WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Wednesday, May 12, 2010

ตีท้ายครัว"แดง" เสบียงแซบ-สู้ยาว

ที่มา ข่าวสด


ธงศึก คำพะอุ ปัญญา อินทรอุดม




กองทัพเดินด้วยท้อง จะเสื้อสีไหนก็คงไม่เถียง เพราะถ้าปล่อยให้ท้องร้องจะเอาเรี่ยว แรงที่ไหนมาชูตีนตบ มือตบ

การชุมนุมที่ยืดเยื้อเป็นเดือนๆ นอกจากเรื่องน้ำดื่มน้ำใช้ ห้องน้ำห้องท่า เรื่องอาหารการกินก็น่าสนใจว่าบริหารจัดการ และจัดเมนูแต่ละวันกันอย่างไร

เสื้อแดงปักหลักชุมนุมกลางกรุงมาเดือนเศษ จากเดิมยึดพื้นที่บริเวณผ่านฟ้าฯ วันนี้ตั้งเวทีใหญ่ที่แยกราชประสงค์ กินพื้นที่ยาวเหยียดตั้งแต่ถนนพระราม 1 ถึงถนนเพลินจิต ตั้งแต่แยกปทุมวัน ข้ามแยกเฉลิมเผ่า ผ่านแยกราชประสงค์ไปจนถึงแยกเพลินจิต และถนนราชดำริ ตั้งแต่แยกประตูน้ำ แยกราชประสงค์ แยกราชดำริ จนถึงแยกศาลาแดงจรดถนนสีลม

พื้นที่หลายตารางกิโลเมตรในย่านธุรกิจ ไม่นับห้างสรรพสินค้า โรงแรม และร้านหรูๆ ที่ปิดบริการชั่วคราว หากแต่ในพื้นที่ยังเต็มไปด้วยร้านขายอาหาร ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวขาหมู ส้มตำ ลาบ น้ำตก ที่ยังเปิดขายกันตามปกติ

ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นคนกทม. ที่แวะเวียนมาร่วมชุมนุม ต่างกับคนต่างจังหวัดที่มาปักหลักค้างคืนกันยาวนานหลายวัน คนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ขนเสบียงจากพื้นที่ติดไม้ติดมือมาด้วย



ขาดไม่ได้ข้าวเหนียว-ปลาร้า-มะละกอ

ที่ขาดไม่ได้คือข้าวเหนียว ปลาร้า มะละกอ และวัตถุดิบในการตำส้มตำ เพราะเป็นอาหารหลักของคนอีสานและเหนือซึ่งเป็นผู้ชุมนุมกลุ่มใหญ่

แต่ละกลุ่มที่มาร่วมชุมนุมจะแยกครัวทำกินกันเอง หากขาดเหลืออะไรสามารถเบิกได้ที่เต็นท์กลาง ทั้งเนื้อสัตว์ ผัก เครื่องปรุง ฯลฯ

ออกสำรวจตามครัวย่อยต่างๆ ช่วงมื้อเที่ยง ครัวชมรมคนรักอุดร ผู้ชุมนุมกำลังต่อคิวยาวเหยียดรอรับข้าวเหนียว-ปลากรอบ

ลุงวิชิต ดวงแสงพุด หนุ่มใหญ่อายุ 60 ง่วนกับการคดข้าวแจกผู้ชุมนุม หันมาสนทนาอย่างอารมณ์ดี บอกว่ามาตั้งแต่วันที่ 12 มี.ค. ยังไม่ได้กลับบ้านเลย คนอื่นๆ ก็กลับไปบ้าง แต่ไปเยี่ยมบ้านแป๊บเดียวก็กลับมาช่วยกันต่อ

เต็นท์เราข้าวปลาอาหารไม่มีปัญหา เน้นข้าวเหนียวเป็นหลัก เพราะข้าวจากเต็นท์กลางที่ให้เบิกส่วนใหญ่มีแต่ข้าวเจ้า เรามันคนอีสานลูกอีสานก็ต้องข้าวเหนียว


