WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, May 11, 2010

พื้นที่ข่าว"เสื้อแดง"ในสื่อต่างประเทศ

ที่มา ข่าวสด


รายงานพิเศษ




การชุมนุมประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง เป็นข่าวใหญ่ในต่างประเทศ

การปะทะ การก่อการร้ายโดยไอ้โม่ง ที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บ และเสียชีวิต ซึ่งมีทั้งผู้สื่อข่าวต่างชาติ นักท่องเที่ยว รวมไปถึงคนไทยด้วยกันเอง

วันนี้ข่าวการชุมนุมจึงเป็น
"ประเด็นร้อน" ให้คนทั่วโลกจับตามองอย่างใกล้ชิด

สื่อหลายสำนักส่งนักข่าว ช่างภาพ เข้ามาเกาะติดสถานการณ์รายงานเหตุการณ์ ที่ย่านราชประสงค์

นักข่าวหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ซึ่งมาพร้อมกับนักข่าวไทย ทำหน้าที่แปลภาษาและหาข่าว กล่าวว่า การหาข่าวของหนังสือพิมพ์นั้น มีกระบวนการคล้ายกับหนังสือพิมพ์ไทย ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นปฏิบัติกัน

คือการเก็บข้อมูลตามการแถลงข่าวหรือสัมภาษณ์โดยตรงทั้งจากผู้ชุมนุมและรัฐบาล โดยมุ่งเน้นให้พื้นที่ทั้งสองฝ่ายเท่าเทียมกัน นำเสนอแต่ข้อเท็จจริงโดยปราศจากความเห็น

นิวยอร์กไทมส์
หนังสือพิมพ์ทรงอิทธิพลของอเมริกา เน้นการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากหน่วยราชการที่เชื่อถือได้และมีความเป็น กลาง โทรศัพท์สายตรง การบันทึกบทสัมภาษณ์

รวมถึงพิจารณาการลงข่าวที่มีความสุ่มเสี่ยง ด้วยการอ่านบทวิเคราะห์จากนักวิชาการทั้งจากไทยและต่างประเทศเพื่อประกอบการตัดสินใจเผยแพร่ข่าว แต่ไม่เน้นประจักษ์พยานและข่าวลือที่ไม่มีหลักฐานยืนยันเพราะอาจคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง

"นโยบายของนิวยอร์กไทมส์ คือผู้สื่อข่าวไม่มีสิทธิแสดงความคิดเห็นทั้งในข่าวและเป็นการส่วนตัว ไม่ว่ากรณีใดๆ เราเพียงแต่นำเสนอข้อเท็จจริงล้วนๆ ที่ได้มาจากทั้งสองฝ่ายในพื้นที่ข่าวใกล้เคียงกัน ซึ่งถือเป็นการเคารพสิทธิการรับรู้ข่าวสารของผู้อ่าน" นักข่าวอเมริกันกล่าว

นักข่าวคนเดียวกัน กล่าวต่อว่า หากนักข่าวเห็นเหตุการณ์ด้วยตาตนเองและมั่นใจในข้อเท็จจริง จะระบุชื่อของตัวเองกำกับข้อความในข่าว เพื่อรับผิดชอบกรณีเกิดความเสียหายตามมา

นอกจากนี้ นิวยอร์กไทมส์ ยังมีส่วนของข่าวและบทความวิเคราะห์ซึ่งแยกกันอย่างชัดเจนเพื่อป้องกันความสับสนของผู้อ่าน

ด้าน
ผู้สื่อข่าวอิสระจากหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของออสเตรเลีย ซึ่งใช้ชีวิตในประเทศไทยมากว่า 3 ปี กล่าวว่า หาข้อมูลข่าวมาจากเครือข่ายทางสังคมในอินเตอร์เน็ต อย่างเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือบล็อกของนักข่าวไทย ซึ่งเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษ



รวมถึงข้อความสั้นหรือเอสเอ็มเอสจากสำนักข่าวไทย และประจักษ์พยาน บางครั้งก็เดินทางมางานแถลงข่าวที่เวทีผู้ชุมนุมเสื้อแดง สัมภาษณ์แกนนำเพื่อนำข่าวไปเผยแพร่

"ผมไม่ใช้หน่วยงานราชการเป็นแหล่งข่าว เพราะหน่วยงานราชการไม่ให้ความสนใจสื่อท้องถิ่นอย่างผม และยังอ้างอุปสรรคเรื่องภาษามาบ่ายเบี่ยง ราชการเอาใจแต่สำนักข่าวใหญ่ๆ และไม่ชอบสื่อต่างชาติเพราะยิงคำถามจี้ใจดำ" ผู้สื่อข่าวอิสระกล่าว

