ที่มา มติชน
หมายเหตุ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน อ่านมติที่ประชุมแกนนำ นปช.บนเวทีปราศรัย ที่สี่แยกราชประสงค์ เกี่ยวกับ "เรดแมป" ซึ่งเป็นเงื่อนไขยื่นต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีให้พิจารณา ก่อนที่จะประกาศยุติการชุมนุม เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม
สิ่งที่จะแถลงต่อไปนี้ เป็นการตัดสินใจของแกนนำที่ผ่านการคิดอ่านอย่างรอบคอบ โดยเป็นการตัดสินใจที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ และคำนึงถึงผู้ชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงทั้งแผ่นดิน โดยเฉพาะผู้ชุมนุมที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์การต่อสู้ ในเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน วันที่ 22 และ 28 เมษายน เบื้องต้นแกนนำทุกคนเห็นว่าจากการที่ นปช.แดงทั้งแผ่นดินได้ประกาศชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา จนถึงปัจจจุบันโดยประกาศหลักการต่อสู้สำคัญ คือ สงบ สันติ อหิงสา ซึ่งปัจจุบันก็ยังเดินหน้าต่อสู้ภายใต้หลักการนี้ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเเกิดสถานการณ์อะไรขึ้นก็ตาม
ทั้งนี้ ท่ามกลางการต่อสู้ที่ยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาร่วม 2 เดือน การชุมนุมที่ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ เป็นสิ่งที่ต้องถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ประเทศไทยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการที่ประชาชนออกมารวมตัวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในไทย และเป็นการชุมนุมครั้งแรกที่มีการเคลื่อนขบวนไปตามถนนสำคัญในกรุงเทพฯ และได้รับการตอบรับอย่างเปิดเผยจากประชาชนทุกภาคส่วน และเป็นการชุมนุมครั้งแรกที่มีประชาชนทั้งในเขต กทม. และภูมิภาค สลับหมุนเปลี่ยนกำลังมาร่วมชุมนุมอย่างหาญกล้า และมีการเคลื่อนไหวอย่างเป็นเอกภาพ
แต่ในระหว่างการต่อสู้ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามใช้อำนาจ อิทธิพล ใส่ร้ายป้ายสีให้กลุ่มคนเสื้อแดง มีสภาพเป็นผู้ชุมนุมรับจ้าง ผู้ก่อการร้าย กลุ่มคนที่หวังล้มเจ้า และนิยมความรุนแรง แต่ในที่สุดความเป็นจริงก็ปรากฏให้เห็นว่ากลุ่มคนเสื้อแดงตกอยู่ในฝ่ายของผู้ถูกกระทำ และเรื่องนี้จะต้องถูกบันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์ โดยไม่มีใครสามารถลืมได้ โดยเฉพาะกรณีที่การชุมนุมครั้งนี้มีประชาชนที่เข้าร่วมและต้องสูญเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาจจะเกิดขึ้นจากฝีมือกองกำลังฝ่ายรัฐบาล หรือกองกำลังที่ไม่ทราบฝ่าย และเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นการตอกย้ำในสายตาชาวโลกว่าผู้นำรัฐบาลมีความต้องการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม
เมื่อนายกรัฐมนตรีได้ยื่นข้อเสนอการปรองดองต่อกลุ่มคนเสื้อแดง เพื่อให้เกิดสันติภาพ โดยใช้สันติวิธี เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทางกลุ่ม นปช.ได้พิจารณา และมีมติเอกฉันท์แสดงท่าทีตอบรับโดยทันทีไปก่อนหน้านี้แล้ว เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นอีก แต่เนื่องจากประเทศไทยมีปัญหาความขัดแย้งสะสม บ่มเพาะต่อเนื่องมาอย่างยาวนานไม่ต่ำกว่า 4 ปี และทุกปัญหาก็นำไปสู่สงครามระหว่างชนชั้น ไพร่กับอำมาตย์ ดังนั้น เมื่อมีผู้เสนอแนวทางภายใต้สันติวิธี นปช.จึงพร้อมให้ความร่วมมืออย่างจริงใจ แต่เนื่องจากการหารืออาจจะต้องใช้เวลาและจำเป็นที่การแก้ไขปัญหาจะต้องคำนึงถึงชีวิตคนที่สูญเสียไป เรื่องไม่จบลงแค่การยุติการชุมนุมหรือการยุบสภาเท่านั้น ที่ประชุมแกนนำจึงมีมติอย่างเป็นทางการดังนี้