ครัวนี้เน้นวัตถุดิบหลักที่ขนมาจากอุดรฯ คือข้าวเหนียว ปลาร้า ขนกันมาหลายกระสอบ ใช้วิธีเรี่ยไรจากหมู่บ้านต่างๆ หมู่บ้านละ 10-20 กระสอบ ก็ช่วยๆ กันมา เงินบริจาคคนละ 20 บาท 40 บาท ก็เอามา รวมๆ กันซื้อข้าวซื้อของ

อาหารแต่ละมื้อก็เน้นง่ายๆ ส้มตำ ข้าวเหนียว ไก่ทอด ปลาเค็ม เอาง่ายๆ เข้าว่า แต่ที่เน้นมากสุดก็คือข้าวเหนียว นึ่งกันวันละ 12 ถัง ตกประมาณ 300 หวด นึ่งวันต่อวัน ตื่นเช้ามาก็นึ่งเลย เสร็จแล้วก็ใส่ลังโฟมเก็บความร้อนไว้ แล้วก็นึ่งต่อ เพราะรอนึ่งตอนกินไม่ทัน คนมันเยอะ


อาหารที่แจกก็ไม่ใช่ให้เฉพาะคนรักอุดรฯ ใครมาเข้าแถวก็ได้เลย ของกินไม่มีหวง



ข้าวเหนียวร้อนๆ โชยกลิ่นเรียกสาว

ลุงชิต อธิบายพร้อมเปิดฝาลังโฟมใส่ข้าวเหนียว กลิ่นข้าวร้อนๆ หอมกรุ่น จนสาวแถวราชดำริ หยุดแวะขอใส่ห่อไปกินบนออฟฟิศ

ถามถึงปริมาณข้าวของต่อวันเพียงพอกับผู้ชุมนุมหรือเปล่า ลุงชิต บอกของที่เต็นท์กลางมีพอสมควรแต่บางอย่างก็ต้องหาซื้อเอง อย่างพวกน้ำแข็งเอามาแช่เนื้อสัตว์ เครื่องปรุงอย่างพวกผงชูรส ก็ซื้อกันมาเอง หรือผักต่างๆ ที่กองกลางไม่มี ก็ไปซื้อที่ตลาดคลองเตย

ลุงอุดม โทวันนัง อายุ 56 ปี สมาชิกกลุ่มคนรักอุดรฯ ยืนยันอีกแรง อาหารการกินที่นี่อุดมสมบูรณ์ ปักหลักต่อสู้ขับไล่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ได้อีกหลายปี วัตถุดิบที่นำมาทำอาหารนั้นส่วนหนึ่งได้มาจากชาวบ้านที่อุดรฯ ฝากมา

ส่วนหนึ่งไปเบิกได้ที่ส่วนกลาง มีทั้งผักและเนื้อสัตว์เกือบทุกชนิด บางวันก็ออกไปหาซื้อเองที่ตลาดไท ย่านรังสิต บางครั้งแม่ค้ารู้ว่าจะซื้อมาทำให้ผู้ชุมนุมก็จะให้มาเลย ไม่ต้องเสียเงินสักบาท


มื้อหนึ่งจะทำแค่ 1 อย่างเท่านั้น แต่จะทำเยอะมากเพื่อให้พอกับความต้องการของผู้ชุมนุมจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นแกง ข้าวสวย ทำเกือบทั้งวันไม่มีหยุด

วันไหนมีข่าวจะสลายการชุมนุม ก็ยิ่งต้องทำเยอะๆ และเร็วขึ้น ทำเสร็จก็จะแพ็กใส่กล่องไปส่งตามด่านหน้าที่ประจันหน้ากับทหาร เพื่อให้มีแรงต่อสู้

บางครั้งเมื่อเกิดเหตุการณ์ผมก็เกือบไม่ได้นอน เพราะต้องเตรียมเสบียงไว้ วันไหนหากกำลังเสื้อแดงไม่พอก็อาจไปช่วยอยู่หน้าด่านด้วย พอหิวก็จะอาศัยข้าวจากกลุ่มอื่นๆ ทุกคนในที่ชุมนุมจะช่วยเหลือกันเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน



