ที่มา ข่าวสด
รายงานพิเศษ
ภายหลัง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ประกาศแผนโรดแม็ปแก้วิกฤตเพื่อนำไปสู่ความปรองดองของคนในชาติ จำนวน 5 ข้อ
โดยหนึ่งในนั้นมีเรื่องของการปฏิรูปสื่อ ให้สื่อทำหน้าที่อย่างสร้างสรรค์ ไม่นำเสรีภาพไปสร้างความขัดแย้งเกลียดชังในสังคม
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสื่อของรัฐ เดินเครื่องสนองนโยบายทันที นำร่องปรับโฉมช่อง 11 หรือเอ็นบีทีให้เป็นสถานีข่าวแห่งชาติ ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย เปิดให้ทุกสีมาใช้พื้นที่ของสถานี หลังจากโดนวิจารณ์มาตลอดว่าเป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาลฝ่ายเดียว
พร้อมทั้งมีแนวคิดตั้ง "มีเดีย มอนิเตอร์" ให้เป็นองค์กรกลางทำหน้าที่ตรวจสอบ นำเสนอภาพรวมของสื่อต่างๆ โดยที่รัฐไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวแทรกแซง
แนวคิดนี้เมื่อแปรมาสู่การปฏิบัติจะเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน มีความเห็นจากนักวิชาการ
ทวี สุรฤทธิกุล
สาขาวิชารัฐศาสตร์ มสธ.
แนวคิดที่นายสาทิตย์เสนอมาถือว่าดี ที่ผ่านมาช่องเอ็นบีทีโดนด่า โดนปรามาสว่าเป็นสื่อด้านเดียวมาตลอด กรณีนี้เป็นการเปิดกว้างให้รับสื่อจากหลายๆ ด้าน คงทำให้บรรยากาศดีขึ้น
แต่คงยังมีปัญหาในทางปฏิบัติโดยเฉพาะในเรื่องรูปแบบ หรือคนที่จะมานำเสนอในรายการ เพราะฝ่ายนปช.หลายคนก็ติดคดีความ จะออกมาประเจิดประเจ้อหน้าจอทีวีคงไม่ได้
ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามนำเสนอข่าวสารหลายๆ ด้าน แต่บังเอิญว่ารัฐบาลก็คุมเอ็นบีทีอยู่ จึงกลายเป็นว่ารัฐบาลคุมอยู่คนเดียว ถือเป็นความบกพร่องของอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ หรือคุณสาทิตย์เองก็ได้ ที่ไม่ได้คิดถึงข้อนี้และเพิ่งมาประกาศเอาตอนนี้
รัฐบาลว่าจ้างให้บริษัทโพสต์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เข้ามาทำ ต้องดูด้วยว่ากลุ่มนี้เขาจะเอื้อต่อการทำงานมากน้อยแค่ไหน ต้องขอความร่วมมือจากเขาด้วย เชื่อว่าโดยวิจารณญาณของบริษัทซึ่งเป็นสื่ออยู่แล้ว คงคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย
ตอนนี้รัฐบาลเปิดแล้วต้องดูว่าทางธุรกิจจะเปิดหรือไม่ ถ้าเปิดได้ทั้งสองทางจะเป็นเรื่องดี
เรื่องมีเดีย มอนิเตอร์ ไม่แน่ใจว่าไอเดียของเขาเป็นอย่างไร ถ้าหมายถึงการรวบรวมข่าวจากสื่อต่างๆ มาออกทางช่องเอ็น บีทีเป็นระยะๆ ก็คงทำได้เลย แต่ถ้าเอาคนมานั่งประกาศ เอาข่าวคนอื่นมาอ่าน อาจมีปัญหาเรื่องจรรยามารยาท ตอนนี้ผู้บริโภคก็มีสื่อหลักที่เขาใช้อยู่เป็นประจำอย่างน้อย 2-3 ช่องอยู่แล้ว อาจต้องแข่งขันกัน
