ที่มา ข่าวสด
คอลัมน์ รายงานพิเศษ
หลัง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ ประกาศแผนโรดแม็ปก็เจออุปสรรคทันที
เริ่มจากคนในพรรคประชาธิปัตย์โดยเฉพาะบรรดาทีมกุนซือใหญ่ ทั้ง นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค และ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษา
แม้เห็นด้วยกับแผนปรองดองกู้วิกฤตชาติ แต่ไม่แฮปปี้กับเรื่องยุบสภา
เช่นเดียวกับสมาชิกพรรค กลุ่มผู้สนับสนุน รวมถึงกลุ่มพันธมิตรฯ คนเสื้อหลากสี ก็ดาหน้าคัดค้าน หาว่าเป็นการเกี้ยเซี้ยกับนายใหญ่ พาดบันไดทางลงให้คนเสื้อแดงยุติการชุมนุมโดยไม่เสียฟอร์ม
จึงไม่ใช่ "โรด แม็ป" แต่เป็น "เรดแม็ป"
หรือแม้แต่คนเสื้อแดงเองก็ยึกยัก ตั้งแง่ไม่ยอมคืนพื้นที่ราชประสงค์ง่ายๆ เดินหน้าไล่บี้นายกฯ ให้ประกาศวันยุบสภาให้ชัด แม้เป็นสิ่งที่สามารถคำนวณได้เองก็ตาม
แต่ด่านสำคัญซึ่งถือเป็นด่านหิน คือ คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ที่โดนดักสกัดไว้ถึง 2 ชั้น
ชั้นแรกคือ คดีอำพรางเงินบริจาค 258 ล้านบาทจากบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)
อีกชั้นคือ คดีนำเงินกองทุนสนับสนุนพรรค การเมือง 29 ล้านบาท ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
โดยขั้นตอนคดีแรก อยู่ระหว่างกกต.นำหลักฐานแจ้งต่ออัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้มีคำสั่งยุบพรรค คาดว่าเร็วๆ นี้เรื่องคงถึงมืออัยการ
ขณะที่คดีหลังคืบหน้าไปมาก ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องแล้วตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย. อยู่ระหว่างการให้พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะผู้ถูกร้อง ใช้สิทธิ์ยื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
แต่หากดำเนินการไม่ทัน มีสิทธิ์ยืดเวลาการยื่นคำชี้แจงได้อีก 30 วัน
ทั้งนี้ โทษสูงสุดของคดี คือ ยุบพรรคและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งนายอภิสิทธิ์ถือเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในข่าย เพราะขณะเกิดเรื่องดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค
หากมีการยุบพรรคเกิดขึ้นจริง จะกลายเป็นจุดพลิกผันทางการเมือง นอกจากเก้าอี้นายกฯ จะว่างลง แผนโรดแม็ปยังมีอันต้องเป็นโมฆะทันที
ดังนั้น กรณีนายกฯ วางคิวเลือกตั้งล่วงหน้าไว้วันที่ 14 พ.ย. แท้จริงแล้วไม่มีใครสามารถรับประกันได้ว่าในช่วง 6-7 เดือนนับจากนี้ จะไม่เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง
ขนาดคนใกล้ชิดอย่างวอลเปเปอร์ ศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา ยังยอมรับพร้อมส่งสัญญาณหนักใจ
"วันยุบสภาจะอยู่ระหว่างวันที่ 15-30 พ.ย. แต่จะให้กำหนดตายตัวเป็นเรื่องยาก"
"ไม่ใช่นายกฯ จะเซ็นยุบสภาได้ทันที อาจมีปัจจัยหลายอย่างที่ไม่สามารถยุบสภาในวันที่ตั้งใจจะยุบได้"
คดีนี้จึงไม่กระทบแค่พรรคประชาธิปัตย์อย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อทางออกของวิกฤตการเมืองปัจจุบันด้วย ทำให้สถานการณ์ยุ่งยากซ้ำซ้อนเข้าไปอีก
กลายเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤต ประเทศก้าวไม่พ้นทางตัน
ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ แม้บรรดาส.ส. ออกมาแสดงความเห็นว่าไม่หนักใจ แต่ท่าทีและความเคลื่อนไหวของแกนนำกลับตรงกันข้าม