คนรักเชียงใหม่แกงเขียวหวานกระทะใหญ่

จากเต็นท์คนรักอุดรฯ แวะเยี่ยมครัวของกลุ่มคนรักเชียงใหม่ 51 เห็นลุงสนั่น จรัญ ที่รับหน้าที่เป็นพ่อครัวหัวป่าก์ ยืนปรุงแกงเขียวหวานในกระทะใบใหญ่

ทั้งที่บ่ายกว่าแล้ว ลุงสนั่น ปัดว่าไม่ได้เตรียมไว้มื้อเย็น แต่เป็นมื้อกลางวันนี่แหละ แต่ที่เพิ่งทำตอนบ่ายเพราะเต็นท์อื่นเขาทำตอนสายๆ เที่ยงๆ คนมาชุมนุมก็ได้กินกันไปแล้ว เราก็ทำตอนบ่ายๆ หน่อย ใครไปใครมาจะได้กินกัน ขืนทำพร้อมกันทุกเต็นท์ของจะเหลือ เลยเหลื่อมเวลากันหน่อย คนจะได้กินพอดี

เพราะบางทีมันมีเรื่องแล้วก็ทำไม่ทัน อย่างเมื่อวันที่ 10 เม.ย. ผมต้องเตรียมทำอาหารให้ผู้ชุมนุม แต่พอมันชุลมุนทำให้พวกเราไม่ได้กินข้าวเลย พ่อครัว แม่ครัว ก็ต้องออกไปสกัดตำรวจ-ทหารกันหมด

กว่าจะเสร็จเรื่อง แล้วมาเริ่มทำอาหาร พวกเราได้กินข้าวเย็นตอนตี 2 ผมก็เต็มที่เหมือนกัน อัดกับทหารแล้วก็มาทำกับข้าว เหนื่อยเหมือนกันแต่เราก็ต้องสู้กันไป"



เมนูแต่ละวันผมคิดเองบ้าง ช่วยๆ กันคิดบ้าง กับข้าวมื้อละ 2 อย่างก็พอกินกันแล้ว บางวันก็น้ำพริกอ่อง ไก่อบ แกงเผ็ด หมุนเวียนสับเปลี่ยนกันไป แต่จะเน้นไม่ให้รสจัดมากไม่งั้นคนกรุงเทพฯ กินไม่ได้

ลุงหนั่นพูดพลางตักพริกตำโยนใส่กระทะ เรียกน้ำลายคนกินรสจัด แต่คนไม่กินเผ็ดร้องซี้ด ทันทีที่กลิ่นเผ็ดร้อนแตะจมูก

ลุงหนั่นเลยรีบบอก "พริกแกงมันจืดต้องใส่พริกเพิ่ม แค่นี้ไม่เผ็ดหรอก เราใส่มะเขืออีกเยอะมันตัดรสเผ็ดไปหมดแล้ว"

น่าเสียดายที่เวลาน้อยเลยไม่ได้ลองชิมฝีมือแกงเขียวหวานหมูเพิ่มพริกไม่เผ็ดของลุงหนั่น



คนกินรับประกันความอร่อย

ส่วนที่เต็นท์สุรินทร์ พรเทพ พูลศรีธนากูร อดีตส.จ.สุรินทร์ ดูแลคนในกลุ่มกว่าพันชีวิต กล่าวว่า ปัญหาที่นี่คือน้ำหายาก แต่ก็พอแก้ไขไปได้บ้าง เราไม่มีปัญหาเรื่องเสบียงอาหาร เพราะเตรียมพร้อมมาตั้งแต่ก่อนเดินทาง ตั้งแต่ลงชื่อมีพันกว่าคน ทุกคนก็เตรียมของกันมาส่วนหนึ่ง ที่เหลือก็เอามาจากเต็นท์กลาง ส่วนหนึ่งไปหาซื้อมาจากตลาดกันเอง

