ที่มา ข่าวสด
กรณี "ขอคืนพื้นที่" สะพานผ่านฟ้าลีลาศ บนถนนราชดำเนิน เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 กำลังจะกลายเป็น "เผือกร้อน" ทางการเมือง
ไม่ต้องถามว่าจะเอา "ความผิด" กับใคร
1 เป็นความผิดของผู้ออกคำสั่งให้ทหารดำเนินการ "ขอคืนพื้นที่" โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเลยเวลา 18.00 น.ไปแล้ว
1 เป็นความผิดของ "กองกำลังไม่ทราบฝ่าย" ซึ่งปรากฏขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน
เพราะแม้ว่าส่วนแรกจะแจ่มชัดว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
กระนั้น ส่วนหลังซึ่งถูกเรียกว่า "กองกำลังไม่ทราบฝ่าย" จะอยู่ในความรับผิดชอบของใคร
ยิ่งกว่านั้น จะเอาใครมาประกอบส่วนขึ้นเป็น "คณะกรรมการ"
ถึงแม้ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเคยแถลงมอบหมายให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) รับไปดำเนินการ
แต่ก็เริ่มมีเสียงท้วงติงทั้งจาก "ภายใน" และจาก "ภายนอก"
ภายในเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วยกันว่าไม่สมควรเพราะเท่ากับรัฐบาลผลักภาระทางการเมืองมาให้กับกสม.
ภายนอกเป็นการตั้งข้อสังเกตถึงความชอบธรรมของกรรมการกสม.บางท่าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ น.พ.ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการ
เพราะว่า 2 คนนี้เคย "เหลืองอ๋อย" มาตั้งแต่ก่อรัฐประหารเดือนกันยายน 2549
นางอมรา พงศาพิชญ์ เคยเคลื่อนไหวขับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร น.พ.ชูชัย ศุภวงศ์ ก็แทบไม่แตกต่างกัน
หากรับเป็นกรรมการตรวจสอบก็ยากจะก่อให้เกิดความเชื่อถือต่อสังคมได้
ต้องยอมรับว่า นอกเหนือไปจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แล้วการเสาะหาบุคคลอื่นก็แทบไม่ต่างไปจากการเสาะหา
"หนวดเต่า เขากระต่าย"
เมื่อก่อนสังคมเคยสนิทใจกับชื่อของ น.พ.ประเวศ วะสี ชื่อของ นายเสน่ห์ จามริก ชื่อของ นายระพี สาคริก
เรียกโดยองค์รวมเชิงยกย่องว่าเป็น "ราษฎรอาวุโส"
แต่พลันที่ผ่านสถานการณ์การรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 มา สังคมก็เริ่มไม่แน่ใจในตัวของ "ราษฎรอาวุโส" เสียแล้ว
หากแต่งตั้งท่านใดท่านหนึ่งก็คงได้ยินเสียงครางฮือจากสังคมอย่างไม่ต้องสงสัย
ขนาดบุคคลที่เคยได้รับยกย่องให้เป็น "ราษฎรอาวุโส" ยังถูกทอดมองด้วยความไม่แน่ใจแล้วจะเหลืออะไรให้ยกมือไหว้ได้เล่า
อันเท่ากับสะท้อนว่า สังคมไทยกำลังแล้งไร้ "ผู้ใหญ่" ที่ผู้คนให้การยอมรับเหลืออยู่
ก่อนหน้านี้เราเคยมีบุคคลอย่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อันถือว่าเป็น "เสาหลัก" ของสังคม
แต่น่าเสียดายที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ "ล่วง" ไปอยู่ในอีกภพชาติหนึ่งเสียแล้ว จะมีก็แต่ชื่อเสียงและเกียรติภูมิในฐานะปราชญ์และอดีตนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่งเท่านั้น
ถามว่าแล้ว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเอาใครมาเป็นกรรมการสอบสวนพฤติกรรมของตน
ไม่ต้องถามว่าจะเอา "ความผิด" กับใคร
1 เป็นความผิดของผู้ออกคำสั่งให้ทหารดำเนินการ "ขอคืนพื้นที่" โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเลยเวลา 18.00 น.ไปแล้ว
1 เป็นความผิดของ "กองกำลังไม่ทราบฝ่าย" ซึ่งปรากฏขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน
เพราะแม้ว่าส่วนแรกจะแจ่มชัดว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมระหว่าง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.)
กระนั้น ส่วนหลังซึ่งถูกเรียกว่า "กองกำลังไม่ทราบฝ่าย" จะอยู่ในความรับผิดชอบของใคร
ยิ่งกว่านั้น จะเอาใครมาประกอบส่วนขึ้นเป็น "คณะกรรมการ"
ถึงแม้ว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเคยแถลงมอบหมายให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) รับไปดำเนินการ
แต่ก็เริ่มมีเสียงท้วงติงทั้งจาก "ภายใน" และจาก "ภายนอก"
ภายในเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติด้วยกันว่าไม่สมควรเพราะเท่ากับรัฐบาลผลักภาระทางการเมืองมาให้กับกสม.
ภายนอกเป็นการตั้งข้อสังเกตถึงความชอบธรรมของกรรมการกสม.บางท่าน
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และ น.พ.ชูชัย ศุภวงศ์ เลขาธิการ
เพราะว่า 2 คนนี้เคย "เหลืองอ๋อย" มาตั้งแต่ก่อรัฐประหารเดือนกันยายน 2549
นางอมรา พงศาพิชญ์ เคยเคลื่อนไหวขับรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร น.พ.ชูชัย ศุภวงศ์ ก็แทบไม่แตกต่างกัน
หากรับเป็นกรรมการตรวจสอบก็ยากจะก่อให้เกิดความเชื่อถือต่อสังคมได้
ต้องยอมรับว่า นอกเหนือไปจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) แล้วการเสาะหาบุคคลอื่นก็แทบไม่ต่างไปจากการเสาะหา
"หนวดเต่า เขากระต่าย"
เมื่อก่อนสังคมเคยสนิทใจกับชื่อของ น.พ.ประเวศ วะสี ชื่อของ นายเสน่ห์ จามริก ชื่อของ นายระพี สาคริก
เรียกโดยองค์รวมเชิงยกย่องว่าเป็น "ราษฎรอาวุโส"
แต่พลันที่ผ่านสถานการณ์การรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 มา สังคมก็เริ่มไม่แน่ใจในตัวของ "ราษฎรอาวุโส" เสียแล้ว
หากแต่งตั้งท่านใดท่านหนึ่งก็คงได้ยินเสียงครางฮือจากสังคมอย่างไม่ต้องสงสัย
ขนาดบุคคลที่เคยได้รับยกย่องให้เป็น "ราษฎรอาวุโส" ยังถูกทอดมองด้วยความไม่แน่ใจแล้วจะเหลืออะไรให้ยกมือไหว้ได้เล่า
อันเท่ากับสะท้อนว่า สังคมไทยกำลังแล้งไร้ "ผู้ใหญ่" ที่ผู้คนให้การยอมรับเหลืออยู่
ก่อนหน้านี้เราเคยมีบุคคลอย่าง ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อันถือว่าเป็น "เสาหลัก" ของสังคม
แต่น่าเสียดายที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็ "ล่วง" ไปอยู่ในอีกภพชาติหนึ่งเสียแล้ว จะมีก็แต่ชื่อเสียงและเกียรติภูมิในฐานะปราชญ์และอดีตนายกรัฐมนตรีท่านหนึ่งเท่านั้น
ถามว่าแล้ว นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะเอาใครมาเป็นกรรมการสอบสวนพฤติกรรมของตน