เห็นได้จากการคัดเลือกคนมาร่วมทีมสู้คดี ล้วนแต่เป็นนักกฎหมายมือฉมังและมากประสบการณ์ เช่น นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง นายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง ฯลฯ
แม้แต่รุ่นเก๋าระดับนายชวน หลีกภัย ยังลงมาลุยคดีเองในฐานะหัวหน้าทีม
ทนายของพรรคอย่าง นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ก็มาเป็นทนายความคดีนี้
ไม่ให้เสียชื่อพรรคที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 64 ปี
ยิ่งหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตเรื่องพฤติกรรมการกระทำผิดคล้ายกับพรรคพลังเกษตรกร ที่ศาลรัฐธรรมนูญเพิ่งมีคำสั่งยุบพรรคเมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา ยิ่งทำให้แนวทางการเตรียมตัวสู้คดีของแกนนำเป็นไปด้วยความรอบคอบ
โดยเฉพาะนายชวนกล่าวย้ำหลายครั้งว่า คดีนี้จะประมาทไม่ได้โดยเด็ดขาด
อย่างไรก็ตาม นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายก อดีตรองเลขาธิการพรรคสมัยที่เกิดเรื่อง ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานสู้คดีนี้ ยอมรับว่าหนักใจ เพราะความผิดชัดเจน
ระบุว่าพรรคทำป้ายหาเสียงผิดสเป๊กจากที่กกต. กำหนดไว้จริง โดยกกต.กำหนดไว้ว่าต้องสูง 2.40 เมตร กว้าง 1.30 เมตร แต่ป้ายที่พรรคทำคือ สูง 2.40 เมตร กว้าง 1.20 เมตร
เล็กกว่าที่รายงานกกต.ไป 10 ซ.ม.
"เห็นด้วยกับที่ กกต.เสนอให้ยุบพรรค เพราะตามข้อเท็จจริงต้องยอมรับว่ามีการทำผิดจริงตามข้อกล่าวหา แต่เป็นการทำผิดที่ไม่เจตนา เนื่องจากป้ายขนาด 1.30 เมตร และ 1.20 เมตร มีราคาเท่ากัน"
"จึงถือว่าเป็นปลาตายน้ำตื้น ที่พรรคเก่าแก่ผ่านการเลือกตั้งมา หลายสิบปี ต้องมาถูกยุบแค่ทำป้ายผิดขนาดไป 10 ซ.ม."
นายชาญชัย ยังนำไปเทียบกับกรณีของอดีตนายกฯ สมัคร สุนทรเวช ว่าแม้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายตัวฉกาจ แต่ต้องมาตกเก้าอี้นายกฯ เพราะแค่ผัดข้าวโชว์ทางทีวี
ขณะที่นายนิพิฏฐ์ มองสถานการณ์ด้วยความห่วง ถึงกับประเมินผลที่ตามมาในแง่ร้ายสุดเพื่อให้เห็นภาพ
ว่าถ้าศาลมีคำสั่งภายใน 4-5 เดือนนี้จะกระทบรัฐบาลแน่นอน
เพราะจะมีส.ส.ของพรรคหายไป 30 กว่าเสียง เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารชุดที่เกิดเรื่อง ซึ่งมีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นหัวหน้าพรรค นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นเลขาธิการพรรค
จะทำให้รัฐบาลกลายเป็นเสียงข้างน้อยทันที ส่งผลให้พรรคร่วมรัฐบาลมีโอกาสพลิกขั้วสูง
"เมื่อถึงจุดนั้น ไม่ต้องทำอะไรแล้ว"
"แก้รัฐธรรมนูญก็ทำไม่ได้ เสนอร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ก็ต้องถูกคว่ำกลางสภา เพราะเสียงไม่พอ รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบ"
นั่นจึงเป็นที่มาของกระแสข่าวการเปลี่ยนตัวนายกฯ เพื่อลดสุญญากาศทางการเมือง โดยให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดียุบพรรคมาดำรงตำแหน่งแทน เช่น นายชวน และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ตามที่แกนนำนปช.บางคนเคยเสนอ
วิธีนี้ยังช่วยต่ออายุรัฐบาลให้อยู่ครบวาระ ในเวลาที่เหลืออีก 1 ปี
ยิ่งตอนนี้มีข่าวกระหึ่มว่าการตัดสินคดียุบพรรคจะเร็วขึ้น และคนในพรรคประชาธิปัตย์คาดการณ์เองว่าน่าจะเป็นข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี
อยู่ที่นายอภิสิทธิ์จะเลือกฝ่าวิกฤตด้วยวิธีใด?