ที่นี่ไม่ใช่ครัวใหญ่ จึงเน้นอาหารเลี้ยงคนในกลุ่มเท่านั้น บางคนไปทำภารกิจที่จุดอื่น ครัวที่นี่ทำเสร็จก็เอาไปส่ง แต่ไม่ใช่หมายความว่าเราหวงของนะ ทำเสร็จส่วนหนึ่งก็อยู่หน้าเต็นท์ ใครเดินผ่านมากินก็ได้เลยไม่มีปัญหาอะไร

เราทำแค่มื้อละ 1 อย่าง แต่เน้นข้าวเหนียว มีบางมื้อสลับข้าวเจ้าบ้างแต่ไม่ได้ขาดแคลนอะไร เพราะมีคนมาช่วยบริจาคมะละกอให้เราทำส้มตำ เวลาไปตลาดไท เจอพ่อค้าแม่ค้าเสื้อแดงด้วยกันเขาก็ให้มาเลย ไม่คิดเงิน

ลุงเขียว บุญเงิน อายุ 63 ปี ที่เพิ่งแวะรับอาหารจากเต็นท์เชียงราย ถือต้มยำหมูและข้าวสวย กำลังด้อมๆ มองๆ หาที่ร่ม บอกว่าลุงมาตั้งแต่วันแรก เดือนกว่าแล้วยังไม่ได้กลับบ้านเลย อาศัยข้าวของเต็นท์ต่างๆ กินทุกวัน อร่อยทุกอย่าง พ่อครัวแม่ครัวเขาฝีมือดี

เมนูก็เปลี่ยนไปแต่ละวัน ไล่ตั้งแต่ข้าวต้มมื้อเช้า บ่ายๆ ก็เนื้อทอด หมูทอด รับประกันได้เลยว่าอร่อย



"หมูทอดข้าวเหนียว"ทั้งอร่อยทั้งอึด

ลุงอัมรินทร์ แสงจันทร์ อายุ 55 ปี มาจากสระแก้ว กล่าวว่า แต่ละมื้อพ่อครัวแม่ครัวปรุงกันสดๆ ทุกมื้อ เต็นท์ต่างๆ จะช่วยกันทำไว้กินในกลุ่ม และนำออกแจกจ่ายให้ผู้ชุมนุมที่เดินผ่านไปมา

เมนูในแต่ละมื้อขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่มีอยู่ ทำมื้อละ 1 อย่างจนครบ 3 มื้อ บางวันมื้อเช้าอาจเป็นกาแฟ ปาท่องโก๋ กลางวันอาจเป็นข้าวต้ม ส่วนมื้อเย็นก็จะเป็นแกงกะทิ ข้าวสวย หรือข้าวเหนียว หมูทอด

เช่นเดียวกับ ลุงสมชาย สิงห์หลอด อายุ 61 ปี ชาวศรีสะเกษ บอกอาหารที่กินแต่ละมื้อส่วนใหญ่ทำกินกันเองในกลุ่ม บางวันก็จะเดินไปรับที่เต็นท์ของจังหวัดอื่นๆ กินได้หมดทุกเต็นท์ มื้อหนึ่งจะมีกับข้าว 1 อย่างและข้าวสวย บางมื้อจะเป็นหมูทอด ข้าวเหนียว

ลุงการันตี รสชาติอาหารในแต่ละเต็นท์ไม่ต้องพูดถึง เพราะแม่ครัวส่วนใหญ่ที่มาทำจะมีฝีมือเรื่องทำอาหารกันทั้งสิ้น เพราะบางคนเปิดร้านอาหารขายอยู่ในจังหวัดของตัวเอง ทำฝีมือเลยดี

ในส่วนของลุง ชอบกินหมูทอดกับข้าวเหนียวเป็นพิเศษเพราะอยู่ท้อง บางวันกินเพียงมื้อเดียวก็อยู่ยาว อาหารการกินที่นี่รับรองไม่มีหมด ทุกคนที่มาอยู่ที่นี่จะได้กินอาหารครบ 3 มื้อ