แต่ถ้ามีเดีย มอนิเตอร์ ของรัฐบาลหมายถึงการคัดกรองการนำเสนอเนื้อหา หรือสกัดกั้นข่าวสาร คงไม่ดี ถือว่าผิดแนวคิดการปฏิรูปสื่อ
เพราะการปฏิรูปสื่อหมายถึงให้สื่อมีเสรีภาพ มีการตรวจสอบกันเองและสร้างประโยชน์แก่สาธารณะมากที่สุด การคัดกรองจึงไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปสื่อ
ส่วนการป้องกันไม่ให้ใช้สื่อปลุกระดมมวลชนอีก ทราบว่าขณะนี้ให้ เอเอสทีวีและพีทีวีมาคุยกัน พิจารณาเรื่องการนำเสนอข่าวสารไม่ให้ยั่วยุ ปลุกระดม เป็นเรื่องที่ดี
แต่เอ็นบีทีไม่ควรทำเสียเองอย่างที่ผ่านมา ต้องปรับบทบาทด้วย ถ้าจะดูแลตรงนี้ก็ต้องดูกันให้ตลอด รัฐบาลควรแสดงความจริงใจในการปฏิรูปสื่อ เป็นฝ่ายเริ่มต้น และเป็นตัวอย่างให้สังคม
ภาพรวมถือว่าประเทศไทยมีเสรีภาพและเปิดกว้างให้สื่ออยู่แล้ว เพียงแต่อยู่ที่การปฏิบัติและแนวทางการนำเสนอของสื่อแต่ละสำนักเท่านั้น
สุริชัย หวันแก้ว
อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
แนวทางโรดแม็ปเป็นจุดเริ่มต้นที่หลายฝ่ายรู้สึกเห็นพ้องว่าต้องทำด้วยกัน ไม่ใช่ทำโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องเกิดบรรยากาศที่ร่วมกันทำ
การขับเคลื่อนเรื่องปฏิรูปสื่อชัดเจนว่าเรามองปัญหาความขัดแย้งรุนแรงว่าส่วนหนึ่งมาจากสื่อ ไม่ว่าสื่อมวลชนหรือสื่อท้องถิ่น วิทยุชุมชน
คลื่นสื่อสารเป็นของสาธารณะ แต่กลายเป็นสื่อเฉพาะกลุ่มเฉพาะพวก ไม่ใช่เพิ่งมาเป็นแต่เป็นมาหลายปีแล้ว ทำให้พื้นที่สื่อสาธารณะกลายเป็นของเฉพาะกลุ่ม เกิดความรู้สึกด้านลบ รณรงค์ให้เกิดการเกลียดชัง ปัญหาข้อเท็จจริง ความขัดแย้งรุนแรงมาจากฐานนี้มาก
สื่อรัฐบางอย่าง มีทั้งสื่อหน่วยราชการที่ปล่อยให้มีสัมปทาน สื่อที่รัฐดำเนินการ เช่น ช่อง 11 ต้องเอื้อให้เกิดการพิจารณาว่าจะเป็นสื่อสารธารณะได้อย่างไร ต้องให้หลายภาคส่วนมีส่วนร่วม ที่ผ่านมามักมีภาคธุรกิจหรือการเมืองเป็นหลัก
ต้องยอมรับว่าสื่อมีผลต่อเด็ก สังคม คนไม่มีโอกาสมีส่วนร่วม ผมคิดว่าต้องมารื้อใหม่ให้มาก หากจะปฏิรูปสื่อต้องทำทุกส่วน เช่น คนใช้ภาษาพม่ามีไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน น่าจะมีสื่อตรงนี้ด้วย การปฏิรูปสื่อต้องทำให้รองรับความหลากหลายทั้งด้านสังคม การเมือง
การปฏิรูปสื่อให้ได้ ต้องทำให้เห็นการพูดคุย หากไม่ทำจะเกิดปัญหาสื่อเฉพาะส่วน
หรือสื่อของราชการมากๆ สื่อไม่น่าสนใจ สื่อที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ขาดการตรวจสอบ การใช้ภาษาหยาบคาย มองคนอื่นเป็นอริ ปฏิปักษ์ทางการเมือง ทำให้สังคมยิ่งแบ่งฝ่าย วัฒนธรรมฝังจิตฝังใจเกลียดชังไม่รู้จบ
