WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Tuesday, May 6, 2008

นักวิชาการ จี้ “สื่อเป็นพิษ” หยุดพฤติกรรมปลุกปั่นก่อความรุนแรง

นักวิชาการสันติวิธี หวั่น พฤติกรรมสื่อก่อวิกฤติ ร่อน จม.เปิดผนึกเตือนสติ หยุด “สื่อเป็นพิษ” โฆษณาชวนเชื่อ ปลุกปั่นสถานการณ์ ตั้งตัวเป็นอภิสิทธิ์ชน ทำลาย ปชต.

โดยในวันนี้ (5 เม.ย.) นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนางสาวอุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในนามนักวิชาการสันติวิธี ได้ออกจดหมายเปิดผนึกถึงผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชน ระบุใจความว่า ขณะนี้มีร่องรอยว่า ระบอบประชาธิปไตยของไทยกำลังเคลื่อนเข้าสู่อันตรายจากความขัดแย้งทางการเมืองที่อาจทรุดลงเป็นความรุนแรง ปัจจัยหนึ่งที่ปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ คือ สื่อมวลชน

ทั้งนี้ ความแตกต่างทางความคิดเป็นเรื่องปกติในสังคมประชาธิปไตย แม้ต่างกันคนละขั้วก็ยังเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่ตัวความแตกต่างนั้นเองมิได้เป็นเหตุให้เกิดความรุนแรง ตราบเท่าที่ความแตกต่างสามารถปะทะขัดแย้งกันได้อย่างสันติตามกระบวนการทางการเมือง กระบวนการทางศาล และกระบวนการทางปัญญาผ่านสื่อและเวทีวิชาการ
อย่างไรก็ตาม หากเมื่อใดที่กระบวนการเหล่านั้นไม่ทำงาน หรือกลายเป็นปัจจัยยุยงส่งเสริมความเกลียดชังเสียเอง ความแตกต่างก็จะกลายเป็นความรุนแรง โดยคนซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบสื่อและสื่อที่ไม่รับผิดชอบกำลังส่งผลกร่อนทำลายประชาธิปไตยสังคมไทยใน 3 ทาง คือ

1. สร้างความโกรธแค้นเกลียดชัง ปลุกปั่นสถานการณ์เสียเอง

2. โฆษณาชวนเชื่อ เป็นกระบอกเสียงของฝักฝ่ายทางการเมืองอย่างสุดหัวใจ ให้ร้ายใส่ความคู่ต่อสู้ด้วยเล่ห์เพทุบายสารพัด และ

3. ทั้งหมดนี้ ดำเนินไปขณะที่ ผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชนเฉยเมยต่อการละเมิดจรรยาบรรณสองประการข้างต้น หรือทำตัวลู่ตามลม เลือกปฏิบัติปกป้องเฉพาะพวก ลงโทษเฉพาะฝ่าย

จดหมายเปิดผนึกดังกล่าว ระบุต่อไปว่า สิ่งที่ดูจะหายไปในแวดวงสื่อมวลชนไทยที่ทำการทั้ง 3 ประการข้างต้น คือ มาตรฐานและจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ที่ต้องเคร่งครัดกับหลักการ ความเที่ยงธรรม และความรับผิดชอบที่สูงกว่าประชาชนทั่วไปที่ไม่มีอำนาจสื่ออยู่ในมือ และสูงกว่ากระบอกเสียงโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายต่างๆ และเมื่อประกอบกับอำนาจที่มากขึ้นทุกวัน ผลก็คือสื่อมวลชนของไทยจำนวนหนึ่งกลายเป็นอภิสิทธิ์ชนที่ใช้อำนาจทำร้ายผู้ไม่มีอำนาจสื่ออยู่ในมือ โดยที่คนในวิชาชีพด้วยกันไม่กล้าทักท้วงตรวจสอบ

สื่อมวลชนเช่นนี้ นอกจากจะไม่เป็นคุณต่อประชาธิปไตยแล้ว ยังกลับจะเป็นโทษอีกด้วย เพราะก่อความโกรธ หนุนความหลง และใช้เหตุผลเพียงเพื่อเอาชนะ ส่งผลโน้มน้าวสาธารณชนอย่างผิดๆ และที่สุดสามารถจุดชนวนให้ความแตกต่างทางความเชื่อและความคิดเห็นกลายเป็นความรุนแรง

ในขณะที่เสรีภาพของสื่อต้องได้รับการปกป้อง สังคมไทยต้องไม่ปล่อยให้สื่อใช้อำนาจของตนอย่างฉ้อฉลจนอาจนำไปสู่ความรุนแรง

ผู้ประกอบวิชาชีพและองค์กรของสื่อมวลชนควรจัดการดูแลปัญหา “สื่อเป็นพิษ” อันน่าวิตกนี้โดยด่วนที่สุด ทั้งควรให้สาธารณชนมีส่วนร่วมด้วย โดยที่รัฐบาลไม่ควรเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องนี้แต่อย่างใด