WeLoveOurKing
How to insert weloveking to you website

ทรงพระเจริญ

ขัตติยาอัด คอป แต่งนิทานโยนความผิดเสธ แดง 18 9 55

สถาบันกษัตริย์อยู่ได้ด้วยความจริง

ธงชัย วินิจจะกูล: Truth on Trial

สถาบันกษัตริย์ถึงเวลาต้องปรับตัว

ตุลาการผิดเลน !


ฟังกันให้ชัด! "นิติราษฎร์" ไขข้อข้องใจ ทุกคำถามกรณีลบล้างผลพวงรัฐประหาร





วิดีโอสอนการทำน้ำหมักป้าเช็ง SuperCheng TV ฉบับเต็ม 1.58 ชม.

VOICE NEWS

Fish




เพื่อไทย

เพื่อไทย
เพื่อ ประชาธิปไตย ขับไล่ เผด็จการ

Monday, May 5, 2008

ปราชญ์ยะลาชี้เหตุผล รธน.เผด็จการต้องแก้ไข

เวทีสัญจร “แก้ไข รธน. 50” ของ คปพร.ที่ยะลา คึกคักเกินขาด พี่น้องไทยพุทธ ไทยมุสลิม แห่ฟังแแน่น “หมอเหวง” ชำแหละที่มา ส.ว. และ ม.309 ผิดหลัก ปชต. อดีตผู้พิพากษาฯ “มานิตย์” ปลุกจิตวิญญาณคนยะลา รับไม่ได้เพราะเป็นกฎหมายโจรกบฏ หนทางเดียวโละทิ้ง เอา รธน.40 กลับมาใช้ ขณะที่ปราชญ์ยะลา “นิยะปาร์ ระเด่นอาหมัด” เผย คนยะลา ภูมิใจ รธน.40 เพราะเป็นฉบับแรกที่คนไทยมุสลิมลงนามสนองพระบรมราชโอการ แต่ก็เศร้าเพราะนายพลเอกที่ชื่อ “สนธิ” เป็นไทยมุสลิมแต่กลับฉีกทิ้ง

เวทีสัญจรของคณะกรรมการประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ (คปพร.) ที่โรงแรมปาร์ควิว จ.ยะลา เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นการลงสู่พื้นที่ภาคใต้ครั้งแรกนั้น บรรยากาศก่อนการเริ่มสัมมนาเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมทยอยเดินทางเข้าร่วมรับฟังอย่างคับคั่งประมาณ 2 พันคน พร้อมกันนี้ ยังได้เชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมลงชื่อ เพื่อยื่นสนับสนุนแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 เหมือนเช่นเวทีสัญจรที่ดำเนินการมาแล้วในหลายจังหวัดก่อนหน้านี้ ซึ่งก็มีผู้ให้ความสนใจร่วมลงชื่อ และแสดงความคิดในเรื่องนี้อย่างเต็มที่

โดยหัวข้ออภิปรายคือ “ระดมความคิด ฝ่าวิกฤติรัฐธรรมนูญ 2550” เริ่มในเวลา 13.00 น. มีวิทยการเข้าร่วม อาทิ นพ.เหวง โตจิราการ นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ดร.เมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์ นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท นายชินวัฒน์ หาบุญพาด และ นายจรัล ดิษฐาอภิชัย ฯลฯ

ซัด ที่มาว่า ส.ว.บ่งชี้ เปลี่ยนไทยเป็นพันธรัฐ
นพ.เหวง โตจิราการ หนึ่งในกรรมการ คปพร.ขึ้นกล่าวเป็นคนแรก ถึงเหตุผลและที่มาของรัฐธรรมนูญ 2550 ว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ของไทย และเป็นฉบับที่มาจากการทำรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยมีกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วมเพียงพอ ดังจะเห็นได้จากการให้อำนาจสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) 150 คน โดย 76 คนมาจาก 76 จังหวัด ที่ไม่คำนึงถึงหลักการมติประชาชน เพราะแต่ละจังหวัดมีคนมากน้อยต่างกัน ทั้งที่ระบอบประชาธิปไตย การใช้อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน จึงต้องให้ประชาชนเลือก และขณะเดียวกัน ส.ว.อีก 74 คน ก็ให้อำนาจคนเพียง 7 คน ที่มาจากการแต่งตั้งสรรหาของศาลและองค์กรตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 111, 112, 113 และ 114 เป็นคนคัดเลือก ซึ่งก็ผิดหลักการในระบอบประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง

“คุณจะเอาอำนาจอธิปไตยไปให้คน 7 คนไม่ได้ มันเป็นอภิชนาธิปไตย เอาอำนาจอธิปไตยไปให้อภิสิทธิ์ชนมาใช้คำว่า ส.ว.สรรหา โหวตแค่ 4 คนจาก 7 คนก็ชนะแล้ว ผมฟังนักวิชาการที่ไม่ซื่อสัตย์สุจริตพูดในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก ส.ว.มีอำนาจมากเกินไปหากเทียบในบางประเทศเช่นที่แคนาดา อีกทั้งการได้ ส.ว.เลือกตั้งจังหวัดละ 1 คนนั้น เท่ากับสะท้อนรากเหง้าทางความคิดของการเลือก ส.ว. มีที่มาจากไหน หลักการเช่นนี้ถือว่าขัดกับมาตรา 1 ที่ทำให้ประเทศถูกเฉือนแบ่งเป็น 76 จังหวัด กลายเป็น “พันธรัฐ-สหรัฐ” ทำให้อำนาจอธิปไตยถูกแบ่งเป็น 76 อำนาจ ไม่ใช่หนึ่งเดียวที่ควรจะแบ่งแยกไม่ได้” นพ.เหวง กล่าว

ระบุ อ้างประชามติ 14 ล้าน ไม่ชอบธรรม
นพ.เหวง กล่าวถึงมาตรา 309 ด้วยว่า ระบุให้การใช้อำนาจรวมถึงการกระทำของกลุ่มคนทำรัฐประหารเป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม ทั้งก่อนหน้าและหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ เท่ากับเป็นการปกป้องรัฐประหารให้กลายเป็นความชอบธรรม จึงต้องขอประณามและฟ้องประชาชนในวันนี้ ซึ่งประชาชนคนไทยทุกคนต้องเร่งแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 โดยเร็ว

นอกจากนี้ ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดเป็นของปวงชนชาวไทย ที่แสดงออกได้โดยให้คนที่มีความคิดแนวทางเดียวกันมารวมกันเป็นพรรคการเมือง ทำหน้าที่วิเคราะห์ปัญหาของประเทศเสนอเป็นนโยบาย โดยผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ( ส.ส.) ซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย แต่มาตรา 266 ของรัฐธรรมนูญฉบับนี้ กลับห้ามไม่ให้ ส.ส.แทรกแซงข้าราชการของรัฐ พนักงานของรัฐ ลูกจ้างของรัฐ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะเลือก ส.ส. มาทำไมกัน

นพ.เหวง ยังชี้ให้เห็นถึงการกล่าวอ้างประชามติ 14 ล้านคนที่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ของฝ่ายคัดค้านด้วยว่า หากอ้างเช่นนั้น จากจำนวนผู้มีสิทธิโหวตรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ที่มีทั้งหมด 45 ล้านคน จะเห็นว่ายังมีส่วนที่ไม่เห็นด้วยถึง 32 ล้านคน นอกจากนี้ จากการติดตามเอ็กซิตโพล หรือผลการสำรวจหน้าคูหาในขณะนั้น ระบุชัดเจนว่า มี 30% ที่ให้เหตุผลถึงการลงประชามติกาเห็นด้วย เพราะหวังให้มีการเลือกตั้ง มีรัฐบาลใหม่มาบริหารแทนรัฐบาลรัฐประหารที่ทำให้ชาวบ้าน ประชาชน เกษตรกรเดือดร้อนอย่างมาก ซึ่งขอไปแก้ไขกันในอนาคต ดังนั้น จึงถึงเวลาแล้วที่ประชาชนคนไทยต้องต้องร่วมพลังแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 ฉบับนี้


อดีตผู้พิพากษา ย้ำรธน.50 กฎหมายโจรกบฏ

นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และประธานแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ขึ้นกล่าวเป็นคนต่อมา โดยย้อนให้ผู้เข้ามร่วมรับฟังเห็นว่า เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เกิดการยึดอำนาจการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประเทศขึ้นโดย อดีต ผบ.ทบ. พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ที่ระบุไว้ชัดเจนในกฎหมายอาญามาตรา 113 ในข้อหากบฏ มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต ซึ่งหลังการยึดอำนาจ ยังแต่งตั้งพวกตัวเองเข้ามานั่งร่างกฎกติกาขึ้นมาใหม่ ที่ต้องเรียกว่า กฎของโจรกบฏ นั่นก็คือ รัฐธรรมนูญ 2550 ดังนั้น รัฐธรรมนูญ 2550 จึงไม่ใช่รัฐธรรมนูญของประชาชน แต่เป็นการแอบอ้างของกลุ่มคนผู้ยึดการปกครองใช้เป็นอำนาจมาบังคับประชาชนคนไทยทั่วประเทศให้ปฏิบัติตาม

อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ยังกล่าวด้วยว่า การยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 ที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติและประชาชนอย่างใหญ่หลวง และสาเหตุแท้จริงที่คณะปฏิวัติยอมให้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่ผ่านมา ก็เพราะนานาประเทศทั่งโลก รังเกียจเผด็จการ ไม่คบค้าสมาคมด้วย ส่งผลให้การค้าขายกับต่างประเทศสะดุดลงอย่างฉับพลัน ขณะที่รัฐบาลแต่งตั้งโดยคณะปฏิวัติ ก็ไม่สามารถบริหารประเทศได้ จึงหมดหนทางยอมคืนอำนาจให้กับประชาชนด้วยความจำใจ

อย่างไรก็ตาม ผลพวงของ กฎกติกาโจรกบฎ ยังคงมีอยู่และลิดรอนสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยอย่างกว้างขวาง ดังนั้น ประชาชนคนไทยทุกคนต้องช่วยกันผลักดันให้ยกเลิกการใช้ รธน.50 และนำ รธน.40 ของประชาชนมาปรับปรุงแก้ไขบังคับใช้แทนต่อไปให้ได้

ปราชญ์ยะลาเตือนสติพวกยึดอำนาจ
ทั้งนี้ บรรยากาศยังคงคึกคักอย่างต่อเนื่อง โดยมีวิทยากรผลัดกันขึ้นอภิปราย ทั้ง นายชินวัฒน์ หาบุญพาด นายกสมาคมพิทักษ์ผลประโยชน์ผู้ขับรถแท็กซี่ ดร.เมธาพันธ์ โพธิธีรโรจน์ และ นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท อย่างไรก็ตาม นับเป็นที่น่าสนใจเมื่อ นายนิยะปาร์ ระเด่นอาหมัด อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ซึ่งถือเป็นบุคคลในพื้นที่ได้ขึ้นกล่าวบนเวทีสัญจรครั้งนี้ด้วย

โดยนายนิยะปาร์ กล่าวว่า การมาพูดในวันนี้มาในฐานะประชาชนคนยะลาคนหนึ่ง ที่เห็นสถานการณ์ของบ้านเมืองในเวลานี้ รู้สึกหนักหนาสาหัสนัก ทั้งตนและชาวยะลาที่มารับฟัง เพราะเป็นเรื่องการบ้านการเมือง เป็นเรื่องหัวเลี้ยวหัวต่อซึ่งกฎหมายสูงสุดของประเทศชาติ และกำลังเป็นเรื่องที่ถูกแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางความคิด ระหว่างฝ่ายที่เห็นว่ารัฐธรรมนูญ 2550 ควรได้รับการแก้ไข กับอีกฝ่ายที่เห็นว่า รัฐธรรมนูญ 2550 เป็นของข้าใครอย่าแตะ ซึ่งการเผชิญหน้าระหว่างสองฝ่ายนี้กำลังคุกรุ่นและยิ่งเพิ่มอุณหภูมิความร้อนแรงขึ้นเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม หากมองกันในแง่ดี ถือเป็นสีสันบรรยากาศของบ้านเมืองที่มีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิด ไม่ว่าจะโดยการพูด เขียน หรือโดยวิธีอื่นๆ แต่ที่สำคัญ แต่ละฝ่ายที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน ต้องอย่าถือเอาความคิดเห็นของตนเองเป็นบรรทัดฐานว่า “ถูก” ถ้าแตกต่างไปจากความคิดเห็นของตนแล้ว “ผิด” แล้วเลยเถิดไปถึงขั้นใช้อารมณ์ แล้วจบลงด้วยการใช้อาวุธ

“เพราะถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว ผมต้องพูดว่า อนิจจา น่าเวทนาบ้านเรา และขอเตือนสติว่า บ้านเมืองเรานั้นบอบซ้ำมามากแล้ว โปรดอย่าซ้ำเติมกันอีกเลย” นายนิยะปาร์ กล่าว