การปฏิรูปสื่อรัฐต้องไม่ผูกขาดคนพูด จะใช้อำนาจรัฐฝ่ายเดียวไม่ได้ สังคมหลากหลายต้องทำอย่างไร หากรัฐจริง ใจว่าทำจริง ต้องลงมือด้วยการกระทำ จะเห็นได้เลยว่ารัฐจริงใจ รัฐต้องเอื้อให้พูดจาร่วมกัน มีภาคปฏิบัติ สร้างประเทศให้มีส่วนร่วม ต้องเปิดพื้นที่ให้หลากหลาย
การปฏิรูปสื่อต้องมีหลายขั้นตอน ต้องมีการเตรียมการ มีสื่อหลายระดับที่รองรับได้ทุกส่วน
ธาม เชื้อสถาปนศิริ
ผจก.กลุ่มงานวิชาการมีเดีย มอนิเตอร์
ความพยายามปฏิรูปสื่อมีมาตั้งแต่ปี"40 แต่จนถึงวันนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยังไม่เกิดเสียที
เห็นโรดแม็ปรัฐบาลที่มีเรื่องการปฏิรูปสื่อที่นายสาทิตย์ ออกมาพูดว่าจะทำต่อก็เห็นว่าดี ช่อง 11 ต้องเป็นสถานีของรัฐ ไม่ใช่รัฐบาล ต้องเปิดพื้นที่ให้กลุ่มคนที่หลากหลาย
แม้ไม่มีโรดแม็ป แต่พ.ร.บ.การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2551 กำหนดให้ช่อง 11 เป็นสถานีบริการสาธารณะ กำหนดสถานภาพของกรมประชาสัมพันธ์ไว้แล้ว การมีโรดแม็ปเรื่องการปฏิรูปสื่อ มีการเมืองมาเกี่ยวข้องด้วย
หากจะปฏิรูปสื่อควรดูพ.ร.บ.การประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียงฯ เพราะเกี่ยวข้องโดยตรง ไม่ใช่ดูแค่โรดแม็ป
การปฏิรูปสื่อเป็นไปได้ถ้าจะทำ ต้องคุยกับผู้บริหารสถานี คืออธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ บริษัท โพสต์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหา ชน) หรือสำนักข่าวทีนิวส์ที่แบ่งเวลาข่าวกันอยู่ การให้พื้นที่เป็นวัฒนธรรมองค์กร การกำหนดลักษณะบริการต้องมีใบอนุญาตด้วย
ต้องไม่ใช่การแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่รัฐ เรื่องการให้พื้นที่ช่อง 11 โดนมาตลอด เมื่อวิกฤตการเมืองเอื้อให้เกิดการปฏิรูป ควรให้ช่อง 11 ปฏิรูปให้ได้จริง เมื่อทำช่อง 11 ได้ ต้องทำช่องอื่นเป็นเป้าหมายต่อไปด้วย คือ ช่อง 5 และช่อง 9 ต้องปฏิรูปสื่อทั้งระบบ
ปฏิรูปสื่อไม่ได้ก็เพราะปัญหาการเมือง ข้าราชการระบบวัฒนธรรมองค์กรเก่าๆ เกียร์ว่าง การไม่มีกสทช. เป็นสุญญากาศ แม้มีกฎหมายแต่ไม่มีคนบังคับใช้ ที่ผ่านมานายสาทิตย์ เคยตั้งคณะกรรมการปฏิรูปสื่อช่อง 9 และ 11 ยังไม่ได้ถึงไหน
การปฏิรูปสื่อควรทำต่อโดยนำไปใช้ในโรดแม็ปได้เลย ที่ผ่านมาเราทำไม่ได้เพราะโครงสร้างสื่ออยู่ในอำนาจรัฐเยอะ หากรัฐจะเข้าไปดำเนินการ ต้องไม่ใช่การแทรกแซง การปฏิรูป ต้องทำอย่างจริงใจ ไม่ใช่แค่ทีวี แต่ต้องทำทั้งระบบ ไม่ใช่แค่การแก้เกมการ เมือง ไม่ว่าวิทยุ วิทยุชุมชน ทีวีผ่านดาวเทียม ทีวีผ่านอินเตอร์เน็ต
และไม่ใช่ทำแค่เป็นการแก้เกมทางการเมือง แต่ให้ทำช่อง 11 เป็นโมเดล จากนั้นปฏิรูปทั้งระบบ ทั้งทีวีระดับชาติ ท้องถิ่น และวิทยุด้วย