1.นปช.แดงทั้งแผ่นดินประกาศตอบรับวันเลือกตั้งใหม่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2553 ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯเสนอมา แต่ในช่วงประกาศตอบรับ นปช.ได้ตั้งคำถามว่านายกฯจะกำหนดวันยุบสภาวันไหน เนื่องจากเป็นหน้าที่โดยตรงของนายกฯ ขณะที่การกำหนดวันเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งนายอภิสิทธิ์และคนในรัฐบาลได้ออกมาแสดงความเห็นที่ตรงกันว่าวันยุบสภาจะอยู่ในช่วงวันที่ 15-30 กันยายน 2553 นปช.จึงถือโอกาสนี้ ตอบรับวันที่ 15-30 กันยายน เป็นวันที่จะมีการประกาศยุบสภาโดยไม่มีเงื่อนไข
เรื่องนี้เป็นการแสดงความจริงใจในส่วนของ นปช.ที่ต้องการนำพาบ้านเมืองไปสู่สันติ ไม่มีคนบาดเจ็บล้มตาย แต่เรื่องนี้ นปช.มีข้อเรียกร้องเพิ่มเติม คือ สืบเนื่องจากข้อต่อสู้ของกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นการต่อสู้กับขบวนการสองมาตรฐาน จึงหมายความว่าการดำเนินคดีความที่เกี่ยวเนื่องและเกิดขึ้นจากการชุมนุมในช่วงที่ผ่านมา แกนนำ นปช.ยืนยันว่าไม่ประสงค์ที่จะรับนิรโทษกรรม ไม่ว่าจะเป็นโทษเล็กรวมไปถึงโทษใหญ่ คือการประหารชีวิต และพร้อมที่จะเดินหน้าต่อสู้ทุกขั้นตอนตามกระบวนการยุติธรรม แต่รัฐบาลต้องปฏิบัติการกระบวนการยุติธรรมให้เป็นมาตรฐานเดียวกันด้วย ซึ่งที่มาของข้อกล่าวหาการก่อการร้ายเกิดจากเหตุการณ์ในวันที่ 10 เมษายน 2553 ซึ่งทหารได้ใช้กำลังสลายการชุมนุม มีประชาชนบาดเจ็บ 800 กว่าคน และมีผู้เสียชีวิต 25 คน หลังเหตุการณ์ แกนนำ นปช.ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย และถูกออกหมายจับจากดีเอสไอ ขณะที่นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ที่เป็นผู้สั่งการให้สลายการชุมนุมจนเกิดเหตุดังกล่าว กลับไม่ถูกดำเนินคดี ทั้งที่กลุ่ม นปช.ได้แจ้งความจับต่างกรรมต่างวาระมากมาย
แกนนำ นปช.จึงขอเรียกร้องว่า เมื่อเราตอบรับมาตรการปรองดองวันยุบสภาของรัฐบาลและวันเลือกตั้งของรัฐบาล รวมถึงการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพก็ต้องเดินเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจากเหตุการณ์ 10 เมษายนเช่นเดียวกัน หากคดีผู้ก่อการร้าย ซึ่งมีโทษประหารชีวิต และเมื่อคดีถึงที่สุด แกนนำ นปช.ถูกตัดสินว่ามีความผิด เราก็ยินดีรับโทษประหารชีวิต แต่ถ้านายอภิสิทธิ์และนายสุเทพถูกดำเนินคดีถึงที่สุด ก็ต้องรับโทษประหารชีวิตเช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็น ส.ส. อีกทั้งขณะนี้เป็นช่วงเปิดสภา ทำให้ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครอง เช่นเดียวกับนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. ซึ่งกลุ่ม นปช.ไม่ติดใจ แต่ในส่วนของนายสุเทพ ซึ่งปัจจุบันลาออกจาก ส.ส.ไปแล้ว ไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครอง ในเมื่อต้องการให้ นปช.เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม นายสุเทพก็ต้องถูกออกหมายจับและเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมๆ กับแกนนำ นปช.