เช็กค่าใช้จ่ายต่อวัน-สั่งซื้อทีเป็นตันๆ

เห็นจำนวนผู้ชุมนุม หลายคนคงสงสัยว่าแต่ละวันเสื้อแดงหมดข้าวกี่กระสอบ ต้องจ่ายค่ากับข้าววันละเท่าไหร่

น้องนุ้ย คนคุมสต๊อกกลาง แจงยิบถึงรายการสั่งซื้อของสด

เต็นท์กลางจะมีอาหารสด เนื้อสัตว์ ผัก ข้าวสาร เครื่องปรุง จะสั่งซื้อมาทุกวัน ข้าวเจ้าวันละ 100 กระสอบ ข้าวเหนียววันละ 50 กระสอบ หมู-ไก่ วันละ 5 ตัน ผักสด 4 คันรถกระบะ มีผักเกือบทุกชนิด ผักกาด มะเขือ คะน้า หอมแดง พร้อมหมด

ที่ขาดไม่ได้ก็มะละกอ เพราะคนที่นี่ชอบกินส้มตำ ไข่ไก่ก็วันละ 2 หมื่นฟอง แล้วก็ของจิปาถะ กาแฟ น้ำตาล ถ้วยชาม จานโฟมเราก็สั่งมาพร้อม

แล้วไปจ่ายของที่ตลาดไหน เพราะซื้อทีหลายตัน สาวนุ้ย ส่ายหัว

ไม่รู้เหมือนกันพี่ เราซื้อเยอะให้ไปซื้อเองไม่ไหวหรอก ก็สั่งเจ้าประจำให้มาส่ง แต่ไม่ใช่มาพร้อมกันหมด มันไม่มีที่เก็บ อย่างเนื้อสัตว์ก็ต้องหาถังน้ำแข็งมาแช่ พอของใกล้หมดก็สั่ง เขาก็ทยอยเอามาให้ทีละคันรถ เริ่มตั้งแต่ตี 3 ของเริ่มมาลงแล้ว เต็นท์ต่างๆ ก็จะทยอยมาเบิก

เรื่องเหลือไม่ต้องถาม นุ้ยบอกว่า ของที่มีหมดทุกวัน คนมันเยอะ

มีเท่าไหร่ก็ไม่พอ เราเริ่มให้เบิกตั้งแต่ตี 3 ค่ำๆ ก็หยุดเพื่อเช็กของดูว่าอะไรหมดก็สั่งมาใหม่ กว่าจะเสร็จก็เที่ยงคืน ตี 1 พอตี 3 ก็ต้องตื่นมารับของ เล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน

พอถามค่าใช้จ่ายตกวันละเท่าไหร่ คนคุมสต๊อกส่ายหัวอีก บอกไม่รู้หรอกเรื่องเงินทองไม่ได้ดูเลย คงเป็นที่เวทีใหญ่เขาจัดการ เพราะคนมากเลยต้องจัดระบบ ใครจะมาเบิกก็ต้องเขียนแบบฟอร์มว่ากลุ่มไหน เต็นท์ไหน หมายเลขโทรศัพท์อะไร ต้องการอะไรบ้าง

ส่วนของบริจาค นุ้ยบอกว่ามีอย่างละนิดละหน่อย ใครเอามาให้ก็ทำบัญชีเพื่อประกาศหน้าเวที แต่จะแยกของบริจาคออกจากของที่ซื้อมา ป้องกันหากของที่ให้มาเกิดมีปัญหา เช่น เสีย หรือโดนวางยา

เพื่อความไม่ประมาทจึงต้องแยกให้รู้ว่าอันไหนซื้อมา อันไหนได้รับบริจาค แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีปัญหา วันก่อนมีคนเอาหมูใส่แพ็กมาบริจาคก็เรียบร้อยดี