เศร้า รธน.40 ไทยมุสลิมรับสนองฯ กลับถูกฉีก
นายนิยะปาร์ กล่าวด้วยว่า รัฐธรรมนูญคือแม่บทของกฎหมายทั้งปวง หากกฎหมายแม่บทมีส่วนหนึ่งส่วนใดไม่เหมาะไม่สมกับสถานการณ์ปัจจุบัน ก็มีทางออกได้ 2 ทาง คือ 1.แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยรัฐสภา ซึ่งเป็นกติกามารยาทของบ้านเมืองที่ปกครองระบอบประชาธิปไตย และ 2.โดยการใช้อำนาจ ของผู้มีอำนาจปืน รถถัง กำลังทหาร เข้ามายึดอำนาจรัฐ และยกเลิกรัฐธรรมนูญ เรียกกันว่า ปฏิวัติรัฐประหาร ซึ่งเป็นวิธีการที่ไร้ซึ่งกฎกติกามารยาท แต่ก็เกิดขึ้นบ่อยมากในประเทศที่รักของตน

“ระยะหลังๆ คณะผู้กระทำการโดยวิธีนี้มักเรียกว่า การปฏิรูปการปกครอง ซึ่งก็แปลกดี คำว่าปฏิรูป ความหมายมันคือการทำให้ดีขึ้น แต่ทุกครั้งที่มีการปฏิรูปการปกครองแล้วบ้านเมืองกลับบอบซ้ำเลวลงกว่าเดิมทุกที” นายนิยะปาร์ กล่าว พร้อมให้ความเห็นต่ออีกว่า

รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่ได้รับสมญาว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” เพราะสมาชิกผู้ร่างรัฐธรรมนูญ (สสร) ได้รับการคัดสรรจากตัวแทนประชาชนทุกจังหวัดทั่วประเทศ และมีความเกี่ยวข้องกับชาวยะลาอย่างน้อย 2 คน คือ นายอุดม ภามา ในฐานะ สสร.ตัวแทนชาว จ.ยะลา และ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ในฐานะประธานรัฐสภาขณะนั้น ซึ่งเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในรัฐธรรมนูญ ซี่งชาวยะลาทุกคนภูมิใจในบันทึกประวัติศาสตร์การเมืองไทยบทนี้

“และผมเองในฐานะที่เป็นคนไทยมุสลิมก็มีสิทธิ์ที่จะภูมิใจในประวัติศาสตร์อีกบทหนึ่งคือ เป็นรัฐธรรมนูญฉบับเดียวที่ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยคนยะลาและโดยคนไทยมุสลิม แต่เรื่องนี้ก็จบลงอย่างไม่ค่อยสวยงาม คือวันที่ 19 กันยายน 2549 รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกยกเลิกไปอย่างน่าเสียดาย โดย พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ซึ่งช่างบังเอิญเหลือเกินที่เป็นคนไทยมุสลิม” นายนิยะปาร์ กล่าวทิ้งท้ายไว้อย่างน่าคิด
หมอเหวงโต้ ผู้จัดการกล่าวหาจ้าง 200 บ.

อย่างไรก็ตาม ระหว่างการอภิปรายของ คปพร.ที่ยะลา เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์ ได้รายงานข่าวโดยไม่ระบุผู้ให้ข่าวแต่อย่างใด ว่า มีการหลอกลวง ตนอยากบอกว่า ให้เอาหลักฐานมาตีแผ่อย่ากล่าวหากันลอยๆ ถ้าหาหลักฐานมายืนยันไม่ได้ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการต้องแสดงความรับผิดชอบ ด้วยการปิดตัวเอง เพราะถือว่า การกระทำเยี่ยงนี้ไม่ใช่สิ่งที่สื่อที่ดีควรปฏิบัติ

“ทาง คปพร. ไม่เคยหลอกลวงใคร เพราะเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนคือ เอารัฐธรรมนูญ 2550 คืนไป แล้วเอารัฐธรรมนูญ 2540 คืนมา และอยากขอร้องให้พวกพันธมารเลิกดูถูกประชาชนเสียที ที่ไปกล่าวหาว่าประชาชนถูกหลอกให้มาฟัง อยากบอกว่าประชาชนเขามีสมอง ไม่ใช่จะมาหลอกกันได้ง่ายๆ แล้วหยุดพูดเถอะที่กล่าวว่า ประชาชนที่เลือกอดีตนายกฯ ทักษิณ 19 ล้านเสียง เป็นควาย เพราะตอนนี้คนที่เป็นควาย คือคนที่ดีแต่กล่าวหาคนอื่น” นพ.เหวง กล่าว