โดยดูให้เป็นไปตามพ.ร.บ.การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2551
ทวี สุรฤทธิกุล /สุริชัย หวันแก้ว /ธาม เชื้อสถาปนศิริ |
โดยหนึ่งในนั้นมีเรื่องของการปฏิรูปสื่อ ให้สื่อทำหน้าที่อย่างสร้างสรรค์ ไม่นำเสรีภาพไปสร้างความขัดแย้งเกลียดชังในสังคม
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับดูแลสื่อของรัฐ เดินเครื่องสนองนโยบายทันที นำร่องปรับโฉมช่อง 11 หรือเอ็นบีทีให้เป็นสถานีข่าวแห่งชาติ ไม่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย เปิดให้ทุกสีมาใช้พื้นที่ของสถานี หลังจากโดนวิจารณ์มาตลอดว่าเป็นกระบอกเสียงให้รัฐบาลฝ่ายเดียว
พร้อมทั้งมีแนวคิดตั้ง "มีเดีย มอนิเตอร์" ให้เป็นองค์กรกลางทำหน้าที่ตรวจสอบ นำเสนอภาพรวมของสื่อต่างๆ โดยที่รัฐไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวแทรกแซง
แนวคิดนี้เมื่อแปรมาสู่การปฏิบัติจะเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน มีความเห็นจากนักวิชาการ
ทวี สุรฤทธิกุล
สาขาวิชารัฐศาสตร์ มสธ.
แนวคิดที่นายสาทิตย์เสนอมาถือว่าดี ที่ผ่านมาช่องเอ็นบีทีโดนด่า โดนปรามาสว่าเป็นสื่อด้านเดียวมาตลอด กรณีนี้เป็นการเปิดกว้างให้รับสื่อจากหลายๆ ด้าน คงทำให้บรรยากาศดีขึ้น
แต่คงยังมีปัญหาในทางปฏิบัติโดยเฉพาะในเรื่องรูปแบบ หรือคนที่จะมานำเสนอในรายการ เพราะฝ่ายนปช.หลายคนก็ติดคดีความ จะออกมาประเจิดประเจ้อหน้าจอทีวีคงไม่ได้
ที่ผ่านมารัฐบาลพยายามนำเสนอข่าวสารหลายๆ ด้าน แต่บังเอิญว่ารัฐบาลก็คุมเอ็นบีทีอยู่ จึงกลายเป็นว่ารัฐบาลคุมอยู่คนเดียว ถือเป็นความบกพร่องของอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ หรือคุณสาทิตย์เองก็ได้ ที่ไม่ได้คิดถึงข้อนี้และเพิ่งมาประกาศเอาตอนนี้
รัฐบาลว่าจ้างให้บริษัทโพสต์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน) เข้ามาทำ ต้องดูด้วยว่ากลุ่มนี้เขาจะเอื้อต่อการทำงานมากน้อยแค่ไหน ต้องขอความร่วมมือจากเขาด้วย เชื่อว่าโดยวิจารณญาณของบริษัทซึ่งเป็นสื่ออยู่แล้ว คงคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย
ตอนนี้รัฐบาลเปิดแล้วต้องดูว่าทางธุรกิจจะเปิดหรือไม่ ถ้าเปิดได้ทั้งสองทางจะเป็นเรื่องดี
เรื่องมีเดีย มอนิเตอร์ ไม่แน่ใจว่าไอเดียของเขาเป็นอย่างไร ถ้าหมายถึงการรวบรวมข่าวจากสื่อต่างๆ มาออกทางช่องเอ็น บีทีเป็นระยะๆ ก็คงทำได้เลย แต่ถ้าเอาคนมานั่งประกาศ เอาข่าวคนอื่นมาอ่าน อาจมีปัญหาเรื่องจรรยามารยาท ตอนนี้ผู้บริโภคก็มีสื่อหลักที่เขาใช้อยู่เป็นประจำอย่างน้อย 2-3 ช่องอยู่แล้ว อาจต้องแข่งขันกัน
