WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Friday, May 9, 2008

"อ.วรพล" ตอกลิ่มกระแสแก้รธน.ชี้ฉบับ 2550 กึ่งเผด็จการ

“อ.วรพล” หนุนกระแสแก้ รธน. 50 กลางเวที “แก้ ไม่แก้ รัฐธรรมนูญ คนไทยได้อะไร” ชี้เป็น รธน. กึ่งเผด็จการสืบทอดอำนาจธนาธิปไตย รองรับวงจรอุบาทก์รัฐประหาร อุ้มความผิดเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ ชูสองสภาต้องร่วมมือดึงเสียงข้างมากเอา รธน.40 กลับมาโดยเร็ว พร้อมเสนอตั้ง สสร. หลังจากมี รธน.ฉบับใหม่ ก่อนเปิดให้ปชช.ลงมติ

วันนี้ (9 พ.ค.) วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก เปิดเวทีสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “แก้ ไม่แก้ รัฐธรรมนูญ คนไทยได้อะไร” ที่ห้องประชุม ดร.เกริก ชั้น 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่างๆ ในการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองในอดีต ปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางในการคาดการณ์ถึงสถานการณ์การเมืองไทยในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่มีผลต่อประชาชนชาวไทยทุกคน

ทั้งนี้ มีวิทยากรเข้าร่วมในการสัมมนา อาทิ รศ.สมชาย ภคภาควิวัฒน์ นักวิชาการอิสระ อ.วรพล พรหมิกบุตร คณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ขณะที่มีประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมฟังการสัมมนาวันนี้ ประมาณ 300 คน

รศ.ดร.วรพล พรหมมิกบุตร อ่านแถลงการณ์ แนวทางการสร้างรัฐธรรมนูญประชาธิปไตยด้วยวิธีสมานฉันทร์ที่ยึดระบบของปวงชนชาวไทยเป็นใหญ่กว่าประโยชน์ของพรรคและกลุ่มการเมืองต่าง ๆ ตามที่ตนได้วิเคราะห์และนำเสนอให้ทราบไปแล้วว่า รธน. 50 เป็นรัฐธรรมนูญแบบกึ่งเผด็จการที่จัดวางตำแหน่งและอำนาจให้แก่กลุ่มอำนาจธนาธิปไตยใหญ่กว่าอำนาจของปวงชนชาวไทย โดยกำหนดบทบัญญัติรองรับวงจรอุบาทก์การแต่งตั้งสืบทอดอำนาจจากคณะรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

ทั้งนี้ ตลอดเวลาที่มีการใช้ รธน. ฉบับดังกล่าว อำนาจธนาธิปไตยใหญ่กว่าอำนาจของปวงชนชาวไทย ไม่ว่าจะเป็นอำนาจการปลด การถอดถอนผู้ที่ประชาชนเลือกตั้งเข้าไป รวมไปถึงอำนาจการยกโทษล่วงหน้าให้แก่กลุ่มสมาชิกเครือข่ายระบบอุปถัมภ์ ทั้งที่ความผิดยังไม่เกิด หรือความผิดที่เกิดขึ้นแล้ว

รศ.ดร.วรพล กล่าวต่อว่า ยังได้เสนอแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญสำคัญต่างๆ ตามที่กลุ่มการเมืองหรือบุคคลสำคัญๆ นำเสนอแล้วเห็นว่า ล้วนแต่เป็นวิธีการที่สามารถทำได้ตามกฎหมาย เป็นวิธีการที่ควรผสมผสานโดยมีขั้นตอนที่เหมาะสม ดังนี้คือ นำสาระสำคัญของ รธน. 40 เดิม ซึ่งมีลักษณะเป็นประชาธิปไตยมากกว่ามาบังคับใช้แทน รธน.50 โดยเร็ว เพื่อให้บุคคลจากวงจรอุบาทก์ไม่สามารถใช้อำนาจหรืออำนาจประชาธิปไตยของปวงชนชาวไทยได้ ซึ่งวิธีการนำ รธน.40 กลับมาใช้โดยเร็ว คือ การแก้ไขตามอำนาจของรัฐสภาตามมาตรา 291 เนื่องจากสมาชิกวุฒิสภาขณะนี้เป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทยสามารถที่จะถ่วงดุลเฉลี่ยน้ำหนักเสียงข้างมากข้างน้อยในสภาได้ การนำ รธน.40 มาใช้แทน รธน.50 จึงไม่จำเป็นต้องตั้ง สสร.3 (สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ) และไม่จำเป็นต้องใช้วิธีลงประชามติ เพราะว่าประชามติจะแฝงอยู่ในตัวแทนของประชาชนในรัฐสภาแล้ว

ประการต่อมา หากจะมีการแต่งตั้ง สสร.3 เห็นควรให้การแต่ตั้งโดยอยู่บนพื้นฐานของ รธน.40 ที่นำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อไม่ให้บุคคลที่มาจากวงจรอุบาทก์เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการสรรหาแต่งตั้ง ทั้งนี้ สสร. 3 สามารถดำเนินการศึกษาข้อดีข้อเสียดังกล่าวแล้วปรับปรุงแก้ไข และสร้าง รธน.ให้เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ในประเด็นนี้ที่พรรคประชาธิปัติย์บอกเป็นจุดอ่อนใน รธน.50 เดิม เรื่องการตรวจสอบก็สามารถเข้าไปแก้ไขได้ตอนนั้น แต่ต้องนำ รธน.40 กลับมาใช้ก่อน

อย่างไรก็ดี เห็นว่าหลังจาก สสร.3 ศึกษา และร่าง รธน. ของ สสร.3 ใหม่แล้ว ยังไม่ให้บังคับใช้ทันทีจนกว่าจะผ่านการพิจารณาของสภาฯ และจนกว่าจะได้รับประชามติจากพี่น้องประชาชน

รศ.ดร.วรพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ลำดับที่นำเสนอ คือ ใช้กระบวนการในรัฐสภาโดยอาศัยเสียงข้างมากในสภาทั้งสองสภาร่วมกันนำ รธน.40 กลับมาใช้โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดมาจากอำนาจเผด็จการ ส่วนที่บางกลุ่มขอเวลาออกไปอีก 1 ปี น่าวิตกกังวลว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นอีก เนื่องจากขณะนี้ รธน.50 ส่งผลให้เกิดผลเสียและกระทบต่อวิถีชีวิตของพี่น้องประชาชนอย่างมาก และเมื่อมี รธน.40 ฉบับใหม่ กลับมาใช้แล้วจะใช้ฐานของ รธน.ฉบับดังกล่าวไปร่าง รธน.ฉบับใหม่โดยตั้ง สสร.3 ได้ หลังจากนั้นจึงทำประชามติ

ทั้งนี้ กระบวนการดังกล่าว จะเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นพรรคพลังประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หรือแม้แต่ นปช. เพราะเป็นการนำข้อเสนอของทุกฝ่ายมารวมกัน ซึ่งหากเห็นประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้งก็ไม่น่าจะขัดแย้ง