สอบถามว่า ตรวจสอบความถูกต้องของข่าวหรือไม่ ผู้สื่อข่าวจากประเทศออสเตรเลีย กล่าวว่า จะสอบถามจากเพื่อนชาวไทย และนักข่าวต่างชาติที่มาทำข่าวด้วยกัน นอกจากนี้ยังอ่านความคิดเห็นจากเว็บบอร์ดเพื่อประกอบการตัดสินใจลงข่าวอีกด้วย

"กรณีโรงพยาบาลจุฬาฯ ที่ผู้ชุมนุมเสื้อแดงเข้ายึดครองพื้นที่นั้น ผมเห็นว่าเป็นการกระทำที่ถูกต้องเพราะถือเป็นการป้องกันตัวจากทหารที่แอบซ่อนตัวอยู่ในโรงพยาบาล รอเวลาสลายการชุมนุม" นักข่าวออสเตรเลียให้ความเห็น

และกล่าวต่อว่า การที่รัฐบาลประกาศเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ย. เป็นเพียงการซื้อเวลา หลอกลวงผู้ชุมนุม เพราะเมื่อถึงเวลาหากรัฐบาลไม่ยุบสภาจริงก็ไม่มีใครสามารถทำอะไรได้ เนื่องจากแกนนำทั้งหมดคงถูก "เช็กบิล" ไปแล้ว

"ผมเห็นว่าการเลือกตั้งจะไม่เกิดขึ้นจริง และจะไม่มีใครสามารถหยุดรัฐบาลได้อีก เพราะการชุมนุมแต่ละครั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายมหาศาล การชุมนุมครั้งนี้ผู้สนับสนุนคนเสื้อแดงหมดเม็ดเงินไปจำนวนมาก ดังนั้น คงยากที่จะเสี่ยงด้วยวิธีเดิมอีกครั้ง" นักข่าวชาวออสเตรเลียกล่าวทิ้งท้าย

เคน นักข่าวจากสำนักข่าวชั้นแนวหน้าของญี่ปุ่น ระบุว่า นโยบายการเก็บข้อมูลของสำนักข่าวคือ การร่วมงานแถลงข่าว สัมภาษณ์ประจักษ์พยาน รวมทั้งติดตามข่าวสารจากทั้งแกนนำผู้ชุมนุมเสื้อแดงและรัฐบาล

รวมทั้งสำรวจทิศทางข่าวที่สื่อมวลชนท้องถิ่นรายงาน ทั้งนี้ มีการตรวจสอบข้อมูลจากหน่วยงานราชการ การสอบถามแหล่งข่าวที่หลากหลายและจากสำนักข่าวไทย กรมประชาสัมพันธ์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรงที่สุด

"พวกเราไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงความเห็นทางการเมือง และนักข่าวที่ดีก็ไม่ควรแสดงความคิดเห็นอยู่แล้ว นอกจากนี้ส่วนหนึ่งพวกเรายังเป็นสื่อต่างชาติที่ขาดความรู้ความเข้าใจอันลึกซึ้งในการเมืองของประเทศอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเมืองในไทย ซึ่งมีประชาธิปไตยแบบไทยๆ เข้าใจยาก พวกเราจึงไม่ขอวิจารณ์" นายเคนกล่าว

เมื่อถามถึงกรณี
นายฮิโร มูราโมโตะ นักข่าวรอยเตอร์ วัย 43 ปี ที่เสียชีวิตระหว่างรายงานข่าวทหารปะทะกับผู้ชุมนุมเสื้อแดง เมื่อวันที่ 10 เม.ย. ที่ผ่านมา

เคนให้ความเห็นว่าไม่คิดว่าเป็นการจงใจสังหารเพื่ออำพรางคดีแต่อย่างใด คิดว่าเป็นอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ ส่วนตัวตนได้รับข่าวที่นักข่าวญี่ปุ่นเสียชีวิตขณะรายงานข่าวในหลายประเทศอยู่แล้ว ไม่ใช่เรื่องน่าแปลก

ด้านความเป็นอยู่ของชาวญี่ปุ่นในประเทศไทย เคน ระบุว่าปกติชาวญี่ปุ่นที่มาอาศัยในประเทศไทย มักอาศัยในย่านสีลมและราชประสงค์ซึ่งเป็นจุดที่เกิดการชุมนุมพอดี นักธุรกิจญี่ปุ่นหลายคนตื่นกลัว และถอนการลงทุนกลับประเทศทันที ที่ได้ยินข่าว และมีความเป็นไปได้ที่จะย้ายประเทศลงทุน

"คนญี่ปุ่นมักรู้จักย่านสีลม ย่านราชประสงค์ และเมื่อทราบข่าวว่ามีเหตุการณ์ชุมนุมและมีการปะทะอย่างรุนแรงในพื้นที่แถบนี้ก็จะตื่นตกใจกว่าปกติ ยิ่งเมื่อรัฐบาลไทยประกาศให้พื้นที่แถบนี้เป็นเขตเฝ้าระวังพิเศษ ก็ยิ่งเพิ่มความหวาดกลัวให้ชาวญี่ปุ่นขึ้นไปอีก" นายเคน ระบุ