แต่ถ้ามีเดีย มอนิเตอร์ ของรัฐบาลหมายถึงการคัดกรองการนำเสนอเนื้อหา หรือสกัดกั้นข่าวสาร คงไม่ดี ถือว่าผิดแนวคิดการปฏิรูปสื่อ
เพราะการปฏิรูปสื่อหมายถึงให้สื่อมีเสรีภาพ มีการตรวจสอบกันเองและสร้างประโยชน์แก่สาธารณะมากที่สุด การคัดกรองจึงไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปสื่อ
ส่วนการป้องกันไม่ให้ใช้สื่อปลุกระดมมวลชนอีก ทราบว่าขณะนี้ให้ เอเอสทีวีและพีทีวีมาคุยกัน พิจารณาเรื่องการนำเสนอข่าวสารไม่ให้ยั่วยุ ปลุกระดม เป็นเรื่องที่ดี
แต่เอ็นบีทีไม่ควรทำเสียเองอย่างที่ผ่านมา ต้องปรับบทบาทด้วย ถ้าจะดูแลตรงนี้ก็ต้องดูกันให้ตลอด รัฐบาลควรแสดงความจริงใจในการปฏิรูปสื่อ เป็นฝ่ายเริ่มต้น และเป็นตัวอย่างให้สังคม
ภาพรวมถือว่าประเทศไทยมีเสรีภาพและเปิดกว้างให้สื่ออยู่แล้ว เพียงแต่อยู่ที่การปฏิบัติและแนวทางการนำเสนอของสื่อแต่ละสำนักเท่านั้น
สุริชัย หวันแก้ว
อาจารย์รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
แนวทางโรดแม็ปเป็นจุดเริ่มต้นที่หลายฝ่ายรู้สึกเห็นพ้องว่าต้องทำด้วยกัน ไม่ใช่ทำโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องเกิดบรรยากาศที่ร่วมกันทำ
การขับเคลื่อนเรื่องปฏิรูปสื่อชัดเจนว่าเรามองปัญหาความขัดแย้งรุนแรงว่าส่วนหนึ่งมาจากสื่อ ไม่ว่าสื่อมวลชนหรือสื่อท้องถิ่น วิทยุชุมชน
คลื่นสื่อสารเป็นของสาธารณะ แต่กลายเป็นสื่อเฉพาะกลุ่มเฉพาะพวก ไม่ใช่เพิ่งมาเป็นแต่เป็นมาหลายปีแล้ว ทำให้พื้นที่สื่อสาธารณะกลายเป็นของเฉพาะกลุ่ม เกิดความรู้สึกด้านลบ รณรงค์ให้เกิดการเกลียดชัง ปัญหาข้อเท็จจริง ความขัดแย้งรุนแรงมาจากฐานนี้มาก
สื่อรัฐบางอย่าง มีทั้งสื่อหน่วยราชการที่ปล่อยให้มีสัมปทาน สื่อที่รัฐดำเนินการ เช่น ช่อง 11 ต้องเอื้อให้เกิดการพิจารณาว่าจะเป็นสื่อสารธารณะได้อย่างไร ต้องให้หลายภาคส่วนมีส่วนร่วม ที่ผ่านมามักมีภาคธุรกิจหรือการเมืองเป็นหลัก
ต้องยอมรับว่าสื่อมีผลต่อเด็ก สังคม คนไม่มีโอกาสมีส่วนร่วม ผมคิดว่าต้องมารื้อใหม่ให้มาก หากจะปฏิรูปสื่อต้องทำทุกส่วน เช่น คนใช้ภาษาพม่ามีไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน น่าจะมีสื่อตรงนี้ด้วย การปฏิรูปสื่อต้องทำให้รองรับความหลากหลายทั้งด้านสังคม การเมือง
การปฏิรูปสื่อให้ได้ ต้องทำให้เห็นการพูดคุย หากไม่ทำจะเกิดปัญหาสื่อเฉพาะส่วน
หรือสื่อของราชการมากๆ สื่อไม่น่าสนใจ สื่อที่แบ่งฝักแบ่งฝ่าย ขาดการตรวจสอบ การใช้ภาษาหยาบคาย มองคนอื่นเป็นอริ ปฏิปักษ์ทางการเมือง ทำให้สังคมยิ่งแบ่งฝ่าย วัฒนธรรมฝังจิตฝังใจเกลียดชังไม่รู้จบ