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของการตั้งแง่ แต่เนื่องจากแกนนำ นปช.ต้องการให้คดีที่ประชาชนเสียชีวิตเป็นคดีประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เงียบหายไปเหมือนเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 ที่ผู้มีอำนาจสั่งการเข่นฆ่าประชาชน แต่กลับไม่ได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งในส่วนของคำถามที่ว่า คนเสื้อแดงจะยุติการชุมนุมวันไหน เราขอประกาศว่าถ้านายสุเทพยอมมอบตัวกับตำรวจ วันนั้นแกนนำ นปช.จะประกาศยุติการชุมนุมทันที และนายสุเทพเดินทางไปพบตำรวจวันไหน คนเสื้อแดงก็จะพร้อมจะกลับบ้านทันที หากนายสุเทพเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แกนนำ นปช.ก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อให้เป็นไปตามวิถีประชาธิปไตย แต่ถ้านายสุเทพปฏิเสธ และถือว่าตำแหน่งรองนายกฯยิ่งใหญ่ แกนนำ นปช.ก็จะประกาศยุติข้อเสนอที่ให้ยุติการชุมนุม
2.กรณีที่ข้อเสนอนายอภิสิทธิ์ มีการระบุถึงสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน กลุ่ม นปช.ขอเรียกร้องว่า นปช.พร้อมที่จะประกาศยุติการชุมนุมด้วย แต่เพื่อแสดงความจริงใจ ขอให้รัฐบาลคืนสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมพีเพิลแชนแนล (พีทีวี) ให้กลับมาออกอากาศได้ตามปกติเหมือนเดิม เพราะเท่าที่มีการสอบถามจากเจ้าหน้าที่พีทีวี ได้รับการยืนยันทางเทคนิคว่าขณะนี้พีทีวีพร้อมออกอากาศอยู่แล้ว เพียงแต่มีขบวนการนอกระบบที่ตัดสัญญาณ ทำให้ไม่สามารถออกอากาศได้ และหากมีการจัดตั้งคณะกรรมการที่เข้ามากำกับดูแลสื่อ เพื่อให้เกิดความปรองดอง พีทีวีก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการเช่นเดียวกับกรณีของเอเอสทีวี
3.สำหรับกรณี พ.ร.ก.บริหารราชการในภาวะฉุกเฉิน ที่รัฐบาลอ้างว่าจำเป็นต้องประกาศ เพื่อรักษาสถานการณ์ไม่ให้เกิดความรุนแรงนั้น ในส่วนของแกนนำเห็นว่าเมื่อรัฐบาลดำเนินการ รัฐบาลก็ต้องตัดสินใจเองว่าจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือไม่ เชื่อว่าหากยังไม่ประกาศยกเลิก ยิ่งนานวัน รัฐบาลจะยิ่งถูกกระแสสังคมกดดันมากขึ้น
นปช.มีความตั้งใจที่จะให้ความร่วมมือเพื่อนำพาประเทศชาติออกจากปัญหาความขัดแย้งของประเทศ และพร้อมที่จะเสนอแผนปรองดองในส่วนของ นปช.ให้คณะกรรมการที่จะเสนอให้จัดตั้งในเร็วๆ นี้ และขอเรียกร้องในส่วนของเหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมา ควรจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นมาตรวจสอบหาข้อเท็จจริงถึงสาเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น เพราะนี่คือสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าว หากบรรลุผล นปช.จะไม่ถือว่าการที่รัฐบาลประกาศยุบสภาคือ ชัยชนะ และการที่กลุ่มคนเสื้อแดงยุติการชุมนุม ก็ไม่ถือว่าเป็นชัยชนะของรัฐบาล แต่เราถือว่าการที่คนไทยทั้ง 64 ล้านคน จะเริ่มต้นหาทางออกจากกับดักของบ้านเมือง ถือเป็นชัยชนะของคนไทยทั้งประเทศ
อยากฝากไปยังนายสุเทพว่า หากนายสุเทพเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และไม่ได้รับการประกันตัว แกนนำ นปช.ทุกคน ก็พร้อมที่จะไม่รับสิทธิการประกันตัวเช่นกัน ทั้งนี้ ในวันที่ 21 พฤษภาคมนี้ สภาจะปิดสมัยประชุม นายอภิสิทธิ์สามารถนัดหมายตนได้ว่าจะเดินทางไปมอบตัวพร้อมกัน เพื่อที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน
สิ่งที่จะแถลงต่อไปนี้ เป็นการตัดสินใจของแกนนำที่ผ่านการคิดอ่านอย่างรอบคอบ โดยเป็นการตัดสินใจที่คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติ และคำนึงถึงผู้ชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงทั้งแผ่นดิน โดยเฉพาะผู้ชุมนุมที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์การต่อสู้ ในเหตุการณ์วันที่ 10 เมษายน วันที่ 22 และ 28 เมษายน เบื้องต้นแกนนำทุกคนเห็นว่าจากการที่ นปช.แดงทั้งแผ่นดินได้ประกาศชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลยุบสภาตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา จนถึงปัจจจุบันโดยประกาศหลักการต่อสู้สำคัญ คือ สงบ สันติ อหิงสา ซึ่งปัจจุบันก็ยังเดินหน้าต่อสู้ภายใต้หลักการนี้ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเเกิดสถานการณ์อะไรขึ้นก็ตาม
ทั้งนี้ ท่ามกลางการต่อสู้ที่ยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลาร่วม 2 เดือน การชุมนุมที่ผ่านเหตุการณ์ต่างๆ เป็นสิ่งที่ต้องถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ประเทศไทยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการที่ประชาชนออกมารวมตัวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยให้เกิดขึ้นในไทย และเป็นการชุมนุมครั้งแรกที่มีการเคลื่อนขบวนไปตามถนนสำคัญในกรุงเทพฯ และได้รับการตอบรับอย่างเปิดเผยจากประชาชนทุกภาคส่วน และเป็นการชุมนุมครั้งแรกที่มีประชาชนทั้งในเขต กทม. และภูมิภาค สลับหมุนเปลี่ยนกำลังมาร่วมชุมนุมอย่างหาญกล้า และมีการเคลื่อนไหวอย่างเป็นเอกภาพ
แต่ในระหว่างการต่อสู้ที่ผ่านมา รัฐบาลพยายามใช้อำนาจ อิทธิพล ใส่ร้ายป้ายสีให้กลุ่มคนเสื้อแดง มีสภาพเป็นผู้ชุมนุมรับจ้าง ผู้ก่อการร้าย กลุ่มคนที่หวังล้มเจ้า และนิยมความรุนแรง แต่ในที่สุดความเป็นจริงก็ปรากฏให้เห็นว่ากลุ่มคนเสื้อแดงตกอยู่ในฝ่ายของผู้ถูกกระทำ และเรื่องนี้จะต้องถูกบันทึกอยู่ในประวัติศาสตร์ โดยไม่มีใครสามารถลืมได้ โดยเฉพาะกรณีที่การชุมนุมครั้งนี้มีประชาชนที่เข้าร่วมและต้องสูญเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น อาจจะเกิดขึ้นจากฝีมือกองกำลังฝ่ายรัฐบาล หรือกองกำลังที่ไม่ทราบฝ่าย และเหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นการตอกย้ำในสายตาชาวโลกว่าผู้นำรัฐบาลมีความต้องการใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุม
เมื่อนายกรัฐมนตรีได้ยื่นข้อเสนอการปรองดองต่อกลุ่มคนเสื้อแดง เพื่อให้เกิดสันติภาพ โดยใช้สันติวิธี เรื่องนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทางกลุ่ม นปช.ได้พิจารณา และมีมติเอกฉันท์แสดงท่าทีตอบรับโดยทันทีไปก่อนหน้านี้แล้ว เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นอีก แต่เนื่องจากประเทศไทยมีปัญหาความขัดแย้งสะสม บ่มเพาะต่อเนื่องมาอย่างยาวนานไม่ต่ำกว่า 4 ปี และทุกปัญหาก็นำไปสู่สงครามระหว่างชนชั้น ไพร่กับอำมาตย์ ดังนั้น เมื่อมีผู้เสนอแนวทางภายใต้สันติวิธี นปช.จึงพร้อมให้ความร่วมมืออย่างจริงใจ แต่เนื่องจากการหารืออาจจะต้องใช้เวลาและจำเป็นที่การแก้ไขปัญหาจะต้องคำนึงถึงชีวิตคนที่สูญเสียไป เรื่องไม่จบลงแค่การยุติการชุมนุมหรือการยุบสภาเท่านั้น ที่ประชุมแกนนำจึงมีมติอย่างเป็นทางการดังนี้