เคน กล่าวด้วยว่า สื่อในประเทศไทยที่เผยแพร่เป็นภาษาญี่ปุ่นมีน้อย ทำให้ชาวญี่ปุ่นรู้สึกไม่ปลอดภัย

เมื่อถามถึงความเห็นในการเสนอข่าวของสื่อมวลชนต่างชาติโดยทั่วๆ ไป นำเสนอข่าวอย่างมีอคติหรือไม่ เคน ให้ความเห็นว่า ไม่ใช่สื่อต่างชาติทุกสื่อจะมีความเป็นกลาง ปราศจากอคติ

เนื่องจากสื่อมวลชนเองมีความรู้สึก มีความคิดเห็น และอาจสอดแทรกเข้าไปในข่าวสารของตนเองได้ทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว

ดังนั้น ผู้บริโภคข่าวสารจึงไม่ควรสรุปว่าสื่อต่างชาติทุกสำนักเป็น กลางเพราะไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง

แนวทางนำเสนอข่าวที่ดีที่สุดคือการเสนอข่าวทั้งสองข้างด้วยพื้นที่เท่าๆ กัน ด้วยข้อเท็จจริงซึ่งสามารถตรวจสอบได้

ทางด้าน ราเชล ฮาร์วี่ย์ ชาวอังกฤษ ผู้สื่อข่าวจาก สำนักข่าวบีบีซีในประเทศไทย กล่าวว่า การหาข้อมูลของนักข่าวบีบีซีก็คล้าย การหาข้อมูลของนักข่าวสำนักอื่น คือออกภาคสนามไปสัมภาษณ์แหล่งข่าวเอง

รวมถึงการฟังข้อมูลจากทั้งสองฝ่าย ทั้งทางฝ่ายรัฐบาล ผ่านทางแถลงข่าวโทรทัศน์ หรือรัฐ บาลเรียกสำนักข่าวเข้าไปชี้แจง

ฟังทางผู้ชุมนุมเสื้อแดง ผ่านการ สัมภาษณ์ในพื้นที่โดยตรงและเก็บข้อมูลจากเวทีปราศรัย นอกจากนี้ ยังสอบถามเหตุการณ์จากประจักษ์พยาน ต่อสายสัมภาษณ์เพิ่มเติมจากแกนนำหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง หากมีอุปสรรคด้านภาษาจะจัดหาล่ามมาช่วยแปล

มีการตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งด้วยการโทรศัพท์ตรวจสอบกับทางหน่วยราชการ หรือสอบถามแหล่งข่าวหลายแหล่ง และอ้างชื่อแหล่งข่าวในกรณีที่สุ่มเสี่ยง

เมื่อถามถึงกรณีสำนักข่าวต่างประเทศหลายฉบับรวมทั้งสำนักข่าวบีบีซี ลงข่าวเหตุการณ์วันที่ 28 เม.ย. ซึ่งเกิดเหตุปะทะระหว่างคนเสื้อแดง กองกำลังทหารและตำรวจ หน้าอนุสรณ์สถานจนเป็นเหตุให้ทหารนายหนึ่งเสียชีวิต

โดยบีบีซีรายงานสาเหตุการเสียชีวิตว่าเกิดจากการ "ยิงกันเอง"


ราเชล ซึ่งร่วมรายงานข่าวนี้ด้วย กล่าวว่า "ฉันเขียนในข่าวอย่างชัดเจนโดยใช้คำว่า "คาดการณ์ว่า" และตรวจสอบข้อมูลจากทางการทหารและตำรวจก่อนลงข่าวแล้ว ดังนั้น เนื้อข่าวจึงออกมาในลักษณะการคาดการณ์เพื่อแสดงความคืบหน้า ซึ่งหากมีข้อมูลใหม่เพิ่มเติมก็พร้อมจะเปลี่ยนแปลงต่อไป"

ราเชล ยังกล่าวว่า แหล่งข่าวของเธอนอกจากจะเป็นผู้ชุมนุม และรัฐบาลโดยตรงแล้ว ยังอาจเป็นนักวิชาการชาวต่างประเทศ ที่จัดแถลงข่าวหรือจัดสัมมนาเรื่องนี้ แต่หากเป็นงานสัมมนาที่ใช้ภาษาไทย เธอจะให้ล่ามภาษาไทยช่วยแปลเหมือนการทำข่าวทั่วไป

สำนักข่าวบีบีซีมีนโยบายไม่อนุญาตให้นักข่าวออกความคิดเห็นทางการเมืองไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งในข่าวและเป็นการส่วนตัว ดังนั้น เธอจึงปฏิเสธที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับความเห็นที่มีต่อสถานการณ์ทางการเมืองทั้งหมดในไทย

สุดท้าย ราเชล เชื่อว่าประชาชนในประเทศไทยทุกฝ่ายจะตกลงกันได้โดยสันติวิธี

และหวังว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายต่อไป