WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, May 5, 2008

คปพร.ติดเครื่อง!เปิดเวทีแนวร่วม ปลุกพลังคนใต้หนุนแก้ รธน.50





ด้าน “นพ.เหวง” ชี้ รธน.50 ทำลายระบอบประชาธิปไตย ซัดพวกพันธมารดีแต่อ้างประชามติ 14 ล้านเสียงทั้งที่ส่วนใหญ่ 32 ล้านเสียงไม่เห็นด้วย ยกให้อำนาจ 7 คนเลือก 74 ส.ว. และอีก 76 คนมาจาก 76 จ.ทำประเทศไทยแตกเป็นเสี่ยงๆ ขัดม. 1 ชัดเจน

เริ่มแล้ว! วันนี้ (4 พ.ค.) คณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.) เดินสายเปิดเวทีเสวนาวิชาการ “แก้ไขวิกฤต รัฐธรรมนูญ 2550” ที่ รร.ปาร์ควิว ห้องพิมพ์มาดา จ.ยะลา ตั้งแต่เวลา 13.00 – 16.00 น. หลังจากที่เดินทางไปในหลายภูมิภาคในหลายจังหวัด อาทิ เชียงใหม่ อุดรธานี พระนครศรีอยุธยา ฉะเชิงเทรา เป็นต้น โดยมีพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดยะลาให้ความสนใจเข้าฟังและสนับสนุนจำนวนมาก

พร้อมกันนี้ ได้เชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมลงชื่อ 50,000 ชื่อสนับสนุนแก้ไข รธน.50 ซึ่งมีผู้คนให้ความสนใจร่วมลงชื่อ และแสดงความคิดในเรื่องนี้อย่างเต็มที่

นพ.เหวง โตจิราการ หนึ่งในกรรมการ คปพร. กล่าวตอนหนึ่งถึงเหตุผลและที่มาของ รธน. 50 ว่า รธน.50 เป็นฉบับที่ 18 เป็นฉบับที่มาจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 อันเกิดจากกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญประชาชนไม่มีส่วนร่วมเพียงพอ ดังจะเห็นได้จากการให้อำนาจสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 150 คน ในจำนวน 76 คนที่มาจาก 76 จังหวัด ที่ไม่คำนึงถึงหลักการมติประชาชน เพราะแต่ละจังหวัดมีคนมากน้อยต่างกัน

ทั้งที่ รธน.ประชาธิปไตย การใช้อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน จึงต้องให้ประชาชนเลือก แต่ในขณะเดียวกันกับ ส.ว.จำนวน 74 คน รธน.50 ให้อำนาจคนเพียง 7 คนที่มาจากการแต่งตั้งสรรหาของศาลและองค์กรตาม รธน. ตามมาตรา 111, 112, 113 และ114 ซึ่งผิดในหลักการอย่างสิ้นเชิง

“คุณจะเอาอำนาจอธิปไตยไปให้คน 7 คนไม่ได้ มันเป็นอภิชนาธิปไตย เอาอำนาจอธิปไตยไปให้อภิสิทธิ์ชน มาใช้คำว่า ส.ว.สรรหา โหวตแค่ 4 คนจาก 7 คนก็ชนะแล้ว ผมฟังนักวิชาการที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตพูดในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก ส.ว.มีอำนาจมากเกินไปหากเทียบในบางประเทศเช่นที่แคนาดา อีกทั้งการได้ ส.ว.เลือกตั้งจังหวัดละ 1 คนนั้น เท่ากับสะท้อนรากเหง้าทางความคิดของการเลือก ส.ว. มีที่มาจากไหน หลักการเช่นนี้ถือว่าขัดกับมาตรา 1 ที่ทำให้ประเทศถูกเฉือนแบ่งเป็น 76 จังหวัด กลายเป็น “พันธรัฐ สหรัฐ” ทำให้อำนาจอธิปไตยถูกแบ่งเป็น 76 อำนาจ ไม่ใช่หนึ่งเดียวที่ควรจะแบ่งแยกไม่ได้” นพ.เหวง กล่าว

นพ.เหวง กล่าวต่อว่า มาตรา 309 ที่ระบุเกี่ยวกับการใช้อำนาจรวมถึงการกระทำของพวกรัฐประหารเป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรมตาม รธน. ถูกต้องต่อหน้าที่ทั้งต่อหน้าประกาศใช้ รธน. และหลังจากที่ รธน. บังคับใช้แล้ว เท่ากับเป็นการปกป้องรัฐประหาร ทำให้เกิดความถูกต้องชอบธรรมตนจึงต้องขอประนามและฟ้องประชาชนในวันนี้ เราต้องเร่งแก้ รธน.50 โดยเร็ว

ทั้งนี้ ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนชาวไทย ต้องแสดงออกโดยให้คนที่มีความคิดมารวมกันเป็นพรรคการเมือง ทำหน้าที่วิเคราะห์ปัญหาของประเทศเสนอเป็นนโยบาย โดยผ่าน ส.ส. ตัวแทนปวงชนชาวไทย แต่ในขณะที่มาตรา 266 ของ รธน. ฉบับนี้ กลับห้ามไม่ให้ ส.ส.ไปแทรกแซงข้าราชการของรัฐ พนักงานของรัฐ ลูกจ้างของรัฐ ทั้งทางตรงและทางอ้อม และเป็นไปเพื่อประโยชน์ตน และเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วจะเลือก ส.ส. มาทำไมกัน ยังมีมาตรา 237 ที่พวกพันธมารออกมากล่าวอ้างว่าเป็นการแก้เพื่อช่วยพรรคการเมืองบางพรรค มันเอาเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องมาพูด แล้วอย่างนี้พี่น้องประชาชนอยากจะเก็บ รธน. ฉบับนี้ไว้เช่นนั้นหรือ

นอกจากนี้ นพ.เหวง ยังชี้ให้เห็นถึงฝ่ายต่อต้านมักจะอ้างประชามติ 14 ล้านคนที่เห็นชอบ รธน. ฉบับนี้ ทั้งที่คนที่มีสิทธิในการโวตร่าง รธน.มีจำนวน 45 ล้านคน นั่นหมายความว่ายังมีส่วนที่ไม่เห็นด้วย 32 ล้านคน ไม่เห็นด้วย เท่าที่ได้ติดตามเอ็กซิทโพล (ทำการสำรวจความเห็นหน้าคูหาในขณะยั้น) ระบุชัดเจนว่ามี 30% ที่ให้เหตุผลสักถึงการลงประชามติกาเห็นด้วย ก็เพื่อให้มีการเลือกตั้ง เพราะขณะนั้นรัฐบาลรัฐประหารทำให้ชาวบ้าน ประชาชน เกษตรกรเดือดร้อนกันมาก เลือดมันหลังอยู่ในอก แต่น้ำตาไม่มี กาเห็นชอบเพื่อให้รัฐบาลรัฐประหารพ้นๆ ไป เพื่อไปแก้กันในอนาคต รวมทั้งนักวิชาการบางคนเห็นเช่นนั้นด้วย พอมาถึงวันนี้ ถึงเวลาที่เราต้องแก้ รธน. ฉบับนี้แล้ว หลังจากที่ทหารมายึดอำนาจ ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อครรลองประชาธิปไตย