1.นปช.แดงทั้งแผ่นดินประกาศตอบรับวันเลือกตั้งใหม่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2553 ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯเสนอมา แต่ในช่วงประกาศตอบรับ นปช.ได้ตั้งคำถามว่านายกฯจะกำหนดวันยุบสภาวันไหน เนื่องจากเป็นหน้าที่โดยตรงของนายกฯ ขณะที่การกำหนดวันเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งนายอภิสิทธิ์และคนในรัฐบาลได้ออกมาแสดงความเห็นที่ตรงกันว่าวันยุบสภาจะอยู่ในช่วงวันที่ 15-30 กันยายน 2553 นปช.จึงถือโอกาสนี้ ตอบรับวันที่ 15-30 กันยายน เป็นวันที่จะมีการประกาศยุบสภาโดยไม่มีเงื่อนไข
เรื่องนี้เป็นการแสดงความจริงใจในส่วนของ นปช.ที่ต้องการนำพาบ้านเมืองไปสู่สันติ ไม่มีคนบาดเจ็บล้มตาย แต่เรื่องนี้ นปช.มีข้อเรียกร้องเพิ่มเติม คือ สืบเนื่องจากข้อต่อสู้ของกลุ่มคนเสื้อแดงเป็นการต่อสู้กับขบวนการสองมาตรฐาน จึงหมายความว่าการดำเนินคดีความที่เกี่ยวเนื่องและเกิดขึ้นจากการชุมนุมในช่วงที่ผ่านมา แกนนำ นปช.ยืนยันว่าไม่ประสงค์ที่จะรับนิรโทษกรรม ไม่ว่าจะเป็นโทษเล็กรวมไปถึงโทษใหญ่ คือการประหารชีวิต และพร้อมที่จะเดินหน้าต่อสู้ทุกขั้นตอนตามกระบวนการยุติธรรม แต่รัฐบาลต้องปฏิบัติการกระบวนการยุติธรรมให้เป็นมาตรฐานเดียวกันด้วย ซึ่งที่มาของข้อกล่าวหาการก่อการร้ายเกิดจากเหตุการณ์ในวันที่ 10 เมษายน 2553 ซึ่งทหารได้ใช้กำลังสลายการชุมนุม มีประชาชนบาดเจ็บ 800 กว่าคน และมีผู้เสียชีวิต 25 คน หลังเหตุการณ์ แกนนำ นปช.ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ก่อการร้าย และถูกออกหมายจับจากดีเอสไอ ขณะที่นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ที่เป็นผู้สั่งการให้สลายการชุมนุมจนเกิดเหตุดังกล่าว กลับไม่ถูกดำเนินคดี ทั้งที่กลุ่ม นปช.ได้แจ้งความจับต่างกรรมต่างวาระมากมาย
แกนนำ นปช.จึงขอเรียกร้องว่า เมื่อเราตอบรับมาตรการปรองดองวันยุบสภาของรัฐบาลและวันเลือกตั้งของรัฐบาล รวมถึงการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพก็ต้องเดินเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมจากเหตุการณ์ 10 เมษายนเช่นเดียวกัน หากคดีผู้ก่อการร้าย ซึ่งมีโทษประหารชีวิต และเมื่อคดีถึงที่สุด แกนนำ นปช.ถูกตัดสินว่ามีความผิด เราก็ยินดีรับโทษประหารชีวิต แต่ถ้านายอภิสิทธิ์และนายสุเทพถูกดำเนินคดีถึงที่สุด ก็ต้องรับโทษประหารชีวิตเช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากนายอภิสิทธิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และเป็น ส.ส. อีกทั้งขณะนี้เป็นช่วงเปิดสภา ทำให้ได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครอง เช่นเดียวกับนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. ซึ่งกลุ่ม นปช.ไม่ติดใจ แต่ในส่วนของนายสุเทพ ซึ่งปัจจุบันลาออกจาก ส.ส.ไปแล้ว ไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครอง ในเมื่อต้องการให้ นปช.เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม นายสุเทพก็ต้องถูกออกหมายจับและเข้ามอบตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมๆ กับแกนนำ นปช.
