WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Saturday, March 22, 2008

คณะ กก.เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจใต้อนุมัติ 5 ยุทธศาสตร์พัฒนาพื้นที่ใต้

ทำเนียบฯ 21 มี.ค.-นายกรัฐมนตรี เผยที่ประชุมคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้อนุมัติ 5 กรอบยุทธศาสตร์พัฒนา 3 จังหวัดใต้ รวมสงขลา-สตูล พร้อมให้ทหารร่วมลงทุนภาคเอกชนฟื้นเศรษฐกิจในพื้นที่

นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือ กพต. ซึ่งใช้เวลากว่า 2 ชั่วโมง ว่า การทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มี 2 ส่วน คือ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) และกองกำลังทหาร ตำรวจ พลเรือน (พตท.) โดยที่ประชุมเสนอให้มีการพัฒนาในส่วนพลเรือนโดยเฉพาะ เนื่องจากที่ผ่านมา ภาคเอกชนไม่กล้าที่จะไปลงทุน ตนจึงขอให้กำหนดรูปแบบเป็นลักษณะอุตสาหกรรมทหาร เช่น ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานอาหารกระป๋อง การก่อสร้างถนน โดยทหารจะเข้าถือหุ้น 51% ภาคเอกชนถือหุ้น 49 % คล้ายกับรัฐวิสาหกิจ แต่มีเป้าหมายเพื่อพัฒนา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งภาคเอกชนพร้อมที่จะดำเนินการได้ทันที

ส่วนสถานการณ์ที่ยังมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น รัฐบาลมีนโยบายจะมอบหมายให้ใครรับผิดชอบโดยตรงหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนเป็นคนรับผิดชอบในฐานะหัวหน้ารัฐบาล รัฐบาลนี้ต้องรับผิดชอบสถานการณ์ทั้งหมด ขณะเดียวกัน มีฝ่ายปฏิบัติทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร ซึ่งมีความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ที่ผ่านมา ที่มีการแต่งตั้งผู้บัญชาการทหารบกคนใหม่ได้เปลี่ยนวิธีการดำเนินการใหม่ ทำให้สถานการณ์ความรุนแรงเบาบางลง ส่วนเหตุระเบิดล่าสุดนั้น กลุ่มผู้ก่อเหตุต้องการให้ฝ่ายการเมืองลงไปมีบทบาทในพื้นที่ ดังนั้น จึงมอบหมายให้ ร.ต.อ.เฉลิม ไปดูแลปัญหา

“แต่ ร.ต.อ.เฉลิม ลงไปแค่จังหวัดสงขลา ก็ไม่ว่าอะไร เพราะฝ่ายปฏิบัติการก็ทำหน้าที่และรายงานให้ผมทราบอย่างถี่ถ้วน ดังนั้น เราต้องไว้วางใจให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงาน” นายสมัคร กล่าว

นายสมัคร กล่าวอีกว่า การพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะรวมถึง จ.สงขลา และ จ.สตูล ด้วย ในฐานะที่เป็นพื้นที่กันชนและเฝ้าระวังเหตุการณ์ความไม่สงบ รวมทั้งจะเป็นการช่วยและเชื่อมโยงพัฒนาร่วมกัน อย่างไรก็ตาม จะนำเรื่องนี้ไปหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 25 มีนาคมนี้ และในเบื้องต้นจะใช้งบประมาณเหลือจ่ายปี 51

“ส่วนการวิเคราะห์สถานการณ์และเหตุระเบิดล่าสุดนั้น จะต้องดูว่าผู้ก่อความไม่สงบต้องการอะไร เพราะฝ่ายความมั่นคงประเมินว่า จะมีก่อเหตุความไม่สงบในช่วง 12-15 มี.ค.ที่ผ่านมา แต่ผู้ก่อความไม่สงบก็ลงมือในวันที่ 16 มี.ค. เพราะเจ้าหน้าที่คลายความระมัดระวัง ซึ่งการที่สื่อมวลชนเสนอข่าวเอิกเกริกก็จะสมประโยชน์ของผู้ก่อความไม่สงบ และถ้าผมกระโดดลงไปในพื้นที่ด้วยก็จะยิ่งสมประโยชน์มากขึ้น เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่ต้องมาดูแลผม” นายกรัฐมนตรี กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีกลุ่มผู้ก่อความสงบ 2 กลุ่มเคลื่อนไหวในต่างประเทศและต้องการยกระดับปัญหาให้เป็นสากล เพื่อให้มีการเจรจาที่เจนีวา โดยให้รัฐบาลไทยรับรองการเจรจาดังกล่าว แต่รัฐบาลไม่มีทางที่จะดำเนินการเช่นนั้น

“นายลี กวน ยู ก็บอกว่าเป็นเรื่องภายในของประเทศ และที่ต้องหวานอมขมกลืนทุกวันนี้ เพราะต้องการให้เป็นปัญหาอินเตอร์” นายกรัฐมนตรี กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่าในวันที่ 23 มีนาคมนี้ เป็นวันครบรอบก่อตั้งขบวนการพูโลคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์รุนแรงหรือไม่ นายสมัคร กล่าวว่า “ขบวนการดังกล่าวฝากผู้สื่อข่าวมาบอกกับตนหรือ ผมจะรับฟังไว้ และเราจะต้องระมัดระวังว่าเขาจะลอบวางระเบิดอย่างนั้นหรือ และคงไม่เชิญนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี มาเป็นประธานแก้ไขปัญหา อย่างที่มีนักวิชาการเสนอ”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุม กพต. วันนี้ (21 มี.ค.) ให้ความเห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ โดยให้ความสำคัญกับการบรรเทาความเดือดร้อนและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ พัฒนา จ.สตูล เป็นพื้นที่กันชนและเฝ้าระวังการลุกลามของเหตุความไม่สงบ และพัฒนา จ.สงขลา เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงกับนานาชาติ

ทั้งนี้ กรอบยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ คือ 1.การคุ้มครองความปลอดภัย การอำนวยความเป็นธรรมเพื่อเสิมสร้างความเชื่อมั่นในอำนาจรัฐและสร้างภูมิคุ้มกันแก่กลุ่มเสี่ยง 2. การแก้ไขปัญหาความยากจนและเสริมสร้างความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ในการพึ่งพาตัวเอง 3. การพัฒนาคุณภาพคนเพื่อสร้างโอกาสการมีงานทำและยกระดับคุณภาพชีวิต โดยเน้นการปฏิรูปการศึกษาเชิงบูรณาการ 4. การเสริมสร้างความแข้มแข็งฐานเศรษฐกิจของพื้นที่และการพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ โดยมีแนวทางในการขยายการผลิตด้านการเกษตรให้ครบวงจร และ 5. การบริหารจัดการเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ โดยเน้นการปรับปรุงและการทำกฎระเบียบเฉพาะในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ดำเนินการบูรณาการแผนงานโครงการและกรอบงบประมาณตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวภายใน 45 วัน.-สำนักข่าวไทย


อัพเดตเมื่อ 2008-03-21 19:12:05