เริ่มจากคนในพรรคประชาธิปัตย์โดยเฉพาะบรรดาทีมกุนซือใหญ่ ทั้ง นายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค และ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษา
แม้เห็นด้วยกับแผนปรองดองกู้วิกฤตชาติ แต่ไม่แฮปปี้กับเรื่องยุบสภา
เช่นเดียวกับสมาชิกพรรค กลุ่มผู้สนับสนุน รวมถึงกลุ่มพันธมิตรฯ คนเสื้อหลากสี ก็ดาหน้าคัดค้าน หาว่าเป็นการเกี้ยเซี้ยกับนายใหญ่ พาดบันไดทางลงให้คนเสื้อแดงยุติการชุมนุมโดยไม่เสียฟอร์ม
จึงไม่ใช่ "โรด แม็ป" แต่เป็น "เรดแม็ป"
หรือแม้แต่คนเสื้อแดงเองก็ยึกยัก ตั้งแง่ไม่ยอมคืนพื้นที่ราชประสงค์ง่ายๆ เดินหน้าไล่บี้นายกฯ ให้ประกาศวันยุบสภาให้ชัด แม้เป็นสิ่งที่สามารถคำนวณได้เองก็ตาม
แต่ด่านสำคัญซึ่งถือเป็นด่านหิน คือ คดียุบพรรคประชาธิปัตย์ที่โดนดักสกัดไว้ถึง 2 ชั้น
ชั้นแรกคือ คดีอำพรางเงินบริจาค 258 ล้านบาทจากบริษัท ทีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน)
อีกชั้นคือ คดีนำเงินกองทุนสนับสนุนพรรค การเมือง 29 ล้านบาท ไปใช้ผิดวัตถุประสงค์
โดยขั้นตอนคดีแรก อยู่ระหว่างกกต.นำหลักฐานแจ้งต่ออัยการสูงสุด เพื่อให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้มีคำสั่งยุบพรรค คาดว่าเร็วๆ นี้เรื่องคงถึงมืออัยการ
ขณะที่คดีหลังคืบหน้าไปมาก ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องแล้วตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย. อยู่ระหว่างการให้พรรคประชาธิปัตย์ในฐานะผู้ถูกร้อง ใช้สิทธิ์ยื่นคำชี้แจงข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
แต่หากดำเนินการไม่ทัน มีสิทธิ์ยืดเวลาการยื่นคำชี้แจงได้อีก 30 วัน
ทั้งนี้ โทษสูงสุดของคดี คือ ยุบพรรคและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งนายอภิสิทธิ์ถือเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในข่าย เพราะขณะเกิดเรื่องดำรงตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค
หากมีการยุบพรรคเกิดขึ้นจริง จะกลายเป็นจุดพลิกผันทางการเมือง นอกจากเก้าอี้นายกฯ จะว่างลง แผนโรดแม็ปยังมีอันต้องเป็นโมฆะทันที
ดังนั้น กรณีนายกฯ วางคิวเลือกตั้งล่วงหน้าไว้วันที่ 14 พ.ย. แท้จริงแล้วไม่มีใครสามารถรับประกันได้ว่าในช่วง 6-7 เดือนนับจากนี้ จะไม่เกิดอุบัติเหตุทางการเมือง
ขนาดคนใกล้ชิดอย่างวอลเปเปอร์ ศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา ยังยอมรับพร้อมส่งสัญญาณหนักใจ
"วันยุบสภาจะอยู่ระหว่างวันที่ 15-30 พ.ย. แต่จะให้กำหนดตายตัวเป็นเรื่องยาก"
"ไม่ใช่นายกฯ จะเซ็นยุบสภาได้ทันที อาจมีปัจจัยหลายอย่างที่ไม่สามารถยุบสภาในวันที่ตั้งใจจะยุบได้"
คดีนี้จึงไม่กระทบแค่พรรคประชาธิปัตย์อย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อทางออกของวิกฤตการเมืองปัจจุบันด้วย ทำให้สถานการณ์ยุ่งยากซ้ำซ้อนเข้าไปอีก
กลายเป็นวิกฤตซ้อนวิกฤต ประเทศก้าวไม่พ้นทางตัน
ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ แม้บรรดาส.ส. ออกมาแสดงความเห็นว่าไม่หนักใจ แต่ท่าทีและความเคลื่อนไหวของแกนนำกลับตรงกันข้าม
เห็นได้จากการคัดเลือกคนมาร่วมทีมสู้คดี ล้วนแต่เป็นนักกฎหมายมือฉมังและมากประสบการณ์ เช่น นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง นายวิรัช ร่มเย็น ส.ส.ระนอง ฯลฯ