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องของการตั้งแง่ แต่เนื่องจากแกนนำ นปช.ต้องการให้คดีที่ประชาชนเสียชีวิตเป็นคดีประวัติศาสตร์ ไม่ใช่เงียบหายไปเหมือนเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 ที่ผู้มีอำนาจสั่งการเข่นฆ่าประชาชน แต่กลับไม่ได้รับโทษตามกฎหมาย ซึ่งในส่วนของคำถามที่ว่า คนเสื้อแดงจะยุติการชุมนุมวันไหน เราขอประกาศว่าถ้านายสุเทพยอมมอบตัวกับตำรวจ วันนั้นแกนนำ นปช.จะประกาศยุติการชุมนุมทันที และนายสุเทพเดินทางไปพบตำรวจวันไหน คนเสื้อแดงก็จะพร้อมจะกลับบ้านทันที หากนายสุเทพเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม แกนนำ นปช.ก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อให้เป็นไปตามวิถีประชาธิปไตย แต่ถ้านายสุเทพปฏิเสธ และถือว่าตำแหน่งรองนายกฯยิ่งใหญ่ แกนนำ นปช.ก็จะประกาศยุติข้อเสนอที่ให้ยุติการชุมนุม
2.กรณีที่ข้อเสนอนายอภิสิทธิ์ มีการระบุถึงสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน กลุ่ม นปช.ขอเรียกร้องว่า นปช.พร้อมที่จะประกาศยุติการชุมนุมด้วย แต่เพื่อแสดงความจริงใจ ขอให้รัฐบาลคืนสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมพีเพิลแชนแนล (พีทีวี) ให้กลับมาออกอากาศได้ตามปกติเหมือนเดิม เพราะเท่าที่มีการสอบถามจากเจ้าหน้าที่พีทีวี ได้รับการยืนยันทางเทคนิคว่าขณะนี้พีทีวีพร้อมออกอากาศอยู่แล้ว เพียงแต่มีขบวนการนอกระบบที่ตัดสัญญาณ ทำให้ไม่สามารถออกอากาศได้ และหากมีการจัดตั้งคณะกรรมการที่เข้ามากำกับดูแลสื่อ เพื่อให้เกิดความปรองดอง พีทีวีก็พร้อมเข้าสู่กระบวนการให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการเช่นเดียวกับกรณีของเอเอสทีวี
3.สำหรับกรณี พ.ร.ก.บริหารราชการในภาวะฉุกเฉิน ที่รัฐบาลอ้างว่าจำเป็นต้องประกาศ เพื่อรักษาสถานการณ์ไม่ให้เกิดความรุนแรงนั้น ในส่วนของแกนนำเห็นว่าเมื่อรัฐบาลดำเนินการ รัฐบาลก็ต้องตัดสินใจเองว่าจะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือไม่ เชื่อว่าหากยังไม่ประกาศยกเลิก ยิ่งนานวัน รัฐบาลจะยิ่งถูกกระแสสังคมกดดันมากขึ้น
นปช.มีความตั้งใจที่จะให้ความร่วมมือเพื่อนำพาประเทศชาติออกจากปัญหาความขัดแย้งของประเทศ และพร้อมที่จะเสนอแผนปรองดองในส่วนของ นปช.ให้คณะกรรมการที่จะเสนอให้จัดตั้งในเร็วๆ นี้ และขอเรียกร้องในส่วนของเหตุการณ์ความรุนแรงที่ผ่านมา ควรจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการกลางขึ้นมาตรวจสอบหาข้อเท็จจริงถึงสาเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น เพราะนี่คือสิ่งสำคัญ ทั้งนี้ ข้อตกลงดังกล่าว หากบรรลุผล นปช.จะไม่ถือว่าการที่รัฐบาลประกาศยุบสภาคือ ชัยชนะ และการที่กลุ่มคนเสื้อแดงยุติการชุมนุม ก็ไม่ถือว่าเป็นชัยชนะของรัฐบาล แต่เราถือว่าการที่คนไทยทั้ง 64 ล้านคน จะเริ่มต้นหาทางออกจากกับดักของบ้านเมือง ถือเป็นชัยชนะของคนไทยทั้งประเทศ
อยากฝากไปยังนายสุเทพว่า หากนายสุเทพเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และไม่ได้รับการประกันตัว แกนนำ นปช.ทุกคน ก็พร้อมที่จะไม่รับสิทธิการประกันตัวเช่นกัน ทั้งนี้ ในวันที่ 21 พฤษภาคมนี้ สภาจะปิดสมัยประชุม นายอภิสิทธิ์สามารถนัดหมายตนได้ว่าจะเดินทางไปมอบตัวพร้อมกัน เพื่อที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกัน