าน่าสนใจไม่น้อยเลยจริงๆ

ดังนั้น การจัดสรรคนให้เหมาะกับตำแหน่ง จึงน่าจะเป็นสิ่งที่ท้าทาย จนอาจสามารถทำลายเสถียรภาพของรัฐบาลชุดนี้ได้

เมื่อมีคนบอกว่าควรให้รัฐบาลทำงานไปก่อน ประชาชนที่เป็น “กบ”ทั้งหลาย ก็ควรทำตาม เพราะเราเป็น “กบที่ไม่มีสิทธิ์เลือก” ไม่ว่าจะเป็นการเลือก “ขี้ข้า” หรือว่าเลือก “นาย”
เฮ้อ...นี่แหละประเทศไทย !!