แม้แต่รุ่นเก๋าระดับนายชวน หลีกภัย ยังลงมาลุยคดีเองในฐานะหัวหน้าทีม
ทนายของพรรคอย่าง นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ก็มาเป็นทนายความคดีนี้
ไม่ให้เสียชื่อพรรคที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานถึง 64 ปี
ยิ่งหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตเรื่องพฤติกรรมการกระทำผิดคล้ายกับพรรคพลังเกษตรกร ที่ศาลรัฐธรรมนูญเพิ่งมีคำสั่งยุบพรรคเมื่อวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา ยิ่งทำให้แนวทางการเตรียมตัวสู้คดีของแกนนำเป็นไปด้วยความรอบคอบ
โดยเฉพาะนายชวนกล่าวย้ำหลายครั้งว่า คดีนี้จะประมาทไม่ได้โดยเด็ดขาด
อย่างไรก็ตาม นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายก อดีตรองเลขาธิการพรรคสมัยที่เกิดเรื่อง ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงานสู้คดีนี้ ยอมรับว่าหนักใจ เพราะความผิดชัดเจน
ระบุว่าพรรคทำป้ายหาเสียงผิดสเป๊กจากที่กกต. กำหนดไว้จริง โดยกกต.กำหนดไว้ว่าต้องสูง 2.40 เมตร กว้าง 1.30 เมตร แต่ป้ายที่พรรคทำคือ สูง 2.40 เมตร กว้าง 1.20 เมตร
เล็กกว่าที่รายงานกกต.ไป 10 ซ.ม.
"เห็นด้วยกับที่ กกต.เสนอให้ยุบพรรค เพราะตามข้อเท็จจริงต้องยอมรับว่ามีการทำผิดจริงตามข้อกล่าวหา แต่เป็นการทำผิดที่ไม่เจตนา เนื่องจากป้ายขนาด 1.30 เมตร และ 1.20 เมตร มีราคาเท่ากัน"
"จึงถือว่าเป็นปลาตายน้ำตื้น ที่พรรคเก่าแก่ผ่านการเลือกตั้งมา หลายสิบปี ต้องมาถูกยุบแค่ทำป้ายผิดขนาดไป 10 ซ.ม."
นายชาญชัย ยังนำไปเทียบกับกรณีของอดีตนายกฯ สมัคร สุนทรเวช ว่าแม้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายตัวฉกาจ แต่ต้องมาตกเก้าอี้นายกฯ เพราะแค่ผัดข้าวโชว์ทางทีวี
ขณะที่นายนิพิฏฐ์ มองสถานการณ์ด้วยความห่วง ถึงกับประเมินผลที่ตามมาในแง่ร้ายสุดเพื่อให้เห็นภาพ
ว่าถ้าศาลมีคำสั่งภายใน 4-5 เดือนนี้จะกระทบรัฐบาลแน่นอน
เพราะจะมีส.ส.ของพรรคหายไป 30 กว่าเสียง เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารชุดที่เกิดเรื่อง ซึ่งมีนายบัญญัติ บรรทัดฐาน เป็นหัวหน้าพรรค นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็นเลขาธิการพรรค
จะทำให้รัฐบาลกลายเป็นเสียงข้างน้อยทันที ส่งผลให้พรรคร่วมรัฐบาลมีโอกาสพลิกขั้วสูง
"เมื่อถึงจุดนั้น ไม่ต้องทำอะไรแล้ว"
"แก้รัฐธรรมนูญก็ทำไม่ได้ เสนอร่างพ.ร.บ.งบประมาณ ก็ต้องถูกคว่ำกลางสภา เพราะเสียงไม่พอ รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบ"
นั่นจึงเป็นที่มาของกระแสข่าวการเปลี่ยนตัวนายกฯ เพื่อลดสุญญากาศทางการเมือง โดยให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดียุบพรรคมาดำรงตำแหน่งแทน เช่น นายชวน และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ตามที่แกนนำนปช.บางคนเคยเสนอ
วิธีนี้ยังช่วยต่ออายุรัฐบาลให้อยู่ครบวาระ ในเวลาที่เหลืออีก 1 ปี
ยิ่งตอนนี้มีข่าวกระหึ่มว่าการตัดสินคดียุบพรรคจะเร็วขึ้น และคนในพรรคประชาธิปัตย์คาดการณ์เองว่าน่าจะเป็นข่าวร้ายมากกว่าข่าวดี
อยู่ที่นายอภิสิทธิ์จะเลือกฝ่าวิกฤตด้วยวิธีใด?