การปฏิรูปสื่อรัฐต้องไม่ผูกขาดคนพูด จะใช้อำนาจรัฐฝ่ายเดียวไม่ได้ สังคมหลากหลายต้องทำอย่างไร หากรัฐจริง ใจว่าทำจริง ต้องลงมือด้วยการกระทำ จะเห็นได้เลยว่ารัฐจริงใจ รัฐต้องเอื้อให้พูดจาร่วมกัน มีภาคปฏิบัติ สร้างประเทศให้มีส่วนร่วม ต้องเปิดพื้นที่ให้หลากหลาย
การปฏิรูปสื่อต้องมีหลายขั้นตอน ต้องมีการเตรียมการ มีสื่อหลายระดับที่รองรับได้ทุกส่วน
ธาม เชื้อสถาปนศิริ
ผจก.กลุ่มงานวิชาการมีเดีย มอนิเตอร์
ความพยายามปฏิรูปสื่อมีมาตั้งแต่ปี"40 แต่จนถึงวันนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยังไม่เกิดเสียที
เห็นโรดแม็ปรัฐบาลที่มีเรื่องการปฏิรูปสื่อที่นายสาทิตย์ ออกมาพูดว่าจะทำต่อก็เห็นว่าดี ช่อง 11 ต้องเป็นสถานีของรัฐ ไม่ใช่รัฐบาล ต้องเปิดพื้นที่ให้กลุ่มคนที่หลากหลาย
แม้ไม่มีโรดแม็ป แต่พ.ร.บ.การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2551 กำหนดให้ช่อง 11 เป็นสถานีบริการสาธารณะ กำหนดสถานภาพของกรมประชาสัมพันธ์ไว้แล้ว การมีโรดแม็ปเรื่องการปฏิรูปสื่อ มีการเมืองมาเกี่ยวข้องด้วย
หากจะปฏิรูปสื่อควรดูพ.ร.บ.การประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียงฯ เพราะเกี่ยวข้องโดยตรง ไม่ใช่ดูแค่โรดแม็ป
การปฏิรูปสื่อเป็นไปได้ถ้าจะทำ ต้องคุยกับผู้บริหารสถานี คืออธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ บริษัท โพสต์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหา ชน) หรือสำนักข่าวทีนิวส์ที่แบ่งเวลาข่าวกันอยู่ การให้พื้นที่เป็นวัฒนธรรมองค์กร การกำหนดลักษณะบริการต้องมีใบอนุญาตด้วย
ต้องไม่ใช่การแทรกแซงจากเจ้าหน้าที่รัฐ เรื่องการให้พื้นที่ช่อง 11 โดนมาตลอด เมื่อวิกฤตการเมืองเอื้อให้เกิดการปฏิรูป ควรให้ช่อง 11 ปฏิรูปให้ได้จริง เมื่อทำช่อง 11 ได้ ต้องทำช่องอื่นเป็นเป้าหมายต่อไปด้วย คือ ช่อง 5 และช่อง 9 ต้องปฏิรูปสื่อทั้งระบบ
ปฏิรูปสื่อไม่ได้ก็เพราะปัญหาการเมือง ข้าราชการระบบวัฒนธรรมองค์กรเก่าๆ เกียร์ว่าง การไม่มีกสทช. เป็นสุญญากาศ แม้มีกฎหมายแต่ไม่มีคนบังคับใช้ ที่ผ่านมานายสาทิตย์ เคยตั้งคณะกรรมการปฏิรูปสื่อช่อง 9 และ 11 ยังไม่ได้ถึงไหน
การปฏิรูปสื่อควรทำต่อโดยนำไปใช้ในโรดแม็ปได้เลย ที่ผ่านมาเราทำไม่ได้เพราะโครงสร้างสื่ออยู่ในอำนาจรัฐเยอะ หากรัฐจะเข้าไปดำเนินการ ต้องไม่ใช่การแทรกแซง การปฏิรูป ต้องทำอย่างจริงใจ ไม่ใช่แค่ทีวี แต่ต้องทำทั้งระบบ ไม่ใช่แค่การแก้เกมการ เมือง ไม่ว่าวิทยุ วิทยุชุมชน ทีวีผ่านดาวเทียม ทีวีผ่านอินเตอร์เน็ต
และไม่ใช่ทำแค่เป็นการแก้เกมทางการเมือง แต่ให้ทำช่อง 11 เป็นโมเดล จากนั้นปฏิรูปทั้งระบบ ทั้งทีวีระดับชาติ ท้องถิ่น และวิทยุด้วย
โดยดูให้เป็นไปตามพ.ร.บ.การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2551